"ไทยพาณิชย์" นำร่องลดดอกเบี้ยตาม กนง. ทั้งดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ 0.25% กดออมทรัพย์เหลือ 0.50% ฝาก 3 เดือนไม่เกิน 5 ล้านเหลือ 0.75% ขณะที่ MLR MOR และ MRR อยู่ในระดับ 6.25% 6.50% และ 6.75% ตามลำดับ ด้าน "กรุงไทย-สคิบ" ประชุมบอร์ดวันนี้ คาดลดตามตลาด ส่วนกสิกรฯ ชี้สินเชื่อบ้านยังซบ ลดดอกเบี่้ยได้แค่เล็กน้อย
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)(SCB) แจ้งว่า เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และสอดคล้องกับนโยบายของทางการ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลง 0.25 % ต่อปี มีผลตั้งแต่วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (MLR) ปรับเป็น 6.25 % อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเกินบัญชี(MOR) เป็น 6.50 % และอัตราดอกเบี้ย เงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) เป็น 6.75%
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า การลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ถือเป็นการช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกิจของลูกค้า ตลอดจนเป็นการเปิดโอกาสแก่ลูกค้ารายย่อยให้สามารถกู้เงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้ในต้นทุนที่ถูกลง อีกทั้งเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายส่วนบุคคลอีกด้วย
สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารได้พิจารณาปรับลดลง 0.25 % เช่นกัน โดยอัตราดอกบี้ยออมทรัพย์ปรับเป็น 0.50% เงินฝากประจำ 3 เดือน จำนวนเงินน้อยกว่า 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.75 % เงินฝากประจำ 3 เดือน จำนวนเงินมากกว่า 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 1.00% เงินฝากประจำ 6 เดือนอัตราดอกเบี้ย 1.00% เงินฝากประจำ 12 เดือนอัตราดอกเบี้ย 1.25% และเงินฝากประจำระยะยาว 24 และ 36 เดือน อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.75%
KTB-TMB-SCIBจ่อปรับตาม
นายอนุชิต อนุชิตานุกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ผู้บริหารสายงาน สายงานบริหารผลิตภัณฑ์และการตลาด ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของกนง. 0.5% คงจะช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่งและช่วยให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น แต่การแก้ปัญหาจะต้องใช้เวลาการเงินการคลังประกอบกัน เนื่องจากปัญหามีอยู่หลายจุดอีกทั้งมองว่าปัจจัยที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ที่ดีที่สุดคือการใช้จ่ายของภาครัฐที่ปีนี้ควรจะมีมากขึ้น
ส่วนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกรุงไทยจะเป็นอย่างไรนั้น จะต้องรอผลการประชุมคณะกรรมการของธนาคารวันนี้ก่อน ซึ่งทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารก็คงจะเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาด
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB เปิดเผยว่า หลังจากกนง.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.5% เหลือ1.5% นั้น ธนาคารทหารไทยคงจะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลงตามแต่จะปรับลดลงในสัดส่วนเท่าใดนั้นจะต้องดูทิศทางดอกเบี้ยของตลาดด้วย อย่างไรก็ตามในส่วนของดอกเบี้ยเงินฝากนั้นขณะนี้เงินฝากประจำอยู่ในระดับต่ำลงมาเกือบจะเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์แล้ว นอกจากนี้ยังมองว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่งแต่ปัญหาปัจจุบันมีหลายจุดจึงมองว่าควรจะมีมาตรการอื่นมาช่วยเสริมเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้
อย่างไรก็ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้จะช่วยให้ต้นทุนของลูกค้าลดลงและจะทำให้เกิดการลงทุนมากขึ้นแต่ในด้านสินเชื่อจะเพิ่มขึ้นมากหรือไม่นั้นต้องดูความเชื่อมั่นประกอบด้วยเนื่องจากขณะนี้การส่งออกที่ปรับตัวลดลงก็มีผลต่อความเชื่อมั่นเช่นกัน
ด้านนางสาวอังคณา สวัสดิ์พูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIB กล่าวว่า หลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของกนง.ครั้งนี้ธนาคารพาณิชย์น่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยตาม 0.25% ทั้งดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากแต่ยังไม่น่าจะเห็นผลในสัปดาห์นี้ โดยน่าจะเริ่มมีผลในต้นเดือนมี.ค.เป็นต้นไป
ส่วนของธนาคารนครหลวงไทยไม่ใช่ผู้นำในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอยู่แล้วดังนั้นจึงต้องรอดูทิศทางของตลาดว่าจะปรับลดลงมากแค่ไหนและธนาคารจะปรับลดตาม
กสิกรฯแย้มดบ.บ้านลดได้เล็กน้อย
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ปริมาณการปล่อยสินเชื่อบ้านของธนาคารในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2552 นี้ถือว่ายังไม่มีการเติบโต เนื่องจากปัจจุบันธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อไปได้เพียงประมาณ 1.6 พันล้านบาทต่อเดือน แต่ในขณะเดียวกันก็มีสินเชื่อที่ครบกำหนดชำระคืนประมาณเดือนละ 1.6 พันล้านบาทเช่นกัน จึงทำให้ยอดสินเชื่อไม่มีการเติบโต
อย่างไรก็ตาม การปล่อยสินเชื่อก็เป็นไปตามทิศทางตลาด เนื่องจากตลาดบ้านในปีนี้ผู้ประกอบการบางรายยอดขายติดลบถึง 40% และธนาคารคาดว่าปีนี้ยอดขายบ้านของทั้งระบบอาจติดลบถึง 15-20% และสินเชื่อบ้านในระบบอาจโตได้เพียง 5-6% ในส่วนของธนาคารอาจมีการเติบโตสูงกว่าระบบเพียงเล็กน้อยประมาณ 7-8% ทั้งนี้คาดว่าการเติบโตของสินเชื่อจะเห็นได้ชัดในช่วงไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ในส่วนช่วงครึ่งปีแรกอาจเติบโตได้เพียง 1-2%
สำหรับอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อบ้านที่ปัจจุบันอิงอยู่กับอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี(MLR) มองว่ามีทิศทางปรับตัวลดลงตามอัตราดอกเบี้ย MLR แต่คงปรับลดลงไม่ได้มากนัก เพราะปัจจุบันความเสี่ยงของการปล่อยสินเชื่อบ้านมีสูงขึ้น ธนาคารจึงมีภาระในเรื่องการตั้งสำรองความเสี่ยงทำให้มีต้นทุนด้านการเงินเพิ่มมากขึ้น แม้ล่าสุดคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.50% เพื่อเป็นการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยังมีสัญญาณชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และอาจทำให้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์มีโอกาสที่จะปรับลดตามอัตราดอกเบี้ยของ กนง. แต่คงจะปรับลดลงได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ส่วนกรณีที่ปัจจุบันมีธนาคารหลายแห่งทำการออกโปรโมชั่นดอกเบี้ยบ้าน 0% ใน 1-2 ปีแรก ซึ่งเป็นการจับมือกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นเพียงโปรโมชั่นสำหรับบางรายการเท่านั้นไม่ได้หมายความว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อบ้านจะมีสัญญาณลดลงอย่างมาก
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)(SCB) แจ้งว่า เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และสอดคล้องกับนโยบายของทางการ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลง 0.25 % ต่อปี มีผลตั้งแต่วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (MLR) ปรับเป็น 6.25 % อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเกินบัญชี(MOR) เป็น 6.50 % และอัตราดอกเบี้ย เงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) เป็น 6.75%
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า การลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ถือเป็นการช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกิจของลูกค้า ตลอดจนเป็นการเปิดโอกาสแก่ลูกค้ารายย่อยให้สามารถกู้เงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้ในต้นทุนที่ถูกลง อีกทั้งเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายส่วนบุคคลอีกด้วย
สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารได้พิจารณาปรับลดลง 0.25 % เช่นกัน โดยอัตราดอกบี้ยออมทรัพย์ปรับเป็น 0.50% เงินฝากประจำ 3 เดือน จำนวนเงินน้อยกว่า 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.75 % เงินฝากประจำ 3 เดือน จำนวนเงินมากกว่า 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 1.00% เงินฝากประจำ 6 เดือนอัตราดอกเบี้ย 1.00% เงินฝากประจำ 12 เดือนอัตราดอกเบี้ย 1.25% และเงินฝากประจำระยะยาว 24 และ 36 เดือน อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.75%
KTB-TMB-SCIBจ่อปรับตาม
นายอนุชิต อนุชิตานุกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ผู้บริหารสายงาน สายงานบริหารผลิตภัณฑ์และการตลาด ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของกนง. 0.5% คงจะช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่งและช่วยให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น แต่การแก้ปัญหาจะต้องใช้เวลาการเงินการคลังประกอบกัน เนื่องจากปัญหามีอยู่หลายจุดอีกทั้งมองว่าปัจจัยที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ที่ดีที่สุดคือการใช้จ่ายของภาครัฐที่ปีนี้ควรจะมีมากขึ้น
ส่วนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกรุงไทยจะเป็นอย่างไรนั้น จะต้องรอผลการประชุมคณะกรรมการของธนาคารวันนี้ก่อน ซึ่งทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารก็คงจะเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาด
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB เปิดเผยว่า หลังจากกนง.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.5% เหลือ1.5% นั้น ธนาคารทหารไทยคงจะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลงตามแต่จะปรับลดลงในสัดส่วนเท่าใดนั้นจะต้องดูทิศทางดอกเบี้ยของตลาดด้วย อย่างไรก็ตามในส่วนของดอกเบี้ยเงินฝากนั้นขณะนี้เงินฝากประจำอยู่ในระดับต่ำลงมาเกือบจะเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์แล้ว นอกจากนี้ยังมองว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่งแต่ปัญหาปัจจุบันมีหลายจุดจึงมองว่าควรจะมีมาตรการอื่นมาช่วยเสริมเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้
อย่างไรก็ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้จะช่วยให้ต้นทุนของลูกค้าลดลงและจะทำให้เกิดการลงทุนมากขึ้นแต่ในด้านสินเชื่อจะเพิ่มขึ้นมากหรือไม่นั้นต้องดูความเชื่อมั่นประกอบด้วยเนื่องจากขณะนี้การส่งออกที่ปรับตัวลดลงก็มีผลต่อความเชื่อมั่นเช่นกัน
ด้านนางสาวอังคณา สวัสดิ์พูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIB กล่าวว่า หลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของกนง.ครั้งนี้ธนาคารพาณิชย์น่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยตาม 0.25% ทั้งดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากแต่ยังไม่น่าจะเห็นผลในสัปดาห์นี้ โดยน่าจะเริ่มมีผลในต้นเดือนมี.ค.เป็นต้นไป
ส่วนของธนาคารนครหลวงไทยไม่ใช่ผู้นำในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอยู่แล้วดังนั้นจึงต้องรอดูทิศทางของตลาดว่าจะปรับลดลงมากแค่ไหนและธนาคารจะปรับลดตาม
กสิกรฯแย้มดบ.บ้านลดได้เล็กน้อย
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ปริมาณการปล่อยสินเชื่อบ้านของธนาคารในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2552 นี้ถือว่ายังไม่มีการเติบโต เนื่องจากปัจจุบันธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อไปได้เพียงประมาณ 1.6 พันล้านบาทต่อเดือน แต่ในขณะเดียวกันก็มีสินเชื่อที่ครบกำหนดชำระคืนประมาณเดือนละ 1.6 พันล้านบาทเช่นกัน จึงทำให้ยอดสินเชื่อไม่มีการเติบโต
อย่างไรก็ตาม การปล่อยสินเชื่อก็เป็นไปตามทิศทางตลาด เนื่องจากตลาดบ้านในปีนี้ผู้ประกอบการบางรายยอดขายติดลบถึง 40% และธนาคารคาดว่าปีนี้ยอดขายบ้านของทั้งระบบอาจติดลบถึง 15-20% และสินเชื่อบ้านในระบบอาจโตได้เพียง 5-6% ในส่วนของธนาคารอาจมีการเติบโตสูงกว่าระบบเพียงเล็กน้อยประมาณ 7-8% ทั้งนี้คาดว่าการเติบโตของสินเชื่อจะเห็นได้ชัดในช่วงไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ในส่วนช่วงครึ่งปีแรกอาจเติบโตได้เพียง 1-2%
สำหรับอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อบ้านที่ปัจจุบันอิงอยู่กับอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี(MLR) มองว่ามีทิศทางปรับตัวลดลงตามอัตราดอกเบี้ย MLR แต่คงปรับลดลงไม่ได้มากนัก เพราะปัจจุบันความเสี่ยงของการปล่อยสินเชื่อบ้านมีสูงขึ้น ธนาคารจึงมีภาระในเรื่องการตั้งสำรองความเสี่ยงทำให้มีต้นทุนด้านการเงินเพิ่มมากขึ้น แม้ล่าสุดคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.50% เพื่อเป็นการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยังมีสัญญาณชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และอาจทำให้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์มีโอกาสที่จะปรับลดตามอัตราดอกเบี้ยของ กนง. แต่คงจะปรับลดลงได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ส่วนกรณีที่ปัจจุบันมีธนาคารหลายแห่งทำการออกโปรโมชั่นดอกเบี้ยบ้าน 0% ใน 1-2 ปีแรก ซึ่งเป็นการจับมือกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นเพียงโปรโมชั่นสำหรับบางรายการเท่านั้นไม่ได้หมายความว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อบ้านจะมีสัญญาณลดลงอย่างมาก