บิ๊กเอ็กซิมแบงก์สวนรัฐมนตรีคลัง ยืนยันเดินหน้าปล่อยกู้เขมร อ้างโครงการปล่อยกู้ทั้งรัฐบาลและเอกชนเขมร ยังไม่ได้รับผลกระทบ แนะธุรกิจส่งออกไทยปรับตัว หันเจาะตลาดเอเชีย-ตะวันออกกลางแทนกลุ่มประเทศยักษ์ใหญ่เดิมที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าวในงานสัมมนาประจำปีของธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น สาขากรุงเทพฯ หัวข้อ "การฟื้นตัวอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจ" เกี่ยวกับภาพรวมเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกว่า ตั้งแต่ปี 2551-2552 เศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การชะลอตัวลงทางเศรษฐกิจ ทำให้หลายประเทศระดับโลกมีการร่วมมือกันเพื่อหยุดยั้งวิกฤตการเงินและเศรษฐกิจไม่ให้ตกต่ำไปกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งประเทศในแถบเอเชียได้กลายเป็นตลาดหลักนำการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าส่วนอื่นของโลก โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของการค้าโดยเฉพาะการค้าระหว่างกันในเอเชีย แต่ในขณะเดียวกันประเทศไทยก็ยังมีปัญหาทางการเมือง ส่งผลให้ภาครัฐบาลมีบทบาทจำกัดในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจพอสมควร
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาสภาพโดยรวมของประเทศทั่วโลกแล้วมองว่ากำลังเข้าสู่ยุคหลังตะวันตกนิยมอย่างแน่นอน คือการเมืองจะเป็นประชาธิปไตยหลายรูปแบบไปพร้อมกับเศรษฐกิจจะเป็นระบบตลาดที่ไม่เสรีเต็มที่ซึ่งจะมีการกำกับในระดับประเทศและระดับโลกที่มาจากอำนาจของกลุ่มภูมิภาคตามทวีปและอำนาจของโลกมุสลิมที่กำลังมีการขยายตัวทางจำนวนประชากรที่มากขึ้น ดังนั้นประเทศไทยเองต่อจากนี้ไปจะต้องปรับตัวให้เข้ากับขั้วและโครงสร้างการเมืองและเศรษฐกิจใหม่
นายณรงค์ชัยกล่าวอีกว่า ประเทศไทยจะต้องมีการสานสัมพันธ์พิเศษทางการค้าจากเดิมที่เป็นประเทศสหรัฐฯเป็นหลัก ไปเป็นกลุ่มต่างๆดังนี้ 1.กลุ่มประเทศอาเซียนโดยเฉพาะกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม 2.กลุ่มเอเชียตะวันออกที่เป็นประเทศญี่ปุ่นและจีน 3.กลุ่มที่ชื่อว่า BIMSTEC โดยเฉพาะประเทศอินเดีย 4.กลุ่ม Shanghai Economic Cooperation (SEC) คือ จีนและรัสเซีย 5.กลุ่ม EU และ 6.กลุ่มประเทศตะวันออกกลางและอัฟริกาเหนือ ผ่านทางความร่วมมือและการลงทุนต่างๆ
ขณะเดียวกัน ภายในประเทศเองก็จะต้องผลักดันให้เกิดการลงทุนที่แท้จริงในปี 2553 จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลโดยเฉพาะโครงการไทยเข้มแข็งที่มีมูลค่า 1.56 ล้านบาท ซึ่งจะต้องปรับโครงสร้างและเร่งการลงทุนเพื่อมุ่งสร้างความเข้มแข็งและความสามารถทางการแข่งขันในอนาคตโดยจะผ่านกลุ่มเศรษฐกิจรูปแบบใหม่อาทิ การพัฒนาการค้า การลงทุนของสินค้าและบริการที่มีมาตรฐานจาก เกษตรกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ อุตสาหกรรม หัตถกรรม บริการที่มีความคิดสร้างสรรค์และศิลป วัฒนธรรมที่มีความแตกต่างเป็นต้น เพื่อลดการพึ่งพาตลาดตะวันตกและบรรษัทข้ามชาติจากตะวันตกไปพร้อมกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานและระบบการทำงานที่ช่วยการค้าการลงทุนกับประเทศในเอเชีย ตะวันออกกลางและอัฟฟริกา สร้างความสมานฉันท์กับโลกมุสลิม ซึ่งรูปแบบเหล่านี้จะเป็นโจทย์ใหญ่และรูปแบบใหม่ของประเทศไทยที่จะต้องสร้างให้เกิดขึ้นจากงบประมาณไทยเข้มแข็ง
ยันไม่กระทบปล่อยกู้ให้กัมพูชา
สำหรับปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชาที่เกิดขึ้นในขณะนี้นั้น นายณรงค์ชัยยืนยันว่า ไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาทางการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และเชื่อว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการลงทุนแต่อย่างใด ซึ่งจะเห็นได้จากยอดคงค้างเงินปล่อยกู้ที่ธนาคารเอกซิมแบงก์ปล่อยให้กับภาคเอกชนของกัมพูชาเป็นเม็ดเงินประมาณ 1.4 พันล้านบาท เพื่อนำไปสร้างโรงแรมกว่า 50% ส่วนที่เหลือจะสร้างเป็นศูนย์การค้าและระบบโทรคมนาคมขณะเดียวกันก็มีการปล่อยกู้วงเงินให้กับรัฐบาลของกัมพูชาเพื่อนำไปสร้างถนนอีก 1.3 พันล้านบาท ซึ่งมีบริษัทผู้รับเหมาคนไทยเป็นตัวแทนในการก่อสร้างที่ขณะนี้มีการเบิกใช้วงเงินไป 2 งวดแล้ว ประมาณ 1.179 พันล้านบาท ส่วนอีก 121 ล้านบาท ยังไม่ได้มีการเบิกใช้แต่อย่างใด และต่อไปในอนาคตธนาคารก็จะยังมีการปล่อยกู้อย่างต่อเนื่องอีก
การให้ข่าวของนายณรงค์ชัยขัดแย้งกับคำพูดนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ที่ให้สัมภาษณ์ผ่านระบบเว็บคอนเฟอเรนซ์จากประเทศสกอตแลนด์ ว่ากระทรวงการคลังจะทบทวนการให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามสัญญาที่ได้ตกลงไว้กับรัฐบาลกัมพูชา โดยจะเน้นที่ประโยชน์ของประเทศชาติ หากโครงการใดดำเนินไปแล้วก็ให้มีความต่อเนื่อง แต่ในส่วนที่ยังไม่ได้มีการเบิกจ่าย ยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้
จี้รัฐเร่งผลักดันเอกชนลงทุน
ด้านนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ โฆษกกระทรวงการคลังและผู้อำนวยการสำนัก สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ได้กล่าวถึงความคาดหวังของรัฐบาลต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจว่า จากมาตรการโครงการไทยเข้มแข็งที่รัฐบาลพยายามนำออกมาใช้นั้น ก็เพื่อหยุดวงจรอุบาทว์ที่จะฉุดเศรษฐกิจของไทยให้ลดลง ไม่ว่าจะเป็นภาคการว่างงานที่คาดการณ์ว่าจำนวนคนถูกเลิกจ้างจะอยู่ที่กว่า 1 ล้านคน ซึ่งในช่วงกลางปี 2552 ที่ผ่านมารัฐบาลก็ได้อัดฉีดงบประมาณถึง 1.167 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือในรูปแบบของโครงการช่วยเหลือเร่งด่วนทำให้จำนวนคนว่างงานปัจจุบันเหลือ 4.5 แสนคน โดยการเติมเงินให้ประชาชนเช่น เงินช่วยชาติ 2 พันบาท เบี้ยผู้สูงอายุและเงินเพิ่มส่งเสริม อสม. เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีมาตรการทางด้านภาษีต่างๆ การสนับสนุนสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินของรัฐด้วยการเพิ่มทุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ มีการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ และผลักดันโครงการลงทุนต่างให้เกิดขึ้นให้ได้
ทั้งนี้ ผลของการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในระยะสั้นที่ออกมานั้นพบว่าตัวเลขดีขึ้นเกือบทุกด้านในไตรมาส 2 เทียบกับไตรมาส 1 ของปีนี้ ทั้งด้านการบริโภคภาคเอกชนที่ติดลบน้อยลงเหลือ 2.3% จากต้นไตรมาส 1 ที่ติดลบ 2.5% การบริโภคของภาครัฐที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 5.9% จากเดิมอยู่ที่ 3.6% และการลงทุนของภาครัฐที่กลับมาขยายตัวเป็นบวกถึง 9.6% จากเดิมติดลบ 9.1% ส่วนการลงทุนของภาคเอกชนก็ยังติดลบเหมือนเดิมแต่น้อยลงกว่าเดิม ซึ่งจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลได้ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยมีการปรับเพิ่มขึ้น 0.7% ทั้งทางตรงและทางอ้อม และในไตรมาส 4 นี้คาดการณ์ว่าจีดีพีจะกลับมาเป็นบวกแต่หากเฉลี่ยทั้งปีนี้แล้วตัวเลขจีดีพีก็ยังติดลบอยู่ที่ประมาณ 3% ส่วนปีหน้าจีดีพีน่าจะขยายตัวอยู่ที่ 2.5-4.1% หรือเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 3.3%
แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาของเศรษฐกิจไทยในระยะปานกลางและระยะยาวก็ยังมีอยู่อีกมาก โดยเฉพาะการลงทุนของเอกชนยังอยู่ในระดับต่ำและฟื้นตัวช้าประกอบกับภาครัฐเองไม่ได้มีการลงทุนมานาน ดังนั้น ณ วันนี้เศรษฐกิจของไทยมีการค่อยๆฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้นแล้วจากนโยบายของรัฐบาล ในปีหน้าทางรัฐบาลก็จะต้องมีการแก้ไขเรื่องการลงทุนให้เร็วที่สุด คือจะต้องส่งเสริมให้เกิดการลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อวางรากฐานให้สามารถแข่งขันได้ในอนาคตโดยจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษา ซึ่งจะผลักดันให้ประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้นในระดับศักยภาพได้อย่างแน่นอน
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าวในงานสัมมนาประจำปีของธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น สาขากรุงเทพฯ หัวข้อ "การฟื้นตัวอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจ" เกี่ยวกับภาพรวมเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกว่า ตั้งแต่ปี 2551-2552 เศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การชะลอตัวลงทางเศรษฐกิจ ทำให้หลายประเทศระดับโลกมีการร่วมมือกันเพื่อหยุดยั้งวิกฤตการเงินและเศรษฐกิจไม่ให้ตกต่ำไปกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งประเทศในแถบเอเชียได้กลายเป็นตลาดหลักนำการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าส่วนอื่นของโลก โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของการค้าโดยเฉพาะการค้าระหว่างกันในเอเชีย แต่ในขณะเดียวกันประเทศไทยก็ยังมีปัญหาทางการเมือง ส่งผลให้ภาครัฐบาลมีบทบาทจำกัดในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจพอสมควร
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาสภาพโดยรวมของประเทศทั่วโลกแล้วมองว่ากำลังเข้าสู่ยุคหลังตะวันตกนิยมอย่างแน่นอน คือการเมืองจะเป็นประชาธิปไตยหลายรูปแบบไปพร้อมกับเศรษฐกิจจะเป็นระบบตลาดที่ไม่เสรีเต็มที่ซึ่งจะมีการกำกับในระดับประเทศและระดับโลกที่มาจากอำนาจของกลุ่มภูมิภาคตามทวีปและอำนาจของโลกมุสลิมที่กำลังมีการขยายตัวทางจำนวนประชากรที่มากขึ้น ดังนั้นประเทศไทยเองต่อจากนี้ไปจะต้องปรับตัวให้เข้ากับขั้วและโครงสร้างการเมืองและเศรษฐกิจใหม่
นายณรงค์ชัยกล่าวอีกว่า ประเทศไทยจะต้องมีการสานสัมพันธ์พิเศษทางการค้าจากเดิมที่เป็นประเทศสหรัฐฯเป็นหลัก ไปเป็นกลุ่มต่างๆดังนี้ 1.กลุ่มประเทศอาเซียนโดยเฉพาะกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม 2.กลุ่มเอเชียตะวันออกที่เป็นประเทศญี่ปุ่นและจีน 3.กลุ่มที่ชื่อว่า BIMSTEC โดยเฉพาะประเทศอินเดีย 4.กลุ่ม Shanghai Economic Cooperation (SEC) คือ จีนและรัสเซีย 5.กลุ่ม EU และ 6.กลุ่มประเทศตะวันออกกลางและอัฟริกาเหนือ ผ่านทางความร่วมมือและการลงทุนต่างๆ
ขณะเดียวกัน ภายในประเทศเองก็จะต้องผลักดันให้เกิดการลงทุนที่แท้จริงในปี 2553 จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลโดยเฉพาะโครงการไทยเข้มแข็งที่มีมูลค่า 1.56 ล้านบาท ซึ่งจะต้องปรับโครงสร้างและเร่งการลงทุนเพื่อมุ่งสร้างความเข้มแข็งและความสามารถทางการแข่งขันในอนาคตโดยจะผ่านกลุ่มเศรษฐกิจรูปแบบใหม่อาทิ การพัฒนาการค้า การลงทุนของสินค้าและบริการที่มีมาตรฐานจาก เกษตรกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ อุตสาหกรรม หัตถกรรม บริการที่มีความคิดสร้างสรรค์และศิลป วัฒนธรรมที่มีความแตกต่างเป็นต้น เพื่อลดการพึ่งพาตลาดตะวันตกและบรรษัทข้ามชาติจากตะวันตกไปพร้อมกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานและระบบการทำงานที่ช่วยการค้าการลงทุนกับประเทศในเอเชีย ตะวันออกกลางและอัฟฟริกา สร้างความสมานฉันท์กับโลกมุสลิม ซึ่งรูปแบบเหล่านี้จะเป็นโจทย์ใหญ่และรูปแบบใหม่ของประเทศไทยที่จะต้องสร้างให้เกิดขึ้นจากงบประมาณไทยเข้มแข็ง
ยันไม่กระทบปล่อยกู้ให้กัมพูชา
สำหรับปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชาที่เกิดขึ้นในขณะนี้นั้น นายณรงค์ชัยยืนยันว่า ไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาทางการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และเชื่อว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการลงทุนแต่อย่างใด ซึ่งจะเห็นได้จากยอดคงค้างเงินปล่อยกู้ที่ธนาคารเอกซิมแบงก์ปล่อยให้กับภาคเอกชนของกัมพูชาเป็นเม็ดเงินประมาณ 1.4 พันล้านบาท เพื่อนำไปสร้างโรงแรมกว่า 50% ส่วนที่เหลือจะสร้างเป็นศูนย์การค้าและระบบโทรคมนาคมขณะเดียวกันก็มีการปล่อยกู้วงเงินให้กับรัฐบาลของกัมพูชาเพื่อนำไปสร้างถนนอีก 1.3 พันล้านบาท ซึ่งมีบริษัทผู้รับเหมาคนไทยเป็นตัวแทนในการก่อสร้างที่ขณะนี้มีการเบิกใช้วงเงินไป 2 งวดแล้ว ประมาณ 1.179 พันล้านบาท ส่วนอีก 121 ล้านบาท ยังไม่ได้มีการเบิกใช้แต่อย่างใด และต่อไปในอนาคตธนาคารก็จะยังมีการปล่อยกู้อย่างต่อเนื่องอีก
การให้ข่าวของนายณรงค์ชัยขัดแย้งกับคำพูดนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ที่ให้สัมภาษณ์ผ่านระบบเว็บคอนเฟอเรนซ์จากประเทศสกอตแลนด์ ว่ากระทรวงการคลังจะทบทวนการให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามสัญญาที่ได้ตกลงไว้กับรัฐบาลกัมพูชา โดยจะเน้นที่ประโยชน์ของประเทศชาติ หากโครงการใดดำเนินไปแล้วก็ให้มีความต่อเนื่อง แต่ในส่วนที่ยังไม่ได้มีการเบิกจ่าย ยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้
จี้รัฐเร่งผลักดันเอกชนลงทุน
ด้านนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ โฆษกกระทรวงการคลังและผู้อำนวยการสำนัก สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ได้กล่าวถึงความคาดหวังของรัฐบาลต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจว่า จากมาตรการโครงการไทยเข้มแข็งที่รัฐบาลพยายามนำออกมาใช้นั้น ก็เพื่อหยุดวงจรอุบาทว์ที่จะฉุดเศรษฐกิจของไทยให้ลดลง ไม่ว่าจะเป็นภาคการว่างงานที่คาดการณ์ว่าจำนวนคนถูกเลิกจ้างจะอยู่ที่กว่า 1 ล้านคน ซึ่งในช่วงกลางปี 2552 ที่ผ่านมารัฐบาลก็ได้อัดฉีดงบประมาณถึง 1.167 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือในรูปแบบของโครงการช่วยเหลือเร่งด่วนทำให้จำนวนคนว่างงานปัจจุบันเหลือ 4.5 แสนคน โดยการเติมเงินให้ประชาชนเช่น เงินช่วยชาติ 2 พันบาท เบี้ยผู้สูงอายุและเงินเพิ่มส่งเสริม อสม. เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีมาตรการทางด้านภาษีต่างๆ การสนับสนุนสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินของรัฐด้วยการเพิ่มทุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ มีการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ และผลักดันโครงการลงทุนต่างให้เกิดขึ้นให้ได้
ทั้งนี้ ผลของการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในระยะสั้นที่ออกมานั้นพบว่าตัวเลขดีขึ้นเกือบทุกด้านในไตรมาส 2 เทียบกับไตรมาส 1 ของปีนี้ ทั้งด้านการบริโภคภาคเอกชนที่ติดลบน้อยลงเหลือ 2.3% จากต้นไตรมาส 1 ที่ติดลบ 2.5% การบริโภคของภาครัฐที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 5.9% จากเดิมอยู่ที่ 3.6% และการลงทุนของภาครัฐที่กลับมาขยายตัวเป็นบวกถึง 9.6% จากเดิมติดลบ 9.1% ส่วนการลงทุนของภาคเอกชนก็ยังติดลบเหมือนเดิมแต่น้อยลงกว่าเดิม ซึ่งจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลได้ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยมีการปรับเพิ่มขึ้น 0.7% ทั้งทางตรงและทางอ้อม และในไตรมาส 4 นี้คาดการณ์ว่าจีดีพีจะกลับมาเป็นบวกแต่หากเฉลี่ยทั้งปีนี้แล้วตัวเลขจีดีพีก็ยังติดลบอยู่ที่ประมาณ 3% ส่วนปีหน้าจีดีพีน่าจะขยายตัวอยู่ที่ 2.5-4.1% หรือเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 3.3%
แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาของเศรษฐกิจไทยในระยะปานกลางและระยะยาวก็ยังมีอยู่อีกมาก โดยเฉพาะการลงทุนของเอกชนยังอยู่ในระดับต่ำและฟื้นตัวช้าประกอบกับภาครัฐเองไม่ได้มีการลงทุนมานาน ดังนั้น ณ วันนี้เศรษฐกิจของไทยมีการค่อยๆฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้นแล้วจากนโยบายของรัฐบาล ในปีหน้าทางรัฐบาลก็จะต้องมีการแก้ไขเรื่องการลงทุนให้เร็วที่สุด คือจะต้องส่งเสริมให้เกิดการลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อวางรากฐานให้สามารถแข่งขันได้ในอนาคตโดยจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษา ซึ่งจะผลักดันให้ประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้นในระดับศักยภาพได้อย่างแน่นอน