บิ๊กใบโพธิ์ระบุหากกนง.ลดอาร์พีลงแรง เป็นตัวกดดันให้แบงก์ต้องปรับลดดอกเบี้ยออมทรัพย์ แจงขณะนี้ส่วนต่างดบ.ฝากประจำ-ออมทรัพย์แคบมาก ยันขณะนี้สภาพคล่องของธนาคารยังเพียงพอ และยังคงเป้าสินเชื่อเด้ม 5-7% ขณะที่สศค.เชียร์ลดดอกเบี้ย 0.75-1% ชี้เศรษฐกิจทรุดเร็วควรใช้ยาแรง และจะเป็นสัญญาณที่ชัดเจนในการลดดอกเบี้ยของแบงก์พาณิชย์
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์นี้ ตลาดคาดการณ์ว่าในการประชุมดังกล่าวจะจะมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกอย่างน้อย 0.25-0.50% ส่วนธนาคารจะมีการปรับลดตามหรือไม่นั้นจะต้องรอดูความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวก่อน
ทั้งนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงนั้น จะมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลด เนื่องจากขณะนี้ช่องว่างของอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์และเงินฝากประจำแคบมาก แต่การปรับลดดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ไม่สามารถตอบได้ เพราะต้องขึ้นอยู่กับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ กนง.ว่ามากน้อยแค่ไหน
"เป็นไปได้ที่ออมทรัพย์จะปรับลง เพราะตัวที่สะท้อนตอนนี้คือดอกเบี้ยนโยบายอย่างเดียวเลย เพราะมีการลดลงมากต่อเนื่อง และหากรอบนี้ลงอีกก็ทำให้ยิลด์ตกลงมาก และดอกเบี้ยเงินฝากประจำตอนนี้ก็ถือว่าต่ำมากด้วย ช่วงนี้ก็แค่รอว่าจะถึงจังหวะที่ออมทรัพย์จะลงเมื่อไหร่เท่านั้นแต่ก็คงต้องลงแน่ๆ"
สำหรับสภาพคล่องของธนาคารในขณะนี้ ยังคงมีอยู่ในระดับที่เพียงพอ ขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย(สเปรด)ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก เนื่องจากตอนนี้ต้นทุนด้านความเสี่ยงได้มีการปรับเพิ่มขึ้นมาก
นางกรรณิกากล่าวว่า การปล่อยสินเชื่อของธนาคารในปีนี้ยังคงเป้าหมายที่ 5-7% แม้ว่าทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ได้ปรับลดประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้เหลือติดลบ 1-0% เนื่องจากเดิมธนาคารประมาณการจีดีพีไว้ต่ำอยู่แล้ว อีกทั้งในครึ่งปีแรกมองว่าเศรษฐกิจคงจะติดลบ ผลจากภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ตกต่ำลง
นอกจากนี้ธนาคารมองว่าการปล่อยสินเชื่อในปีนี้ยังมีโอกาสที่จะเติบโตได้ เนื่องจากสัญญาณการเติบโตของลูกค้ารายใหญ่ที่หันมากู้ในประเทศเริ่มมีเข้ามาแล้ว แม้ว่าจะยังเข้ามาไม่ชัดในด้านของการขอสินเชื่อ แต่ก็เริ่มเข้ามาในรูปของการออกหุ้นกู้ในประเทศแล้ว ส่วนการปล่อยสินเชื่อในเดือนกุมภาพันธ์นั้นก็เริ่มมีการปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
อย่างไรก็ดี ในปี 2552 ธนาคารตั้งเป้าการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งปีเพิ่มขึ้น 53,000-55,000 ล้านบาท โดยยังมุ่งเน้นการปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้าตามปกติ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและดูแลลูกค้าที่อาจจะมีปัญหาจากผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารได้ออกผลิตภัณฑ์ด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องเพื่อสนองความต้องการลูกค้าเป็นหลัก และยังร่วมมือกับพันธมิตรในการจัดกิจกรรมให้ลูกค้าได้รับสิทธิประโยชน์
"สิ่งที่รัฐบาลควรจะส่งเสริมคือการทำให้บ้านเมืองสงบ เพราะถ้าไม่สงบคนก็ไม่ใช้เงิน และจะมีผลต่อมายังความเชื่อมั่นของคน ซึ่งไม่ใช่มาบอกกันแค่ว่าความเชื่อมั่นจะกลับ แต่มันก็ไม่ได้กลับมา และความเชื่อมั่นนี้มีผลต่อด้านจิตใจด้วย"
ส่วนสัญญาณการของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) นั้นเป็นช่วงที่มองว่ามีสัญญาณจะขึ้น แต่ตอนนี้ยังไม่เห็นชัด ซึ่งเป็นการเพิ่มมาจากกลุ่มทั่วๆ ไป โดยเป็นผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
แต่ธนาคารเชื่อว่าในปีนี้ธนาคารจะควบคุมเอ็นพีแอลทั้งปีไม่ให้สูงเกิน 5.1% ซึ่งเป็นตัวเลขคงที่จากสิ้นปี 2551 นอกจากนี้ธนาคารไม่ได้มีแผนในการขายเอ็นพีแอล ออกไป เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีบริษัทบริหารสินทรัพย์ขนาดใหญ่ที่เข้ามาขอซื้อพอร์ตเอ็นพีแอล และในกรณีที่มีเข้ามาติดต่อก็เป็นการซื้อในราคาถูกจึงทำให้ธนาคารไม่ขาย
สศค.คาดดบ.ลงแรงอุ้มกระตุ้นศก.
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)กล่าวว่า ในการประชุมกนง.วันนี้ประเมินว่า กน.จะพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย (อาร์พี) ลงแน่นอน โดยอาจลดดอกเบี้ยลงแรง 0.75-1% จากปัจจุบันที่ 2% ซึ่งเป็นการลดลงมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะลดลง 0.25- 0.50% เนื่องจากเห็นว่าขณะนี้เศรษฐกิจชะลอตัวลงกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก จึงทำให้ต้องใช้ยาแรงเข้าจัดการแก้ปัญหา
ทั้งนี้ นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายจากการลดดอกเบี้ยอาร์พีนั้น ยังมีความจำเป็นต่อไป แม้จะไม่ได้มีผลให้เกิดการกระตุ้นการลงทุน แต่สถานการณ์ขณะนี้ การลดดอกเบี้ยจะช่วยชะลอไม่ให้เศรษฐกิจทรุดตัวลงอย่างรุนแรง ด้วยการลดภาระต้นทุนของผู้ประกอบการและลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ซึ่งการที่ กนง.ลดดอกเบี้ยลงแรงนี้ จะช่วยกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์ตัดสินใจลดดอกเบี้ยลงตามได้ง่าย แม้จะไม่ใช่การลดดอกเบี้ยในอัตราที่เท่าเทียมกัน เนื่องจากสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ยังมีอยู่สูง แต่ธนาคารพาณิชย์คงต้องทยอยปรับลดดอกเบี้ยตามแน่นอน
จากสถานการณ์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ขณะนี้รัฐบาลยังจำเป็นต้องใช้ทั้งมาตรการการเงินการคลังอย่างเต็มที่ เพื่อฟื้นเศรษฐกิจ และยังเตรียมมาตรการเสริมรองรับ ทั้งการเตรียมเงินกู้จากต่างประเทศวงเงิน 70,000 ล้านบาท และความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต
"มองว่า กนง.อาจจะลดดอกเบี้ยอาร์พี 0.75-1% เพราะขณะนี้มีความชัดเจนแล้วว่า เศรษฐกิจทุดลงมากกว่าที่เคยคาดเอาไว้ แต่ผลจะเป็นอย่างไร คงต้องรอมติ กนง.ตัดสินใจ การลดดอกเบี้ยมาก ๆ น่าจะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยตาม แต่ไม่ใช่ 1 ต่อ 1 เพราะสภาพคล่องยังมีสูง แต่การลดดอกเบี้ยลงแรง จะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ตัดสินใจลดดอกเบี้ยง่ายขึ้น"
นายเอกนิติ กล่าวว่า สศค. เห็นด้วยกับประมาณการภาวะเศรษฐกิจของสศช.ที่ระบุว่า จีดีพีของไทยไตรมาส 4 ปี 51 ติดลบถึง 4.3% ซึ่งอยู่ในสมมติฐานที่ สศค.ได้ประเมินไว้ ส่วนแนวโน้มปี 52 นี้ สศค.ก็ประเมินในทิศทางเดียวกันว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาส1 และ 2 นี้ยังติดลบต่อเนื่อง กว่าจะกลับมาฟื้นตัวเป็นบวกอีกครั้งก็คงเข้าสู่ไตรมาส 4 ซึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านต่างๆ ที่รัฐบาลประกาศออกมาใช้ จะเริ่มเห็นผลอย่างเต็มที่ โดย สศค.จะทบทวนตัวเลขประมาณการจีดีพีไทยอีกครั้ง เดือนมี.ค.ที่จะถึงนี้
"เราไม่แปลกใจกับตัวเลขที่ สศช.ประกาศ เพราะรูปแบบ (โมเดล) ที่เราทำไว้ก็ติดลบ 4% อยู่แล้ว และในปีนี้มีโอกาสติดลบต่อเนื่องมีสูง ใน 2 ไตรมาสแรก เนื่องจากเทียบจากฐานปี 51 ที่ขยายตัวสูง ส่วนไตรมาส 3 ยังไม่แน่ใจว่าติดลบอีกหรือไม่ แต่ไตรมาส 4 เศรษฐกิจน่าจะกลับเป็นบวกได้ เพราะมาตรการต่าง ๆ เริ่มเห็นผลเต็มที่"
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์นี้ ตลาดคาดการณ์ว่าในการประชุมดังกล่าวจะจะมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกอย่างน้อย 0.25-0.50% ส่วนธนาคารจะมีการปรับลดตามหรือไม่นั้นจะต้องรอดูความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวก่อน
ทั้งนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงนั้น จะมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลด เนื่องจากขณะนี้ช่องว่างของอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์และเงินฝากประจำแคบมาก แต่การปรับลดดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ไม่สามารถตอบได้ เพราะต้องขึ้นอยู่กับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ กนง.ว่ามากน้อยแค่ไหน
"เป็นไปได้ที่ออมทรัพย์จะปรับลง เพราะตัวที่สะท้อนตอนนี้คือดอกเบี้ยนโยบายอย่างเดียวเลย เพราะมีการลดลงมากต่อเนื่อง และหากรอบนี้ลงอีกก็ทำให้ยิลด์ตกลงมาก และดอกเบี้ยเงินฝากประจำตอนนี้ก็ถือว่าต่ำมากด้วย ช่วงนี้ก็แค่รอว่าจะถึงจังหวะที่ออมทรัพย์จะลงเมื่อไหร่เท่านั้นแต่ก็คงต้องลงแน่ๆ"
สำหรับสภาพคล่องของธนาคารในขณะนี้ ยังคงมีอยู่ในระดับที่เพียงพอ ขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย(สเปรด)ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก เนื่องจากตอนนี้ต้นทุนด้านความเสี่ยงได้มีการปรับเพิ่มขึ้นมาก
นางกรรณิกากล่าวว่า การปล่อยสินเชื่อของธนาคารในปีนี้ยังคงเป้าหมายที่ 5-7% แม้ว่าทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ได้ปรับลดประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้เหลือติดลบ 1-0% เนื่องจากเดิมธนาคารประมาณการจีดีพีไว้ต่ำอยู่แล้ว อีกทั้งในครึ่งปีแรกมองว่าเศรษฐกิจคงจะติดลบ ผลจากภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ตกต่ำลง
นอกจากนี้ธนาคารมองว่าการปล่อยสินเชื่อในปีนี้ยังมีโอกาสที่จะเติบโตได้ เนื่องจากสัญญาณการเติบโตของลูกค้ารายใหญ่ที่หันมากู้ในประเทศเริ่มมีเข้ามาแล้ว แม้ว่าจะยังเข้ามาไม่ชัดในด้านของการขอสินเชื่อ แต่ก็เริ่มเข้ามาในรูปของการออกหุ้นกู้ในประเทศแล้ว ส่วนการปล่อยสินเชื่อในเดือนกุมภาพันธ์นั้นก็เริ่มมีการปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
อย่างไรก็ดี ในปี 2552 ธนาคารตั้งเป้าการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งปีเพิ่มขึ้น 53,000-55,000 ล้านบาท โดยยังมุ่งเน้นการปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้าตามปกติ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและดูแลลูกค้าที่อาจจะมีปัญหาจากผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารได้ออกผลิตภัณฑ์ด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องเพื่อสนองความต้องการลูกค้าเป็นหลัก และยังร่วมมือกับพันธมิตรในการจัดกิจกรรมให้ลูกค้าได้รับสิทธิประโยชน์
"สิ่งที่รัฐบาลควรจะส่งเสริมคือการทำให้บ้านเมืองสงบ เพราะถ้าไม่สงบคนก็ไม่ใช้เงิน และจะมีผลต่อมายังความเชื่อมั่นของคน ซึ่งไม่ใช่มาบอกกันแค่ว่าความเชื่อมั่นจะกลับ แต่มันก็ไม่ได้กลับมา และความเชื่อมั่นนี้มีผลต่อด้านจิตใจด้วย"
ส่วนสัญญาณการของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) นั้นเป็นช่วงที่มองว่ามีสัญญาณจะขึ้น แต่ตอนนี้ยังไม่เห็นชัด ซึ่งเป็นการเพิ่มมาจากกลุ่มทั่วๆ ไป โดยเป็นผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
แต่ธนาคารเชื่อว่าในปีนี้ธนาคารจะควบคุมเอ็นพีแอลทั้งปีไม่ให้สูงเกิน 5.1% ซึ่งเป็นตัวเลขคงที่จากสิ้นปี 2551 นอกจากนี้ธนาคารไม่ได้มีแผนในการขายเอ็นพีแอล ออกไป เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีบริษัทบริหารสินทรัพย์ขนาดใหญ่ที่เข้ามาขอซื้อพอร์ตเอ็นพีแอล และในกรณีที่มีเข้ามาติดต่อก็เป็นการซื้อในราคาถูกจึงทำให้ธนาคารไม่ขาย
สศค.คาดดบ.ลงแรงอุ้มกระตุ้นศก.
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)กล่าวว่า ในการประชุมกนง.วันนี้ประเมินว่า กน.จะพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย (อาร์พี) ลงแน่นอน โดยอาจลดดอกเบี้ยลงแรง 0.75-1% จากปัจจุบันที่ 2% ซึ่งเป็นการลดลงมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะลดลง 0.25- 0.50% เนื่องจากเห็นว่าขณะนี้เศรษฐกิจชะลอตัวลงกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก จึงทำให้ต้องใช้ยาแรงเข้าจัดการแก้ปัญหา
ทั้งนี้ นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายจากการลดดอกเบี้ยอาร์พีนั้น ยังมีความจำเป็นต่อไป แม้จะไม่ได้มีผลให้เกิดการกระตุ้นการลงทุน แต่สถานการณ์ขณะนี้ การลดดอกเบี้ยจะช่วยชะลอไม่ให้เศรษฐกิจทรุดตัวลงอย่างรุนแรง ด้วยการลดภาระต้นทุนของผู้ประกอบการและลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ซึ่งการที่ กนง.ลดดอกเบี้ยลงแรงนี้ จะช่วยกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์ตัดสินใจลดดอกเบี้ยลงตามได้ง่าย แม้จะไม่ใช่การลดดอกเบี้ยในอัตราที่เท่าเทียมกัน เนื่องจากสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ยังมีอยู่สูง แต่ธนาคารพาณิชย์คงต้องทยอยปรับลดดอกเบี้ยตามแน่นอน
จากสถานการณ์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ขณะนี้รัฐบาลยังจำเป็นต้องใช้ทั้งมาตรการการเงินการคลังอย่างเต็มที่ เพื่อฟื้นเศรษฐกิจ และยังเตรียมมาตรการเสริมรองรับ ทั้งการเตรียมเงินกู้จากต่างประเทศวงเงิน 70,000 ล้านบาท และความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต
"มองว่า กนง.อาจจะลดดอกเบี้ยอาร์พี 0.75-1% เพราะขณะนี้มีความชัดเจนแล้วว่า เศรษฐกิจทุดลงมากกว่าที่เคยคาดเอาไว้ แต่ผลจะเป็นอย่างไร คงต้องรอมติ กนง.ตัดสินใจ การลดดอกเบี้ยมาก ๆ น่าจะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยตาม แต่ไม่ใช่ 1 ต่อ 1 เพราะสภาพคล่องยังมีสูง แต่การลดดอกเบี้ยลงแรง จะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ตัดสินใจลดดอกเบี้ยง่ายขึ้น"
นายเอกนิติ กล่าวว่า สศค. เห็นด้วยกับประมาณการภาวะเศรษฐกิจของสศช.ที่ระบุว่า จีดีพีของไทยไตรมาส 4 ปี 51 ติดลบถึง 4.3% ซึ่งอยู่ในสมมติฐานที่ สศค.ได้ประเมินไว้ ส่วนแนวโน้มปี 52 นี้ สศค.ก็ประเมินในทิศทางเดียวกันว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาส1 และ 2 นี้ยังติดลบต่อเนื่อง กว่าจะกลับมาฟื้นตัวเป็นบวกอีกครั้งก็คงเข้าสู่ไตรมาส 4 ซึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านต่างๆ ที่รัฐบาลประกาศออกมาใช้ จะเริ่มเห็นผลอย่างเต็มที่ โดย สศค.จะทบทวนตัวเลขประมาณการจีดีพีไทยอีกครั้ง เดือนมี.ค.ที่จะถึงนี้
"เราไม่แปลกใจกับตัวเลขที่ สศช.ประกาศ เพราะรูปแบบ (โมเดล) ที่เราทำไว้ก็ติดลบ 4% อยู่แล้ว และในปีนี้มีโอกาสติดลบต่อเนื่องมีสูง ใน 2 ไตรมาสแรก เนื่องจากเทียบจากฐานปี 51 ที่ขยายตัวสูง ส่วนไตรมาส 3 ยังไม่แน่ใจว่าติดลบอีกหรือไม่ แต่ไตรมาส 4 เศรษฐกิจน่าจะกลับเป็นบวกได้ เพราะมาตรการต่าง ๆ เริ่มเห็นผลเต็มที่"