ผลสอบของ ป.ป.ท.ตรวจพบการบริหารเงินกองทุน กบข.ผิดพลาด ไม่สอดคล้องกับกฎหมาย นำไปสู่ภาวะขาดทุน แต่ตัวเลขความเสียหายยังสับสนระหว่าง 24,000 ล้านบาท กับ 18,000 ล้านบาท เพราะ กบข.ไม่ให้ความร่วมมือ “ธาริต” ชี้ผู้เข้าข่ายปฏิบัติงานผิดพลาดแบ่ง 2 กลุ่ม พร้อมส่งรายงานถึงมือ รมว.ยุติธรรมแล้ว ด้าน กบข.โผล่โผล่ไม่รับผลสอบ ป.ป.ท.
วานนี้ (25 พ.ค.) ที่กระทรวงยุติธรรม นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เปิดเผยถึงการตรวจสอบการบริหารกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ว่า ชุดปฏิบัติการตรวจสอบข้อมูล กบข.และชุดที่เข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจสอบภายในของ กบข.ได้สรุปรายงานเสนอต่อนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รับทราบแล้ว
การตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า การบริหารงานของ กบข.น่าจะผิดพลาดคลาดเคลื่อน ไม่สอดคล้องกับกฎหมาย และหลักบริหารที่ดี จึงเป็นที่มาของการประสบภาวะขาดทุน โดยผู้ที่อยู่ในข่ายที่ปฏิบัติงานผิดพลาดคลาดเคลื่อนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก คือ เลขาธิการ กบข. และเจ้าพนักงานของ กบข. กลุ่มที่ 2 เป็นคณะกรรมการ กบข.ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการระดับสูง
นายธาริตเปิดเผยว่า การตรวจสอบของ กบข.เน้นการตรวจสอบที่พฤติการณ์ สาเหตุ และจรรยาบรรณของผู้บริหารที่นำไปสู่การขาดทุน โดยตั้งประเด็นในการตรวจสอบไว้ 11 เรื่อง แต่ยังไม่ได้เจาะถึงมูลค่าความเสียหายที่แท้จริง เพราะ กบข.ไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลที่แท้จริง ซึ่งการประชุมบางนัดที่เรียกเลขาธิการ กบข.เข้าชี้แจง ก็ไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท.เข้าร่วมสังเกตการณ์ ทำให้ตัวเลขความเสียหายยังสับสนอยู่ระหว่าง 24,000 ล้านบาท กับ 18,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หากผลการตรวจสอบพบความผิดในการบริหารกองทุนกบข. ในกรณีที่เป็นความผิดของข้าราชการระดับสูง จะส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณา ส่วนข้าราชการที่ต่ำกว่าระดับ 8 จะเป็นอำนาจสอบสวนของ ป.ป.ท.
ทั้งนี้ โทษทางวินัยของผู้บริหาร กบข.ที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณ จะมีโทษทางวินัยจนถึงการเลิกจ้าง นอกจากนี้ อาจจะต้องรับผิดทางอาญาเพิ่มด้วย
รายงานข่าวเปิดเผยด้วยว่า จากการข้อมูลที่ได้รับจากการเข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจสอบการบริหารและการลงทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)พบว่า ผู้มีอำนาจคนสำคัญ ของ กบข. ได้นำเงินไปซื้อหุ้นบางตัวก่อนที่ กบข.จะเข้าซื้อหุ้นตัวเดียวกัน และบางครั้งเมื่อ กบข.ลงทุนซื้อหุ้นไปแล้ว ผู้มีอำนาจคนสำคัญดังกล่าว ซื้อหุ้นตัวเดียวกันตามไป เมื่อตรวจสอบระเบียบของกบข.พบว่า หากผู้บริหารกบข.ซื้อหุ้นตัวใดต้องรายงาน แต่ผู้มีอำนาจคนสำคัญไม่ได้รายงานข้อมูลการซื้อขายหุ้น
นอกจากนี้ ยังมีการนำเงินของ กบข.ไปซื้อหุ้นที่ติดแบล็กลิสต์ของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยข้อมูลการบริหารงานผิดระเบียบของกบข.นั้น ได้ถูกตรวจสอบพบโดยคณะกรรมการตรวจสอบภายในของ กบข.เอง แต่เรื่องกลับยุติลงโดยไม่มีการลงโทษทางวินัยแต่อย่างใด
หุ้นที่ติดแบล็กลิสต์ฯ คือ หุ้น บมจ.ยานภัณฑ์ (YNP) ในปี 2550 กบข.ถือหุ้น 21,790,002 หุ้น มูลค่าหุ้น 83,237,807.64 บาท และปี 2551 กบข.ซื้อหุ้นเพิ่มสูงถึง 80,450,010 หุ้น แต่มูลค่าหุ้นลดลงเหลือเพียง 20,917,002 บาท
หุ้นYNPถูกสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สั่งปรับเงินเมื่อ 10 เมษายน 2550 จากกรณีการสร้างราคาหลักทรัพย์และข้อหาไม่รายงานการถือครองหลักทรัพย์ โดยสั่งปรับเป็นเงิน 37.76 ล้านบาท
นอกจาก YNP แล้ว ก่อนหน้านี้ ป.ป.ท.เปิดเผยการลงทุนในหุ้นของ กบข.ว่า จากหุ้นในพอร์ต 34 บริษัท ที่กบข.ถือหุ้นอยู่สงสัยว่ามีพิรุธในการซื้อหุ้นอีก 3 บริษัทใหญ่ คือ 1.บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ซึ่งในปี 2550 กบข.ถือ 85,577,577 หุ้น มูลค่า 641,831,827.50 บาท แต่รายงานผลประกอบการปี 2551 ซึ่งป.ป.ท.ได้มาและตรวจสอบอย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏว่าในปี 2551 กบข.ซื้อหุ้นบมจ.แลนด์ แอนด์ เฮาส์ เพิ่มขึ้นเป็น 91,220,677 หุ้น แต่มูลค่าหุ้นลดลงเหลือเพียง 342,989,745.52 บาท 2. หุ้นบมจ. ควอลิตี้เฮ้าส์ ในปี 2550 กบข.ถือหุ้น 72,727,200 หน่วย มูลค่าหุ้น 154,181,664 บาท ต่อมาปี 2551 กบข.ซื้อหุ้นเพิ่ม 104,221,000 หุ้น แต่มูลค่าหุ้นลดลงเหลือเพียง 979,683.04 บาท 3. หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุย ที่ปรากฏตัวเลขปี 2550 กบข.ถือหุ้น 76,497,176 หน่วย มูลค่า 677,000,007.60 บาท แต่เมื่อถึงปี 2551 จำนวนหุ้นที่ถือเท่าเดิม แต่มูลค่าลดลงเหลือ 377,896,049.44 บาท
ที่มาของเรื่องดังกล่าวเกิดจาก เดือน มี.ค.ที่ผ่านมาหลัง กบข.ประกาศผลการดำเนินงานปี 52 ข้าราชการซึ่งเป็นสมาชิก 1.7 ล้านคนทั่วประเทศ ต่างตื่นตระหนกไปตามๆ กัน เพราะ กบข.มีผลขาดทุนจากการลงทุนในสินทรัพย์ในปี 51 กว่า 7 หมื่นล้านบาท จากสินทรัพย์รวม 3.7 แสนล้านบาท ที่สำคัญ กบข.ให้สมาชิกแบกรับผลขาดทุนถ้วนหน้า เฉลี่ยคนหมื่นถึงแสนบาทขึ้นอยู่กับเงินต้นของสมาชิก ส่งผลให้สมาชิกบางส่วนรวมตัวกันประท้วงหน้าทำเนียบรัฐบาล ส่วนนายประวิทย์ สิทธิถาวร อัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง 5 สำนักงานอัยการสูงสุด ในฐานะสมาชิกฯ ยื่นศาลปกครองกลาง ขณะนี้ศาลฯ รับฟ้องแล้ว จำเลยประกอบด้วย กบข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายกรณ์ จาติกวณิช) และกระทรวงการคลัง
***กบข.โผล่ไม่รับผลสอบ ป.ป.ท.
หลัง ป.ป.ท.ออกมาแจ้งความคืบหน้ากรณีดังกล่าว กบข.ได้ชี้แจงมายังสื่อมวลชนว่า เมื่อวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของ กบข. ชุดที่บอร์ด กบข.ตั้งขึ้น ได้สรุปผลการตรวจสอบและนำเสนอต่อปลัดกระทรวงการคลัง (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปัจจุบันเป็นอดีตปลัดกระทรวงการคลัง) ในฐานะประธานคณะกรรมการ กบข. เพื่อเสนอให้คณะกรรมการ กบข. พิจารณา ก่อนที่จะรายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต่อไป
"ตลอดระยะเวลา 12 ปีที่ผ่านมา กบข. เชื่อมั่นว่า การดำเนินงานด้านการลงทุนของ กบข. เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย และนโยบายของคณะกรรมการ กบข. โดยมีการวิเคราะห์และควบคุมความเสี่ยง ตลอดจนปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของนักลงทุนสถาบัน ซึ่ง กบข. ได้มีการรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการ กบข. และที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกอย่างต่อเนื่อง โดยมีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ ( สตง. ) เป็นผู้สอบบัญชีตามกฎหมาย ภายหลังจากนี้ คงต้องรอให้ทราบผลการพิจารณาอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการ กบข. ก่อนว่าจะเป็นอย่างไร"
ในกรณีที่ ป.ป.ท.จะมีการแถลงผลการตรวจสอบ กบข. นั้น กบข. ขอเรียนชี้แจงว่า ที่ผ่านมาสำนักงาน ป.ป.ท. ยังไม่ได้เข้ามาตรวจสอบการดำเนินงานและข้อมูลใดๆ ของ กบข. โดยคณะกรรมการ กบข. ยังมีความสงสัยในอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ป.ป.ท. เนื่องจากขณะนี้คณะกรรมการ ป.ป.ท.ยังไม่ได้รับการแต่งตั้ง จึงยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจสอบ รวมทั้งมอบหมายให้ผู้หนึ่งผู้ใดมาทำการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวตามมาตรา 18 ของ พ.ร.บ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นกฎหมายของสำนักงาน ป.ป.ท.
วานนี้ (25 พ.ค.) ที่กระทรวงยุติธรรม นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เปิดเผยถึงการตรวจสอบการบริหารกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ว่า ชุดปฏิบัติการตรวจสอบข้อมูล กบข.และชุดที่เข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจสอบภายในของ กบข.ได้สรุปรายงานเสนอต่อนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รับทราบแล้ว
การตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า การบริหารงานของ กบข.น่าจะผิดพลาดคลาดเคลื่อน ไม่สอดคล้องกับกฎหมาย และหลักบริหารที่ดี จึงเป็นที่มาของการประสบภาวะขาดทุน โดยผู้ที่อยู่ในข่ายที่ปฏิบัติงานผิดพลาดคลาดเคลื่อนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก คือ เลขาธิการ กบข. และเจ้าพนักงานของ กบข. กลุ่มที่ 2 เป็นคณะกรรมการ กบข.ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการระดับสูง
นายธาริตเปิดเผยว่า การตรวจสอบของ กบข.เน้นการตรวจสอบที่พฤติการณ์ สาเหตุ และจรรยาบรรณของผู้บริหารที่นำไปสู่การขาดทุน โดยตั้งประเด็นในการตรวจสอบไว้ 11 เรื่อง แต่ยังไม่ได้เจาะถึงมูลค่าความเสียหายที่แท้จริง เพราะ กบข.ไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลที่แท้จริง ซึ่งการประชุมบางนัดที่เรียกเลขาธิการ กบข.เข้าชี้แจง ก็ไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท.เข้าร่วมสังเกตการณ์ ทำให้ตัวเลขความเสียหายยังสับสนอยู่ระหว่าง 24,000 ล้านบาท กับ 18,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หากผลการตรวจสอบพบความผิดในการบริหารกองทุนกบข. ในกรณีที่เป็นความผิดของข้าราชการระดับสูง จะส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณา ส่วนข้าราชการที่ต่ำกว่าระดับ 8 จะเป็นอำนาจสอบสวนของ ป.ป.ท.
ทั้งนี้ โทษทางวินัยของผู้บริหาร กบข.ที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณ จะมีโทษทางวินัยจนถึงการเลิกจ้าง นอกจากนี้ อาจจะต้องรับผิดทางอาญาเพิ่มด้วย
รายงานข่าวเปิดเผยด้วยว่า จากการข้อมูลที่ได้รับจากการเข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจสอบการบริหารและการลงทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)พบว่า ผู้มีอำนาจคนสำคัญ ของ กบข. ได้นำเงินไปซื้อหุ้นบางตัวก่อนที่ กบข.จะเข้าซื้อหุ้นตัวเดียวกัน และบางครั้งเมื่อ กบข.ลงทุนซื้อหุ้นไปแล้ว ผู้มีอำนาจคนสำคัญดังกล่าว ซื้อหุ้นตัวเดียวกันตามไป เมื่อตรวจสอบระเบียบของกบข.พบว่า หากผู้บริหารกบข.ซื้อหุ้นตัวใดต้องรายงาน แต่ผู้มีอำนาจคนสำคัญไม่ได้รายงานข้อมูลการซื้อขายหุ้น
นอกจากนี้ ยังมีการนำเงินของ กบข.ไปซื้อหุ้นที่ติดแบล็กลิสต์ของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยข้อมูลการบริหารงานผิดระเบียบของกบข.นั้น ได้ถูกตรวจสอบพบโดยคณะกรรมการตรวจสอบภายในของ กบข.เอง แต่เรื่องกลับยุติลงโดยไม่มีการลงโทษทางวินัยแต่อย่างใด
หุ้นที่ติดแบล็กลิสต์ฯ คือ หุ้น บมจ.ยานภัณฑ์ (YNP) ในปี 2550 กบข.ถือหุ้น 21,790,002 หุ้น มูลค่าหุ้น 83,237,807.64 บาท และปี 2551 กบข.ซื้อหุ้นเพิ่มสูงถึง 80,450,010 หุ้น แต่มูลค่าหุ้นลดลงเหลือเพียง 20,917,002 บาท
หุ้นYNPถูกสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สั่งปรับเงินเมื่อ 10 เมษายน 2550 จากกรณีการสร้างราคาหลักทรัพย์และข้อหาไม่รายงานการถือครองหลักทรัพย์ โดยสั่งปรับเป็นเงิน 37.76 ล้านบาท
นอกจาก YNP แล้ว ก่อนหน้านี้ ป.ป.ท.เปิดเผยการลงทุนในหุ้นของ กบข.ว่า จากหุ้นในพอร์ต 34 บริษัท ที่กบข.ถือหุ้นอยู่สงสัยว่ามีพิรุธในการซื้อหุ้นอีก 3 บริษัทใหญ่ คือ 1.บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ซึ่งในปี 2550 กบข.ถือ 85,577,577 หุ้น มูลค่า 641,831,827.50 บาท แต่รายงานผลประกอบการปี 2551 ซึ่งป.ป.ท.ได้มาและตรวจสอบอย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏว่าในปี 2551 กบข.ซื้อหุ้นบมจ.แลนด์ แอนด์ เฮาส์ เพิ่มขึ้นเป็น 91,220,677 หุ้น แต่มูลค่าหุ้นลดลงเหลือเพียง 342,989,745.52 บาท 2. หุ้นบมจ. ควอลิตี้เฮ้าส์ ในปี 2550 กบข.ถือหุ้น 72,727,200 หน่วย มูลค่าหุ้น 154,181,664 บาท ต่อมาปี 2551 กบข.ซื้อหุ้นเพิ่ม 104,221,000 หุ้น แต่มูลค่าหุ้นลดลงเหลือเพียง 979,683.04 บาท 3. หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุย ที่ปรากฏตัวเลขปี 2550 กบข.ถือหุ้น 76,497,176 หน่วย มูลค่า 677,000,007.60 บาท แต่เมื่อถึงปี 2551 จำนวนหุ้นที่ถือเท่าเดิม แต่มูลค่าลดลงเหลือ 377,896,049.44 บาท
ที่มาของเรื่องดังกล่าวเกิดจาก เดือน มี.ค.ที่ผ่านมาหลัง กบข.ประกาศผลการดำเนินงานปี 52 ข้าราชการซึ่งเป็นสมาชิก 1.7 ล้านคนทั่วประเทศ ต่างตื่นตระหนกไปตามๆ กัน เพราะ กบข.มีผลขาดทุนจากการลงทุนในสินทรัพย์ในปี 51 กว่า 7 หมื่นล้านบาท จากสินทรัพย์รวม 3.7 แสนล้านบาท ที่สำคัญ กบข.ให้สมาชิกแบกรับผลขาดทุนถ้วนหน้า เฉลี่ยคนหมื่นถึงแสนบาทขึ้นอยู่กับเงินต้นของสมาชิก ส่งผลให้สมาชิกบางส่วนรวมตัวกันประท้วงหน้าทำเนียบรัฐบาล ส่วนนายประวิทย์ สิทธิถาวร อัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง 5 สำนักงานอัยการสูงสุด ในฐานะสมาชิกฯ ยื่นศาลปกครองกลาง ขณะนี้ศาลฯ รับฟ้องแล้ว จำเลยประกอบด้วย กบข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายกรณ์ จาติกวณิช) และกระทรวงการคลัง
***กบข.โผล่ไม่รับผลสอบ ป.ป.ท.
หลัง ป.ป.ท.ออกมาแจ้งความคืบหน้ากรณีดังกล่าว กบข.ได้ชี้แจงมายังสื่อมวลชนว่า เมื่อวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของ กบข. ชุดที่บอร์ด กบข.ตั้งขึ้น ได้สรุปผลการตรวจสอบและนำเสนอต่อปลัดกระทรวงการคลัง (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปัจจุบันเป็นอดีตปลัดกระทรวงการคลัง) ในฐานะประธานคณะกรรมการ กบข. เพื่อเสนอให้คณะกรรมการ กบข. พิจารณา ก่อนที่จะรายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต่อไป
"ตลอดระยะเวลา 12 ปีที่ผ่านมา กบข. เชื่อมั่นว่า การดำเนินงานด้านการลงทุนของ กบข. เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย และนโยบายของคณะกรรมการ กบข. โดยมีการวิเคราะห์และควบคุมความเสี่ยง ตลอดจนปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของนักลงทุนสถาบัน ซึ่ง กบข. ได้มีการรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการ กบข. และที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกอย่างต่อเนื่อง โดยมีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ ( สตง. ) เป็นผู้สอบบัญชีตามกฎหมาย ภายหลังจากนี้ คงต้องรอให้ทราบผลการพิจารณาอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการ กบข. ก่อนว่าจะเป็นอย่างไร"
ในกรณีที่ ป.ป.ท.จะมีการแถลงผลการตรวจสอบ กบข. นั้น กบข. ขอเรียนชี้แจงว่า ที่ผ่านมาสำนักงาน ป.ป.ท. ยังไม่ได้เข้ามาตรวจสอบการดำเนินงานและข้อมูลใดๆ ของ กบข. โดยคณะกรรมการ กบข. ยังมีความสงสัยในอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ป.ป.ท. เนื่องจากขณะนี้คณะกรรมการ ป.ป.ท.ยังไม่ได้รับการแต่งตั้ง จึงยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจสอบ รวมทั้งมอบหมายให้ผู้หนึ่งผู้ใดมาทำการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวตามมาตรา 18 ของ พ.ร.บ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นกฎหมายของสำนักงาน ป.ป.ท.