ชุมพล หยาม”อีลิทเน่า “ เชื่อไม่มีเอกชนสนใจซื้อ สุดท้ายต้องซบ ททท. เตรียมเดินแผน 2 สั่ง”เมธาวี” เคลียร์ซาก บีบสมาชิกไม่พึ่งประสงค์ ก่อนส่งมอบ ททท. คาดเหลือ 1,500 รายจากปัจจุบันที่มีกว่า 2,500 ราย
นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า แม้คณะรัฐมนตรีจะมีมติให้ประกาศขายกิจการอีลิทให้กับเอกชนที่สนใจ แต่โดยส่วนตัวยังเชื่อว่า คงไม่มีเอกชนสนใจเข้าซื้อกิจการ เพราะอีลิทการ์ดเป็นองค์กรที่ไม่มีอนาคต ทำงานเหมือนแชร์ลูกโซ่ หรือ แชร์แม้ชม้อย การบริหารงานที่ผ่านมาก็มีเงื่อนงำโดยตลอด ซึ่งขณะนี้ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง โดยพบหลายโครงการที่น่าสงสัยและบริษัทตกอยู่ในสถานะเสียเปรียบทุกกรณี เช่น โครงการติดตั้งระบบไอทีราว 70 ล้านบาท
จากการทำงานที่หละหลวมและไม่มีการตรวจสอบ ทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทขาดทุนอย่างต่อเนื่อง มียอดขาดทุนสะสม 1,412 ล้านบาท ทั้งที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลให้ทุนประเดิมตั้งบริษัท 500 ล้านบาท บริษัทมีรายได้จากการขายบัตรสมาชิกอีกกว่า 2,054 ล้านบาท แต่กลับมีเงินสดคงเหลือ ณ ปัจจุบัน เพียง 304 ล้านบาท ซึ่งเอกชนที่สนใจจะเข้าซื้อกิจการจะต้องใช้เงินมากเท่าใดกับหน่วยงานนี้ เพราะอย่างน้อยต้องคืนเงินให้กับรัฐบาล 500 ล้านบาท บวกกับมูลค่าอื่นๆและเงินสดที่เหลืออยู่ ซึ่งรวมแล้วคงต้องใช้เงินมากซึ่งยังไม่นับเม็ดเงินที่จะต้องใส่เข้าไปทำการตลาดเพิ่มเติมแต่ไม่รู้อนาคตว่าจะฟื้นอีลิทการ์ดขึ้นมาทำตลาดได้อีกหรือไม่
“เชื่อว่าเมื่อเอกชนเห็นเช่นนี้แล้วคงไม่อยากซื้อกิจการของอีลิทการ์ดแน่ เพราะข้างในมีแต่ซากมีแต่หนอน ปลวก เหม็นหึ่ง คงไม่มีใครอยากได้ แต่เมื่อเป็นมติ ครม.ก็ต้องลองประกาศดูว่าเผื่อจะมีใครสนใจ”
อย่างไรก็ตาม ในแผนสองหากขายกิจการไม่ได้ คือการปิดบริษัทแล้วโอนสมาชิก 2570 ราย เข้าไปอยู่ในความดูแลของ ททท. แต่ก่อนโอนไปอยู่กับ ททท.นั้น จะต้องเคลียร์ของเสียออกให้หมด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ โดยน.ส.เมธาวี ตันวัฒนะพงษ์ รักษาการผู้จัดการใหญ่ และ ปรธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยจากนี้ไปจะต้องดำเนินการตรวจสอบสมาชิก 795 ราย
ที่่คาดว่าคุณสมบัติไม่ถูกต้องเพราะมีถิ่นพำนักในประเทศไทยเป็นการถาวร นอกจากนั้น จะใช้เกณฑ์เข้มงวดในการคัดกรองสมาชิกที่มีอยู่อีกครั้ง เพื่อยกเลิกสมาชิกที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ จึงคาดว่าจะเหลือสมาชิกที่ย้ายไปอยู่กับ ททท.ราว 1,500 ราย จากทั้งหมด 2,570 ราย
จากนั้นจะใช้สิทธิตามสัญญาปรับลดสิทธิประโยชน์เท่าที่จำเป็นโดยคงสิทธิประโยชน์หลัก เช่น ฟาสต์แทรก และ สิทธิ์วีซ่าตลอดอายุต่อทุก 5 ปีไว้ พร้อมยื่นข้อเสนอให้สมาชิกลาออกได้โดยได้เงินคืนตามมูลค่าหลักหักค่าเสื่อมราคา จะทำให้เหลือเพียงสมาชิกที่คาดหวังเรื่องการบริการความสะดวกและเป็นนักลงทุนจริงๆ จากนั้นค่อยเดินหน้าขายสมาชิกโดยให้สำนักงานททท.เป็นหน้าร้านจัดจำหน่าย และหากหาทางออกได้ดีกว่านี้ก็จะดำเนินการทันที
นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า แม้คณะรัฐมนตรีจะมีมติให้ประกาศขายกิจการอีลิทให้กับเอกชนที่สนใจ แต่โดยส่วนตัวยังเชื่อว่า คงไม่มีเอกชนสนใจเข้าซื้อกิจการ เพราะอีลิทการ์ดเป็นองค์กรที่ไม่มีอนาคต ทำงานเหมือนแชร์ลูกโซ่ หรือ แชร์แม้ชม้อย การบริหารงานที่ผ่านมาก็มีเงื่อนงำโดยตลอด ซึ่งขณะนี้ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง โดยพบหลายโครงการที่น่าสงสัยและบริษัทตกอยู่ในสถานะเสียเปรียบทุกกรณี เช่น โครงการติดตั้งระบบไอทีราว 70 ล้านบาท
จากการทำงานที่หละหลวมและไม่มีการตรวจสอบ ทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทขาดทุนอย่างต่อเนื่อง มียอดขาดทุนสะสม 1,412 ล้านบาท ทั้งที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลให้ทุนประเดิมตั้งบริษัท 500 ล้านบาท บริษัทมีรายได้จากการขายบัตรสมาชิกอีกกว่า 2,054 ล้านบาท แต่กลับมีเงินสดคงเหลือ ณ ปัจจุบัน เพียง 304 ล้านบาท ซึ่งเอกชนที่สนใจจะเข้าซื้อกิจการจะต้องใช้เงินมากเท่าใดกับหน่วยงานนี้ เพราะอย่างน้อยต้องคืนเงินให้กับรัฐบาล 500 ล้านบาท บวกกับมูลค่าอื่นๆและเงินสดที่เหลืออยู่ ซึ่งรวมแล้วคงต้องใช้เงินมากซึ่งยังไม่นับเม็ดเงินที่จะต้องใส่เข้าไปทำการตลาดเพิ่มเติมแต่ไม่รู้อนาคตว่าจะฟื้นอีลิทการ์ดขึ้นมาทำตลาดได้อีกหรือไม่
“เชื่อว่าเมื่อเอกชนเห็นเช่นนี้แล้วคงไม่อยากซื้อกิจการของอีลิทการ์ดแน่ เพราะข้างในมีแต่ซากมีแต่หนอน ปลวก เหม็นหึ่ง คงไม่มีใครอยากได้ แต่เมื่อเป็นมติ ครม.ก็ต้องลองประกาศดูว่าเผื่อจะมีใครสนใจ”
อย่างไรก็ตาม ในแผนสองหากขายกิจการไม่ได้ คือการปิดบริษัทแล้วโอนสมาชิก 2570 ราย เข้าไปอยู่ในความดูแลของ ททท. แต่ก่อนโอนไปอยู่กับ ททท.นั้น จะต้องเคลียร์ของเสียออกให้หมด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ โดยน.ส.เมธาวี ตันวัฒนะพงษ์ รักษาการผู้จัดการใหญ่ และ ปรธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยจากนี้ไปจะต้องดำเนินการตรวจสอบสมาชิก 795 ราย
ที่่คาดว่าคุณสมบัติไม่ถูกต้องเพราะมีถิ่นพำนักในประเทศไทยเป็นการถาวร นอกจากนั้น จะใช้เกณฑ์เข้มงวดในการคัดกรองสมาชิกที่มีอยู่อีกครั้ง เพื่อยกเลิกสมาชิกที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ จึงคาดว่าจะเหลือสมาชิกที่ย้ายไปอยู่กับ ททท.ราว 1,500 ราย จากทั้งหมด 2,570 ราย
จากนั้นจะใช้สิทธิตามสัญญาปรับลดสิทธิประโยชน์เท่าที่จำเป็นโดยคงสิทธิประโยชน์หลัก เช่น ฟาสต์แทรก และ สิทธิ์วีซ่าตลอดอายุต่อทุก 5 ปีไว้ พร้อมยื่นข้อเสนอให้สมาชิกลาออกได้โดยได้เงินคืนตามมูลค่าหลักหักค่าเสื่อมราคา จะทำให้เหลือเพียงสมาชิกที่คาดหวังเรื่องการบริการความสะดวกและเป็นนักลงทุนจริงๆ จากนั้นค่อยเดินหน้าขายสมาชิกโดยให้สำนักงานททท.เป็นหน้าร้านจัดจำหน่าย และหากหาทางออกได้ดีกว่านี้ก็จะดำเนินการทันที