เลขาธิการ BOI เตรียมเสนอนายกฯ ออกมาตรการส่งเสริมนักธุรกิจไทยไปลงทุนใน ตปท.ได้เพิ่มขึ้น เตรียมสรุปข้อมูลจากผู้ประกอบการทั้งหมด ต.ค.นี้ เพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายการลงทุนแบบเสรีในอาเซียนและภูมิภาค
นางอรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) เปิดเผยว่า รัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมผู้ประกอบการไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว พม่า เวียดนาม ตลอดจนประเทศจีน อินเดีย แอฟริกา และรัสเซีย โดยจัดกิจกรรมศึกษาลู่ทางการลงทุนอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุด ได้ตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ เพื่อหาช่องทางการลงทุนในตลาดใหม่ๆ มากขึ้น ซึ่งขณะนี้ คณะอนุกรรมการฯ อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการเพื่อเตรียมเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งคาดว่าจะมีการประชุมคณะอนุกรรมการภายในเดือนตุลาคม 2552 นี้
สำหรับสถิติการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ ตั้งแต่ปี 2523-2550 ประเทศไทยมีการลงทุนในต่างประเทศมูลค่าเพียง 7,025 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นสัดส่วนเพียง 2.9% ของจีดีพี เมื่อเทียบกับสิงค์โปร์ที่มีมูลค่า 149,526 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 92.7% ของจีดีพี และมาเลเซียมีมูลค่า 58,175 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 31.2% โดยถือว่าไทยยังมีสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศที่น้อยมาก
ด้านนายวัลลภ วิตนากร เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย ระบุว่า สถานการณ์อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นแม้จะยังขยายตัวติดลบ โดยล่าสุดในเดือนส.ค.52 ติดลบประมาณ 15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังเชื่อมั่นว่า ตั้งแต่เดือนตุลาคม 225 จนถึงปีหน้า อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยจะปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ทั้งปี 2552 การเติบโตจะติดลบราว 7-10 %
ทั้งนี้ เนื่องจากช่วงปลายปีจนถึงต้นปีหน้า เริ่มมีคำสั่งซื้อเพิ่มเข้ามามากขึ้นตามฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่ยอมรับว่าผู้ประกอบการยังมีปัญหาจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาลเข้ามาดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าหรือมีความผันผวนมากนัก
นายวัลลภ ประเมินว่าในอีก 4 -5 ปีหน้าประเทศไทยจะเกิดวิกฤตแรงงานขาดแคลน ทำให้ภาคอุตสาหกรรมต้องย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า, บังกลาเทศ ซึ่งภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงการคลังควรจะนำโครงสร้างภาษีที่ให้แก่นักลงทุนของประเทศมาเลเซียและสิงค์โปร์มาศึกษา เพื่อส่งเสริมนักลงทุนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น
นางอรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) เปิดเผยว่า รัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมผู้ประกอบการไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว พม่า เวียดนาม ตลอดจนประเทศจีน อินเดีย แอฟริกา และรัสเซีย โดยจัดกิจกรรมศึกษาลู่ทางการลงทุนอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุด ได้ตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ เพื่อหาช่องทางการลงทุนในตลาดใหม่ๆ มากขึ้น ซึ่งขณะนี้ คณะอนุกรรมการฯ อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการเพื่อเตรียมเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งคาดว่าจะมีการประชุมคณะอนุกรรมการภายในเดือนตุลาคม 2552 นี้
สำหรับสถิติการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ ตั้งแต่ปี 2523-2550 ประเทศไทยมีการลงทุนในต่างประเทศมูลค่าเพียง 7,025 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นสัดส่วนเพียง 2.9% ของจีดีพี เมื่อเทียบกับสิงค์โปร์ที่มีมูลค่า 149,526 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 92.7% ของจีดีพี และมาเลเซียมีมูลค่า 58,175 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 31.2% โดยถือว่าไทยยังมีสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศที่น้อยมาก
ด้านนายวัลลภ วิตนากร เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย ระบุว่า สถานการณ์อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นแม้จะยังขยายตัวติดลบ โดยล่าสุดในเดือนส.ค.52 ติดลบประมาณ 15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังเชื่อมั่นว่า ตั้งแต่เดือนตุลาคม 225 จนถึงปีหน้า อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยจะปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ทั้งปี 2552 การเติบโตจะติดลบราว 7-10 %
ทั้งนี้ เนื่องจากช่วงปลายปีจนถึงต้นปีหน้า เริ่มมีคำสั่งซื้อเพิ่มเข้ามามากขึ้นตามฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่ยอมรับว่าผู้ประกอบการยังมีปัญหาจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาลเข้ามาดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าหรือมีความผันผวนมากนัก
นายวัลลภ ประเมินว่าในอีก 4 -5 ปีหน้าประเทศไทยจะเกิดวิกฤตแรงงานขาดแคลน ทำให้ภาคอุตสาหกรรมต้องย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า, บังกลาเทศ ซึ่งภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงการคลังควรจะนำโครงสร้างภาษีที่ให้แก่นักลงทุนของประเทศมาเลเซียและสิงค์โปร์มาศึกษา เพื่อส่งเสริมนักลงทุนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น