“พรทิวา” ตั้งเป้าส่งออกไทยปีหน้าโต 10-15% หลังเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว สั่งทูตพาณิชย์เป็นนักการตลาดมืออาชีพ เน้นหาลู่ทางส่งออกให้สินค้าไทย จับตากลยุทธ์คู่แข่ง เร่งสางปัญหาอุปสรรคการค้า ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมปรับแผนแม่บทพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ระยะ 2 ใหม่ (ปี 2550-2554) หลังเดินมาครึ่งแผนเจอมรสุมเศรษฐกิจโลกถดถอยหนักส่งผลให้ทั้งการผลิตและส่งออกรถของไทยย้อนกลับไปอยู่เมื่อ 3 ปีก่อนลุ้นเวลาที่เหลือจะเป็นไปตามแผน
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยในการมอบนโยบายให้กับหัวหน้าสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ 62 แห่งทั่วโลก วานนี้ (22 ก.ย.) ว่า กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าว่า ปี53ยอดส่งออกสินค้าไทยจะโต10-15% ตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าหลัก เช่น สหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น จีน อาเซียน และตะวันออกลาง ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออก 70-80%
ทั้งนี้ การส่งออกที่ในปี 2553 ที่เพิ่มขึ้นคาดว่า สหรัฐฯ จะส่งออกได้มูลค่า 16,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 3.9% สหภาพยุโรป (อียู) มูลค่า 18,134 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 5% ยุโรปตะวันออก รัสเซียและ CIS มูลค่า 3,022 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 15% จีน มูลค่า 16,353-17,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 1-5% ตะวันออกกลาง มูลค่า 8,992 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 5% แอฟริกา มูลค่า 7,780-8,118 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 15-20% อาเซียน 29,285 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 4.58% อินเดียและเอเชียใต้ มูลค่า 3,232 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 5%
อย่างไรก็ตาม ได้ขอให้ทูตพาณิชย์เป็นนักการตลาดมืออาชีพ โดยต้องมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถคิดค้นและพัฒนากลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดให้ออกมาน่าสนใจและโดดเด่น ต้องทำงานเป็นทีมได้ สามารถประสานงานได้ทั้งหน่วยงานรัฐ เอกชน ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ภายในและต่างประเทศ เพราะทุกวันนี้สภาพแวดล้อมทงการตลาดเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ทั้งด้านเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภค
นอกจากนี้ ทูตพาณิชย์ต้องพยายามต่อยอด คือ การดูแลยอดการส่งออกสินค้าในประเทศต่างๆ ว่ามีการปรับตัว เพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยเฉพาะสินค้า 10 อันดับแรก และในประเทศนั้นๆ มีสินค้าจากคู่แข่งประเทศใดบ้างที่กำลังมาแรงและเขาใช้กลยุทธ์อะไร มีสินค้าอะไรที่มีโอกาสส่งออกได้เพิ่มขึ้น หรือสินค้าอะไรที่ประเทศนั้นๆ ต้องการแต่ไทยยังส่งออกได้น้อย รวมไปถึงในประเทศที่ดูแลอยู่มีปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อหาทางแก้ไขให้กับผู้ส่งออกไทยและเตรียมพร้อมรับมือได้อย่างทันท่วงที
****เตรียมปรับแผนแม่บทยานยนต์ใหม่
นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า เร็วๆ นี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์จะมีการพิจารณาปรับปรุงแผนแม่บทพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ (ปี 2550-2554) ใหม่ เนื่องจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวมีผลให้ตลาดทั้งภายในประเทศและส่งออกลดลงทำให้การผลิตรถยนต์ของไทยจากระดับ 1,800,000 คัน ในปี 2551 คาดว่า จะเหลือเพียง 900,000-1,000,000 คัน ในปี 2552 ดังนั้น ภายใต้แผนที่ปรับปรุงคงจะเน้นการดึงการลงทุนในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมถึงการหาตลาดอื่นๆ เข้ามาเสริมคาดว่าแผนที่ปรับปรุงจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้
ทั้งนี้ ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจที่ชะลอตัวส่งผลให้ตลาดรถยนต์ของไทยเดิมตั้งเป้าหมายส่งออกไว้ที่ 1 ล้านคันภายในปี 2553 ต้องเลื่อนออกไปเป็นปี 2556 ขณะเดียวกันการผลิตรถยนต์ทั่วโลกที่อยู่ระดับ 70 ล้านคัน เหลือเพียง 50 ล้านคัน ทำให้โรงงานบางแห่งในประเทศอื่นๆ ปิดกิจการไประดับหนึ่งขณะที่ประเทศไทยโรงงานทั้งหมดลดกำลังผลิตลงเท่านั้น ดังนั้นแผนที่ปรับปรุงอาจจะต้องมาพิจารณาเจาะตลาดส่งออกไปทดแทนโรงงานที่ปิดลง ควบคู่ไปกับการพัฒนารถยนต์ประหยัดพลังงานภายใต้มาตรฐานสากลหรืออีโคคาร์ที่จะเริ่มผลิตได้ในปี 2553
ขณะเดียวกัน จะต้องกลับมาพิจารณาถึงรถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) ที่ปีนี้คาดว่าจะผลิตได้ประมาณ 6-7 แสนคัน จากเดิมที่อยู่ระดับ 1 ล้านคัน ที่ควรจะต้องปรับแนวทางการพัฒนาที่มุ่งเน้นไปที่การประหยัดพลังงาน การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อแสวงหาตลาดที่กว้างขึ้น พร้อมกับที่กระทรวงอุตสาหกรรมพยายามไปชักจูงนักลงทุนญี่ปุ่นมาลงทุนในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่นรถตู้ รถบรรทุกเนื่องจากความต้องการในโลกมีไม่มากแต่ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนจะทำให้การส่งออกและนำเข้าไม่ต้องเสียภาษีการย้ายฐานผลิตมาที่ไทยที่เดียวก็สามารถส่งออกไปได้ทั้งหมด
นอกจากนี้แล้ว ในปี 2553 ยังเตรียมที่จัดทำแผนแม่บทพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ระยะที่ 3 (ปี 55-59) ไปพร้อมๆ กันซึ่งยอมรับว่าปัจจัยด้านเศรษฐกิจโลกจะมีผลสำคัญต่อการวางแผนซึ่งแผนระยะ 3 คาดว่า จะใช้เวลาศึกษา 1 ปี อย่างไรก็ตาม ส่วนของแผนแม่บทของสถาบันยานยนต์ก็จะต้องปรับไปควบคู่กันด้วยโดยเน้นใน 4 เรื่องหลัก
ประกอบด้วย 1.เป็นองค์กรความรู้ที่ชำนาญการในเรื่องของการสนับสนุนฐานข้อมูลและองค์ความรู้ให้กับหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการ 2.พัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง 3.มุ่งส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นเลิศโดยเน้นไปที่ตัวถัง ความคงทน และด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนอื่นๆ จะประสานกับหน่วยงานทั้งมหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ เพื่อศักยภาพสูงสุด และ 4.การบริหารจัดการที่มุ่งเน้นการเป็นศูนย์บริหารด้านบุคคลากร
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยในการมอบนโยบายให้กับหัวหน้าสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ 62 แห่งทั่วโลก วานนี้ (22 ก.ย.) ว่า กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าว่า ปี53ยอดส่งออกสินค้าไทยจะโต10-15% ตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าหลัก เช่น สหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น จีน อาเซียน และตะวันออกลาง ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออก 70-80%
ทั้งนี้ การส่งออกที่ในปี 2553 ที่เพิ่มขึ้นคาดว่า สหรัฐฯ จะส่งออกได้มูลค่า 16,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 3.9% สหภาพยุโรป (อียู) มูลค่า 18,134 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 5% ยุโรปตะวันออก รัสเซียและ CIS มูลค่า 3,022 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 15% จีน มูลค่า 16,353-17,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 1-5% ตะวันออกกลาง มูลค่า 8,992 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 5% แอฟริกา มูลค่า 7,780-8,118 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 15-20% อาเซียน 29,285 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 4.58% อินเดียและเอเชียใต้ มูลค่า 3,232 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 5%
อย่างไรก็ตาม ได้ขอให้ทูตพาณิชย์เป็นนักการตลาดมืออาชีพ โดยต้องมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถคิดค้นและพัฒนากลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดให้ออกมาน่าสนใจและโดดเด่น ต้องทำงานเป็นทีมได้ สามารถประสานงานได้ทั้งหน่วยงานรัฐ เอกชน ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ภายในและต่างประเทศ เพราะทุกวันนี้สภาพแวดล้อมทงการตลาดเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ทั้งด้านเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภค
นอกจากนี้ ทูตพาณิชย์ต้องพยายามต่อยอด คือ การดูแลยอดการส่งออกสินค้าในประเทศต่างๆ ว่ามีการปรับตัว เพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยเฉพาะสินค้า 10 อันดับแรก และในประเทศนั้นๆ มีสินค้าจากคู่แข่งประเทศใดบ้างที่กำลังมาแรงและเขาใช้กลยุทธ์อะไร มีสินค้าอะไรที่มีโอกาสส่งออกได้เพิ่มขึ้น หรือสินค้าอะไรที่ประเทศนั้นๆ ต้องการแต่ไทยยังส่งออกได้น้อย รวมไปถึงในประเทศที่ดูแลอยู่มีปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อหาทางแก้ไขให้กับผู้ส่งออกไทยและเตรียมพร้อมรับมือได้อย่างทันท่วงที
****เตรียมปรับแผนแม่บทยานยนต์ใหม่
นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า เร็วๆ นี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์จะมีการพิจารณาปรับปรุงแผนแม่บทพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ (ปี 2550-2554) ใหม่ เนื่องจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวมีผลให้ตลาดทั้งภายในประเทศและส่งออกลดลงทำให้การผลิตรถยนต์ของไทยจากระดับ 1,800,000 คัน ในปี 2551 คาดว่า จะเหลือเพียง 900,000-1,000,000 คัน ในปี 2552 ดังนั้น ภายใต้แผนที่ปรับปรุงคงจะเน้นการดึงการลงทุนในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมถึงการหาตลาดอื่นๆ เข้ามาเสริมคาดว่าแผนที่ปรับปรุงจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้
ทั้งนี้ ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจที่ชะลอตัวส่งผลให้ตลาดรถยนต์ของไทยเดิมตั้งเป้าหมายส่งออกไว้ที่ 1 ล้านคันภายในปี 2553 ต้องเลื่อนออกไปเป็นปี 2556 ขณะเดียวกันการผลิตรถยนต์ทั่วโลกที่อยู่ระดับ 70 ล้านคัน เหลือเพียง 50 ล้านคัน ทำให้โรงงานบางแห่งในประเทศอื่นๆ ปิดกิจการไประดับหนึ่งขณะที่ประเทศไทยโรงงานทั้งหมดลดกำลังผลิตลงเท่านั้น ดังนั้นแผนที่ปรับปรุงอาจจะต้องมาพิจารณาเจาะตลาดส่งออกไปทดแทนโรงงานที่ปิดลง ควบคู่ไปกับการพัฒนารถยนต์ประหยัดพลังงานภายใต้มาตรฐานสากลหรืออีโคคาร์ที่จะเริ่มผลิตได้ในปี 2553
ขณะเดียวกัน จะต้องกลับมาพิจารณาถึงรถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) ที่ปีนี้คาดว่าจะผลิตได้ประมาณ 6-7 แสนคัน จากเดิมที่อยู่ระดับ 1 ล้านคัน ที่ควรจะต้องปรับแนวทางการพัฒนาที่มุ่งเน้นไปที่การประหยัดพลังงาน การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อแสวงหาตลาดที่กว้างขึ้น พร้อมกับที่กระทรวงอุตสาหกรรมพยายามไปชักจูงนักลงทุนญี่ปุ่นมาลงทุนในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่นรถตู้ รถบรรทุกเนื่องจากความต้องการในโลกมีไม่มากแต่ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนจะทำให้การส่งออกและนำเข้าไม่ต้องเสียภาษีการย้ายฐานผลิตมาที่ไทยที่เดียวก็สามารถส่งออกไปได้ทั้งหมด
นอกจากนี้แล้ว ในปี 2553 ยังเตรียมที่จัดทำแผนแม่บทพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ระยะที่ 3 (ปี 55-59) ไปพร้อมๆ กันซึ่งยอมรับว่าปัจจัยด้านเศรษฐกิจโลกจะมีผลสำคัญต่อการวางแผนซึ่งแผนระยะ 3 คาดว่า จะใช้เวลาศึกษา 1 ปี อย่างไรก็ตาม ส่วนของแผนแม่บทของสถาบันยานยนต์ก็จะต้องปรับไปควบคู่กันด้วยโดยเน้นใน 4 เรื่องหลัก
ประกอบด้วย 1.เป็นองค์กรความรู้ที่ชำนาญการในเรื่องของการสนับสนุนฐานข้อมูลและองค์ความรู้ให้กับหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการ 2.พัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง 3.มุ่งส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นเลิศโดยเน้นไปที่ตัวถัง ความคงทน และด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนอื่นๆ จะประสานกับหน่วยงานทั้งมหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ เพื่อศักยภาพสูงสุด และ 4.การบริหารจัดการที่มุ่งเน้นการเป็นศูนย์บริหารด้านบุคคลากร