ASTVผู้จัดการรายวัน – เมธาวี ลุยงานด้านการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างที่อีลิทต่อไป เผยมีอีกว่า 100 สัญญาที่ต้องตรวจ มั่นใจ เสร็จทันภายใน 3 เดือนตามกำหนดรัฐบาล พร้อมส่งมอบให้กับเอกชน หรือ ททท.ที่ต้องรับช่วงต่อ ระบุถ้าเอกชนสนใจต้องควักไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท ล่าสุดร่อนหนังสือชี้แจงสมาชิกเรียกขวัญ ยันยังให้บริการเหมือนเดิม
น.ส.เมธาวี ตันวัฒนะพงษ์ รักษาการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไทยแลนด์ พิวิเลจ คาร์ด จำกัด (ทีพีซี) ผู้บริหารโครงการบัตรไทยแลนด์อีลิทการ์ด เปิดเผยว่า ทีพีซี ได้ส่งหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงถึงสมาชิกทุกราย เพื่อสร้างความเข้าใจตรงกันว่า แม้ คณะรัฐมนตรีจะมีมติขายกิจการอีลิทการ์ดให้ภาคเอกชนภายใน 3 เดือน แต่สมาชิกยังสามารถเข้ามารับบริการและรับสิทธิประโยชน์ที่บริษัทมีให้แก่สมาชิกได้ตามปกติทุกอย่าง รวมถึงสมาชิก 795 ราย ที่เข้าข่ายคุณสมบัติไม่ถูกต้องก็ยังได้รับบริการได้ทุกอย่างจนกว่าการตรวจสอบจะแล้วเสร็จ
ขณะเดียวกระบวนการทำงานด้านการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างก็จะดำเนินต่อไป โดยล่าสุดมีมากกว่า 100 สัญญาการจัดซื้อจัดจ้างที่รอการตรวจสอบ โดยจะเร่งดำเนินการให้เสร็จภายใน 3 เดือน ก่อนที่จะส่งมอบโครงการอีลิทการ์ดให้กับบริษัทเอกชนที่เข้ามาซื้อหรือแม้แต่จะต้องโอนถ่ายไปอยู่ภายใต้หน่วยงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ก็ตาม
“ตอนนี้มีสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง ที่ยังมีผลบังคับตามกฎหมายอีกกว่า 100 สัญญา ที่เราต้องเข้าไปตรวจสอบว่าเป็นไปตามหลักการ ความเหมาะสมและความจำเป็นหรือไม่ ซึ่งหากพบว่าเป็นการจัดซื้อจัดจ้างโดยไม่สมเหตุสมผล และพิสูจน์ได้ว่าเป็นการทุจริต ก็ต้องนำคนผิดมาลงโทษ ซึ่งสัญญาทั้งหมดก็ทำในยุดผู้บริหารที่ผ่านๆมาทั้งสิ้น ส่วนสัญญาโครงการจัดจ้างติดตั้งระบบไอทีที่เซ็นไว้กับบริษัท เอไอทีวงเงิน 77 ล้านบาท เบื้องต้นหากล้มโครงการ เอไอทีเรียกค่าเสียหาย 29 ล้านบาท ซึ่งก็ต้องเจรจาขอลดหย่อนกันอีกต่อไป”
กรณีสมาชิก 795 ราย ที่เข้าข่ายมีคุณสมบัติไม่ตรงตามหลักเกณฑ์การเข้าเป็นสมาชิกอีลิทการ์ดนั้น ล่าสุดได้ประสานไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และ สำนักทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย เพื่อให้ตรวจสอบถิ่นพำนัก และ รายชื่อในทะเบียนราษฎร์ เพราะต้องการทราบข้อมูลว่าสมาชิกกลุ่มนี้มีถิ่นพำนักถาวรอยู่ในประเทศไทยหรือไม่ รวมถึงคุณสมบัติอื่นๆก็ต้องตรวจสอบด้วยซึ่งหากพบว่าไม่ตรงหลักเกณฑ์ จริงก็จะไม่ได้ตัดสิทธิ์การเป็นสมาชิกอีลิทการ์ดในทันที แต่จะเชิญสมาชิกทีละรายเข้ามาเจรจาหาทางออกร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อให้สมาชิกไม่เกิดความรู้สึกกว่าถูกรังแกหรือเอาเปรียบ จากบริษัททีพีซี หรือรัฐบาลไทย เป็นการป้องกันการถูกฟ้องร้อง และ การรักษาภาพลักษณ์ประเทศให้ดีที่สุด
อย่างไรก็ตามโดยส่วนตัวยังมองเห็นศักยภาพของโครงการอีลิทการ์ด ที่จะทำประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยได้อีกมาก เพราะสมาชิกส่วนใหญ่เป็นระดับวีไอพี มีกำลังด่านการลงทุนสูง แต่บริษัทยังไม่ได้นำศักยภาพตรงนี้ของสมาชิกออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ซึ่งการประกาศขายให้เอกชนครั้งนี้คาดว่าจะต้องขายไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท โดยคำนวณจากทรัพย์สิน หนี้สิน การชำระคืนทุนให้รัฐบาล 500 ล้านบาท และเงินสดคงเหลืออีกราว 304 ล้านบาท
น.ส.เมธาวี กล่าวว่า ภายหลังข่าว ครม.มีมติขายกิจการอีลิทการ์ดให้เอกชน ส่งผลให้สมาชิกเกิดความกังวลใจมาก มีอีเมล์ เข้ามาสอบถามหลายราย ส่วนใหญ่ถามเรื่องสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับหลังจากนี้ และ เรื่องว่าตนเองจะเข้าข่ายใน 795 ราย ที่คุณสมบัติไม่ตรงหรือไม่ เป็นต้น นอกจากนั้นยังเรียกประชุมพนักงานระดับหัวหน้าแผนก เพื่อชี้แจ้งคำตัดสินของ ครม.เมื่อวันที่ 17 พ.ย.52 และถือเป็นการเรียกขวัญกำลังใจพนักงานให้ปฎิบัติต่อไปย่างเต็มที่
น.ส.เมธาวี ตันวัฒนะพงษ์ รักษาการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไทยแลนด์ พิวิเลจ คาร์ด จำกัด (ทีพีซี) ผู้บริหารโครงการบัตรไทยแลนด์อีลิทการ์ด เปิดเผยว่า ทีพีซี ได้ส่งหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงถึงสมาชิกทุกราย เพื่อสร้างความเข้าใจตรงกันว่า แม้ คณะรัฐมนตรีจะมีมติขายกิจการอีลิทการ์ดให้ภาคเอกชนภายใน 3 เดือน แต่สมาชิกยังสามารถเข้ามารับบริการและรับสิทธิประโยชน์ที่บริษัทมีให้แก่สมาชิกได้ตามปกติทุกอย่าง รวมถึงสมาชิก 795 ราย ที่เข้าข่ายคุณสมบัติไม่ถูกต้องก็ยังได้รับบริการได้ทุกอย่างจนกว่าการตรวจสอบจะแล้วเสร็จ
ขณะเดียวกระบวนการทำงานด้านการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างก็จะดำเนินต่อไป โดยล่าสุดมีมากกว่า 100 สัญญาการจัดซื้อจัดจ้างที่รอการตรวจสอบ โดยจะเร่งดำเนินการให้เสร็จภายใน 3 เดือน ก่อนที่จะส่งมอบโครงการอีลิทการ์ดให้กับบริษัทเอกชนที่เข้ามาซื้อหรือแม้แต่จะต้องโอนถ่ายไปอยู่ภายใต้หน่วยงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ก็ตาม
“ตอนนี้มีสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง ที่ยังมีผลบังคับตามกฎหมายอีกกว่า 100 สัญญา ที่เราต้องเข้าไปตรวจสอบว่าเป็นไปตามหลักการ ความเหมาะสมและความจำเป็นหรือไม่ ซึ่งหากพบว่าเป็นการจัดซื้อจัดจ้างโดยไม่สมเหตุสมผล และพิสูจน์ได้ว่าเป็นการทุจริต ก็ต้องนำคนผิดมาลงโทษ ซึ่งสัญญาทั้งหมดก็ทำในยุดผู้บริหารที่ผ่านๆมาทั้งสิ้น ส่วนสัญญาโครงการจัดจ้างติดตั้งระบบไอทีที่เซ็นไว้กับบริษัท เอไอทีวงเงิน 77 ล้านบาท เบื้องต้นหากล้มโครงการ เอไอทีเรียกค่าเสียหาย 29 ล้านบาท ซึ่งก็ต้องเจรจาขอลดหย่อนกันอีกต่อไป”
กรณีสมาชิก 795 ราย ที่เข้าข่ายมีคุณสมบัติไม่ตรงตามหลักเกณฑ์การเข้าเป็นสมาชิกอีลิทการ์ดนั้น ล่าสุดได้ประสานไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และ สำนักทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย เพื่อให้ตรวจสอบถิ่นพำนัก และ รายชื่อในทะเบียนราษฎร์ เพราะต้องการทราบข้อมูลว่าสมาชิกกลุ่มนี้มีถิ่นพำนักถาวรอยู่ในประเทศไทยหรือไม่ รวมถึงคุณสมบัติอื่นๆก็ต้องตรวจสอบด้วยซึ่งหากพบว่าไม่ตรงหลักเกณฑ์ จริงก็จะไม่ได้ตัดสิทธิ์การเป็นสมาชิกอีลิทการ์ดในทันที แต่จะเชิญสมาชิกทีละรายเข้ามาเจรจาหาทางออกร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อให้สมาชิกไม่เกิดความรู้สึกกว่าถูกรังแกหรือเอาเปรียบ จากบริษัททีพีซี หรือรัฐบาลไทย เป็นการป้องกันการถูกฟ้องร้อง และ การรักษาภาพลักษณ์ประเทศให้ดีที่สุด
อย่างไรก็ตามโดยส่วนตัวยังมองเห็นศักยภาพของโครงการอีลิทการ์ด ที่จะทำประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยได้อีกมาก เพราะสมาชิกส่วนใหญ่เป็นระดับวีไอพี มีกำลังด่านการลงทุนสูง แต่บริษัทยังไม่ได้นำศักยภาพตรงนี้ของสมาชิกออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ซึ่งการประกาศขายให้เอกชนครั้งนี้คาดว่าจะต้องขายไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท โดยคำนวณจากทรัพย์สิน หนี้สิน การชำระคืนทุนให้รัฐบาล 500 ล้านบาท และเงินสดคงเหลืออีกราว 304 ล้านบาท
น.ส.เมธาวี กล่าวว่า ภายหลังข่าว ครม.มีมติขายกิจการอีลิทการ์ดให้เอกชน ส่งผลให้สมาชิกเกิดความกังวลใจมาก มีอีเมล์ เข้ามาสอบถามหลายราย ส่วนใหญ่ถามเรื่องสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับหลังจากนี้ และ เรื่องว่าตนเองจะเข้าข่ายใน 795 ราย ที่คุณสมบัติไม่ตรงหรือไม่ เป็นต้น นอกจากนั้นยังเรียกประชุมพนักงานระดับหัวหน้าแผนก เพื่อชี้แจ้งคำตัดสินของ ครม.เมื่อวันที่ 17 พ.ย.52 และถือเป็นการเรียกขวัญกำลังใจพนักงานให้ปฎิบัติต่อไปย่างเต็มที่