เงินเฟ้อต่ำสุดรอบ 14 เดือน หลังราคาน้ำมันแตะ 40 ดอลลาร์/บาร์เรล ปธ.สภาอุตฯ จี้แบงก์ชาติ หั่น ดบ.อย่างน้อย 1% เรียกความเชื่อมั่นธุรกิจ
วันนี้ (1 ธ.ค.) นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (อัตราเงินเฟ้อ) ประจำเดือนพฤศจิกายน 2551 โดยระบุว่า อัตราเงินเฟ้อมีการเปลี่ยนสูงขึ้น ร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 14 เดือน นัยจากเดือนกันยายน 2550
ทั้งนี้ การปรับตัวลดลงของเงินเฟ้อ เป็นเพราะราคาน้ำมันมีการปรับตัวลดลงทำให้อัตราการขยายตัวไม่สูงมาก โดยมีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในรอบ 11 เดือน ขยายตัวร้อยละ 5.9 ทำให้ทั้งปีมั่นใจว่า อัตราเงินเฟ้อจะเป็นไปตามกรอบที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 5.6-5.9
นอกจากนี้ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ยังกล่าวอีกว่า ในปี 2552 กระทรวงพาณิชย์ได้ประมาณการอัตราเงินเฟ้อขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.5-3.5 โดยได้มีการคำนวณปัจจัยการหมดวาระบังคับใช้ 6 มาตรการ 6 เดือน ของรัฐบาลแล้ว
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในวันที่ 3 ธันวาคม 2551 ควรปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 1% จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 3.75% เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นให้แก่ภาคธุรกิจ อีกทั้งหลายประเทศได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงแล้ว
“ถึงแม้ว่าการปรับอัตราดอกเบี้ยลงนั้นจะไม่ได้เห็นผลการกระตุ้นอย่างชัดเจน แต่อย่างน้อยก็ช่วยเรียกความเชื่อมั่นให้กลับมาได้ ขณะที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในปีหน้าก็ควรที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก แต่จะเป็นเท่าไหร่นั้นก็ต้องติดตามต่อไป”
ขณะเดียวกัน นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ปัญหาเศรษฐกิจจะยังไม่ส่งผลกระทบในการเงินในขณะนี้ เพราะแรงขับเคลื่อนยังดีอยู่ แต่ปัญหาทั้งหมดจะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจภาพจริงในปีหน้าอย่างแน่นอน
วันนี้ (1 ธ.ค.) นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (อัตราเงินเฟ้อ) ประจำเดือนพฤศจิกายน 2551 โดยระบุว่า อัตราเงินเฟ้อมีการเปลี่ยนสูงขึ้น ร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 14 เดือน นัยจากเดือนกันยายน 2550
ทั้งนี้ การปรับตัวลดลงของเงินเฟ้อ เป็นเพราะราคาน้ำมันมีการปรับตัวลดลงทำให้อัตราการขยายตัวไม่สูงมาก โดยมีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในรอบ 11 เดือน ขยายตัวร้อยละ 5.9 ทำให้ทั้งปีมั่นใจว่า อัตราเงินเฟ้อจะเป็นไปตามกรอบที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 5.6-5.9
นอกจากนี้ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ยังกล่าวอีกว่า ในปี 2552 กระทรวงพาณิชย์ได้ประมาณการอัตราเงินเฟ้อขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.5-3.5 โดยได้มีการคำนวณปัจจัยการหมดวาระบังคับใช้ 6 มาตรการ 6 เดือน ของรัฐบาลแล้ว
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในวันที่ 3 ธันวาคม 2551 ควรปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 1% จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 3.75% เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นให้แก่ภาคธุรกิจ อีกทั้งหลายประเทศได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงแล้ว
“ถึงแม้ว่าการปรับอัตราดอกเบี้ยลงนั้นจะไม่ได้เห็นผลการกระตุ้นอย่างชัดเจน แต่อย่างน้อยก็ช่วยเรียกความเชื่อมั่นให้กลับมาได้ ขณะที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในปีหน้าก็ควรที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก แต่จะเป็นเท่าไหร่นั้นก็ต้องติดตามต่อไป”
ขณะเดียวกัน นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ปัญหาเศรษฐกิจจะยังไม่ส่งผลกระทบในการเงินในขณะนี้ เพราะแรงขับเคลื่อนยังดีอยู่ แต่ปัญหาทั้งหมดจะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจภาพจริงในปีหน้าอย่างแน่นอน