ศูนย์วิจัยกสิกรฯ คาดภาวะเงินเฟ้อยังติดลบรุนแรง และต่อไปถึงเดือนก.ค.นี้ หลังราคาอาหารสด และราคาน้ำมัน มีแนวโน้มขยับขึ้นต่อเนื่อง จากไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ และสภาพดินฟ้าอากาศ ส่งผลให้สินค้าอุปโภคบริโภคยังมีความผันผวนสูง
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า จากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อล่าสุดเดือนเมษายน 2552 ที่ผ่านมา ที่ยังติดลบติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 แต่เป็นที่สังเกตว่าระดับดัชนีราคาผู้บริโภคปรับเพิ่มขึ้นค่อนข้างรวดเร็วกว่าที่คาด และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า โดยมีแรงผลักดันจากราคาน้ำมันในตลาดโลก และราคาสินค้า อาหาร เช่น เนื้อสัตว์และพืชผัก ที่มีทิศทางปรับสูงขึ้น
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนเมษายนลดลงร้อยละ 0.9 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ช่วง 4 เดือนแรกของปี 2552 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ 0.4 ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4
อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ระดับราคาสินค้าจากนี้ไปอาจจะอยู่ในทิศทางที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมีแรงผลักดันจากราคาอาหารสดและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยราคาอาหารสดที่มีโอกาสจะสูงขึ้น เป็นผลจากปัจจัยด้านสภาพอากาศ และเหตุการณ์แพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
“คาดว่า สภาพอากาศที่ร้อนจัดอาจสร้างความเสียหายให้แก่พืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะราคาพืชผักน่าจะยังมีระดับสูง รวมทั้งทำให้ปศุสัตว์เติบโตได้ช้า จึงมีความเป็นไปได้ที่ราคาสินค้าปศุสัตว์อาจขยับสูงขึ้น อีกทั้งยังมีผลของการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทำให้ประชาชนอาจกังวลต่อการบริโภคเนื้อหมูแล้วหันไปบริโภคเนื้อไก่ ไข่ไก่ หรือสัตว์น้ำ ทดแทน”
สำหรับราคาพลังงานมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น หลังจากเครื่องชี้เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศชั้นนำมีสัญญาณบวกที่ค่อนข้างชัดเจนขึ้น ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มมองว่าภาวะถดถอยของเศรษฐกิจก้าวผ่านจุดที่เลวร้ายที่สุดไปแล้ว จึงทำให้ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในระยะเวลาที่เหลือของปีนี้ มีโอกาสที่จะปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า ที่เคยคาดการณ์ไว้ แต่คาดว่าจะไม่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วเท่ากับปี 2551 และโอกาสที่ราคาจะกลับขึ้นไปสู่จุดที่เคยสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคม 2551 ยังต้องใช้เวลาอีกหลายไตรมาส เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกในช่วงไตรมาสที่ 2-3 ปี 2552 ยังอยู่ในภาวะที่ถดถอยแต่เป็นการถดถอยที่ชะลอตัวลง ก่อนที่จะค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมาเป็นบวกอย่างช้า ๆ โดยคาดว่าอัตราการเติบโตของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วในช่วงปี 2553 แม้ว่าส่วนใหญ่อาจจะขยายตัวเป็นบวกได้ แต่ก็ยังคงเป็นระดับที่ต่ำกว่าศักยภาพอยู่
อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอาจจะยังเป็นตัวเลขติดลบรุนแรงไปจนถึงเดือนกรกฏาคม เนื่องจากผลของฐานเปรียบเทียบที่สูงอย่างมากในปีก่อน ซึ่งจะทำให้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอาจจะหดตัวลงประมาณร้อยละ 1.2 และจะยังอยู่ในระดับที่ต่ำไปจนถึงสิ้นไตรมาสที่ 3 สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะมีทิศทางชะลอลงต่อเนื่องในเดือนต่อๆ ไป และมีโอกาสที่จะติดลบบางเดือนในช่วงกลางปี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงปรับประมาณการแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อตลอดทั้งปี 2552 ขึ้นมามีค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 0.0-0.5 จากกรอบประมาณการเดิมที่อยู่ในช่วงติดลบร้อยละ 1.0 ถึงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 0.5-1.0 จากกรอบประมาณการเดิมที่ร้อยละ 0.0-1.0 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงอยู่ภายในกรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ร้อยละ 0.0-3.5
สำหรับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายด้านที่อาจฉุดรั้งให้หดตัวลงมากกว่าที่คาด โดยเฉพาะผลกระทบของสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งจะยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อไปในช่วงที่เหลือของปีนี้ จะทำให้การใช้จ่ายภายในประเทศ ทั้งการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนมีโอกาสหดตัวลง ดังนั้น การใช้นโยบายการเงินและการคลังแบบขยายตัวจึงยังเป็นแนวทางที่จำเป็นในการกระตุ้นและประคับประคองเศรษฐกิจให้ยังมีแรงขับเคลื่อนไปได้ ซึ่งภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง น่าจะเป็นปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้ ทางการยังสามารถใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงได้อีก และยังสามารถคงแนวนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไป ได้ในช่วงระยะเวลาที่เหลือของปี 2552
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า จากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อล่าสุดเดือนเมษายน 2552 ที่ผ่านมา ที่ยังติดลบติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 แต่เป็นที่สังเกตว่าระดับดัชนีราคาผู้บริโภคปรับเพิ่มขึ้นค่อนข้างรวดเร็วกว่าที่คาด และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า โดยมีแรงผลักดันจากราคาน้ำมันในตลาดโลก และราคาสินค้า อาหาร เช่น เนื้อสัตว์และพืชผัก ที่มีทิศทางปรับสูงขึ้น
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนเมษายนลดลงร้อยละ 0.9 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ช่วง 4 เดือนแรกของปี 2552 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ 0.4 ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4
อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ระดับราคาสินค้าจากนี้ไปอาจจะอยู่ในทิศทางที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมีแรงผลักดันจากราคาอาหารสดและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยราคาอาหารสดที่มีโอกาสจะสูงขึ้น เป็นผลจากปัจจัยด้านสภาพอากาศ และเหตุการณ์แพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
“คาดว่า สภาพอากาศที่ร้อนจัดอาจสร้างความเสียหายให้แก่พืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะราคาพืชผักน่าจะยังมีระดับสูง รวมทั้งทำให้ปศุสัตว์เติบโตได้ช้า จึงมีความเป็นไปได้ที่ราคาสินค้าปศุสัตว์อาจขยับสูงขึ้น อีกทั้งยังมีผลของการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทำให้ประชาชนอาจกังวลต่อการบริโภคเนื้อหมูแล้วหันไปบริโภคเนื้อไก่ ไข่ไก่ หรือสัตว์น้ำ ทดแทน”
สำหรับราคาพลังงานมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น หลังจากเครื่องชี้เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศชั้นนำมีสัญญาณบวกที่ค่อนข้างชัดเจนขึ้น ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มมองว่าภาวะถดถอยของเศรษฐกิจก้าวผ่านจุดที่เลวร้ายที่สุดไปแล้ว จึงทำให้ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในระยะเวลาที่เหลือของปีนี้ มีโอกาสที่จะปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า ที่เคยคาดการณ์ไว้ แต่คาดว่าจะไม่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วเท่ากับปี 2551 และโอกาสที่ราคาจะกลับขึ้นไปสู่จุดที่เคยสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคม 2551 ยังต้องใช้เวลาอีกหลายไตรมาส เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกในช่วงไตรมาสที่ 2-3 ปี 2552 ยังอยู่ในภาวะที่ถดถอยแต่เป็นการถดถอยที่ชะลอตัวลง ก่อนที่จะค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมาเป็นบวกอย่างช้า ๆ โดยคาดว่าอัตราการเติบโตของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วในช่วงปี 2553 แม้ว่าส่วนใหญ่อาจจะขยายตัวเป็นบวกได้ แต่ก็ยังคงเป็นระดับที่ต่ำกว่าศักยภาพอยู่
อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอาจจะยังเป็นตัวเลขติดลบรุนแรงไปจนถึงเดือนกรกฏาคม เนื่องจากผลของฐานเปรียบเทียบที่สูงอย่างมากในปีก่อน ซึ่งจะทำให้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอาจจะหดตัวลงประมาณร้อยละ 1.2 และจะยังอยู่ในระดับที่ต่ำไปจนถึงสิ้นไตรมาสที่ 3 สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะมีทิศทางชะลอลงต่อเนื่องในเดือนต่อๆ ไป และมีโอกาสที่จะติดลบบางเดือนในช่วงกลางปี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงปรับประมาณการแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อตลอดทั้งปี 2552 ขึ้นมามีค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 0.0-0.5 จากกรอบประมาณการเดิมที่อยู่ในช่วงติดลบร้อยละ 1.0 ถึงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 0.5-1.0 จากกรอบประมาณการเดิมที่ร้อยละ 0.0-1.0 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงอยู่ภายในกรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ร้อยละ 0.0-3.5
สำหรับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายด้านที่อาจฉุดรั้งให้หดตัวลงมากกว่าที่คาด โดยเฉพาะผลกระทบของสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งจะยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อไปในช่วงที่เหลือของปีนี้ จะทำให้การใช้จ่ายภายในประเทศ ทั้งการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนมีโอกาสหดตัวลง ดังนั้น การใช้นโยบายการเงินและการคลังแบบขยายตัวจึงยังเป็นแนวทางที่จำเป็นในการกระตุ้นและประคับประคองเศรษฐกิจให้ยังมีแรงขับเคลื่อนไปได้ ซึ่งภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง น่าจะเป็นปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้ ทางการยังสามารถใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงได้อีก และยังสามารถคงแนวนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไป ได้ในช่วงระยะเวลาที่เหลือของปี 2552