"พลังงาน" เข็นแผนลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 77 ล้านตันใน 10 ปีข้างหน้า เตรียมชง "มาร์ค" บินประชุม "ยูเอ็นเอฟซีซี" ลดโลกร้อน หลังถูกจัดอันดับปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงติดอันดับ 24 ของโลก ชี้ หลายประเทศเตรียมใช้เป็นข้ออ้างกีดกันการค้า
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานได้เสนอแผนการลดภาวะโลกร้อนสาขาพลังงาน แบบสมัครใจต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อนำไปร่วมประชุมสหประชาชาติว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ UNFCC ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งตนได้เดินทางเข้าร่วมประชุมด้วย โดยตั้งเป้าหมายเบื้องต้นจะลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 77 ล้านตัน ในปี 2563
ทั้งนี้ ประเทศไทยถูกจัดอันดับจากสถาบันทรัพยากรโลกว่า เป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับที่ 24 ของโลก โดยปลดปล่อย 351.3 ล้านตัน หรือร้อยละ 0.93 โดยในส่วนนี้เกิดจากสาขาพลังงานมากที่สุดประมาณร้อยละ 56 รองลงมา คือ ภาคการขนส่งร้อยละ 26 ตามมาด้วยสาขาอื่นๆ ได้แก่ อุตสาหกรรม เกษตร เบื้องต้นประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทยอาจจะต้องลดการปลดปล่อยก๊าซฯ ในระดับประมาณร้อยละ 15-30 เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีไม่มีพันธกรณี (Business As Usual;BAU ) ภายในปี 2563 หรือในอีก 11 ปีข้างหน้า และจากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าเศรษฐกิจประเทศไทยเติบโตร้อยละ 5.5 ภายในปี 2563 ประเทศไทยจะมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากสาขาพลังงาน ประมาณ 400-450 ล้านตันต่อปี ขณะที่หากเศรษฐกิจเติบโตร้อยละ 3.5 จะมีการปลดปล่อยก๊าซฯ 350 ล้านตันต่อปี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวอีกว่า กระทรวงพลังงานได้จัดทำแผนลดการปลดปล่อยก๊าซฯ ในสัดส่วนอย่างน้อยร้อยละ 15 หรือประมาณ 77 ล้านตันต่อปี แบ่งออกเป็นการดำเนินการส่งเสริมพลังงานทดแทนตามแผน 15 ปีลดลงได้ 42 ล้านตันต่อปี การเร่งรัดมาตรการประหยัดพลังงาน ให้มีการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งโครงการด้านขนส่ง การเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าเป็นหลอดประหยัดพลังงาน การส่งเสริมอาคาร-อุปกรณ์ประหยัดพลังงานทุกด้าน ในส่วนนี้จะลดก๊าซได้ 30 ล้านตันต่อปี ขณะเดียวกันกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้เร่งรัดงานวิจัยและพัฒนาโครงการดักและกักเก็บคาร์บอน (carbon capture and storage –ccs )ในแหล่งปิโตรเลียมที่หมดอายุแล้ว ซึ่งคาดว่าจะลดการปล่อยก๊าซฯได้อีก 5 ล้านตันต่อปี
นพ.วรรณรัตน์ กล่าวเสริมว่า ผลจากการดำเนินมาตรการดังกล่าวนอกจากจะช่วยลดภาวะโลกร้อนแล้ว ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย เพราะในขณะนี้หลายประเทศเริ่มมีข้อกำหนดเรื่องเหล่านี้จนเป็นการกีดกันทางการค้า นอกจากนี้ ภายในการประชุมที่โคเปนเฮเกนครั้งนี้ ทางกระทรวงพลังงานจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนหารือร่วมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งในขณะนี้มีหลายประเทศสนใจลงทุนด้านกิจการพลังงานทดแทนของไทยเป็นจำนวนมาก
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานได้เสนอแผนการลดภาวะโลกร้อนสาขาพลังงาน แบบสมัครใจต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อนำไปร่วมประชุมสหประชาชาติว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ UNFCC ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งตนได้เดินทางเข้าร่วมประชุมด้วย โดยตั้งเป้าหมายเบื้องต้นจะลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 77 ล้านตัน ในปี 2563
ทั้งนี้ ประเทศไทยถูกจัดอันดับจากสถาบันทรัพยากรโลกว่า เป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับที่ 24 ของโลก โดยปลดปล่อย 351.3 ล้านตัน หรือร้อยละ 0.93 โดยในส่วนนี้เกิดจากสาขาพลังงานมากที่สุดประมาณร้อยละ 56 รองลงมา คือ ภาคการขนส่งร้อยละ 26 ตามมาด้วยสาขาอื่นๆ ได้แก่ อุตสาหกรรม เกษตร เบื้องต้นประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทยอาจจะต้องลดการปลดปล่อยก๊าซฯ ในระดับประมาณร้อยละ 15-30 เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีไม่มีพันธกรณี (Business As Usual;BAU ) ภายในปี 2563 หรือในอีก 11 ปีข้างหน้า และจากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าเศรษฐกิจประเทศไทยเติบโตร้อยละ 5.5 ภายในปี 2563 ประเทศไทยจะมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากสาขาพลังงาน ประมาณ 400-450 ล้านตันต่อปี ขณะที่หากเศรษฐกิจเติบโตร้อยละ 3.5 จะมีการปลดปล่อยก๊าซฯ 350 ล้านตันต่อปี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวอีกว่า กระทรวงพลังงานได้จัดทำแผนลดการปลดปล่อยก๊าซฯ ในสัดส่วนอย่างน้อยร้อยละ 15 หรือประมาณ 77 ล้านตันต่อปี แบ่งออกเป็นการดำเนินการส่งเสริมพลังงานทดแทนตามแผน 15 ปีลดลงได้ 42 ล้านตันต่อปี การเร่งรัดมาตรการประหยัดพลังงาน ให้มีการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งโครงการด้านขนส่ง การเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าเป็นหลอดประหยัดพลังงาน การส่งเสริมอาคาร-อุปกรณ์ประหยัดพลังงานทุกด้าน ในส่วนนี้จะลดก๊าซได้ 30 ล้านตันต่อปี ขณะเดียวกันกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้เร่งรัดงานวิจัยและพัฒนาโครงการดักและกักเก็บคาร์บอน (carbon capture and storage –ccs )ในแหล่งปิโตรเลียมที่หมดอายุแล้ว ซึ่งคาดว่าจะลดการปล่อยก๊าซฯได้อีก 5 ล้านตันต่อปี
นพ.วรรณรัตน์ กล่าวเสริมว่า ผลจากการดำเนินมาตรการดังกล่าวนอกจากจะช่วยลดภาวะโลกร้อนแล้ว ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย เพราะในขณะนี้หลายประเทศเริ่มมีข้อกำหนดเรื่องเหล่านี้จนเป็นการกีดกันทางการค้า นอกจากนี้ ภายในการประชุมที่โคเปนเฮเกนครั้งนี้ ทางกระทรวงพลังงานจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนหารือร่วมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งในขณะนี้มีหลายประเทศสนใจลงทุนด้านกิจการพลังงานทดแทนของไทยเป็นจำนวนมาก