กระทรวงการท่องเที่ยวฯ มาแปลก เปิดทาง ให้อำนาจเขตพื้นที่การศึกษาร่วมสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด ดำเนินการจัดจ้างบริษัทนำเที่ยวในโครงการพาเยาวชนท่องเที่ยวเอง แถมนำร่อง ประเดิมจัดทริปเที่ยวสุพรรณบุรี เอาใจนาย แต่อ้างอยู่ใกล้กรุงเทพฯ ขณะที่ภาคเอกชนระบุจัดจ้างแบบนี้หวั่นเป็นช่องทางฮั้วประมูล
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการนำเที่ยวสำหรับเยาวชน ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ภายใต้วงเงินงบประมาณ 153 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการนำคนไทยเที่ยวในประเทศ ล่าสุด ได้ข้อสรุปว่าให้เขตพื้นที่การศึกษาในแต่ละจังหวัดรวม 184 เขตพื้นที่ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด และ สำนักงานของการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกันดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง บริษัทนำเที่ยวที่อยู่ในพื้นที่ของตัวเอง หรือในจังหวัดใกล้เคียง มาจัดทริปเส้นทางนำเที่ยว โดยในวันที่ 17 ก.ค. 52 นี้จะเริ่มจัดทริปแรกนำเยาวชนไปเที่ยว จ.สุพรรณบุรี เพราะอยู่ใกล้ มีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย เช่น อุทยานมังกร บึงฉวาง ศาลหลักเมือง และ ตลาดร้อยปี เป็นต้น
***เปิดทางเขตพื้นที่ฯจัดจ้างเอง*****
สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างบริษัทนำเที่ยว กระทรวงฯให้อำนาจเขตพื้นที่การศึกษา และสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด ในแต่ละพื้นที่ไปกำหนดเกณฑ์การเปิดรับสมัครเอง โดยตั้งงบประมาณให้เขตพื้นที่ละ 6-9 แสนบาท เฉลี่ยค่าใช้จ่ายต่อหัวที่ 800 บาท สำหรับการไปเที่ยวแบบเช้าไปเย็นกลับ และ 1,200 บาท สำหรับ พักค้าง 1 คืน รวมอาหารและที่พัก ส่วนโรงเรียนจะเป็นผู้คัดเลือกนักเรียนที่จะเข้าร่วมโครงการ แต่ต้องศึกษาในระดับมัธยมต้นขึ้นไป และอาชีวะศึกษา ผู้สูงอายุ สำนักงานของกระทรวงพัฒนาสังคมและทรัพยากรมนุษย์ จะเป็นผู้คัดเลือก โครงการนี้จะจัดทั่วประเทศ จังหวัดๆละ 2,000 คน
โครงการนี้ เป็นความร่วมมือของ 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงการท่องเที่ยวฯ กระทรวงศึกษา แล กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกำหนดเป็นเกณฑ์พื้นฐานของโครงการนี้ไว้ 4 ประเด็น คือให้จัดการเดินทางโดยผ่านบริษัทนำเที่ยว ,ต้องใช้รถโค้ชเช่า ,ต้องนอนโรงแรม และ ต้องใช้บริการมัคคุเทศก์อาชีพ โดยทุกเขตพื้นที่การศึกษาต้องจัดทำคู่มือ “ท่องเที่ยวรอบรู้ ฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย” บอกรายละเอียด จุดประสงค์ของโครงการพร้อมหลักเกณฑ์ แจกจ่ายแก่นักท่องเที่ยวและบริษัททัวร์ให้รับทราบทั่วถึง และ ต้องจัดทำหมวก กระเป๋าผ้า และ ธงนำเที่ยวแจกจ่ายให้แก่เยาวชนใช้ระหว่างเดินทางท่องเที่ยวด้วย
เส้นทางท่องเที่ยวให้เน้นตามเส้นทาง 14 คลัสเตอร์ ในรูปแบบทัศนศึกษา เช่น หาดทรายชายทะเล ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ อุทยานแห่งชาติ วัด และโครงการพระราชดำหริ เป็นการนำเที่ยวภายในจังหวัด และพื้นที่ใกล้เคียงในกลุ่มคลัสเตอร์ และทุกเส้นทาง ต้องจัดกิจกรรมประกวด เช่น เรียงความ ภาพถ่าย วาดภาพ ร้อยกรอง เป็นต้น ชิงรางวัลเที่ยวฟรี กระทรวงฯยังจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเมินผลใน 3 ประเด็นหลัก คือ เยาวชนได้ความรู้แค่ไหน เกิดความสนุกสนานหรือไม่ และช่วยกระจายรายได้มาน้อยแค่ไหน คาดว่า 1 เดือนหลังเริ่มโครงการจะทราบผล ซึ่งระยะเวลาของโครงการนี้ จะเริ่มตั้งแต่ ก.ค.-ก.ย.ปีนี้ ส่วนแผนงานปีหน้าขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นของบประมาณจากงบกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสองในวงเงิน 200 ล้านบาท
***หวั่นเปิดช่องทุจริตจัดทัวร์ไม่ได้มาตรฐาน****
น.ส.มัยรัตน์ พีระญาณ์โกเศส นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ(สทน.) กล่าวว่า เป็นโครงการที่ดี แต่ทั้งนี้พฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวเยาวชน ผู้พิการ และผู้สูงอายุ จะแตกต่างจากนักท่องเที่ยวทั่วไป อีกทั้งยังต้องการความดูแลระหว่างการท่องเที่ยวเป็นกรณีพิเศษ จึงต้องใช้บริษัทนำเที่ยวที่มีประสบการณ์และความชำนาญสูง ซึ่งไม่เข้าใจว่า ทำไมกระทรวงฯจึงปล่อยให้เป็นอำนาจของเขตพื้นที่ในการจัดจ้างบริษัทนำเที่ยว ซึ่งการที่มีองค์กรขนาดใหญ่ในระดับสมาคมถึง 4 สมาคม ได้แก่ สทน. และสมาคมนำเที่ยวไทย เป็นต้น เข้ามารับประกัน น่าจะให้ความมั่นใจได้มากกว่ากัน
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าววงการท่องเที่ยวกล่าวว่า เดิมโครงการนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวได้หารือกับ 4 สมาคมผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่ทำทัวร์ภายในประเทศ โดยตกลงถึงขั้นรวบรวมรายชื่อบริษัททัวร์คุณภาพการรันตีโดยสมาคมท่องเที่ยว เพื่อรับงานในโครงการนี้ แต่มาสะดุดตรงที่ได้รับ จดหมายร้องเรียนจากผู้ประกอบการรายหนึ่งจาก จ.ตราด ว่ากระทรวงฯเลือกปฎิบัติ จึงทำให้กระทรวงการท่องเที่ยวฯต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษาในการจัดจ้างเอง ซึ่งตรงนี้จึงเกิดความกังวลว่าหากไม่มีระบบการตรวจสอบที่รัดกุม จะเปิดช่องทางให้ทุจริตได้ และอาจทำให้คุณภาพของการจัดทัวร์ไม่มีมาตรฐานและไม่ได้ผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างแท้จริงเสียงบประมาณเปล่า
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการนำเที่ยวสำหรับเยาวชน ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ภายใต้วงเงินงบประมาณ 153 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการนำคนไทยเที่ยวในประเทศ ล่าสุด ได้ข้อสรุปว่าให้เขตพื้นที่การศึกษาในแต่ละจังหวัดรวม 184 เขตพื้นที่ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด และ สำนักงานของการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกันดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง บริษัทนำเที่ยวที่อยู่ในพื้นที่ของตัวเอง หรือในจังหวัดใกล้เคียง มาจัดทริปเส้นทางนำเที่ยว โดยในวันที่ 17 ก.ค. 52 นี้จะเริ่มจัดทริปแรกนำเยาวชนไปเที่ยว จ.สุพรรณบุรี เพราะอยู่ใกล้ มีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย เช่น อุทยานมังกร บึงฉวาง ศาลหลักเมือง และ ตลาดร้อยปี เป็นต้น
***เปิดทางเขตพื้นที่ฯจัดจ้างเอง*****
สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างบริษัทนำเที่ยว กระทรวงฯให้อำนาจเขตพื้นที่การศึกษา และสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด ในแต่ละพื้นที่ไปกำหนดเกณฑ์การเปิดรับสมัครเอง โดยตั้งงบประมาณให้เขตพื้นที่ละ 6-9 แสนบาท เฉลี่ยค่าใช้จ่ายต่อหัวที่ 800 บาท สำหรับการไปเที่ยวแบบเช้าไปเย็นกลับ และ 1,200 บาท สำหรับ พักค้าง 1 คืน รวมอาหารและที่พัก ส่วนโรงเรียนจะเป็นผู้คัดเลือกนักเรียนที่จะเข้าร่วมโครงการ แต่ต้องศึกษาในระดับมัธยมต้นขึ้นไป และอาชีวะศึกษา ผู้สูงอายุ สำนักงานของกระทรวงพัฒนาสังคมและทรัพยากรมนุษย์ จะเป็นผู้คัดเลือก โครงการนี้จะจัดทั่วประเทศ จังหวัดๆละ 2,000 คน
โครงการนี้ เป็นความร่วมมือของ 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงการท่องเที่ยวฯ กระทรวงศึกษา แล กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกำหนดเป็นเกณฑ์พื้นฐานของโครงการนี้ไว้ 4 ประเด็น คือให้จัดการเดินทางโดยผ่านบริษัทนำเที่ยว ,ต้องใช้รถโค้ชเช่า ,ต้องนอนโรงแรม และ ต้องใช้บริการมัคคุเทศก์อาชีพ โดยทุกเขตพื้นที่การศึกษาต้องจัดทำคู่มือ “ท่องเที่ยวรอบรู้ ฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย” บอกรายละเอียด จุดประสงค์ของโครงการพร้อมหลักเกณฑ์ แจกจ่ายแก่นักท่องเที่ยวและบริษัททัวร์ให้รับทราบทั่วถึง และ ต้องจัดทำหมวก กระเป๋าผ้า และ ธงนำเที่ยวแจกจ่ายให้แก่เยาวชนใช้ระหว่างเดินทางท่องเที่ยวด้วย
เส้นทางท่องเที่ยวให้เน้นตามเส้นทาง 14 คลัสเตอร์ ในรูปแบบทัศนศึกษา เช่น หาดทรายชายทะเล ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ อุทยานแห่งชาติ วัด และโครงการพระราชดำหริ เป็นการนำเที่ยวภายในจังหวัด และพื้นที่ใกล้เคียงในกลุ่มคลัสเตอร์ และทุกเส้นทาง ต้องจัดกิจกรรมประกวด เช่น เรียงความ ภาพถ่าย วาดภาพ ร้อยกรอง เป็นต้น ชิงรางวัลเที่ยวฟรี กระทรวงฯยังจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเมินผลใน 3 ประเด็นหลัก คือ เยาวชนได้ความรู้แค่ไหน เกิดความสนุกสนานหรือไม่ และช่วยกระจายรายได้มาน้อยแค่ไหน คาดว่า 1 เดือนหลังเริ่มโครงการจะทราบผล ซึ่งระยะเวลาของโครงการนี้ จะเริ่มตั้งแต่ ก.ค.-ก.ย.ปีนี้ ส่วนแผนงานปีหน้าขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นของบประมาณจากงบกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสองในวงเงิน 200 ล้านบาท
***หวั่นเปิดช่องทุจริตจัดทัวร์ไม่ได้มาตรฐาน****
น.ส.มัยรัตน์ พีระญาณ์โกเศส นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ(สทน.) กล่าวว่า เป็นโครงการที่ดี แต่ทั้งนี้พฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวเยาวชน ผู้พิการ และผู้สูงอายุ จะแตกต่างจากนักท่องเที่ยวทั่วไป อีกทั้งยังต้องการความดูแลระหว่างการท่องเที่ยวเป็นกรณีพิเศษ จึงต้องใช้บริษัทนำเที่ยวที่มีประสบการณ์และความชำนาญสูง ซึ่งไม่เข้าใจว่า ทำไมกระทรวงฯจึงปล่อยให้เป็นอำนาจของเขตพื้นที่ในการจัดจ้างบริษัทนำเที่ยว ซึ่งการที่มีองค์กรขนาดใหญ่ในระดับสมาคมถึง 4 สมาคม ได้แก่ สทน. และสมาคมนำเที่ยวไทย เป็นต้น เข้ามารับประกัน น่าจะให้ความมั่นใจได้มากกว่ากัน
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าววงการท่องเที่ยวกล่าวว่า เดิมโครงการนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวได้หารือกับ 4 สมาคมผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่ทำทัวร์ภายในประเทศ โดยตกลงถึงขั้นรวบรวมรายชื่อบริษัททัวร์คุณภาพการรันตีโดยสมาคมท่องเที่ยว เพื่อรับงานในโครงการนี้ แต่มาสะดุดตรงที่ได้รับ จดหมายร้องเรียนจากผู้ประกอบการรายหนึ่งจาก จ.ตราด ว่ากระทรวงฯเลือกปฎิบัติ จึงทำให้กระทรวงการท่องเที่ยวฯต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษาในการจัดจ้างเอง ซึ่งตรงนี้จึงเกิดความกังวลว่าหากไม่มีระบบการตรวจสอบที่รัดกุม จะเปิดช่องทางให้ทุจริตได้ และอาจทำให้คุณภาพของการจัดทัวร์ไม่มีมาตรฐานและไม่ได้ผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างแท้จริงเสียงบประมาณเปล่า