ประธานทีดีอาร์ไอ ชี้ เลื่อนการประชุมสุดยอดอาเซียน เป็นเรื่องที่เหมาะสม เหตุไม่มั่นใจเหตุการณ์ไม่แน่นอน แต่ต้องแสดงให้เห็นว่า ไทยใส่ใจในการดำเนินการ ด้าน “อัมมาร” ระบุ ประเทศไทยด้อยในการพัฒนาอุตสาหกรรม
นายนิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวถึงสถานการณ์ในประเทศไทยในขณะนี้ ว่า รัฐบาลของต่างประเทศที่กำลังจะเดินทางมาร่วมประชุมอาเซียนที่กำลังจะจัดขึ้น มีความกังวลในการเดินทางมาประชุม ซึ่งไม่มั่นใจว่าจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น และทางตัวแทนจากประเทศต่างๆ คงอยากให้เลื่อนการประชุมออกไป ตนเห็นว่า เป็นเรื่องที่เหมาะสมที่ทางรัฐบาลไทย ควรจะเลื่อนการประชุมออกไป แต่ต้องแสดงให้เห็นว่าเรามีความใส่ใจ และมีความมุ่งมั่นที่จะจัดการประชุมครั้งนี้ เพราะการประชุมอาเซียนมีความสำคัญ
ทั้งนี้ หากประเทศต่างๆ จัดแทนรัฐบาลไทย รัฐบาลไทยอาจจะเดินทางไปร่วมการประชุมไม่ได้ เราจึงควรเป็นผู้ยืนยันว่า จะดำเนินการจัดการประชุมด้วยตัวเอง
ก่อนหน้านี้ นายนิพนธ์ กล่าวว่า มีความกังวลในปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่เริ่มส่งสัญญาณการชะลอตัวของสภาพคล่อง ซึ่งรัฐบาลต้องเตรียมใช้นโยบายการคลังในการเตรียมรับมือผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย และทีดีอาร์ไอได้ประเมินปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ เชื่อว่า จะทำให้จีดีพีของไทยในปีหน้าขยายตัวไม่ได้ถึง 2% และผู้ว่างงานในไตรมาสแรกของปีหน้า จะมีไม่ต่ำกว่า 8 แสนคน ทั้งนี้ ยังไม่ได้รวมปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามรัฐบาลควรเร่งแก้ไขปัญหาทางการเมืองโดยทั้ง 2 ฝ่าย ต้องยึดหลักการแก้ไขปัญหาตามกรอบของรัฐธรรมนูญ
***“อัมมาร” ชี้ไทยด้อยพัฒนาอุตสาหกรรม
นายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เปิดเผยถึงผลการวิจัยเรื่องรัฐบาลไทยกับการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่สมดุลของ นาย Rick Doner ศาสตราจารย์ Emory University ว่า ประเทศไทยได้สูญเสียความได้เปรียบอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้น เพราะเมื่อเปรียบเทียบคู่แข่งอย่างจีนและเวียดนาม ไทยยังไม่ประสบความสำเร็จในการยกระดับภาคการผลิตไปสู่การผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น หรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยความสามารถของคนไทยเอง จึงทำให้ไทยกลายเป็นประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมโดยปราศจากเทคโนโลยี
“สาเหตุมาจากขอบขีดความสามารถของผู้นำไทยในการปฏิรูป อันเนื่องมาจากระบบการเมืองและมีการแย่งชิงผลประโยชน์ส่วนเกินทางเศรษฐกิจมากมายในวงกว้าง อีกทั้งผู้นำประเทศไทยมีความมุ่งมั่นน้อยในการใช้ทุนทางการเมืองของตนปฏิรูปเศรษฐกิจยกระดับการผลิต” นายอัมมาร กล่าวและว่า ผลการวิจัยของ นาย Rick ยังระบุด้วยว่า การจะยกระดับการผลิตได้นั้นต้องเชื่อมการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศกับภายในประเทศ และเพิ่มนวัตกรรมด้านการผลิตลดแรงงานนอกระบบ และลดความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจระหว่างเมืองและชนบท
นายนิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวถึงสถานการณ์ในประเทศไทยในขณะนี้ ว่า รัฐบาลของต่างประเทศที่กำลังจะเดินทางมาร่วมประชุมอาเซียนที่กำลังจะจัดขึ้น มีความกังวลในการเดินทางมาประชุม ซึ่งไม่มั่นใจว่าจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น และทางตัวแทนจากประเทศต่างๆ คงอยากให้เลื่อนการประชุมออกไป ตนเห็นว่า เป็นเรื่องที่เหมาะสมที่ทางรัฐบาลไทย ควรจะเลื่อนการประชุมออกไป แต่ต้องแสดงให้เห็นว่าเรามีความใส่ใจ และมีความมุ่งมั่นที่จะจัดการประชุมครั้งนี้ เพราะการประชุมอาเซียนมีความสำคัญ
ทั้งนี้ หากประเทศต่างๆ จัดแทนรัฐบาลไทย รัฐบาลไทยอาจจะเดินทางไปร่วมการประชุมไม่ได้ เราจึงควรเป็นผู้ยืนยันว่า จะดำเนินการจัดการประชุมด้วยตัวเอง
ก่อนหน้านี้ นายนิพนธ์ กล่าวว่า มีความกังวลในปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่เริ่มส่งสัญญาณการชะลอตัวของสภาพคล่อง ซึ่งรัฐบาลต้องเตรียมใช้นโยบายการคลังในการเตรียมรับมือผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย และทีดีอาร์ไอได้ประเมินปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ เชื่อว่า จะทำให้จีดีพีของไทยในปีหน้าขยายตัวไม่ได้ถึง 2% และผู้ว่างงานในไตรมาสแรกของปีหน้า จะมีไม่ต่ำกว่า 8 แสนคน ทั้งนี้ ยังไม่ได้รวมปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามรัฐบาลควรเร่งแก้ไขปัญหาทางการเมืองโดยทั้ง 2 ฝ่าย ต้องยึดหลักการแก้ไขปัญหาตามกรอบของรัฐธรรมนูญ
***“อัมมาร” ชี้ไทยด้อยพัฒนาอุตสาหกรรม
นายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เปิดเผยถึงผลการวิจัยเรื่องรัฐบาลไทยกับการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่สมดุลของ นาย Rick Doner ศาสตราจารย์ Emory University ว่า ประเทศไทยได้สูญเสียความได้เปรียบอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้น เพราะเมื่อเปรียบเทียบคู่แข่งอย่างจีนและเวียดนาม ไทยยังไม่ประสบความสำเร็จในการยกระดับภาคการผลิตไปสู่การผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น หรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยความสามารถของคนไทยเอง จึงทำให้ไทยกลายเป็นประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมโดยปราศจากเทคโนโลยี
“สาเหตุมาจากขอบขีดความสามารถของผู้นำไทยในการปฏิรูป อันเนื่องมาจากระบบการเมืองและมีการแย่งชิงผลประโยชน์ส่วนเกินทางเศรษฐกิจมากมายในวงกว้าง อีกทั้งผู้นำประเทศไทยมีความมุ่งมั่นน้อยในการใช้ทุนทางการเมืองของตนปฏิรูปเศรษฐกิจยกระดับการผลิต” นายอัมมาร กล่าวและว่า ผลการวิจัยของ นาย Rick ยังระบุด้วยว่า การจะยกระดับการผลิตได้นั้นต้องเชื่อมการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศกับภายในประเทศ และเพิ่มนวัตกรรมด้านการผลิตลดแรงงานนอกระบบ และลดความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจระหว่างเมืองและชนบท