รัฐมนตรีคลัง พูดชัด กนง.ประชุมวันนี้ ลดดอกเบี้ยลงได้อีก เหตุไม่มีแรงกกดดันเรื่องเงินเฟ้อ พร้อมปลุกจิตสำนึกนายแบงก์ปล่อยสินเชื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจ อ้างบุญคุณรัฐ เคยนำภาษีประชาชนไปอุ้มสถาบันการเงินช่วงวิกฤต 40 ลั่นพร้อมขายแบงก์สินเอเซีย กับนครหลวงไทย แก้ปัญหาแบงก์ขนาดใหญ่ผูกขาด ด้านสมาคมธนาคารไทยมีมติไม่ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ อ้างส่วนต่างดอกเบี้ย (สเปรด) แคบลง ส่วนการยกเว้นค่าธรรมเนียมรีไฟแนนซ์จะพิจารณาเป็นรายๆ
กรณีที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะประชุมเพื่อพิจารณาแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยและเศรษฐกิจไทยในวันนี้ (20 พ.ค.) นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า แม้ที่ผ่านมา กนง.ได้ลดดอกเบี้ยมาอย่างต่อเนื่อง จนล่าสุดเหลือ 1.25% แต่ก็ยังมีช่องทางที่จะลดลงได้อีก เพราะขณะนี้ไม่มีแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ขึ้นกับการพิจารณาของ กนง.ด้วยว่าจะดูแลให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจอย่างไร
ส่วนการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องการให้ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยเงินกู้นั้น ยอมรับว่า ธปท.อาจทำได้ไม่เต็มที่ เพราะระบบสถาบันการเงินของไทย ไม่ได้เปิดโอกาสให้ทางการไปบังคับได้ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีอิสระในการดำเนินงาน อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์เองควรจะตระหนักด้วยว่าช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 รัฐบาลโดยเงินภาษีของประชาชนเข้ามาช่วยเหลือสถาบันการเงิน แต่พอมีปัญหาเศรษฐกิจ ธนาคารพาณิชย์และผู้ถือหุ้นต้องช่วยเหลือด้วย
“กระทรวงการคลังเองต้องการให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการ เพราะระบบธนาคารพาณิชย์เป็นกลไกสำหรับต่อระบบเศรษฐกิจ หากไม่ปล่อยสินเชื่อ โอกาสที่เศรษฐกิจจะเติบโตก็คงไม่มี แต่ก็ต้องแยกแยะให้ออกว่า สินเชื่อที่ลดลงส่วนหนึ่งมาจากความต้องการสินเชื่อที่ลดลงด้วย เห็นได้จากกำลังการผลิตของบริษัทขนาดใหญ่นั้น ปรับลดลงถึง 40%”
รมว.คลัง กล่าวว่า ประเทศไทยยังโชคดีที่ระบบสถาบันการเงินยังเข้มแข็งเพียงพอที่จะดูแลเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ การผ่อนคลายกฎเกณฑ์ต่างๆ ควรทำในช่วงที่เศรษฐกิจมีปัญหา แล้วไปเข้มงวดช่วงที่เศรษฐกิจร้อนแรง เพราะหากไปทำในช่วงที่เศรษฐกิจเฟื่องฟู ก็ยิ่งไปเพิ่มความเสี่ยงให้มากขึ้น และจะเกิดปัญหาสถาบันการเงินเหมือนสหรัฐอเมริกา เพราะไปผ่อนคลายเกณฑ์ช่วงเฟื่องฟู
นายกรณ์ กล่าวถึงการขายหุ้นของกระทรวงการคลังในธนาคารสินเอเซีย จำกัด (มหาชน) หรือ ACL ว่า ยังไม่มีเอกชนรายใดเข้ามายื่นข้อเสนอ เพื่อซื้อหุ้นของสินเอเซียแต่อย่างใด แต่หากพิจารณาแล้วเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อระบบสถาบันการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ กระทรวงการคลังก็พร้อมที่จะสนับสนุนเอกชนที่ต้องการเข้ามาลงทุนในสัดส่วนหุ้นที่เกินเพดาน 49% โดยจะใช้หลักการเดียวกันทั้งธนาคารสินเอเซีย ธนาคารนครหลวงไทย และธนาคารซีไอเอ็มบี ที่เข้ามาลงทุนในไทยธนาคารด้วย เชื่อว่า ธปท.ก็พร้อมที่จะขายหุ้นที่เหลือให้ทั้งหมดเช่นกัน
“ผมเองไม่สนับสนุนให้ระบบสถาบันการเงินถูกผูกขาดด้วยธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4-5 แห่งเท่านั้น” รมว.คลัง กล่าว
**แบงก์ดับฝันเมินลดดอกเบี้ยเงินกู้ **
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่สมาคมธนาคารไทย ได้ประชุมร่วมธนาคารสมาชิก เมื่อวันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา ที่โรงแรมพลาซ่าแอทธินีนั้น ธนาคารได้ข้อสรุปพร้อมกับทำหนังสือรายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทราบ เกี่ยวกับนโยบายที่ ธปท.มอบหมายให้ธนาคารพาณิชย์ตัดสินใจ ดังนี้ 1.เรื่องของการพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ โดยที่ประชุมสมาคมหารือกับแล้วเห็นว่า ไม่สามารถปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ได้ พร้อมกับให้เหตุผลว่าส่วนต่างดอกเบี้ยเงินกู้และดอกเบี้ยเงินฝาก (สเปรด) ในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา เริ่มแคบลงกว่าสิ้นปีที่ผ่านมา ขณะที่ ต้นทุนของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งไม่เท่ากัน หากปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้อาจทำให้ธนาคารประสบปัญหาขาดทุนได้
กรณีที่ 2.เรื่องของการพิจารณาให้ยกเลิกค่าธรรมเนียมรีไฟแนนซ์สำหรับสินเชื่อผู้ประกอบขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) นั้น ธนาคารพาณิชย์มีการพิจารณาให้เป็นรายๆ อยู่แล้ว ซึ่งในเรื่องยกเว้นค่าธรรมเนียมสามารถดำเนินการได้ และกรณี 3.เรื่องความคืบหน้าของโครงการค้ำประกันสินเชื่อรวมกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โดยความล่าช้าผ่านมาเกิดจากธนาคารต้องแยกพอร์ตสินเชื่อของธนาคารกับเอสเอ็มอีที่ต้องการใช้บริการ บสย.ให้ชัดเจน โดยขณะนี้ขบวนการแยกพอร์ตสินเชื่อเสร็จสิ้นแล้ว จากนี้การปล่อยสินเชื่อจะดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) กล่าวถึงการประชุม กนง.วันนี้ว่า สามารถมองได้ 2 แนวทาง คือตลาดโดยรวมคาดการณ์ว่าที่ประชุม กนง.จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25% จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.25% ส่วนอีกแนวทางหนึ่งหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าจะมีการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.25% เช่นเดิม จึงขึ้นอยู่กับ ธปท.ว่าจะกำหนดนโยบายและทิศทางอัตราดอกเบี้ยว่าจะให้ออกมาในรูปแบบใด ส่วนธนาคารกสิกรไทยเองหลังจากที่ผลการประชุมออกมาแล้วจะกำหนดทิศทางอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้อย่างไรนั้น ธนาคารจะต้องดูต้นทุนทางการเงินและการแข่งขันเป็นหลัก
กรณีที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะประชุมเพื่อพิจารณาแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยและเศรษฐกิจไทยในวันนี้ (20 พ.ค.) นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า แม้ที่ผ่านมา กนง.ได้ลดดอกเบี้ยมาอย่างต่อเนื่อง จนล่าสุดเหลือ 1.25% แต่ก็ยังมีช่องทางที่จะลดลงได้อีก เพราะขณะนี้ไม่มีแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ขึ้นกับการพิจารณาของ กนง.ด้วยว่าจะดูแลให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจอย่างไร
ส่วนการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องการให้ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยเงินกู้นั้น ยอมรับว่า ธปท.อาจทำได้ไม่เต็มที่ เพราะระบบสถาบันการเงินของไทย ไม่ได้เปิดโอกาสให้ทางการไปบังคับได้ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีอิสระในการดำเนินงาน อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์เองควรจะตระหนักด้วยว่าช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 รัฐบาลโดยเงินภาษีของประชาชนเข้ามาช่วยเหลือสถาบันการเงิน แต่พอมีปัญหาเศรษฐกิจ ธนาคารพาณิชย์และผู้ถือหุ้นต้องช่วยเหลือด้วย
“กระทรวงการคลังเองต้องการให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการ เพราะระบบธนาคารพาณิชย์เป็นกลไกสำหรับต่อระบบเศรษฐกิจ หากไม่ปล่อยสินเชื่อ โอกาสที่เศรษฐกิจจะเติบโตก็คงไม่มี แต่ก็ต้องแยกแยะให้ออกว่า สินเชื่อที่ลดลงส่วนหนึ่งมาจากความต้องการสินเชื่อที่ลดลงด้วย เห็นได้จากกำลังการผลิตของบริษัทขนาดใหญ่นั้น ปรับลดลงถึง 40%”
รมว.คลัง กล่าวว่า ประเทศไทยยังโชคดีที่ระบบสถาบันการเงินยังเข้มแข็งเพียงพอที่จะดูแลเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ การผ่อนคลายกฎเกณฑ์ต่างๆ ควรทำในช่วงที่เศรษฐกิจมีปัญหา แล้วไปเข้มงวดช่วงที่เศรษฐกิจร้อนแรง เพราะหากไปทำในช่วงที่เศรษฐกิจเฟื่องฟู ก็ยิ่งไปเพิ่มความเสี่ยงให้มากขึ้น และจะเกิดปัญหาสถาบันการเงินเหมือนสหรัฐอเมริกา เพราะไปผ่อนคลายเกณฑ์ช่วงเฟื่องฟู
นายกรณ์ กล่าวถึงการขายหุ้นของกระทรวงการคลังในธนาคารสินเอเซีย จำกัด (มหาชน) หรือ ACL ว่า ยังไม่มีเอกชนรายใดเข้ามายื่นข้อเสนอ เพื่อซื้อหุ้นของสินเอเซียแต่อย่างใด แต่หากพิจารณาแล้วเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อระบบสถาบันการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ กระทรวงการคลังก็พร้อมที่จะสนับสนุนเอกชนที่ต้องการเข้ามาลงทุนในสัดส่วนหุ้นที่เกินเพดาน 49% โดยจะใช้หลักการเดียวกันทั้งธนาคารสินเอเซีย ธนาคารนครหลวงไทย และธนาคารซีไอเอ็มบี ที่เข้ามาลงทุนในไทยธนาคารด้วย เชื่อว่า ธปท.ก็พร้อมที่จะขายหุ้นที่เหลือให้ทั้งหมดเช่นกัน
“ผมเองไม่สนับสนุนให้ระบบสถาบันการเงินถูกผูกขาดด้วยธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4-5 แห่งเท่านั้น” รมว.คลัง กล่าว
**แบงก์ดับฝันเมินลดดอกเบี้ยเงินกู้ **
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่สมาคมธนาคารไทย ได้ประชุมร่วมธนาคารสมาชิก เมื่อวันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา ที่โรงแรมพลาซ่าแอทธินีนั้น ธนาคารได้ข้อสรุปพร้อมกับทำหนังสือรายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทราบ เกี่ยวกับนโยบายที่ ธปท.มอบหมายให้ธนาคารพาณิชย์ตัดสินใจ ดังนี้ 1.เรื่องของการพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ โดยที่ประชุมสมาคมหารือกับแล้วเห็นว่า ไม่สามารถปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ได้ พร้อมกับให้เหตุผลว่าส่วนต่างดอกเบี้ยเงินกู้และดอกเบี้ยเงินฝาก (สเปรด) ในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา เริ่มแคบลงกว่าสิ้นปีที่ผ่านมา ขณะที่ ต้นทุนของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งไม่เท่ากัน หากปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้อาจทำให้ธนาคารประสบปัญหาขาดทุนได้
กรณีที่ 2.เรื่องของการพิจารณาให้ยกเลิกค่าธรรมเนียมรีไฟแนนซ์สำหรับสินเชื่อผู้ประกอบขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) นั้น ธนาคารพาณิชย์มีการพิจารณาให้เป็นรายๆ อยู่แล้ว ซึ่งในเรื่องยกเว้นค่าธรรมเนียมสามารถดำเนินการได้ และกรณี 3.เรื่องความคืบหน้าของโครงการค้ำประกันสินเชื่อรวมกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โดยความล่าช้าผ่านมาเกิดจากธนาคารต้องแยกพอร์ตสินเชื่อของธนาคารกับเอสเอ็มอีที่ต้องการใช้บริการ บสย.ให้ชัดเจน โดยขณะนี้ขบวนการแยกพอร์ตสินเชื่อเสร็จสิ้นแล้ว จากนี้การปล่อยสินเชื่อจะดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) กล่าวถึงการประชุม กนง.วันนี้ว่า สามารถมองได้ 2 แนวทาง คือตลาดโดยรวมคาดการณ์ว่าที่ประชุม กนง.จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25% จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.25% ส่วนอีกแนวทางหนึ่งหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าจะมีการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.25% เช่นเดิม จึงขึ้นอยู่กับ ธปท.ว่าจะกำหนดนโยบายและทิศทางอัตราดอกเบี้ยว่าจะให้ออกมาในรูปแบบใด ส่วนธนาคารกสิกรไทยเองหลังจากที่ผลการประชุมออกมาแล้วจะกำหนดทิศทางอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้อย่างไรนั้น ธนาคารจะต้องดูต้นทุนทางการเงินและการแข่งขันเป็นหลัก