ASTVผู้จัดการรายวัน-กนง.ประกาศลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% หวังกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าต่อไป ชี้ในช่วง 1-2 วันนี้ได้เห็นแบงก์ปรับลดดอกเบี้ยตาม เผยในอนาคตยังมีช่องให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้อีก ขณะที่การชุมนุมกลุ่มเสื้อแดงบั่นทอนความเชื่อมั่นในวงกว้างและอาจฉุดให้เศรษฐกิจไทยตกต่ำจากเดิมที่ติดลบ
นางสาวดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้(8เม.ย.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ได้มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร 1 วัน (อัตราดอกเบี้ยนโยบาย) ลงอีก 0.25% จากปัจจุบันที่อยู่ 1.50%ต่อปี ทำให้ลดลงเหลือที่ระดับ 1.25%ต่อปี โดยกนง.มองว่าเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงมากขึ้นทั้งรุนแรงและยาวนานกว่าการประเมินครั้งก่อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยให้มีความเสี่ยงเชิงลบด้วย ขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและพื้นฐานยังคงมีแนวโน้มลดลง จึงเอื้อให้นโยบายการเงินสามารถพยุงเศรษฐกิจและกระตุ้นให้ฟื้นตัวในต่อไปได้
ทั้งนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% กนง.ได้ประเมินปัจจัยการเมืองครั้งนี้อยู่ในความเสี่ยงแล้ว โดยมีผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชน ภาคเอกชน และอาจส่งผลให้โครงการต่างๆ ของรัฐบาลล่าช้าและการเบิกจ่ายอาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และสุดท้ายกระทบสู่ภาวะเศรษฐกิจไทย และหากการประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดงยืดเยื้อส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่เชิงลบและอาจกดดันให้ให้ตกต่ำกว่าปัจจุบันที่ได้ประเมินว่าเศรษฐกิจจะหดตัวจนเข้าสู่แดนลบอีก
โดยในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาของไตรมาสแรกปีนี้ เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยบางตัวเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นต่างกับช่วงไตรมาส 4 ของปี 51 ซึ่งช่วงนั้นเกิดมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหลายชุดจนฉุดเรื่องการลงทุนและความไม่สงบในประเทศ ถือเป็นเรื่องเฉพาะ ขณะที่ภาคผลิตบางอุตสาหกรรมชะลอตัว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เริ่มเห็นคำสั่งซื้อหดกว่าช่วงปกติ และไม่รู้ว่าสถานการณ์นี้จะฟื้นตัวได้เมื่อใด
“ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้เศรษฐกิจไทยน่าจะฟื้นตัวได้จากผลของแรงกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐภายใต้สมมติฐานที่ว่าเศรษฐกิจโลกไม่ดิ่งลงมากกว่านี้แล้ว ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจะเอื้อประโยชน์ให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ อย่างไรก็ตามมองว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวไม่มากและมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นกว่าการประเมินเศรษฐกิจครั้งก่อนหน้า ถึงขั้นเข้าสู่กรณีเลวร้ายจากที่มีโอกาสติดลบแล้ว แต่ต้องรอการประเมินเศรษฐกิจจากกนง.อย่างเป็นทางการในวันที่ 22 เม.ย.นี้”
ทั้งนี้ หลังจากที่กนง.ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องถึง 3 ครั้งที่ผ่านมาถึง 2.25% ซึ่งไม่รวมกับการปรับลดครั้งนี้ได้มีการสำรวจการปรับตัวของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่จำนวน 5 แห่งที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในระบบถึง 70% ในช่วงเดือนพ.ย.51 ถึงเดือนมี.ค.52 โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 12 เดือนลดลง 1.8% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลด 1.1% จากปัจจุบันที่ระดับดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยที่ระดับ 6.25% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แท้จริง 6.4% ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 12 เดือนอยู่ที่ระดับ 0.95% และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากแท้จริงอยู่ที่ระดับ 0.54%
นางสาวดวงมณี กล่าวว่า กนง.มองว่าการดำเนินโยบายการเงินผ่านอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงทั้งสิ้น 2.50% นั้นเป็นการใช้ยาแรงพอสมควร ส่วนผลนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายนี้จะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ทยอยลดอัตราดอกเบี้ยในทิศทางใด ขึ้นอยู่กับการประเมินต้นทุน รายได้ที่ได้รับจากการดำเนินธุรกิจของแต่ละสถาบันการเงินเป็นสำคัญ ซึ่งหากดูพฤติกรรมของสถาบันการเงินในอดีตพบว่ามีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง จึงคาดว่าใน 1-2 วันนี้น่าจะได้เห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์กัน
“การปรับอัตราดอกเบี้ยมายืนที่ระดับ 1.25% ยังไกลจากระดับ 0% ซึ่งแบงก์ชาติยืนยันมาตลอดว่าจะไม่ลดดอกเบี้ยนโยบายถึง 0% แต่ในขณะนี้ยังมีช่องเห็นว่าการใช้นโยบายการเงินส่งผ่านระบบเศรษฐกิจยังมีประสิทธิภาพอยู่และแบงก์มีการตอบสนองที่ดีด้วยภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบันที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อระบบเศรษฐกิจ ฉะนั้นการใช้นโยบายการเงินของธนาคารกลางในหลายๆ ประเทศจะต้องดูสภาพการเงินและภาคธุรกิจด้วย”
อย่างไรก็ตามมองว่าหากดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลงอาจส่งผลให้ผู้ฝากเงินหันไปลงทุนผ่านช่องทางอื่นเพิ่มขึ้นนั้นกลับมองว่าไม่เป็นเช่นนั้น เพราะผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงไม่ใช่ผู้ฝากเงินหายไปกลับเป็นตัวธนาคารพาณิชย์ที่ต้องรับมือสถานการณ์นี้มากกว่า
สำหรับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่หลายฝ่ายต้องการให้ธปท.มีการดูแลให้เงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางที่อ่อนค่งลงนั้น ผู้ช่วยผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ธปท.จะดูแลค่าเงินบาทให้เป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจและติดตามค่าเงินไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงจนเสียเปรียบประเทศคู่ค้า
นางสาวดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้(8เม.ย.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ได้มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร 1 วัน (อัตราดอกเบี้ยนโยบาย) ลงอีก 0.25% จากปัจจุบันที่อยู่ 1.50%ต่อปี ทำให้ลดลงเหลือที่ระดับ 1.25%ต่อปี โดยกนง.มองว่าเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงมากขึ้นทั้งรุนแรงและยาวนานกว่าการประเมินครั้งก่อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยให้มีความเสี่ยงเชิงลบด้วย ขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและพื้นฐานยังคงมีแนวโน้มลดลง จึงเอื้อให้นโยบายการเงินสามารถพยุงเศรษฐกิจและกระตุ้นให้ฟื้นตัวในต่อไปได้
ทั้งนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% กนง.ได้ประเมินปัจจัยการเมืองครั้งนี้อยู่ในความเสี่ยงแล้ว โดยมีผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชน ภาคเอกชน และอาจส่งผลให้โครงการต่างๆ ของรัฐบาลล่าช้าและการเบิกจ่ายอาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และสุดท้ายกระทบสู่ภาวะเศรษฐกิจไทย และหากการประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดงยืดเยื้อส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่เชิงลบและอาจกดดันให้ให้ตกต่ำกว่าปัจจุบันที่ได้ประเมินว่าเศรษฐกิจจะหดตัวจนเข้าสู่แดนลบอีก
โดยในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาของไตรมาสแรกปีนี้ เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยบางตัวเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นต่างกับช่วงไตรมาส 4 ของปี 51 ซึ่งช่วงนั้นเกิดมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหลายชุดจนฉุดเรื่องการลงทุนและความไม่สงบในประเทศ ถือเป็นเรื่องเฉพาะ ขณะที่ภาคผลิตบางอุตสาหกรรมชะลอตัว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เริ่มเห็นคำสั่งซื้อหดกว่าช่วงปกติ และไม่รู้ว่าสถานการณ์นี้จะฟื้นตัวได้เมื่อใด
“ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้เศรษฐกิจไทยน่าจะฟื้นตัวได้จากผลของแรงกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐภายใต้สมมติฐานที่ว่าเศรษฐกิจโลกไม่ดิ่งลงมากกว่านี้แล้ว ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจะเอื้อประโยชน์ให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ อย่างไรก็ตามมองว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวไม่มากและมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นกว่าการประเมินเศรษฐกิจครั้งก่อนหน้า ถึงขั้นเข้าสู่กรณีเลวร้ายจากที่มีโอกาสติดลบแล้ว แต่ต้องรอการประเมินเศรษฐกิจจากกนง.อย่างเป็นทางการในวันที่ 22 เม.ย.นี้”
ทั้งนี้ หลังจากที่กนง.ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องถึง 3 ครั้งที่ผ่านมาถึง 2.25% ซึ่งไม่รวมกับการปรับลดครั้งนี้ได้มีการสำรวจการปรับตัวของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่จำนวน 5 แห่งที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในระบบถึง 70% ในช่วงเดือนพ.ย.51 ถึงเดือนมี.ค.52 โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 12 เดือนลดลง 1.8% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลด 1.1% จากปัจจุบันที่ระดับดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยที่ระดับ 6.25% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แท้จริง 6.4% ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 12 เดือนอยู่ที่ระดับ 0.95% และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากแท้จริงอยู่ที่ระดับ 0.54%
นางสาวดวงมณี กล่าวว่า กนง.มองว่าการดำเนินโยบายการเงินผ่านอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงทั้งสิ้น 2.50% นั้นเป็นการใช้ยาแรงพอสมควร ส่วนผลนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายนี้จะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ทยอยลดอัตราดอกเบี้ยในทิศทางใด ขึ้นอยู่กับการประเมินต้นทุน รายได้ที่ได้รับจากการดำเนินธุรกิจของแต่ละสถาบันการเงินเป็นสำคัญ ซึ่งหากดูพฤติกรรมของสถาบันการเงินในอดีตพบว่ามีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง จึงคาดว่าใน 1-2 วันนี้น่าจะได้เห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์กัน
“การปรับอัตราดอกเบี้ยมายืนที่ระดับ 1.25% ยังไกลจากระดับ 0% ซึ่งแบงก์ชาติยืนยันมาตลอดว่าจะไม่ลดดอกเบี้ยนโยบายถึง 0% แต่ในขณะนี้ยังมีช่องเห็นว่าการใช้นโยบายการเงินส่งผ่านระบบเศรษฐกิจยังมีประสิทธิภาพอยู่และแบงก์มีการตอบสนองที่ดีด้วยภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบันที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อระบบเศรษฐกิจ ฉะนั้นการใช้นโยบายการเงินของธนาคารกลางในหลายๆ ประเทศจะต้องดูสภาพการเงินและภาคธุรกิจด้วย”
อย่างไรก็ตามมองว่าหากดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลงอาจส่งผลให้ผู้ฝากเงินหันไปลงทุนผ่านช่องทางอื่นเพิ่มขึ้นนั้นกลับมองว่าไม่เป็นเช่นนั้น เพราะผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงไม่ใช่ผู้ฝากเงินหายไปกลับเป็นตัวธนาคารพาณิชย์ที่ต้องรับมือสถานการณ์นี้มากกว่า
สำหรับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่หลายฝ่ายต้องการให้ธปท.มีการดูแลให้เงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางที่อ่อนค่งลงนั้น ผู้ช่วยผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ธปท.จะดูแลค่าเงินบาทให้เป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจและติดตามค่าเงินไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงจนเสียเปรียบประเทศคู่ค้า