คลังเผยหลังเร่งอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบและตัวเลขจัดเก็บรายได้ลดส่งผลให้ขาดดุลการคลังถึง 1.24 แสนล้านบาทหรือคิดเป็น 1.3% ของ GDP เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้วที่ขาดดุลจำนวน 6.9 หมื่นล้านบาท สอดคล้องตามแนวทางที่รับบาลต้องการใช้นโยบายการคลังเป็นตัวนำในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยฐานะการคลังเบื้องต้นตามระบบ สศค. (ระบบ Government Finance Statistics: GFS) ในไตรมาสแรก (ตุลาคม – ธันวาคม 2551) ประจำปีงบประมาณ 2552 สรุปได้ว่า ภาครัฐบาล (รัฐบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ) อัดฉีดเงินสุทธิเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหรือขาดดุลการคลังทั้งสิ้น 1.24 แสนล้านบาท คิดเป็น 1.3% ของ GDP ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากระยะเวลาเดียวกัน ปีที่แล้ว 5.54 หมื่นล้านบาท สะท้อนถึงบทบาทของนโยบายการคลังในการพยุงและกระตุ้นเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2552 ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของการดำเนินนโยบายการคลังของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ โดยรายละเอียดของฐานะการคลังตามระบบ สศค. สรุปได้ดังนี้
รายได้ภาครัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 4.19 แสนล้านบาท คิดเป็น 4.5% ของ GDP ลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้ว 13.1% โดยเป็นผลจากการลดลงทั้งในส่วนของรายได้รัฐบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีรายละเอียดดังนี้ รัฐบาลมีรายได้รวม 2.74 แสนล้านบาท คิดเป็น 3.0% ของ GDP ลดลงเมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันปีที่แล้ว 16.4% ทั้งนี้ เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมหลัก คือ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากรที่ลดลง และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่ต่ำกว่า ระยะเดียวกันปีก่อน รวมทั้งงเป็นผลจากการคืนภาษีของกรมสรรพากรที่เพิ่มขึ้นมากด้วย
ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คาดว่าจะมีรายได้ทั้งสิ้น 5.14 หมื่นล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีที่แล้ว 17.8% เนื่องจากได้รับเงินอุดหนุนทั่วไปจากรัฐบาลช้ากว่าปีที่แล้ว ซึ่งปีที่แล้วได้รับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 ในปีนี้ได้รับงวดแรกในเดือนมกราคม 2552 ส่วนบัญชีนอกงบประมาณซึ่งประกอบด้วยกองทุนนอกงบประมาณและเงินฝากนอกงบประมาณ มีรายได้รวม 9.36 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้ว 1.6%
สำหรับรายจ่ายของภาครัฐบาล (รวมการให้กู้หักชำระคืนตามนโยบายรัฐบาล) ซึ่งมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจจริง มีจำนวน 5.44 แสนล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีที่แล้ว 1.5% โดยเป็นการลดลงของรายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกองทุนนอกงบประมาณ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ รัฐบาลมีการเบิกจ่ายงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 3.99 แสนล้านบาท คิดเป็น 4.3% ของ GDP เพิ่มขึ้น 8.7 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 2.2% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้วที่มีรายจ่ายทั้งสิ้น 3.90 แสนล้านบาท คิดเป็น 4.3% ของGDP
ด้านรายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคาดว่าจะมีจำนวนทั้งสิ้น 6.56 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 0.7% ของ GDP ลดลงจากระยะเดียวกันปีที่แล้วที่มีรายจ่ายจำนวน 7.79 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 0.9% ของ GDP รายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ (Project Loans) มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 2.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้วที่มีการเบิกจ่ายเพียง 79 ล้านบาท เนื่องจากปีที่ผ่านมาไม่มีการเบิกจ่ายในส่วนของเงินกู้ Structural Adjustment Loans (SAL)
ส่วนบัญชีนอกงบประมาณมีรายจ่ายและเงินให้กู้หักชำระคืนตามนโยบายรัฐบาลรวม 7.7 หมื่นล้านบาท ลดลงจากระยะเวลาเดียวกันปีที่แล้ว 7.9% ซึ่งมีสาเหตุจากรายจ่ายของกองทุนลดลง เช่น รายจ่ายเพื่อชดเชยราคาน้ำมันของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น และดุลการคลังภาครัฐบาล ผลจากการที่ภาครัฐบาลมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ส่งผลให้ขาดดุลการคลังจำนวน 1.24 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 1.3% ของ GDP ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้วที่ขาดดุลจำนวน 6.9 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 0.8% ของ GDP
ดุลการคลังเบื้องต้นของรัฐบาล (Primary Balance) ซึ่งเป็นดุลการคลังที่สะท้อนถึงผลการดำเนินงานของรัฐบาลและทิศทางของนโยบายการคลังของรัฐบาลอย่างแท้จริง โดยไม่รวมรายได้และรายจ่ายดอกเบี้ย และการชำระคืนต้นเงินกู้ ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2552 ขาดดุลทั้งสิ้น 9.24 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 1.0% ของ GDP ในขณะที่ช่วงเดียวกันปีที่แล้วขาดดุล 3.8 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 0.4% ของ GDP
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยฐานะการคลังเบื้องต้นตามระบบ สศค. (ระบบ Government Finance Statistics: GFS) ในไตรมาสแรก (ตุลาคม – ธันวาคม 2551) ประจำปีงบประมาณ 2552 สรุปได้ว่า ภาครัฐบาล (รัฐบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ) อัดฉีดเงินสุทธิเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหรือขาดดุลการคลังทั้งสิ้น 1.24 แสนล้านบาท คิดเป็น 1.3% ของ GDP ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากระยะเวลาเดียวกัน ปีที่แล้ว 5.54 หมื่นล้านบาท สะท้อนถึงบทบาทของนโยบายการคลังในการพยุงและกระตุ้นเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2552 ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของการดำเนินนโยบายการคลังของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ โดยรายละเอียดของฐานะการคลังตามระบบ สศค. สรุปได้ดังนี้
รายได้ภาครัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 4.19 แสนล้านบาท คิดเป็น 4.5% ของ GDP ลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้ว 13.1% โดยเป็นผลจากการลดลงทั้งในส่วนของรายได้รัฐบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีรายละเอียดดังนี้ รัฐบาลมีรายได้รวม 2.74 แสนล้านบาท คิดเป็น 3.0% ของ GDP ลดลงเมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันปีที่แล้ว 16.4% ทั้งนี้ เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมหลัก คือ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากรที่ลดลง และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่ต่ำกว่า ระยะเดียวกันปีก่อน รวมทั้งงเป็นผลจากการคืนภาษีของกรมสรรพากรที่เพิ่มขึ้นมากด้วย
ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คาดว่าจะมีรายได้ทั้งสิ้น 5.14 หมื่นล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีที่แล้ว 17.8% เนื่องจากได้รับเงินอุดหนุนทั่วไปจากรัฐบาลช้ากว่าปีที่แล้ว ซึ่งปีที่แล้วได้รับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 ในปีนี้ได้รับงวดแรกในเดือนมกราคม 2552 ส่วนบัญชีนอกงบประมาณซึ่งประกอบด้วยกองทุนนอกงบประมาณและเงินฝากนอกงบประมาณ มีรายได้รวม 9.36 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้ว 1.6%
สำหรับรายจ่ายของภาครัฐบาล (รวมการให้กู้หักชำระคืนตามนโยบายรัฐบาล) ซึ่งมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจจริง มีจำนวน 5.44 แสนล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีที่แล้ว 1.5% โดยเป็นการลดลงของรายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกองทุนนอกงบประมาณ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ รัฐบาลมีการเบิกจ่ายงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 3.99 แสนล้านบาท คิดเป็น 4.3% ของ GDP เพิ่มขึ้น 8.7 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 2.2% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้วที่มีรายจ่ายทั้งสิ้น 3.90 แสนล้านบาท คิดเป็น 4.3% ของGDP
ด้านรายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคาดว่าจะมีจำนวนทั้งสิ้น 6.56 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 0.7% ของ GDP ลดลงจากระยะเดียวกันปีที่แล้วที่มีรายจ่ายจำนวน 7.79 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 0.9% ของ GDP รายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ (Project Loans) มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 2.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้วที่มีการเบิกจ่ายเพียง 79 ล้านบาท เนื่องจากปีที่ผ่านมาไม่มีการเบิกจ่ายในส่วนของเงินกู้ Structural Adjustment Loans (SAL)
ส่วนบัญชีนอกงบประมาณมีรายจ่ายและเงินให้กู้หักชำระคืนตามนโยบายรัฐบาลรวม 7.7 หมื่นล้านบาท ลดลงจากระยะเวลาเดียวกันปีที่แล้ว 7.9% ซึ่งมีสาเหตุจากรายจ่ายของกองทุนลดลง เช่น รายจ่ายเพื่อชดเชยราคาน้ำมันของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น และดุลการคลังภาครัฐบาล ผลจากการที่ภาครัฐบาลมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ส่งผลให้ขาดดุลการคลังจำนวน 1.24 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 1.3% ของ GDP ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้วที่ขาดดุลจำนวน 6.9 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 0.8% ของ GDP
ดุลการคลังเบื้องต้นของรัฐบาล (Primary Balance) ซึ่งเป็นดุลการคลังที่สะท้อนถึงผลการดำเนินงานของรัฐบาลและทิศทางของนโยบายการคลังของรัฐบาลอย่างแท้จริง โดยไม่รวมรายได้และรายจ่ายดอกเบี้ย และการชำระคืนต้นเงินกู้ ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2552 ขาดดุลทั้งสิ้น 9.24 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 1.0% ของ GDP ในขณะที่ช่วงเดียวกันปีที่แล้วขาดดุล 3.8 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 0.4% ของ GDP