สิงห์ฯ เดินหน้าป้องบัลลังก์เบียร์ ควักเซ็กซ์แอพพีล ส่งปฏิทินเบียร์ลีโอ มัดใจคอเบียร์ ฟุ้งกฎกติกา – การขายพ่วงเบียร์ช้าง สร้างสิงห์ให้แข็งแกร่ง ด้านไฮเนเก้น เร่งลุยโค้งสุดท้ายไตรมาส 4 ระบุปีหน้าเบียร์พรีเมียมเริ่มฟื้นตัว
นายฉัตรชัย วิรัตน์โยสินทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท สิงห์คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์สิงห์ เปิดเผยว่า จากการที่บริษัทไทยเบฟฯ วางเป้าหมายเบียร์ช้างทวงตำแหน่งผู้นำตลาดใน 2 ปีข้างหน้านี้ ด้วยการมีส่วนแบ่งเพิ่มเป็น 40-42% จากมูลค่าตลาดเบียร์โดยรวม ในฐานะที่ค่ายเบียร์สิงห์เป็นผู้นำตลาดครองส่วนแบ่ง 47-48% แผนการตลาดเพื่อรองรับกับการแข่งขันในแง่ขององค์กรคงไม่มีการปรับเปลี่ยนอะไรมากนัก เนื่องจากในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้มีการปรับโครงสร้างอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งบริษัท สิงห์คอร์ปอเรชั่น ขึ้นมาเพื่อดูแลธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และนอนแอลกอฮอล์โดยเฉพาะ ส่วนบริษัทบุญรอด บริวเวอรี่ เป็นเพียงบริษัทดูแลด้านการจำหน่ายและกระจายสินค้าเท่านั้น
“ที่ผ่านมาบริษัทมีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งองค์กร ระบบการจัดจำหน่าย หรือกระทั่งเอเยนต์ ส่งผลให้ค่ายสิงห์ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดเมื่อปี 2549 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกฎกติกา กลยุทธ์การขายพ่วงของคู่แข่ง เป็นสิ่งที่สอนให้บริษัทมีความเข้มแข็ง และเป็นบทพิสูจน์ถึงความสำเร็จของค่ายเบียร์สิงห์ได้อย่างดี”
นายฉัตรชัย กล่าวว่า ในช่วงไตรมาส 4 บริษัทได้เตรียมดำเนินการตลาดเชิงรุก โดยเฉพาะเบียร์ลีโอ ซึ่งเป็นเบียร์ระดับล่างเซกเมนต์เดียวกับเบียร์ช้าง คลาสสิค ด้วยการใช้กลยุทธ์เซ็กซ์แอพพีล หรือการนำเสน่ห์ทางเพศมาดึงดูดให้สนใจสินค้า โดยได้จัดทำปฏิทินเบียร์ลีโอ ขึ้นเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้เพื่อสร้างสีสันและตอกย้ำแบรนด์ พร้อมกันนี้จัดเบียร์สิงห์การ์เด้นท์ ที่ เซ็นทรัล เวิลด์ เพื่อต้อนรับในช่วงไฮซีซั่นตลอดจนตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดอย่างต่อเนื่อง
ไฮเนเก้นชี้ปีหน้าเบียร์พรีเมียมฟื้น
นายปริญ มาลากุล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการองค์กร บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ไฮเนเก้น ไทเกอร์ และเชียร์ เปิดเผยว่า บริษัทจะดำเนินการตลาดในเชิงรุกในช่วงไตรมาส 4 ซึ่งเป็นไฮซีซันของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกกลุ่ม หลังจากในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา สภาพเบียร์เซกเมนต์พรีเมียมมูลค่า 7,000 ล้านบาท ติดลบมาอย่างต่อเนื่อง เพราะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันไปดื่มเบียร์ระดับล่าง ซึ่งมีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับเบียร์ระดับพรีเมียมอย่างไฮเนเก้น
อย่างไรก็ตามแม้ว่าในช่วงไตรมาส 4 จะเป็นฤดูจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่พบว่าในช่วงดังกล่าวยังไม่มีแนวโน้มว่าภาวะเศรษฐกิจจะฟื้นตัว โดยคาดว่าสภาพตลาดเบียร์พรีเมียม น่าจะกลับมาฟื้นตัวได้ภายในปีหน้านี้ ส่วนไตรมาส 4 มุ่งเน้นการจัดงานเทศกาลลานเบียร์การ์เด้นท์ในเดือนพฤศจิกายน นี้ ที่ เซ็นทรัลเวิลด์ โดยเบียร์ไทเกอร์จัดหน้าลานส่วนไฮเนเก้นจัดบนชั้น 23 ส่วนด้านสภาพอากาศจากการที่มีฝนตกลงอย่างต่อเนื่อง แต่คาดว่าเมื่อเข้าสู่เทศกาลเบียร์สด เดือนพฤศจิกายน สภาพอากาศจะดีขึ้น
“กรณีที่บริษัทไทยเบฟเวอเรจ ดำเนินการตลาดในเชิงรุกด้วยการรีแบรนด์กลุ่มเบียร์ช้างใหม่ทั้งหมด ทั้งช้างคลาสสิค ช้างไลท์ และช้างดราฟท์ บริษัทคงไม่ต้องเตรียมแผนรองรับมากนัก เนื่องจากบริษัทมีสินค้าเรือธง คือ ไฮเนเก้น ซึ่งปัจจุบันครองส่วนแบ่ง 95% จากเบียร์ระดับพรีเมียม 7,000 ล้านบาท แม้ว่าบริษัทมีเบียร์เชียร์ เอ็กซ์ตร้า ทำตลาดเบียร์ระดับล่างแต่ก็เป็นเพียงการทดลองในช่วงระยะแรกเท่านั้น”
นายฉัตรชัย วิรัตน์โยสินทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท สิงห์คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์สิงห์ เปิดเผยว่า จากการที่บริษัทไทยเบฟฯ วางเป้าหมายเบียร์ช้างทวงตำแหน่งผู้นำตลาดใน 2 ปีข้างหน้านี้ ด้วยการมีส่วนแบ่งเพิ่มเป็น 40-42% จากมูลค่าตลาดเบียร์โดยรวม ในฐานะที่ค่ายเบียร์สิงห์เป็นผู้นำตลาดครองส่วนแบ่ง 47-48% แผนการตลาดเพื่อรองรับกับการแข่งขันในแง่ขององค์กรคงไม่มีการปรับเปลี่ยนอะไรมากนัก เนื่องจากในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้มีการปรับโครงสร้างอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งบริษัท สิงห์คอร์ปอเรชั่น ขึ้นมาเพื่อดูแลธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และนอนแอลกอฮอล์โดยเฉพาะ ส่วนบริษัทบุญรอด บริวเวอรี่ เป็นเพียงบริษัทดูแลด้านการจำหน่ายและกระจายสินค้าเท่านั้น
“ที่ผ่านมาบริษัทมีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งองค์กร ระบบการจัดจำหน่าย หรือกระทั่งเอเยนต์ ส่งผลให้ค่ายสิงห์ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดเมื่อปี 2549 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกฎกติกา กลยุทธ์การขายพ่วงของคู่แข่ง เป็นสิ่งที่สอนให้บริษัทมีความเข้มแข็ง และเป็นบทพิสูจน์ถึงความสำเร็จของค่ายเบียร์สิงห์ได้อย่างดี”
นายฉัตรชัย กล่าวว่า ในช่วงไตรมาส 4 บริษัทได้เตรียมดำเนินการตลาดเชิงรุก โดยเฉพาะเบียร์ลีโอ ซึ่งเป็นเบียร์ระดับล่างเซกเมนต์เดียวกับเบียร์ช้าง คลาสสิค ด้วยการใช้กลยุทธ์เซ็กซ์แอพพีล หรือการนำเสน่ห์ทางเพศมาดึงดูดให้สนใจสินค้า โดยได้จัดทำปฏิทินเบียร์ลีโอ ขึ้นเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้เพื่อสร้างสีสันและตอกย้ำแบรนด์ พร้อมกันนี้จัดเบียร์สิงห์การ์เด้นท์ ที่ เซ็นทรัล เวิลด์ เพื่อต้อนรับในช่วงไฮซีซั่นตลอดจนตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดอย่างต่อเนื่อง
ไฮเนเก้นชี้ปีหน้าเบียร์พรีเมียมฟื้น
นายปริญ มาลากุล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการองค์กร บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ไฮเนเก้น ไทเกอร์ และเชียร์ เปิดเผยว่า บริษัทจะดำเนินการตลาดในเชิงรุกในช่วงไตรมาส 4 ซึ่งเป็นไฮซีซันของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกกลุ่ม หลังจากในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา สภาพเบียร์เซกเมนต์พรีเมียมมูลค่า 7,000 ล้านบาท ติดลบมาอย่างต่อเนื่อง เพราะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันไปดื่มเบียร์ระดับล่าง ซึ่งมีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับเบียร์ระดับพรีเมียมอย่างไฮเนเก้น
อย่างไรก็ตามแม้ว่าในช่วงไตรมาส 4 จะเป็นฤดูจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่พบว่าในช่วงดังกล่าวยังไม่มีแนวโน้มว่าภาวะเศรษฐกิจจะฟื้นตัว โดยคาดว่าสภาพตลาดเบียร์พรีเมียม น่าจะกลับมาฟื้นตัวได้ภายในปีหน้านี้ ส่วนไตรมาส 4 มุ่งเน้นการจัดงานเทศกาลลานเบียร์การ์เด้นท์ในเดือนพฤศจิกายน นี้ ที่ เซ็นทรัลเวิลด์ โดยเบียร์ไทเกอร์จัดหน้าลานส่วนไฮเนเก้นจัดบนชั้น 23 ส่วนด้านสภาพอากาศจากการที่มีฝนตกลงอย่างต่อเนื่อง แต่คาดว่าเมื่อเข้าสู่เทศกาลเบียร์สด เดือนพฤศจิกายน สภาพอากาศจะดีขึ้น
“กรณีที่บริษัทไทยเบฟเวอเรจ ดำเนินการตลาดในเชิงรุกด้วยการรีแบรนด์กลุ่มเบียร์ช้างใหม่ทั้งหมด ทั้งช้างคลาสสิค ช้างไลท์ และช้างดราฟท์ บริษัทคงไม่ต้องเตรียมแผนรองรับมากนัก เนื่องจากบริษัทมีสินค้าเรือธง คือ ไฮเนเก้น ซึ่งปัจจุบันครองส่วนแบ่ง 95% จากเบียร์ระดับพรีเมียม 7,000 ล้านบาท แม้ว่าบริษัทมีเบียร์เชียร์ เอ็กซ์ตร้า ทำตลาดเบียร์ระดับล่างแต่ก็เป็นเพียงการทดลองในช่วงระยะแรกเท่านั้น”