ไทยเบฟฯ จัดทัพลุยนอนแอลกอฮอล์ หวังเข็นรายได้เติบโตทดแทนตลาดน้ำเมาหดตัว เท 200 ล้านบาท ขยายกำลังผลิตน้ำดื่มช้าง ด้านกลุ่มเบียร์ ปัดฝุ่นโพซิชันนิง-เซกเมนต์ช้างดราฟท์-ไลท์ ตั้งป้อมทวงบัลลังก์ค่ายสิงห์ หลังเพลี่ยงพล้ำเสียแชร์ 1-2% ฮึดปั้นช้างดราฟท์เรือธง อัดกิจกรรมสร้างความต่างช้างไลท์ หวังโกยรายได้หลังช้างคลาสสิกแผ่ว ช้างไล่บี้สิงห์หวังทวงแชมป์คืน
นายสุรวุฒิ วัชราดิลกกุล ผู้จัดการสำนักงานบริหาร บริษัท คอสมอส บริวเวอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ บริษัทในเครือไทยเบฟเวอเรจ เปิดเผยว่า นโยบายของบริษัทมุ่งโฟกัสกลุ่มเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์มากขึ้น ประกอบด้วย น้ำดื่มช้าง โซดา เครื่องดื่มชูกำลังแรงเยอร์ กาแฟพร้อมดื่มแบล็กอัพ และเครื่องดื่มในเครือโออิชิ กรุ๊ป ให้มีอัตราการเติบโตมากขึ้น จากปัจจุบันที่สร้างรายได้ยังคงเป็นกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นหลัก ได้แก่ กลุ่มเบียร์ เหล้าสี เหล้าขาว เป็นต้น
ล่าสุด ใช้งบ 200 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา ขยายกำลังการผลิตน้ำดื่มตราช้าง ขวดเพ็ต เพิ่มจาก 9 ล้านลิตร เป็น 50 ล้านลิตรต่อปี ที่โรงงานวังน้อย จ.อยุธยา โดยจะขยายบรรจุภัณฑ์ 600 ซีซี 750 ซีซี และ 1.5 ลิตร เพื่อขยายช่องทางจำหน่ายทางร้านค้า ร้านอาหาร จากที่ผ่านมาจำหน่ายผ่านทางโรงแรมในเครือทีซีซี อาทิ โรงแรมพลาซ่าแอทธินี โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค
**หวังทวงแชมป์คืนจากสิงห์
นายชาลี จิตจรุงพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์ช้าง ช้างดราฟท์ กล่าวเสริมว่า สภาพตลาดเบียร์ในปีที่ผ่านมาหดตัว 2-3% จากมูลค่า 1 แสนล้านบาท เพราะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ และคาดการณ์ว่า ตลาดเบียร์ในช่วงไตรมาสแรก ไม่มีอัตราการเติบโต แต่คาดว่า ไตรมาส 2-4 ภาวะตลาดน่าจะมีทิศทางดีขึ้น
สำหรับเป้าหมายของไทยเบฟปีนี้ ต้องมองการทำตลาดระยะยาว ด้วยการสร้างกระแส และสร้างตลาด เพื่อให้ตลาดฟื้น และขณะเดียวกัน ต้องการมีการเติบโตมากกว่าคู่แข่ง เพื่อขึ้นเป็นผู้นำตลาดเบียร์โดยรวม หลังจากปีที่ผ่านมาบริษัทสูญเสียตำแหน่งให้กับค่ายเบียร์สิงห์ ซึ่งมีส่วนแบ่ง 47-48% ขณะที่ไทยเบฟ 45-46%
“ที่ผ่านมา เราปรับระบบ หรือเป็นการหยุดเพื่อให้ก้าวเดินต่อไป ได้มีสินค้าในพอร์ตเพิ่มขึ้น อาทิ ช้างดราฟท์ ไลท์ เฟดเดอร์บรอย ไม่ได้ทำผิด แต่เป็นการทำตลาดให้ครอบคลุมทุกเป้าหมายทุกกลุ่ม ก้าวต่อไปต้องพัฒนาให้ดีขึ้น ซึ่งในปีที่ผ่านมาเป็นปีแห่งการเตรียมพร้อม แต่ปีนี้นับว่าเป็นปีแห่งการทำตลาดอย่างจริงจัง”
แนวการตลาดปีนี้ ต้องเร่งสร้างการเติบโตจากเบียร์ตัวอื่นๆ เพิ่มขึ้น จากปัจจุบันยอดขายเบียร์โดยรวมมาจากช้าง คลาสสิก 90% ดังนั้น บริษัทจึงต้องวางตำแหน่งและเซกเมนต์สินค้าในพอร์ตโฟลิโอให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเบียร์ช้าง หลังจากในปี 2549 บริษัทได้เปิดตัวช้างไลท์ ปริมาณแอลกอฮอล์ 4.2% ช้างดราฟท์ 5% ลงสู่ตลาด แต่พบว่า ช้างไลท์และดราฟท์ยังไม่มีการวางตำแหน่งอย่างชัดเจน ล่าสุด ดำเนินการตลาดเชิงรุกช้างดราฟท์ เพราะเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการเติบโต และมีบทบาทสำคัญในอนาคต โดยปีที่ผ่านช้างดราฟท์เติบโต 10%
สำหรับช้างดราฟท์ วางตำแหน่งเป็นเบียร์เซกเมนต์อีโคโนมี-สแตนดาร์ด ราคา 36-37 บาท เจาะกลุ่มเป้าหมายคนเมือง หรือวัยเริ่มทำงาน อายุ 20-25 ปี จำหน่ายตามร้านค้าทั่วไป แตกต่างจากช้างไลท์ ด้านทั้งราคาจำหน่าย 37-38 บาท สูงกว่า 1-2 บาท เจาะช่องทางสถานบันเทิง ผับ บาร์ กลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่อายุ 20-25 ปี
นายชาลี กล่าวว่า การทำตลาดช้างดราฟท์ มุ่งการทำบีโลว์เดอะไลน์ เป็นหลัก ส่วนการทำตลาดช้างไลท์ กำลังพิจารณาถึงช่วงเวลาที่เหมาะสม ส่วนเฟดเดอร์บรอย เบียร์เซกเมนต์พรีเมียม มีกระแสตอบรับดีขึ้น โดยปัจจุบันมีส่วนแบ่ง 2-3% และสิ้นปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มเป็น 3-4%
สำหรับด้านตลาดต่างประเทศ นายชาลี กล่าวว่า สภาพเศรษฐกิจที่ถดถอยทั่วโลก ส่งผลให้การทำตลาดต่างประเทศมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งบริษัทเพิ่งส่งออกได้ 3 ปี เหมือนเป็นการชิมลางมากกว่า แต่การทำตลาดต้องทำเป็นโกลบอลแบรนด์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ช่องทางจำหน่ายขณะนี้ยังเป็นร้านอาหารไทยเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม แนวทางการทำตลาดมี 2 รูปแบบ คือ การตั้งสาขาในประเทศภายใต้การดูแลของอินเตอร์เบฟ ซึ่งปัจจุบันมี 10 สาขา เช่น ในสิงคโปร์ มาเลเซีย แต่ในบางประเทศจะแต่งตั้งเอเยนต์ที่มีศักยภาพเข้ามาดูแลแทนเช่นในออสเตรเลีย
ทั้งนี้ ปัจจุบันโรงงานที่ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มีสัดส่วนกำลังการผลิตเบียร์เพื่อส่งออก 10% แต่หากรวมโรงงานที่ อ.บางบาน จ. พระนครศรีอยุธยา และ โรงงานผลิตที่ จ. กำแพงเพชร รวมกัน 3 โรงงาน สัดส่วนการส่งออก 1% จากยอดการผลิตทั้งหมดที่ส่งออกไปจำหน่ายใน 31 ประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และประเทศในแถบเอเซีย ซึ่งสินค้าหลัก คือ เบียร์ช้าง
นายสุรวุฒิ วัชราดิลกกุล ผู้จัดการสำนักงานบริหาร บริษัท คอสมอส บริวเวอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ บริษัทในเครือไทยเบฟเวอเรจ เปิดเผยว่า นโยบายของบริษัทมุ่งโฟกัสกลุ่มเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์มากขึ้น ประกอบด้วย น้ำดื่มช้าง โซดา เครื่องดื่มชูกำลังแรงเยอร์ กาแฟพร้อมดื่มแบล็กอัพ และเครื่องดื่มในเครือโออิชิ กรุ๊ป ให้มีอัตราการเติบโตมากขึ้น จากปัจจุบันที่สร้างรายได้ยังคงเป็นกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นหลัก ได้แก่ กลุ่มเบียร์ เหล้าสี เหล้าขาว เป็นต้น
ล่าสุด ใช้งบ 200 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา ขยายกำลังการผลิตน้ำดื่มตราช้าง ขวดเพ็ต เพิ่มจาก 9 ล้านลิตร เป็น 50 ล้านลิตรต่อปี ที่โรงงานวังน้อย จ.อยุธยา โดยจะขยายบรรจุภัณฑ์ 600 ซีซี 750 ซีซี และ 1.5 ลิตร เพื่อขยายช่องทางจำหน่ายทางร้านค้า ร้านอาหาร จากที่ผ่านมาจำหน่ายผ่านทางโรงแรมในเครือทีซีซี อาทิ โรงแรมพลาซ่าแอทธินี โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค
**หวังทวงแชมป์คืนจากสิงห์
นายชาลี จิตจรุงพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์ช้าง ช้างดราฟท์ กล่าวเสริมว่า สภาพตลาดเบียร์ในปีที่ผ่านมาหดตัว 2-3% จากมูลค่า 1 แสนล้านบาท เพราะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ และคาดการณ์ว่า ตลาดเบียร์ในช่วงไตรมาสแรก ไม่มีอัตราการเติบโต แต่คาดว่า ไตรมาส 2-4 ภาวะตลาดน่าจะมีทิศทางดีขึ้น
สำหรับเป้าหมายของไทยเบฟปีนี้ ต้องมองการทำตลาดระยะยาว ด้วยการสร้างกระแส และสร้างตลาด เพื่อให้ตลาดฟื้น และขณะเดียวกัน ต้องการมีการเติบโตมากกว่าคู่แข่ง เพื่อขึ้นเป็นผู้นำตลาดเบียร์โดยรวม หลังจากปีที่ผ่านมาบริษัทสูญเสียตำแหน่งให้กับค่ายเบียร์สิงห์ ซึ่งมีส่วนแบ่ง 47-48% ขณะที่ไทยเบฟ 45-46%
“ที่ผ่านมา เราปรับระบบ หรือเป็นการหยุดเพื่อให้ก้าวเดินต่อไป ได้มีสินค้าในพอร์ตเพิ่มขึ้น อาทิ ช้างดราฟท์ ไลท์ เฟดเดอร์บรอย ไม่ได้ทำผิด แต่เป็นการทำตลาดให้ครอบคลุมทุกเป้าหมายทุกกลุ่ม ก้าวต่อไปต้องพัฒนาให้ดีขึ้น ซึ่งในปีที่ผ่านมาเป็นปีแห่งการเตรียมพร้อม แต่ปีนี้นับว่าเป็นปีแห่งการทำตลาดอย่างจริงจัง”
แนวการตลาดปีนี้ ต้องเร่งสร้างการเติบโตจากเบียร์ตัวอื่นๆ เพิ่มขึ้น จากปัจจุบันยอดขายเบียร์โดยรวมมาจากช้าง คลาสสิก 90% ดังนั้น บริษัทจึงต้องวางตำแหน่งและเซกเมนต์สินค้าในพอร์ตโฟลิโอให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเบียร์ช้าง หลังจากในปี 2549 บริษัทได้เปิดตัวช้างไลท์ ปริมาณแอลกอฮอล์ 4.2% ช้างดราฟท์ 5% ลงสู่ตลาด แต่พบว่า ช้างไลท์และดราฟท์ยังไม่มีการวางตำแหน่งอย่างชัดเจน ล่าสุด ดำเนินการตลาดเชิงรุกช้างดราฟท์ เพราะเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการเติบโต และมีบทบาทสำคัญในอนาคต โดยปีที่ผ่านช้างดราฟท์เติบโต 10%
สำหรับช้างดราฟท์ วางตำแหน่งเป็นเบียร์เซกเมนต์อีโคโนมี-สแตนดาร์ด ราคา 36-37 บาท เจาะกลุ่มเป้าหมายคนเมือง หรือวัยเริ่มทำงาน อายุ 20-25 ปี จำหน่ายตามร้านค้าทั่วไป แตกต่างจากช้างไลท์ ด้านทั้งราคาจำหน่าย 37-38 บาท สูงกว่า 1-2 บาท เจาะช่องทางสถานบันเทิง ผับ บาร์ กลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่อายุ 20-25 ปี
นายชาลี กล่าวว่า การทำตลาดช้างดราฟท์ มุ่งการทำบีโลว์เดอะไลน์ เป็นหลัก ส่วนการทำตลาดช้างไลท์ กำลังพิจารณาถึงช่วงเวลาที่เหมาะสม ส่วนเฟดเดอร์บรอย เบียร์เซกเมนต์พรีเมียม มีกระแสตอบรับดีขึ้น โดยปัจจุบันมีส่วนแบ่ง 2-3% และสิ้นปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มเป็น 3-4%
สำหรับด้านตลาดต่างประเทศ นายชาลี กล่าวว่า สภาพเศรษฐกิจที่ถดถอยทั่วโลก ส่งผลให้การทำตลาดต่างประเทศมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งบริษัทเพิ่งส่งออกได้ 3 ปี เหมือนเป็นการชิมลางมากกว่า แต่การทำตลาดต้องทำเป็นโกลบอลแบรนด์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ช่องทางจำหน่ายขณะนี้ยังเป็นร้านอาหารไทยเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม แนวทางการทำตลาดมี 2 รูปแบบ คือ การตั้งสาขาในประเทศภายใต้การดูแลของอินเตอร์เบฟ ซึ่งปัจจุบันมี 10 สาขา เช่น ในสิงคโปร์ มาเลเซีย แต่ในบางประเทศจะแต่งตั้งเอเยนต์ที่มีศักยภาพเข้ามาดูแลแทนเช่นในออสเตรเลีย
ทั้งนี้ ปัจจุบันโรงงานที่ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มีสัดส่วนกำลังการผลิตเบียร์เพื่อส่งออก 10% แต่หากรวมโรงงานที่ อ.บางบาน จ. พระนครศรีอยุธยา และ โรงงานผลิตที่ จ. กำแพงเพชร รวมกัน 3 โรงงาน สัดส่วนการส่งออก 1% จากยอดการผลิตทั้งหมดที่ส่งออกไปจำหน่ายใน 31 ประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และประเทศในแถบเอเซีย ซึ่งสินค้าหลัก คือ เบียร์ช้าง