บอร์ดอีลิทพลิกโผ ตั้ง“ศศิธารา”นั่งประธาน ประชุมนัดแรกประเดิมตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ จี้สอบข้อมูลทางบัญชีอีลิทการ์ดละเอียดยิบ พร้อมศึกษาปรับโครงสร้างระบบบัญชีใหม่ทั้งหมด หวังกวาดบ้านให้ตัวเลขรายรับรายจ่ายตั้งอยู่บนพื้นฐานที่แท้จริง กำหนดแล้วเสร็จ 9 เม.ย. ก่อนชงเรื่องถึงชุมพลอีกครั้ง เบื้องต้นพบตัวเลขเงินสดคงเหลือ 2 ปีลดฮวบ 200 ล้านบาท
รายงานข่าวจากการประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) บริษัทไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด หรือ ทีพีซี ผู้บริหารโครงการบัตรไทยแลนด์ อีลิท ซึ่งมีนายสรจักร เกษมสุวรรณ เป็นประธาน แจ้งว่า ที่ประชุมเห็นชอบตามที่ตัวแทนบอร์ด ททท. เสนอชื่อให้นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยว เป็นประธานบอร์ดทีพีซี จากนั้นได้มีการแต่งตั้งอีก 2 ตำแหน่ง คือ 1. นายดุษฎี สินเจิมสิริ ผู้ตรวจสำนักนายก อดีต อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นรองประธาน บอร์ด 2.นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) เป็นที่ปรึกษาบอร์ด เพราะเป็นตัวแทนภาคเอกชนท่องเที่ยวในการเสนอข้อคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจากวงการท่องเที่ยว ระบุว่าเดิมททท.ได้เตรียมเสนอชื่อ นายดุษฎี สินเจิมสิริ ผู้ตรวจสำนักนายก เป็นประธาน แต่เมื่อถึงเวลาประชุม ตัวแทนจากบอร์ดททท. กลับเสนอชื่อ นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯเป็นประธานโดยมีมติโหวตเป็นเอกฉันท์ สะท้อนให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่การทำงานของบอร์ดอีลิทที่นำโดยนาวสาวศศิธารา ในครั้งนี้ จะเป็นเสมือนการเข้ามาตรวจสอบโครงสร้างการทำงานของทีพีซีอย่างละเอียดอีกครั้งตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัท เพื่อรายงานตรงต่อนายชุมพล ศิลปะอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯ
**ตั้งคณะกรรมการฯกวาดขยะใต้พรม**
หลังการแต่งตั้งตำแหน่งประธานบอร์ดทีพีซี เป็นที่เรียบร้อย ก็ได้ดำเนินการประชุมต่อ โดยนางสาวศศิธารา ประธานบอร์ดทีพีซี กล่าวภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ โดยมีนายสงขลา วิชัยขัทคะ รองเลขาธิการกฤษฎีกา เป็นประธาน และมีกรรมการอีก 2 ท่าน ได้แก่ นางเมธาวี ตันวัฒนพงษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ททท.,รองอธิการบดีฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยราชธานี และ ผ.ศ.โสภาพรรณ อมตะเดชะ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ททท. ,อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตราชภัฎสวนดุสิต
ภาระกิจของคณะกรรมการตรวจสอบ คือจะเข้ามาตรวจสอบวิเคราะห์ระบบและวิธีการทางบัญชีของบริษัททีพีซีอย่างละเอียดว่าโครงสร้างในปัจจุบันนี้ถูกต้องหรือไม่ พร้อมกับ ศึกษาหาวิธีการทางบัญชีในรูปแบบใหม่ให้ตัวเลขทางบัญชีดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน เช่น ปัจจุบัน ขายบัตร 1 ใบ จะเฉลี่ยรับรู้รายได้ทางบัญชี 10 ปี จะให้เปลี่ยนเป็น ขายบัตร 1 ใบ ให้เฉลี่ยรับรู้รายได้ทางบัญชีเป็น 30 ปี เพื่อให้ข้อมูลใกล้เคียงความจริงที่สุด เป็นต้น โดยจะนำกลับมารายงานบอร์ดในวันที่ 9 เม.ย.นี้ ก่อนจัดทำเป็นข้อมูลเพิ่มเติม เสนอให้แก่นายชุมพล ศิลปะอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ใช้ประกอบการพิจารณา
**เงินสด2ปีลดวูบเฉียด200ล้านบาท***
นอกจากนั้นต้องตรวจสอบเงินสดคงเหลือของบริษัททั้งหมด รายรับรายจ่ายตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบันอย่างละเอียด เช่นล่าสุดทราบว่าก่อนจะมีคำสั่งจากรมว.ชุมพล ให้หยุดทำธุรกิจทุกอย่างที่จะก่อภาระผู้พันธ์ ทีพีซี ได้ เซ็นสัญญาจัดซื้อระบบคอมพิวเตอร์วงเงิน 76 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเช่าระบบจองบนเว็บไซน์ 48 ล้านบาท และ โครงการเช่าระบบ CRM อีก 28 ล้านบาท โดยเร็วๆนี้ต้องจ่ายเงินล่วงหน้า 10% หรือประมาณ 7 ล้านบาทเศษ ตรงนี้ ให้ไปดูในสัญญาว่าจะยกเลิกหรือชะลอไปก่อนได้หรือไม่
“ที่ผ่านมา ทีพีซี ส่งเพียงข้อมูลรายได้จากปี 46-49 ไม่ได้บอกรายจ่ายอย่างละเอียด ทำให้เราไม่ได้ข้อมูลเชิงลึก ดังนั้นครั้งนี้คณะกรรมการตรวจสอบจะทำอย่างละเอียด เพื่อนำข้อมูลเสนอต่อนายชุมพล ใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินว่าจะให้อีลิทเดินหน้าต่อไปหรือไม่อย่างไร ซึ่งแนวทางการทำงานของบอร์ดอีลิทในขณะนี้จะไม่คิดแนวทางใหม่ แต่จะเข้ามาดูสถานการณ์ทางการเงินของบริษัทว่ามีเงินเท่าใด มีภาระต้องใช้เท่าใด เพื่อจะได้คำนวณว่าต่อปีต้องขายบัตรได้เท่าใด มีรายรับเท่าใด จึงเพียงพอกับรายจ่าย และ มีกำไรคงเหลือ ”
อย่างไรก็ตาม ณ วันที่ 22 ก.พ.52 ทีพีซี มีเงินสดคงเหลือ รวม 479.96 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปี ธ.ค. 2550 มีเงินสด 693.59 ล้านบาท ,ธ.ค.51 มีเงินสด 505.16 ล้านบาท สาเหตุเพราะปัญหาขององค์กรที่เกิดขึ้นทำให้บริษัทไม่สามารถจำหน่ายบัตรได้ตามเป้าหมาย และในปี 2551 ยังมีค่าใช้จ่ายในโครงการจำใจจากอีก กว่า 20 ล้านบาท สำหรับรายจ่ายประจำในแต่ละปีจะเฉลี่ยกว่า 300 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าใช้จ่ายแก่บริการกอล์ฟ สปา และ รถลีมูซีน ให้แก่สมาชิกรวมปีละ 100 ล้านบาท อีกกว่า 200 ล้านบาท คือค่าจ้างพนักงาน และค่าบริหารจัดการองค์กร
รายงานข่าวจากการประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) บริษัทไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด หรือ ทีพีซี ผู้บริหารโครงการบัตรไทยแลนด์ อีลิท ซึ่งมีนายสรจักร เกษมสุวรรณ เป็นประธาน แจ้งว่า ที่ประชุมเห็นชอบตามที่ตัวแทนบอร์ด ททท. เสนอชื่อให้นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยว เป็นประธานบอร์ดทีพีซี จากนั้นได้มีการแต่งตั้งอีก 2 ตำแหน่ง คือ 1. นายดุษฎี สินเจิมสิริ ผู้ตรวจสำนักนายก อดีต อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นรองประธาน บอร์ด 2.นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) เป็นที่ปรึกษาบอร์ด เพราะเป็นตัวแทนภาคเอกชนท่องเที่ยวในการเสนอข้อคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจากวงการท่องเที่ยว ระบุว่าเดิมททท.ได้เตรียมเสนอชื่อ นายดุษฎี สินเจิมสิริ ผู้ตรวจสำนักนายก เป็นประธาน แต่เมื่อถึงเวลาประชุม ตัวแทนจากบอร์ดททท. กลับเสนอชื่อ นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯเป็นประธานโดยมีมติโหวตเป็นเอกฉันท์ สะท้อนให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่การทำงานของบอร์ดอีลิทที่นำโดยนาวสาวศศิธารา ในครั้งนี้ จะเป็นเสมือนการเข้ามาตรวจสอบโครงสร้างการทำงานของทีพีซีอย่างละเอียดอีกครั้งตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัท เพื่อรายงานตรงต่อนายชุมพล ศิลปะอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯ
**ตั้งคณะกรรมการฯกวาดขยะใต้พรม**
หลังการแต่งตั้งตำแหน่งประธานบอร์ดทีพีซี เป็นที่เรียบร้อย ก็ได้ดำเนินการประชุมต่อ โดยนางสาวศศิธารา ประธานบอร์ดทีพีซี กล่าวภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ โดยมีนายสงขลา วิชัยขัทคะ รองเลขาธิการกฤษฎีกา เป็นประธาน และมีกรรมการอีก 2 ท่าน ได้แก่ นางเมธาวี ตันวัฒนพงษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ททท.,รองอธิการบดีฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยราชธานี และ ผ.ศ.โสภาพรรณ อมตะเดชะ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ททท. ,อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตราชภัฎสวนดุสิต
ภาระกิจของคณะกรรมการตรวจสอบ คือจะเข้ามาตรวจสอบวิเคราะห์ระบบและวิธีการทางบัญชีของบริษัททีพีซีอย่างละเอียดว่าโครงสร้างในปัจจุบันนี้ถูกต้องหรือไม่ พร้อมกับ ศึกษาหาวิธีการทางบัญชีในรูปแบบใหม่ให้ตัวเลขทางบัญชีดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน เช่น ปัจจุบัน ขายบัตร 1 ใบ จะเฉลี่ยรับรู้รายได้ทางบัญชี 10 ปี จะให้เปลี่ยนเป็น ขายบัตร 1 ใบ ให้เฉลี่ยรับรู้รายได้ทางบัญชีเป็น 30 ปี เพื่อให้ข้อมูลใกล้เคียงความจริงที่สุด เป็นต้น โดยจะนำกลับมารายงานบอร์ดในวันที่ 9 เม.ย.นี้ ก่อนจัดทำเป็นข้อมูลเพิ่มเติม เสนอให้แก่นายชุมพล ศิลปะอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ใช้ประกอบการพิจารณา
**เงินสด2ปีลดวูบเฉียด200ล้านบาท***
นอกจากนั้นต้องตรวจสอบเงินสดคงเหลือของบริษัททั้งหมด รายรับรายจ่ายตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบันอย่างละเอียด เช่นล่าสุดทราบว่าก่อนจะมีคำสั่งจากรมว.ชุมพล ให้หยุดทำธุรกิจทุกอย่างที่จะก่อภาระผู้พันธ์ ทีพีซี ได้ เซ็นสัญญาจัดซื้อระบบคอมพิวเตอร์วงเงิน 76 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเช่าระบบจองบนเว็บไซน์ 48 ล้านบาท และ โครงการเช่าระบบ CRM อีก 28 ล้านบาท โดยเร็วๆนี้ต้องจ่ายเงินล่วงหน้า 10% หรือประมาณ 7 ล้านบาทเศษ ตรงนี้ ให้ไปดูในสัญญาว่าจะยกเลิกหรือชะลอไปก่อนได้หรือไม่
“ที่ผ่านมา ทีพีซี ส่งเพียงข้อมูลรายได้จากปี 46-49 ไม่ได้บอกรายจ่ายอย่างละเอียด ทำให้เราไม่ได้ข้อมูลเชิงลึก ดังนั้นครั้งนี้คณะกรรมการตรวจสอบจะทำอย่างละเอียด เพื่อนำข้อมูลเสนอต่อนายชุมพล ใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินว่าจะให้อีลิทเดินหน้าต่อไปหรือไม่อย่างไร ซึ่งแนวทางการทำงานของบอร์ดอีลิทในขณะนี้จะไม่คิดแนวทางใหม่ แต่จะเข้ามาดูสถานการณ์ทางการเงินของบริษัทว่ามีเงินเท่าใด มีภาระต้องใช้เท่าใด เพื่อจะได้คำนวณว่าต่อปีต้องขายบัตรได้เท่าใด มีรายรับเท่าใด จึงเพียงพอกับรายจ่าย และ มีกำไรคงเหลือ ”
อย่างไรก็ตาม ณ วันที่ 22 ก.พ.52 ทีพีซี มีเงินสดคงเหลือ รวม 479.96 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปี ธ.ค. 2550 มีเงินสด 693.59 ล้านบาท ,ธ.ค.51 มีเงินสด 505.16 ล้านบาท สาเหตุเพราะปัญหาขององค์กรที่เกิดขึ้นทำให้บริษัทไม่สามารถจำหน่ายบัตรได้ตามเป้าหมาย และในปี 2551 ยังมีค่าใช้จ่ายในโครงการจำใจจากอีก กว่า 20 ล้านบาท สำหรับรายจ่ายประจำในแต่ละปีจะเฉลี่ยกว่า 300 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าใช้จ่ายแก่บริการกอล์ฟ สปา และ รถลีมูซีน ให้แก่สมาชิกรวมปีละ 100 ล้านบาท อีกกว่า 200 ล้านบาท คือค่าจ้างพนักงาน และค่าบริหารจัดการองค์กร