ที่ปรึกษาบอร์ดอีลิท แนะคณะกรรมการชำแหระโครงสร้างทีพีซีใหม่ทั้งหมด แม้จะต้องแก้มติ ครม. ก็ต้องทำ หากคิดเดินหน้ากิจการต่อ ระบุวิธีคิดการรับรู้รายได้ทางบัญชี ถ้ายิ่งใช้จำนวนปีมากขึ้นตัวเลขขาดทุนสะสมก็ยิ่งมาก ยกตัวอย่างหากคิด 30 ปี ยอดขาดทุนวิ่งไปถึง 1.4 พันล้านบาท เข้าทาง “ชุมพล” สั่งปิดกิจการ
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด (บอร์ดทีพีซี) ผู้บริหารโครงการบัตรไทยแลนด์อีลิท เปิดเผยว่า ในการประชุม บอร์ดอีลิทวันนี้ ได้เตรียมเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับ แนวทางการบริหารจัดการ และโครงสร้างการทำงานของทีพีซี ต่อที่ประชุม โดยเฉพาะในเรื่องของหลักเกณฑ์วิธีการคิดรายได้ของทีพีซี ต้องมีการปรับเปลี่ยน นอกจากนั้นหากบริษัทได้ดำเนินธุรกิจต่อไป จะต้องมีการปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน โดยต้องให้มีความเป็นธุรกิจมากขึ้น ซึ่งแม้จะต้องมีการแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องของวัตถุประสงค์การจัดตั้งและการทำงานของบริษัทก็ตาม
อย่างไรก็ตาม หากนางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะประธานบอร์ดทีพีซี ต้องการให้มีการปรับเปลี่ยนวิธีคิดในเรื่องของการรับรู้รายได้จากการขายบัตรให้อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงมากที่สุด ก็ต้องเสนอให้มีการรับรู้รายได้ 50 ปี ต่อรายได้จากการขายบัตร 1 ใบ โดยคำนวณจากอายุผู้ถือบัตร บวกกับสิทธิในการถ่ายโอนเปลี่ยนมือผู้ถือบัตร ซึ่งจะทำให้อายุบัตรยาวนานยิ่งขึ้น ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง ตัวเลขขาดทุนสะสมทางบัญชีก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้เพราะจากการประชุมบอร์ดทีพีซีครั้งล่าสุด ที่ให้คณะทำงานไปศึกษาการรับรู้รายได้ทางบัญชีให้อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง จากปัจจุบันบัตร 1 ใบรับรู้รายได้ 10 ปี ให้เปลี่ยนเป็น 30 ปีนั้น จะทำให้ตัวเลขขาดทุนสะสมของทีพีซี พุ่งไปอยู่ที่กว่า 1.4 พันล้านบาท จากยอดสมาชิกปัจจุบันที่มีอยู่ราว 2,500 ราย หากเป็นเช่นนั้นก็ยิ่งจะทำให้การตัดสินใจหยุดกิจการและปิดบริษัทยิ่งมีความเป็นไปได้มากขึ้น ดังนั้นจึงมองว่าทีพีซี ต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและวิธีการทำงานทั้งหมด
ด้านแหล่งข่าวจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ผู้ถือหุ้นใหญ่ 100% ใน ทีพีซี ก็กล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่า ถ้ายิ่งขยายการรับรู้รายได้จาก 10 ปี เป็น 30 ปี จะยิ่งทำให้ ทีพีซีมีตัวเลขขาดทุนสะสมมากยิ่งขึ้น ซึ่งง่ายต่อการตัดสินใจยุบบริษัท เพราะ ทำไปก็มีแต่จะขาดทุน และต้องขายบัตรเพื่อให้มีรายได้มาใช้จ่ายในการให้บริการสมาชิกรายเก่าที่สะสมมาตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทด้วย ซึ่งในการประชุมบอร์ดทีพีซีครั้งนี้คงต้องหารือกันหนักขึ้น หากจะเดินหน้าองค์กรต่อไป โดยเฉพาะแนวทางการสร้างรายได้เพิ่ม ลดค่าใช้จ่าย สิทธิประโยชน์ และจำนวนสมาชิก หากหาทางออกไม่ได้ การปิดบริษัทจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด (บอร์ดทีพีซี) ผู้บริหารโครงการบัตรไทยแลนด์อีลิท เปิดเผยว่า ในการประชุม บอร์ดอีลิทวันนี้ ได้เตรียมเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับ แนวทางการบริหารจัดการ และโครงสร้างการทำงานของทีพีซี ต่อที่ประชุม โดยเฉพาะในเรื่องของหลักเกณฑ์วิธีการคิดรายได้ของทีพีซี ต้องมีการปรับเปลี่ยน นอกจากนั้นหากบริษัทได้ดำเนินธุรกิจต่อไป จะต้องมีการปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน โดยต้องให้มีความเป็นธุรกิจมากขึ้น ซึ่งแม้จะต้องมีการแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องของวัตถุประสงค์การจัดตั้งและการทำงานของบริษัทก็ตาม
อย่างไรก็ตาม หากนางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะประธานบอร์ดทีพีซี ต้องการให้มีการปรับเปลี่ยนวิธีคิดในเรื่องของการรับรู้รายได้จากการขายบัตรให้อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงมากที่สุด ก็ต้องเสนอให้มีการรับรู้รายได้ 50 ปี ต่อรายได้จากการขายบัตร 1 ใบ โดยคำนวณจากอายุผู้ถือบัตร บวกกับสิทธิในการถ่ายโอนเปลี่ยนมือผู้ถือบัตร ซึ่งจะทำให้อายุบัตรยาวนานยิ่งขึ้น ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง ตัวเลขขาดทุนสะสมทางบัญชีก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้เพราะจากการประชุมบอร์ดทีพีซีครั้งล่าสุด ที่ให้คณะทำงานไปศึกษาการรับรู้รายได้ทางบัญชีให้อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง จากปัจจุบันบัตร 1 ใบรับรู้รายได้ 10 ปี ให้เปลี่ยนเป็น 30 ปีนั้น จะทำให้ตัวเลขขาดทุนสะสมของทีพีซี พุ่งไปอยู่ที่กว่า 1.4 พันล้านบาท จากยอดสมาชิกปัจจุบันที่มีอยู่ราว 2,500 ราย หากเป็นเช่นนั้นก็ยิ่งจะทำให้การตัดสินใจหยุดกิจการและปิดบริษัทยิ่งมีความเป็นไปได้มากขึ้น ดังนั้นจึงมองว่าทีพีซี ต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและวิธีการทำงานทั้งหมด
ด้านแหล่งข่าวจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ผู้ถือหุ้นใหญ่ 100% ใน ทีพีซี ก็กล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่า ถ้ายิ่งขยายการรับรู้รายได้จาก 10 ปี เป็น 30 ปี จะยิ่งทำให้ ทีพีซีมีตัวเลขขาดทุนสะสมมากยิ่งขึ้น ซึ่งง่ายต่อการตัดสินใจยุบบริษัท เพราะ ทำไปก็มีแต่จะขาดทุน และต้องขายบัตรเพื่อให้มีรายได้มาใช้จ่ายในการให้บริการสมาชิกรายเก่าที่สะสมมาตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทด้วย ซึ่งในการประชุมบอร์ดทีพีซีครั้งนี้คงต้องหารือกันหนักขึ้น หากจะเดินหน้าองค์กรต่อไป โดยเฉพาะแนวทางการสร้างรายได้เพิ่ม ลดค่าใช้จ่าย สิทธิประโยชน์ และจำนวนสมาชิก หากหาทางออกไม่ได้ การปิดบริษัทจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด