เอกชนยื่นรัฐปรับระเบียบประมูลงานแบบอี-อ็อกชั่นใหม่ ยันที่ผ่านมาไม่สามารถทำให้การทุจริตคอร์รัปชั่นลดลงไปได้แต่กลับเป็นอุปสรรคมากขึ้นกว่าเดิมแถมภาครัฐได้คุณภาพงานที่ต่ำลงด้วยซ้ำ
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการร่วมเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) เปิดเผยว่า กกร.ได้เสนอต่อรัฐบาลให้มีการแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 โดยยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์หรืออี – อ็อกชั่น(e-Auction) ในกับ 1. งานการประมูลก่อสร้างซึ่งเป็นรายการปริมาณงานหรือ BOQ ที่มีหลากหลายรายการในโครงการเดียวกัน 2.งานประมูลจัดซื้อประเภทสินค้าและบริการสินค้าเทคโนโลยี และ 3. งานประมูลจัดซื้อพัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น เวชภัณฑ์ สายส่งไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น
ทั้งนี้การทำระบบ e-Auction ปัจจุบันเป็นระบบอินทราเน็ต(Intranet) ที่ผู้เสนอราคาต้องไปรวมตัวกันในสถานที่ที่กำหนด คือตลาดกลาง ดังนั้นก็ไม่ต่างกับการยื่นซองประกวดราคาแบบเดิม และมีการตกลงสมยอมราคาก่อนเริ่มต้นประมูลที่ตลาดกลาง จึงไม่สามารถทำให้การทุจริตคอร์รัปชั่นในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานราชการลดลงได้
แม้ว่าตามเจตนารมณ์ของกฏหมายดังกล่าวจะทำขึ้นเพื่อให้เกิดความโปร่งใส มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และประหยัดงบประมาณก็ตามไม่เพียงเท่านั้นยังพบว่าผู้เสนอราคาไม่สามารถเสนอทางเลือกที่นอกเหนือจากทีโออาร์(TOR) ได้ต้องเสนอเพียงทางเดียว การเสนอสิ่งที่ดีกว่าไม่มีผลต่อการพิจารณาเพราะระบบดังกล่าวต้องการราคาที่ต่ำสุดเป็นเกณฑ์ และคุณภาพสินค้าให้ผ่านคุณสมบัติขั้นต่ำก็เพียงพอ และหากผ่าน TOR แล้วไม่เข้าไปเคาะราคาไม่ว่ากรณีใดๆ ก็จะถูกยึดหลักประกันซอง
แหล่งข่าวกล่าวว่า กรณีที่มีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียวหากต้องการขอยกเว้นการทำอี-อ็อกชั่น หน่วยงานจะต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์(กวพ.อ.)ก่อนหรือผู้เสนอราคาจะต้องไปหาบริษัทที่เป็นคู่เปรียบเทียบมาเสนอราคาเพื่อให้ผ่านเงื่อนไขซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ไม่เพียงเท่านั้นในอุตสาหกรรมก่อสร้างงานมีปัญหาทำให้เกิดงานซ้ำซ้อนและล่าช้าในประเด็นที่ต้องมีการเสนอร่างทีโออาร์ในเว็บไซต์เพราะงานส่วนใหญ่จะไม่ต้องร่างทีโออาร์
“ระเบียบดังกล่าวออกประกาศเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2549 สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ซึ่งสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับผลกระทบจากระเบียบนี้ค่อนข้างมากจึงเห็นว่ารัฐบาลควรจะต้องปรับปรุงเงื่อนไขเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่แท้จริง”แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการร่วมเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) เปิดเผยว่า กกร.ได้เสนอต่อรัฐบาลให้มีการแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 โดยยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์หรืออี – อ็อกชั่น(e-Auction) ในกับ 1. งานการประมูลก่อสร้างซึ่งเป็นรายการปริมาณงานหรือ BOQ ที่มีหลากหลายรายการในโครงการเดียวกัน 2.งานประมูลจัดซื้อประเภทสินค้าและบริการสินค้าเทคโนโลยี และ 3. งานประมูลจัดซื้อพัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น เวชภัณฑ์ สายส่งไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น
ทั้งนี้การทำระบบ e-Auction ปัจจุบันเป็นระบบอินทราเน็ต(Intranet) ที่ผู้เสนอราคาต้องไปรวมตัวกันในสถานที่ที่กำหนด คือตลาดกลาง ดังนั้นก็ไม่ต่างกับการยื่นซองประกวดราคาแบบเดิม และมีการตกลงสมยอมราคาก่อนเริ่มต้นประมูลที่ตลาดกลาง จึงไม่สามารถทำให้การทุจริตคอร์รัปชั่นในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานราชการลดลงได้
แม้ว่าตามเจตนารมณ์ของกฏหมายดังกล่าวจะทำขึ้นเพื่อให้เกิดความโปร่งใส มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และประหยัดงบประมาณก็ตามไม่เพียงเท่านั้นยังพบว่าผู้เสนอราคาไม่สามารถเสนอทางเลือกที่นอกเหนือจากทีโออาร์(TOR) ได้ต้องเสนอเพียงทางเดียว การเสนอสิ่งที่ดีกว่าไม่มีผลต่อการพิจารณาเพราะระบบดังกล่าวต้องการราคาที่ต่ำสุดเป็นเกณฑ์ และคุณภาพสินค้าให้ผ่านคุณสมบัติขั้นต่ำก็เพียงพอ และหากผ่าน TOR แล้วไม่เข้าไปเคาะราคาไม่ว่ากรณีใดๆ ก็จะถูกยึดหลักประกันซอง
แหล่งข่าวกล่าวว่า กรณีที่มีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียวหากต้องการขอยกเว้นการทำอี-อ็อกชั่น หน่วยงานจะต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์(กวพ.อ.)ก่อนหรือผู้เสนอราคาจะต้องไปหาบริษัทที่เป็นคู่เปรียบเทียบมาเสนอราคาเพื่อให้ผ่านเงื่อนไขซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ไม่เพียงเท่านั้นในอุตสาหกรรมก่อสร้างงานมีปัญหาทำให้เกิดงานซ้ำซ้อนและล่าช้าในประเด็นที่ต้องมีการเสนอร่างทีโออาร์ในเว็บไซต์เพราะงานส่วนใหญ่จะไม่ต้องร่างทีโออาร์
“ระเบียบดังกล่าวออกประกาศเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2549 สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ซึ่งสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับผลกระทบจากระเบียบนี้ค่อนข้างมากจึงเห็นว่ารัฐบาลควรจะต้องปรับปรุงเงื่อนไขเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่แท้จริง”แหล่งข่าวกล่าว