“ชุมพล” ขอตามรอย “วีระศักดิ์” ประกาศสานงานต่อทุกโครงการ โปรยยาหอมข้าราชการและเอกชน ด้วยการเร่งเบิกจ่ายงบช่วยเหลือนักท่องเที่ยวให้ทัน มี.ค.52 พร้อมสัญญาหลังรัฐบาลแถลงนโยบาย เตรียมเสียบเรื่องโครงการช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการเข้า ครม.ทันที ตั้งของบ 1.55 หมื่นล้านบาท สนับสนุนเงินกู้และดอกเบี้ย ระยะ 4ปี ขณะที่ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ เล็งหารือเอกชน ก่อนเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยกเลิกค่าแลนดิ้ง และ ฟรีวีซ่า เป็นการชั่วคราว หวังกระตุ้นท่องเที่ยวให้ทันช่วงไฮซีซันนี้
นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยในการประชุมมอบนโยบายแก่ข้าราชการ และ รัฐวิสาหกิจ ที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ว่า จะเร่งสานต่อทุกโครงการที่ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้ทำไว้ ให้เป็นรูปธรรมโดยเร่งด่วน เรียงตามลำดับความสำคัญ
โดยจะให้ความสำคัญกับงานด้านการบริหาร ต่อยอดความรู้และความเชี่ยวชาญ ของข้าราชการ และผู้ที่ทำงานอยู่ในหน้าที่ประจำ เน้นเรื่องของการผลักดันโครงการต่างๆ ช่วยในการตัดสินใจ การใช้งบประมาณ การของบประมาณเพิ่มเติมเมื่อจำเป็น การบริหาร คน และอุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจน ประสานให้เกิดความร่วมมือในกรณีที่มีความแตกแยก ทั้งระหว่าง ภาคเอกชน และในหน่วยงานของรัฐบาล
สำหรับเรื่องเร่งด่วน ที่จะรีบดำเนินการทันที คือ การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณช่วยเหลือนักท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสนามบิน ในเรื่องของที่พักและอาหาร ซึ่ง คณะรัฐบาลชุดก่อนได้อนุมัติวงเงินช่วยเหลือผ่านกระทรวงการท่องเที่ยวมาแล้ว 1,900 ล้านบาท โดยตั้งใจว่า งวดแรกจะเบิกจ่ายได้ภายในเดือน มี.ค.2552
ทั้งนี้ ภายหลังรัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ก็จะเร่งผลักดัน นำเรื่องเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในโครงการช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสนามบินสุวรรณภูมิ และ สนามบินดอนเมือง โดยการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระดอกเบี้ยบางส่วนให้แก่ภาคเอกชน ทั้ง เงินกู้เก่า และ เงินกู้ใหม่ รวมวงเงิน 15,500 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (2552-2555)
โดยเพื่ออัดฉีด เงินช่วยเหลือให้ภาคเอกชนได้เร็วที่สุด จะขอใช้งบปีแรก 6,800 ล้านบาท จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของภาครัฐวงเงิน 100,000 ล้านบาท
สำหรับภาคการตลาดก็จะเร่งรัดการของบประมาณเพิ่มเติมของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยวงเงิน 1,900 ล้านบาท เพื่อใช้กระตุ้นและส่งเสริมตลาดให้คืนสู่ภาวะปกติ แบ่งเป็น 1,200 ล้านบาท สำหรับ ตลาดต่างประเทศ ใช้เรื่องการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมและโรดโชว์ เป็นต้น อีก 700 ล้านบาท สำหรับตลาดในประเทศ สำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ นอกจากนั้น จะหารือกับกระทรวงมหาดไทย ขอสนับสนุนให้หน่วยงานในสังกัด โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้จัดสัมมนาภายในประเทศเพิ่มขึ้น ส่งเสริมโดเมสติกไมซ์ สร้างกระแสการเดินทางภายในประเทศ
นายชุมพล กล่าวอีกว่า ขณะนี้โครงการของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่ทำไว้ เตรียมพร้อมที่จะดำเนินการมีเยอะมาก ดังนั้นจึงเร่งเคลียร์ให้ทุกโครงการเกิดผลเป็นรูปธรรมก่อน จึงจะริเริ่มโครงการใหม่ๆ ซึ่งในปีหน้า ยอมรับว่า ประเทศไทยจะเริ่มได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก ดูจากแผนการลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศโอเปก ก็ยังไม่สามารถทำให้กำลังซื้อกลับคืนสู่ตลาดได้ ขณะที่ธุรกิจรถยนต์ในประเทศไทย ก็เริ่มมีการชะลอการจ้างงาน และลดชั่วโมงการทำงานลงบ้างแล้ว สะท้อนให้เห็นว่า วิกฤตครั้งนี้มีความรุนแรงมาก ซึ่ง ในภาคท่องเที่ยวจะต้องร่วมมือกันทำงานไปในทิศทางเดียวกัน โดยแบ่งการทำงานให้ชัดเจน
ทางด้าน นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ กล่าวว่า ในวันนี้ (25ธ.ค.) จะประชุมคณะกรรมการเยียวยาภาคเอกชน ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสนามบิน เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การขอรับเงินช่วยเหลือ รวมทั้งจะหารือปรับแนวทางการทำตลาด เพื่อจูงใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยโดยเร็ว เช่น เสนอแนวคิด ฟรีค่าจอดเครื่องบิน (แลนดิ้งฟรี) การยกเลิกเก็บค่าธรรมเนียมวีซ่าเป็นการชั่วคราว และ การหารือกับสมาคมธุรกิจการบิน (BAR) โดยจะนำข้อเสนอจากภาคเอกชนนี้ ไปหารือกับเจ้าของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อจะได้ลดขั้นตอน หรืออุปสรรคต่างๆ ที่จะมีผลต่อการเดินทางเข้ามาประเทศไทย
นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยในการประชุมมอบนโยบายแก่ข้าราชการ และ รัฐวิสาหกิจ ที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ว่า จะเร่งสานต่อทุกโครงการที่ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้ทำไว้ ให้เป็นรูปธรรมโดยเร่งด่วน เรียงตามลำดับความสำคัญ
โดยจะให้ความสำคัญกับงานด้านการบริหาร ต่อยอดความรู้และความเชี่ยวชาญ ของข้าราชการ และผู้ที่ทำงานอยู่ในหน้าที่ประจำ เน้นเรื่องของการผลักดันโครงการต่างๆ ช่วยในการตัดสินใจ การใช้งบประมาณ การของบประมาณเพิ่มเติมเมื่อจำเป็น การบริหาร คน และอุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจน ประสานให้เกิดความร่วมมือในกรณีที่มีความแตกแยก ทั้งระหว่าง ภาคเอกชน และในหน่วยงานของรัฐบาล
สำหรับเรื่องเร่งด่วน ที่จะรีบดำเนินการทันที คือ การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณช่วยเหลือนักท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสนามบิน ในเรื่องของที่พักและอาหาร ซึ่ง คณะรัฐบาลชุดก่อนได้อนุมัติวงเงินช่วยเหลือผ่านกระทรวงการท่องเที่ยวมาแล้ว 1,900 ล้านบาท โดยตั้งใจว่า งวดแรกจะเบิกจ่ายได้ภายในเดือน มี.ค.2552
ทั้งนี้ ภายหลังรัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ก็จะเร่งผลักดัน นำเรื่องเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในโครงการช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสนามบินสุวรรณภูมิ และ สนามบินดอนเมือง โดยการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระดอกเบี้ยบางส่วนให้แก่ภาคเอกชน ทั้ง เงินกู้เก่า และ เงินกู้ใหม่ รวมวงเงิน 15,500 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (2552-2555)
โดยเพื่ออัดฉีด เงินช่วยเหลือให้ภาคเอกชนได้เร็วที่สุด จะขอใช้งบปีแรก 6,800 ล้านบาท จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของภาครัฐวงเงิน 100,000 ล้านบาท
สำหรับภาคการตลาดก็จะเร่งรัดการของบประมาณเพิ่มเติมของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยวงเงิน 1,900 ล้านบาท เพื่อใช้กระตุ้นและส่งเสริมตลาดให้คืนสู่ภาวะปกติ แบ่งเป็น 1,200 ล้านบาท สำหรับ ตลาดต่างประเทศ ใช้เรื่องการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมและโรดโชว์ เป็นต้น อีก 700 ล้านบาท สำหรับตลาดในประเทศ สำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ นอกจากนั้น จะหารือกับกระทรวงมหาดไทย ขอสนับสนุนให้หน่วยงานในสังกัด โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้จัดสัมมนาภายในประเทศเพิ่มขึ้น ส่งเสริมโดเมสติกไมซ์ สร้างกระแสการเดินทางภายในประเทศ
นายชุมพล กล่าวอีกว่า ขณะนี้โครงการของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่ทำไว้ เตรียมพร้อมที่จะดำเนินการมีเยอะมาก ดังนั้นจึงเร่งเคลียร์ให้ทุกโครงการเกิดผลเป็นรูปธรรมก่อน จึงจะริเริ่มโครงการใหม่ๆ ซึ่งในปีหน้า ยอมรับว่า ประเทศไทยจะเริ่มได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก ดูจากแผนการลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศโอเปก ก็ยังไม่สามารถทำให้กำลังซื้อกลับคืนสู่ตลาดได้ ขณะที่ธุรกิจรถยนต์ในประเทศไทย ก็เริ่มมีการชะลอการจ้างงาน และลดชั่วโมงการทำงานลงบ้างแล้ว สะท้อนให้เห็นว่า วิกฤตครั้งนี้มีความรุนแรงมาก ซึ่ง ในภาคท่องเที่ยวจะต้องร่วมมือกันทำงานไปในทิศทางเดียวกัน โดยแบ่งการทำงานให้ชัดเจน
ทางด้าน นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ กล่าวว่า ในวันนี้ (25ธ.ค.) จะประชุมคณะกรรมการเยียวยาภาคเอกชน ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสนามบิน เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การขอรับเงินช่วยเหลือ รวมทั้งจะหารือปรับแนวทางการทำตลาด เพื่อจูงใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยโดยเร็ว เช่น เสนอแนวคิด ฟรีค่าจอดเครื่องบิน (แลนดิ้งฟรี) การยกเลิกเก็บค่าธรรมเนียมวีซ่าเป็นการชั่วคราว และ การหารือกับสมาคมธุรกิจการบิน (BAR) โดยจะนำข้อเสนอจากภาคเอกชนนี้ ไปหารือกับเจ้าของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อจะได้ลดขั้นตอน หรืออุปสรรคต่างๆ ที่จะมีผลต่อการเดินทางเข้ามาประเทศไทย