โรงแรมมึน ราคาห้องพักไม่กระเตื้อง เหตุราคาห้องพักลดลงต่อเนื่องมากว่า 2 ปี เฉลี่ยปีละ 10-20% เชื่อลากยาวถึงปลายปีหน้า เหตุจากวิกฤตเศรษฐกิจ และไข้หวัด 2009 ทำนักท่องเที่ยวหาย ธุรกิจโอเวอร์ซัปพลาย ขณะที่ไทยยิ่งหนักเจอการเมืองซ้ำเติม ตลาดเป็นของผู้ซื้อ ถูกเอเยนต์กดราคาใช้วิธี At Hock Rate ก้มหน้ารับเพื่อความอยู่รอด เชื่อต้นปีหน้า ผู้ประกอบการถอดใจขายทิ้งกว่า 100 ราย
นายประกิจ ชินอมรพงษ์ นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) เปิดเผยว่า อัตราค่าห้องพักโรงแรมในแถมเอเชียรวมถึงประเทศไทย ยังอยู่ในช่วงขาลงเฉลี่ยลดลงปีละ 10-20% เป็นเช่นนี้กว่า 2 ปีแล้ว และคาดว่า จะลากยาวไปถึงปลายปี 2553 ทั้งนี้ เพราะผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ประกอบกับสถานการณ์โอเวอร์ซัปพลายของจำนวนห้องพัก ทำให้ตลาดตกเป็นของผู้บริโภค เกิดการกดราคาจากกลุ่มเอเยนต์ และบริษัททัวร์ ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการก็ใช้กลยุทธ์สงครามราคา เพื่อเรียกลูกค้า
“ตอนนี้ราคาโรงแรมมีแต่จะปรับลง แม้จะเป็นช่วงไฮซีซันก็ตาม แต่ราคาห้องพักไม่ได้ไฮตามไปด้วย ปีก่อนราคาห้องพักโรงแรมที่ประเทศสิงคโปร์เฉลี่ยอยู่ที่คืนละ 170 เหรียญสหรัฐฯ หรือราว 5,950 บาท แต่ปีนี้ราคาลงมาอยู่ที่ 120 เหรียญสหรัฐฯ หรือราว 4,200 บาท เท่านั้น ส่วนประเทศไทย ราคาห้องพักเฉลี่ยทั่วประเทศไม่รวมกรุงเทพฯ สำหรับโรงแรมระดับ 4 ดาว ราคาเหลือเพียงคืนละ 1,700 บาท ลดลง 20% จากปีก่อนที่จะขายกันในราคา 2,200 บาท โดยบางแห่งจัดโปรโมชั่นลดราคาถึง 50% ส่วนโรงแรมระดับ 3 ดาว ที่ลูกค้าเป็นคนไทย ก็จะขายที่ราคาคืนละ 800-1,000 บาท เพื่อให้มีลูกค้ามาใช้บริการจะได้มีเงินสดเข้ามาหมุนเวียนในกิจการบ้าง”
สำหรับประเทศไทย ยังมีเรื่องของสถานการณ์ทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่กล้าที่จะตัดสินใจเดินทางเข้ามา ส่วนสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ 2009 ทุกประเทศถูกผลกระทบเหมือนกันหมด จึงทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมของประเทศไทยอยู่ในภาวะที่ย่ำแย่กว่าประเทศอื่นๆ บางโรงแรมในต่างจังหวัด อัตราเข้าพักขณะนี้เหลือเพียง 18% ยอดจองล่วงหน้าก็ยังมีมาไม่มากเหมือนทุกปี
“ตอนนี้เริ่มมีบุ๊คกิ๊งล่วงหน้าเข้ามาบ้างแต่ไม่มากนัก โดยสิ่งที่เอเยนต์สอบถามมากที่สุก คือ เมื่อไหร่การเมืองไทยจะสงบนิ่ง เพราะถ้าเขาส่งลูกทัวร์เข้ามาเข้าต้องรับผิดชอบหากเกิดอะไรขึ้นมาโดยไม่คาดคิด ขณะที่เอเยนต์บางราย ใช้วิธีเจรจาแบบ Ad Hoc Rate คือ การเจรจาซื้อห้องพักแบบตกลงทันที ให้ราคาที่ต่ำกว่าปกติ แต่จะส่งลูกทัวร์มาทันทีไม่ได้เป็นการตกลงในระยะยาว ซึ่งโรงแรมถ้ามีห้องว่างอยู่ส่วนใหญ่ก็จะรับเพราะดีกว่าปล่อยให้ห้องว่างไปเฉยๆ แต่การขายแบบนี้ไม่มีกำไร แต่ได้เงินมาหมุนเวียน”
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการก็ยังหวังว่าหากการประชุมอาเซียนซัมมิทในเดือนตุลาคมปีนี้ ถ้าผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ภาพของการท่องเที่ยวประเทศไทยก็น่าจะกลับมาคึกคักได้อีกครั้งในปลายปีนี้
นายประกิจ กล่าวยอมรับว่า มีผู้ประกอบการโรงแรมกว่า 100 รายต้องการขายกิจการ ถ้าได้ราคาตามที่ต้องการ เพราะต้องเจอกับปัญหาเข้ามากระทบธุรกิจต่อเนื่องมาหลายปี และยังมองไม่เห็นจุดสิ้นสุด แต่ทุนต่างชาติที่ติดต่อเข้ามาส่วนใหญ่ต้องการซื้อในราคาถูก จึงทำให้ขณะนี้ยังไม่มีผู้ประกอบการรายได้ขาย
หลายรายรอดูสถานการณ์ในปลายปีนี้ ว่า ท่องเที่ยวของไทยจะพลิกฟื้นได้หรือไม่ แต่หากการเมืองยังวุ่นวายเช่นนี้ ทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวต้องซบเซาไปด้วย เชื่อว่า ต้นปีหน้า จะได้เห็นภาพการประกาศขายกิจการโรงแรมแน่ซึ่งพื้นที่ที่ห้องพักโอเวอร์ซัปพลายแล้ว ได้แก่ เกาะสมุย เชียงใหม่ ภูเก็ต และกรุงเทพฯ
นายประกิจ ชินอมรพงษ์ นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) เปิดเผยว่า อัตราค่าห้องพักโรงแรมในแถมเอเชียรวมถึงประเทศไทย ยังอยู่ในช่วงขาลงเฉลี่ยลดลงปีละ 10-20% เป็นเช่นนี้กว่า 2 ปีแล้ว และคาดว่า จะลากยาวไปถึงปลายปี 2553 ทั้งนี้ เพราะผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ประกอบกับสถานการณ์โอเวอร์ซัปพลายของจำนวนห้องพัก ทำให้ตลาดตกเป็นของผู้บริโภค เกิดการกดราคาจากกลุ่มเอเยนต์ และบริษัททัวร์ ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการก็ใช้กลยุทธ์สงครามราคา เพื่อเรียกลูกค้า
“ตอนนี้ราคาโรงแรมมีแต่จะปรับลง แม้จะเป็นช่วงไฮซีซันก็ตาม แต่ราคาห้องพักไม่ได้ไฮตามไปด้วย ปีก่อนราคาห้องพักโรงแรมที่ประเทศสิงคโปร์เฉลี่ยอยู่ที่คืนละ 170 เหรียญสหรัฐฯ หรือราว 5,950 บาท แต่ปีนี้ราคาลงมาอยู่ที่ 120 เหรียญสหรัฐฯ หรือราว 4,200 บาท เท่านั้น ส่วนประเทศไทย ราคาห้องพักเฉลี่ยทั่วประเทศไม่รวมกรุงเทพฯ สำหรับโรงแรมระดับ 4 ดาว ราคาเหลือเพียงคืนละ 1,700 บาท ลดลง 20% จากปีก่อนที่จะขายกันในราคา 2,200 บาท โดยบางแห่งจัดโปรโมชั่นลดราคาถึง 50% ส่วนโรงแรมระดับ 3 ดาว ที่ลูกค้าเป็นคนไทย ก็จะขายที่ราคาคืนละ 800-1,000 บาท เพื่อให้มีลูกค้ามาใช้บริการจะได้มีเงินสดเข้ามาหมุนเวียนในกิจการบ้าง”
สำหรับประเทศไทย ยังมีเรื่องของสถานการณ์ทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่กล้าที่จะตัดสินใจเดินทางเข้ามา ส่วนสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ 2009 ทุกประเทศถูกผลกระทบเหมือนกันหมด จึงทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมของประเทศไทยอยู่ในภาวะที่ย่ำแย่กว่าประเทศอื่นๆ บางโรงแรมในต่างจังหวัด อัตราเข้าพักขณะนี้เหลือเพียง 18% ยอดจองล่วงหน้าก็ยังมีมาไม่มากเหมือนทุกปี
“ตอนนี้เริ่มมีบุ๊คกิ๊งล่วงหน้าเข้ามาบ้างแต่ไม่มากนัก โดยสิ่งที่เอเยนต์สอบถามมากที่สุก คือ เมื่อไหร่การเมืองไทยจะสงบนิ่ง เพราะถ้าเขาส่งลูกทัวร์เข้ามาเข้าต้องรับผิดชอบหากเกิดอะไรขึ้นมาโดยไม่คาดคิด ขณะที่เอเยนต์บางราย ใช้วิธีเจรจาแบบ Ad Hoc Rate คือ การเจรจาซื้อห้องพักแบบตกลงทันที ให้ราคาที่ต่ำกว่าปกติ แต่จะส่งลูกทัวร์มาทันทีไม่ได้เป็นการตกลงในระยะยาว ซึ่งโรงแรมถ้ามีห้องว่างอยู่ส่วนใหญ่ก็จะรับเพราะดีกว่าปล่อยให้ห้องว่างไปเฉยๆ แต่การขายแบบนี้ไม่มีกำไร แต่ได้เงินมาหมุนเวียน”
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการก็ยังหวังว่าหากการประชุมอาเซียนซัมมิทในเดือนตุลาคมปีนี้ ถ้าผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ภาพของการท่องเที่ยวประเทศไทยก็น่าจะกลับมาคึกคักได้อีกครั้งในปลายปีนี้
นายประกิจ กล่าวยอมรับว่า มีผู้ประกอบการโรงแรมกว่า 100 รายต้องการขายกิจการ ถ้าได้ราคาตามที่ต้องการ เพราะต้องเจอกับปัญหาเข้ามากระทบธุรกิจต่อเนื่องมาหลายปี และยังมองไม่เห็นจุดสิ้นสุด แต่ทุนต่างชาติที่ติดต่อเข้ามาส่วนใหญ่ต้องการซื้อในราคาถูก จึงทำให้ขณะนี้ยังไม่มีผู้ประกอบการรายได้ขาย
หลายรายรอดูสถานการณ์ในปลายปีนี้ ว่า ท่องเที่ยวของไทยจะพลิกฟื้นได้หรือไม่ แต่หากการเมืองยังวุ่นวายเช่นนี้ ทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวต้องซบเซาไปด้วย เชื่อว่า ต้นปีหน้า จะได้เห็นภาพการประกาศขายกิจการโรงแรมแน่ซึ่งพื้นที่ที่ห้องพักโอเวอร์ซัปพลายแล้ว ได้แก่ เกาะสมุย เชียงใหม่ ภูเก็ต และกรุงเทพฯ