สศค.แจงฐานะคลังแข็งแกร่ง ยอดเงินคงคลังสิ้นปีงบ 52 เกือบแตะ 3 แสนล้าน มั่นใจนโยบายขาดดุลของรัฐบาลชุดนี้ ช่วยฟื้นฟูและหนุนเศรษฐกิจให้โตได้แบบยั่งยืน
นายสาธิต รังคสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สำหรับฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือนกันยายน 2552 ทั้งนี้ ภายใต้กรอบนโยบายงบประมาณขาดดุลของรัฐบาลที่มุ่งกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจผ่านการใช้จ่ายของภาครัฐในช่วงที่ภาคเอกชนชะลอการใช้จ่ายนั้น รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณจำนวน 21,112 ล้านบาท และมีผลให้ตลอดปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณจำนวนรวมทั้งสิ้น 505,404 ล้านบาท
ทั้งนี้ เมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณที่เกินดุล 129,118 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวมทั้งสิ้น 376,286 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และเมื่อผนวกกับการชดเชยการขาดดุลเงินสดด้วยการออกพันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วเงินคลัง ทำให้เงินคงคลัง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2552 เท่ากับ 293,853 ล้านบาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นระดับที่มีความมั่นคงต่อฐานะการคลังของรัฐบาลอย่างมาก
นายสาธิต ระบุว่า เศรษฐกิจที่กระเตื้องขึ้นตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปีงบประมาณ 2552 เป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าการดำเนินนโยบายขาดดุลของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย การใช้จ่ายของภาครัฐนั้น ถือได้ว่าเป็นมาตรการที่มีประสิทธิผลต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน นอกจากนั้น ระดับเงินคงคลังที่มีอยู่ในระดับสูง จะเป็นแรงเสริมให้การอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในระยะต่อไปเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
นายสาธิต รังคสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สำหรับฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือนกันยายน 2552 ทั้งนี้ ภายใต้กรอบนโยบายงบประมาณขาดดุลของรัฐบาลที่มุ่งกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจผ่านการใช้จ่ายของภาครัฐในช่วงที่ภาคเอกชนชะลอการใช้จ่ายนั้น รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณจำนวน 21,112 ล้านบาท และมีผลให้ตลอดปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณจำนวนรวมทั้งสิ้น 505,404 ล้านบาท
ทั้งนี้ เมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณที่เกินดุล 129,118 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวมทั้งสิ้น 376,286 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และเมื่อผนวกกับการชดเชยการขาดดุลเงินสดด้วยการออกพันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วเงินคลัง ทำให้เงินคงคลัง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2552 เท่ากับ 293,853 ล้านบาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นระดับที่มีความมั่นคงต่อฐานะการคลังของรัฐบาลอย่างมาก
นายสาธิต ระบุว่า เศรษฐกิจที่กระเตื้องขึ้นตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปีงบประมาณ 2552 เป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าการดำเนินนโยบายขาดดุลของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย การใช้จ่ายของภาครัฐนั้น ถือได้ว่าเป็นมาตรการที่มีประสิทธิผลต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน นอกจากนั้น ระดับเงินคงคลังที่มีอยู่ในระดับสูง จะเป็นแรงเสริมให้การอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในระยะต่อไปเป็นไปอย่างต่อเนื่อง