งบวาระแห่งชาติส่อเค้าบานปลาย “ศศิธารา” ระบุ อาจถึง 3 หมื่นล้านบาท หากทุกโครงการจำเป็นต้องลงทุน เผย ยุทธศาสตร์การพัฒนาแบ่งเป็น 6 แนวทาง เรียกทุกหน่วยราชการมารับทราบข้อมูลก่อนกระจายกันไปจัดทำรายละเอียดกลับมาเสนออีกครั้งสัปดาห์หน้า เชื่อถ้าประเทศไทยไม่เจอเหตุผิดปกติสิ้นปีนี้สถานการณ์ท่องเที่ยวฟื้น พร้อมตั้งเป้านักท่องเที่ยวต่างชาติได้ 16 ล้านคน ในอีก 2 ปีหน้า
นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรง์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ได้หารือกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น อพท. สสน.กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรฯ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นต้น เพื่อเตรียมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กู้วิกฤตและมาตรการการกระตุ้นการท่องเที่ยวระยะ 4 ปี (พ.ศ.2552-2555) ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว ตามนโบายของรัฐบาลที่ตั้งให้เป็น “วาระแห่งชาติว่าด้วยการท่องเที่ยว” โดยการประชุมครั้งนี้เพื่อรับทราบจุดประสงค์ให้ตรงกัน พร้อมนำข้อมูลไปศึกษาลงลึกในแผนปฎิบัติการและแนวทางการพัฒนา
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์การพัฒนาแบ่งเป็น 6 แนวทาง ภายใต้งบประมาณที่กำหนดไว้เบื้องต้นที่คาดว่าจะใช้ประมาณ 1.68 หมื่นล้าบาท ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน, การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางการท่องเที่ยว, การฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน, การป้องกันและรักษาความปลอดภัยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นทางการท่องเที่ยว, การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเสริมสร้างความเข้มแข็งผู้ประกอบการภาคบริการท่องเที่ยวให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน และการพัฒนาระบบตลาดและสร้างภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย
ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ที่ยุทธศาสตร์ดังกล่าวอาจต้องจัดทำให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ส่วนวงเงินงบประมาณอาจปรับเพิ่มจาก 1.68 หมื่นล้านบาท เป็น 3 หมื่นล้านบาทได้เช่นกัน หากมีโครงการที่มีความจำเป็นและเหมาะสม
***โยกแผน 14 คลัสเตอร์ซบคณะกรรมการขับเคลื่อน
สำหรับในส่วนของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้นำแผนงานการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 14 คลัสเตอร์ ที่จัดทำไว้แล้ว ร่วมถึงแผนการฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม ที่ได้นำเสนอแก่คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ มาบรรจุไว้ในยุทธศาสตร์นี้ด้วย ภายใต้การทำงนของคณะกรรมการชุดใหม่ที่เตรียมจะตั้งขึ้น โดยจะใช้เป็นแนวทางหลักของการกำหนดพื้นที่ที่จะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่นั้นๆ นำไปจัดทำเป็นแผนปฎิบัติการ มองว่า จะไม่เกิดงานซ้ำซ้อนแต่จะทำให้งานเป็นรูปธรรมได้เร็วขึ้น
“เรามองว่า การตัดถนเพื่อเปิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ มีความจำเป็นเพราะจะช่วยให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้ง่ายขึ้น และยังเกิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ส่วนถนนใน 14 คลัสเตอร์ จะเน้นให้เป็นเส้นทางเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านพร้อมจับมือส่งเสริมการตลาดร่วมกัน โดยแผนการทำงานทั้งหมดที่กล่าวมาได้มอบให้แต่ละหน่วยงานไปศึกษา แล้วนำกลับมาเสนอในการประชุมครั้งต่อไปที่จะมีขึ้นในวันศุกร์ที่ 15 พ.ค.นี้” นางสาวศศิธารากล่าว
อย่างไรก็ตาม แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว จะแยกเป็น 2 ส่วน คือ แผนระยะสั้น และแผนระยะยาว โดยระยะสั้นภาคเอกชนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้นำเสนอว่าควรมีแผนกระตุ้นตลาดท่องเที่ยวระยะ 2-3 เดือน เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวเป็นการเร่งด่วน จึงได้มอบหมายให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ไปหารือจัดเป็นแผนงานแล้วนำรายละเอียดมาเสนอในวันศุกร์หน้าเช่นกัน โดยเมื่อเรื่องทั้งหมดได้ข้อสรุปเสร็จสิ้นก็จะนำเสนอต่อนายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ให้พิจารณา จากนั้นจึงยื่นเสนอต่อที่ประชุม ครม.เพื่อพิจารณาเห็นชอบแผนดำเนินงาน ซึ่งน่าจะไม่เกินต้นเดือนหน้า
นางสาวศศิธารา กล่าวอีกว่า จะเสนอชื่อ นายชุมพล ศิลปอาชา เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติว่าด้วยการท่องเที่ยว จากนั้นเชื่อว่าจะต้องมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อติดตามการทำงนทั้ง 6 แนวทาง อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวมองว่า หากประเทศไทยอยู่ในภาวะปกติไม่มีปัจจัยลบที่จะเข้ามากระทบกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอีก คาดว่าภายในสิ้นปีนี้ ธุรกิจจะฟื้นเป็นปกติและเดินหน้าเติบโตได้ต่อไปในปีหน้า ดังนั้น จึงคาดว่าจากแผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้ จะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มเป็น 16 ล้านคน ในอีก 2 ปีข้างหน้า
นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรง์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ได้หารือกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น อพท. สสน.กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรฯ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นต้น เพื่อเตรียมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กู้วิกฤตและมาตรการการกระตุ้นการท่องเที่ยวระยะ 4 ปี (พ.ศ.2552-2555) ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว ตามนโบายของรัฐบาลที่ตั้งให้เป็น “วาระแห่งชาติว่าด้วยการท่องเที่ยว” โดยการประชุมครั้งนี้เพื่อรับทราบจุดประสงค์ให้ตรงกัน พร้อมนำข้อมูลไปศึกษาลงลึกในแผนปฎิบัติการและแนวทางการพัฒนา
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์การพัฒนาแบ่งเป็น 6 แนวทาง ภายใต้งบประมาณที่กำหนดไว้เบื้องต้นที่คาดว่าจะใช้ประมาณ 1.68 หมื่นล้าบาท ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน, การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางการท่องเที่ยว, การฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน, การป้องกันและรักษาความปลอดภัยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นทางการท่องเที่ยว, การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเสริมสร้างความเข้มแข็งผู้ประกอบการภาคบริการท่องเที่ยวให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน และการพัฒนาระบบตลาดและสร้างภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย
ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ที่ยุทธศาสตร์ดังกล่าวอาจต้องจัดทำให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ส่วนวงเงินงบประมาณอาจปรับเพิ่มจาก 1.68 หมื่นล้านบาท เป็น 3 หมื่นล้านบาทได้เช่นกัน หากมีโครงการที่มีความจำเป็นและเหมาะสม
***โยกแผน 14 คลัสเตอร์ซบคณะกรรมการขับเคลื่อน
สำหรับในส่วนของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้นำแผนงานการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 14 คลัสเตอร์ ที่จัดทำไว้แล้ว ร่วมถึงแผนการฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม ที่ได้นำเสนอแก่คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ มาบรรจุไว้ในยุทธศาสตร์นี้ด้วย ภายใต้การทำงนของคณะกรรมการชุดใหม่ที่เตรียมจะตั้งขึ้น โดยจะใช้เป็นแนวทางหลักของการกำหนดพื้นที่ที่จะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่นั้นๆ นำไปจัดทำเป็นแผนปฎิบัติการ มองว่า จะไม่เกิดงานซ้ำซ้อนแต่จะทำให้งานเป็นรูปธรรมได้เร็วขึ้น
“เรามองว่า การตัดถนเพื่อเปิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ มีความจำเป็นเพราะจะช่วยให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้ง่ายขึ้น และยังเกิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ส่วนถนนใน 14 คลัสเตอร์ จะเน้นให้เป็นเส้นทางเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านพร้อมจับมือส่งเสริมการตลาดร่วมกัน โดยแผนการทำงานทั้งหมดที่กล่าวมาได้มอบให้แต่ละหน่วยงานไปศึกษา แล้วนำกลับมาเสนอในการประชุมครั้งต่อไปที่จะมีขึ้นในวันศุกร์ที่ 15 พ.ค.นี้” นางสาวศศิธารากล่าว
อย่างไรก็ตาม แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว จะแยกเป็น 2 ส่วน คือ แผนระยะสั้น และแผนระยะยาว โดยระยะสั้นภาคเอกชนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้นำเสนอว่าควรมีแผนกระตุ้นตลาดท่องเที่ยวระยะ 2-3 เดือน เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวเป็นการเร่งด่วน จึงได้มอบหมายให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ไปหารือจัดเป็นแผนงานแล้วนำรายละเอียดมาเสนอในวันศุกร์หน้าเช่นกัน โดยเมื่อเรื่องทั้งหมดได้ข้อสรุปเสร็จสิ้นก็จะนำเสนอต่อนายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ให้พิจารณา จากนั้นจึงยื่นเสนอต่อที่ประชุม ครม.เพื่อพิจารณาเห็นชอบแผนดำเนินงาน ซึ่งน่าจะไม่เกินต้นเดือนหน้า
นางสาวศศิธารา กล่าวอีกว่า จะเสนอชื่อ นายชุมพล ศิลปอาชา เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติว่าด้วยการท่องเที่ยว จากนั้นเชื่อว่าจะต้องมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อติดตามการทำงนทั้ง 6 แนวทาง อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวมองว่า หากประเทศไทยอยู่ในภาวะปกติไม่มีปัจจัยลบที่จะเข้ามากระทบกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอีก คาดว่าภายในสิ้นปีนี้ ธุรกิจจะฟื้นเป็นปกติและเดินหน้าเติบโตได้ต่อไปในปีหน้า ดังนั้น จึงคาดว่าจากแผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้ จะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มเป็น 16 ล้านคน ในอีก 2 ปีข้างหน้า