ASTVผู้จัดการรายวัน - "กรณ์-คลัง-กบข." ตกเป็นจำเลยคดีที่อัยการวัย 67 สมาชิก กบข.ฟ้องศาลปกครองกลาง ข้อหาละเมิดกฎหมาย ยัดเยียดผลขาดทุนให้สมาชิกหลังบริหารกองทุนเจ๊ง 7 หมื่นล้าน "ประวิทย์" ยอมรับได้รับคำแนะนำจากศาลเกี่ยวกับข้อกฎหมายภายใต้ศาลปกครอง ส่งผลให้ยกฟ้อง "วิสิฐ ตันติสุนทร" และบอร์ด เจ้าตัวมั่นใจชนะคดีพร้อมลุ้นให้สมาชิกที่ไม่ได้ฟ้องได้รับการชดเชยความเสียหายด้วย
เดือน มี.ค.ที่ผ่านมาหลังกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ประกาศผลการดำเนินงานปี 52 ข้าราชการซึ่งเป็นสมาชิก 1.7 ล้านคนทั่วประเทศ ต่างตื่นตระหนกไปตามๆ กัน เพราะ กบข.มีผลขาดทุนจากการลงทุนในสินทรัพย์ในปี 51 กว่า 7 หมื่นล้านบาท จากสินทรัพย์รวม 3.7 แสนล้านบาท ที่สำคัญ กบข.ให้สมาชิกแบกรับผลขาดทุนถ้วนหน้า เฉลี่ยคนหมื่นถึงแสนบาทขึ้นอยู่กับเงินต้นของสมาชิก ส่งผลให้สมาชิกบางส่วนรวมตัวกันประท้วงหน้าทำเนียบรัฐบาล
ขณะที่นายประวิทย์ สิทธิถาวร อัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง 5 สำนักงานอัยการสูงสุด ในฐานะสมาชิกฯ ยื่นศาลปกครองกลางฟ้อง กบข. (จำเลยที่ 1) นายวิสิฐ ตันติสุนทร (เลขาธิการ กบข.) (จำเลยที่ 2) คณะกรรมการ กบข. (จำเลยที่ 3 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายกรณ์ จาติกวณิช) (จำเลยที่ 4) ให้รับผิดชอบกับความผิดพลาดจากการละเมิดโจทก์ ตามคดีหมายเลขดำที่ 395/2552 ลงวันที่ 17 มี.ค. 52 ก่อนที่คณะกรรมการ กบข.จะแต่งตั้งนายสมพล เกียรติไพบูลย์ เป็นประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของ กบข.ปี 51 ในวันที่ 20 มี.ค.โดยขีดเส้นให้สรุปผลภายใน 30 วัน ต่อมานายสมพลขอยืดเวลาอีก 30 วัน
ล่าสุดประวิทย์ สิทธิถาวร สมาชิกผู้ฟ้องต่อศาลปกครอง เปิดเผยว่า ศาลปกครองกลางรับคำฟ้องในคดีดังกล่าว โดยศาลแนะนำให้ตัดจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ออก เนื่องจากกรณีดังกล่าว ไม่สามารถฟ้องเจ้าหน้าที่ แต่สามารถฟ้องหน่วยงาน เจ้ากระทรวงและกระทรวงที่หน่วยงานนั้นสังกัดได้ จำเลยจึงประกอบด้วย กบข. นายกรณ์ จาติกวณิชและกระทรวงการคลัง
"เช้าวันที่ 14 พ.ค.ผมได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งศาลจากนายสถาพร สงวนไทร พนักงานคดีปกครองชำนาญการ ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานศาลปกครองกลาง ผมในฐานะโจทก์มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน หากไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงจำเลย แต่ผมตัดสินใจไม่ยื่นและพร้อมทำตามคำแนะนำของศาลที่ให้เพิ่มกระทรวงการคลังเป็นจำเลยที่ 5 และไม่ฟ้องจำเลย ที่ 2 (เลขาธิการ กบข.) กับจำเลยที่ 3 (คณะกรรมการ กบข.)"
โดยหนังสือแจ้งคำสั่งศาลระบุว่า คดีนี้ศาลได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีเฉพาะผู้ถูกฟ้องที่ 2 และผู้ถูกฟ้องที่ 3 และกำหนดให้กระทรวงการคลังซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ผู้ถูกฟ้องที่ 3 (คณะกรรมการ กบข.) ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 5
เนื่องจาก การฟ้องคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 นั้น เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เป็นหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 4 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ประกอบกับมาตรา 3 (23) แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2544 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 4 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 การกระทำละเมิดของตนดังกล่าวได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ และวรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใด ให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่ง คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และที่ 3 กระทำการในการปฏิบัติหน้าที่ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ผู้ฟ้องคดีจึงต้องฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ให้รับผิดต่อผู้ฟ้องคดีในผลแห่งละเมิดที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ แต่จะฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ไม่ได้
"ศาลฯ จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องเฉพาะผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ไว้พิจารณาและกำหนดให้กระทรวงการคลังซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5"
นายประวิทย์เปิดเผยด้วยว่าหลังยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 17 มี.ค.ตนได้ยื่นฟ้องเพิ่มเติมไปอีกครั้งในวันที่ 27 มี.ค.เพื่อให้ประเด็นการละเมิดกฎหมายชัดเจนยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันได้เน้นย้ำความผิดพลาดและไม่โปร่งใสในการลงทุนหุ้นที่ ก.ล.ต.ระบุว่าเป็นหุ้นปั่นอย่างบริษัทยานภัณฑ์ (YNP) ที่ กบข.เข้าไปซื้อหุ้นหลายครั้ง นอกจากขาดทุนแล้วพอทราบว่าเป็นหุ้นปั่น ก็ยังไม่ขายทิ้ง เป็นต้น
เขายอมรับว่าได้รับคำแนะนำจากศาลเกี่ยวกับอำนาจของศาลปกครองกลาง ส่งผลให้มีการฟ้องกระทวงการคลังในฐานะหน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแล แทนนายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กบข. และคณะกรรมการ กบข. ทั้งนี้ มีความเชื่อมั่นว่าจะได้รับความยุติธรรมและชนะคดีครั้งนี้ และหวังว่าสมาชิกคนอื่นจะได้รับความเป็นธรรมเช่นเดียวกัน
นายประวิทย์ เป็นสมาชิก กบข.เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 52 ผู้ฟ้องได้รับใบแจ้งยอดเงินสมาชิก กบข. ณ วันที่ 31 ธ.ค. 51 ว่ามีส่วนของเงินต้น 67,593 บาท ผลประโยชน์ติดลบ 69,943 บาท ถูกนำส่วนขาดทุนไปหักออกจากเงินผลประโยชน์ที่จะได้รับในปี 50 ที่มีอยู่ 575,406 บาท ทำให้เงินผลประโยชน์ลดลงเหลือ 505,462 บาท รวมเงินที่ถูกหักออกจากบัญชีสะสมปี 50 เป็นเงิน 69,943 บาท เมื่อรวมกับเงินต้น ปี 51 จำนวน 67,953 บาท รวม 2 ปี เป็นเงินทั้งสิ้น 137,537 บาท
นายประวิทย์ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย ที่สั่งให้เฉลี่ยผลการขาดทุนกับเงินประโยชน์ปี 50และเงินต้นปี 51 ให้คืนเงินที่ถูกหักไปจากบัญชีรวม 2 ปี เป็นเงินทั้งสิ้น 137,537 พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7 ขอให้ศาลพิพากษาให้การลงทุนในปี 51 เป็นการลงทุนที่มิชอบด้วยกฎหมาย ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนที่มิชอบด้วยกฎหมายในปี 51 และให้ออกกฎกระทรวงแก้ไขกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของ กบข.ปี 51 โดยกำหนดสัดส่วนการลงทุนให้ลดลงตามความเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ
**สอบ กบข.ไม่คืบประชุมอีกวันนี้**
นายพิสิฐ ลีลาวชิโรภาศ รองผู้ว่าการ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หนึ่งในคณะกรรมการ กบข. เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ จะมีการประชุมอีกครั้งในวันนี้ (15 พ.ค.) ซึ่งนับเป็นวาระปกติที่น่าจะมีการายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับผลการตรวจสอบการบริหารเงินลงทุนของ กบข. ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ส่วนเรื่องที่ศาลรับฟ้อง กบข.ในกรณีนี้ไม่น่าจะมีผลต่อการบริหารงานอย่างไร เพราะ กบข.มีกฎระเบียบและดำเนินการตามกฎหมายทุกอย่าง ถ้า กบข.ตกเป็นจำเลยจริงบอร์ดบริหารก็น่าจะเป็นจำเลยด้วย อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าน่าจะเป็นเรื่องดีเพราะจะทำให้ขั้นตอนการไต่สวนในครั้งนี้ดูโปร่งใสมากขึ้น
ส่วนกรณีที่ ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีการอนุมัติตั้งบอร์ดสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ขึ้นมาจำนวน 6 คนนั้น ต้องดูก่อนว่าเมื่อตั้งมาแล้วจะเข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้ตามขั้นตอนหรือไม่ และจะเริ่มตรวจสอบอย่าไร นอกจากนี้ยังต้องมองบอร์ดป.ป.ท.ชุดนี้อีกว่ามีจุดยืนหรือมองปัญหาของกบข.อย่างไร
"ถ้าเขามองว่าเป็นการตั้งใจกระทำผิดมันก็จะกลายเป็นความผิด แต่ถ้ามองในแง่การลงทุนแล้วย่อมมีความเสี่ยง ขึ้นอยู่กับว่ามีความรอบคอบมากน้อยแค่ไหน มีความประมาทร้ายแรงหรือไม่ กบข.เองเป็นการลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน ซึ่งการลงทุนต้องการทำให้ได้เงินมากแต่ขึ้นอยู่กับว่าจะมองปัญหานี้เป็นเรื่องปกติหรือเรื่องของการเมือง หรือหน่วยงานบ้างหน่วยงานที่จะเข้าอาจมีผลประโยชน์ของตนเองก็ได้" นายพิสิฐกล่าว.
เดือน มี.ค.ที่ผ่านมาหลังกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ประกาศผลการดำเนินงานปี 52 ข้าราชการซึ่งเป็นสมาชิก 1.7 ล้านคนทั่วประเทศ ต่างตื่นตระหนกไปตามๆ กัน เพราะ กบข.มีผลขาดทุนจากการลงทุนในสินทรัพย์ในปี 51 กว่า 7 หมื่นล้านบาท จากสินทรัพย์รวม 3.7 แสนล้านบาท ที่สำคัญ กบข.ให้สมาชิกแบกรับผลขาดทุนถ้วนหน้า เฉลี่ยคนหมื่นถึงแสนบาทขึ้นอยู่กับเงินต้นของสมาชิก ส่งผลให้สมาชิกบางส่วนรวมตัวกันประท้วงหน้าทำเนียบรัฐบาล
ขณะที่นายประวิทย์ สิทธิถาวร อัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง 5 สำนักงานอัยการสูงสุด ในฐานะสมาชิกฯ ยื่นศาลปกครองกลางฟ้อง กบข. (จำเลยที่ 1) นายวิสิฐ ตันติสุนทร (เลขาธิการ กบข.) (จำเลยที่ 2) คณะกรรมการ กบข. (จำเลยที่ 3 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายกรณ์ จาติกวณิช) (จำเลยที่ 4) ให้รับผิดชอบกับความผิดพลาดจากการละเมิดโจทก์ ตามคดีหมายเลขดำที่ 395/2552 ลงวันที่ 17 มี.ค. 52 ก่อนที่คณะกรรมการ กบข.จะแต่งตั้งนายสมพล เกียรติไพบูลย์ เป็นประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของ กบข.ปี 51 ในวันที่ 20 มี.ค.โดยขีดเส้นให้สรุปผลภายใน 30 วัน ต่อมานายสมพลขอยืดเวลาอีก 30 วัน
ล่าสุดประวิทย์ สิทธิถาวร สมาชิกผู้ฟ้องต่อศาลปกครอง เปิดเผยว่า ศาลปกครองกลางรับคำฟ้องในคดีดังกล่าว โดยศาลแนะนำให้ตัดจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ออก เนื่องจากกรณีดังกล่าว ไม่สามารถฟ้องเจ้าหน้าที่ แต่สามารถฟ้องหน่วยงาน เจ้ากระทรวงและกระทรวงที่หน่วยงานนั้นสังกัดได้ จำเลยจึงประกอบด้วย กบข. นายกรณ์ จาติกวณิชและกระทรวงการคลัง
"เช้าวันที่ 14 พ.ค.ผมได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งศาลจากนายสถาพร สงวนไทร พนักงานคดีปกครองชำนาญการ ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานศาลปกครองกลาง ผมในฐานะโจทก์มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน หากไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงจำเลย แต่ผมตัดสินใจไม่ยื่นและพร้อมทำตามคำแนะนำของศาลที่ให้เพิ่มกระทรวงการคลังเป็นจำเลยที่ 5 และไม่ฟ้องจำเลย ที่ 2 (เลขาธิการ กบข.) กับจำเลยที่ 3 (คณะกรรมการ กบข.)"
โดยหนังสือแจ้งคำสั่งศาลระบุว่า คดีนี้ศาลได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีเฉพาะผู้ถูกฟ้องที่ 2 และผู้ถูกฟ้องที่ 3 และกำหนดให้กระทรวงการคลังซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ผู้ถูกฟ้องที่ 3 (คณะกรรมการ กบข.) ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 5
เนื่องจาก การฟ้องคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 นั้น เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เป็นหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 4 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ประกอบกับมาตรา 3 (23) แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2544 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 4 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 การกระทำละเมิดของตนดังกล่าวได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ และวรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใด ให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่ง คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และที่ 3 กระทำการในการปฏิบัติหน้าที่ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ผู้ฟ้องคดีจึงต้องฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ให้รับผิดต่อผู้ฟ้องคดีในผลแห่งละเมิดที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ แต่จะฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ไม่ได้
"ศาลฯ จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องเฉพาะผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ไว้พิจารณาและกำหนดให้กระทรวงการคลังซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5"
นายประวิทย์เปิดเผยด้วยว่าหลังยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 17 มี.ค.ตนได้ยื่นฟ้องเพิ่มเติมไปอีกครั้งในวันที่ 27 มี.ค.เพื่อให้ประเด็นการละเมิดกฎหมายชัดเจนยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันได้เน้นย้ำความผิดพลาดและไม่โปร่งใสในการลงทุนหุ้นที่ ก.ล.ต.ระบุว่าเป็นหุ้นปั่นอย่างบริษัทยานภัณฑ์ (YNP) ที่ กบข.เข้าไปซื้อหุ้นหลายครั้ง นอกจากขาดทุนแล้วพอทราบว่าเป็นหุ้นปั่น ก็ยังไม่ขายทิ้ง เป็นต้น
เขายอมรับว่าได้รับคำแนะนำจากศาลเกี่ยวกับอำนาจของศาลปกครองกลาง ส่งผลให้มีการฟ้องกระทวงการคลังในฐานะหน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแล แทนนายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กบข. และคณะกรรมการ กบข. ทั้งนี้ มีความเชื่อมั่นว่าจะได้รับความยุติธรรมและชนะคดีครั้งนี้ และหวังว่าสมาชิกคนอื่นจะได้รับความเป็นธรรมเช่นเดียวกัน
นายประวิทย์ เป็นสมาชิก กบข.เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 52 ผู้ฟ้องได้รับใบแจ้งยอดเงินสมาชิก กบข. ณ วันที่ 31 ธ.ค. 51 ว่ามีส่วนของเงินต้น 67,593 บาท ผลประโยชน์ติดลบ 69,943 บาท ถูกนำส่วนขาดทุนไปหักออกจากเงินผลประโยชน์ที่จะได้รับในปี 50 ที่มีอยู่ 575,406 บาท ทำให้เงินผลประโยชน์ลดลงเหลือ 505,462 บาท รวมเงินที่ถูกหักออกจากบัญชีสะสมปี 50 เป็นเงิน 69,943 บาท เมื่อรวมกับเงินต้น ปี 51 จำนวน 67,953 บาท รวม 2 ปี เป็นเงินทั้งสิ้น 137,537 บาท
นายประวิทย์ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย ที่สั่งให้เฉลี่ยผลการขาดทุนกับเงินประโยชน์ปี 50และเงินต้นปี 51 ให้คืนเงินที่ถูกหักไปจากบัญชีรวม 2 ปี เป็นเงินทั้งสิ้น 137,537 พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7 ขอให้ศาลพิพากษาให้การลงทุนในปี 51 เป็นการลงทุนที่มิชอบด้วยกฎหมาย ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนที่มิชอบด้วยกฎหมายในปี 51 และให้ออกกฎกระทรวงแก้ไขกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของ กบข.ปี 51 โดยกำหนดสัดส่วนการลงทุนให้ลดลงตามความเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ
**สอบ กบข.ไม่คืบประชุมอีกวันนี้**
นายพิสิฐ ลีลาวชิโรภาศ รองผู้ว่าการ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หนึ่งในคณะกรรมการ กบข. เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ จะมีการประชุมอีกครั้งในวันนี้ (15 พ.ค.) ซึ่งนับเป็นวาระปกติที่น่าจะมีการายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับผลการตรวจสอบการบริหารเงินลงทุนของ กบข. ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ส่วนเรื่องที่ศาลรับฟ้อง กบข.ในกรณีนี้ไม่น่าจะมีผลต่อการบริหารงานอย่างไร เพราะ กบข.มีกฎระเบียบและดำเนินการตามกฎหมายทุกอย่าง ถ้า กบข.ตกเป็นจำเลยจริงบอร์ดบริหารก็น่าจะเป็นจำเลยด้วย อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าน่าจะเป็นเรื่องดีเพราะจะทำให้ขั้นตอนการไต่สวนในครั้งนี้ดูโปร่งใสมากขึ้น
ส่วนกรณีที่ ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีการอนุมัติตั้งบอร์ดสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ขึ้นมาจำนวน 6 คนนั้น ต้องดูก่อนว่าเมื่อตั้งมาแล้วจะเข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้ตามขั้นตอนหรือไม่ และจะเริ่มตรวจสอบอย่าไร นอกจากนี้ยังต้องมองบอร์ดป.ป.ท.ชุดนี้อีกว่ามีจุดยืนหรือมองปัญหาของกบข.อย่างไร
"ถ้าเขามองว่าเป็นการตั้งใจกระทำผิดมันก็จะกลายเป็นความผิด แต่ถ้ามองในแง่การลงทุนแล้วย่อมมีความเสี่ยง ขึ้นอยู่กับว่ามีความรอบคอบมากน้อยแค่ไหน มีความประมาทร้ายแรงหรือไม่ กบข.เองเป็นการลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน ซึ่งการลงทุนต้องการทำให้ได้เงินมากแต่ขึ้นอยู่กับว่าจะมองปัญหานี้เป็นเรื่องปกติหรือเรื่องของการเมือง หรือหน่วยงานบ้างหน่วยงานที่จะเข้าอาจมีผลประโยชน์ของตนเองก็ได้" นายพิสิฐกล่าว.