ทูตญี่ปุ่นควงไจก้าพบ “สันติ” เร่ง ทอท.จ่ายเงินค้างท่อ ค่างานผู้รับเหมาสุวรรณภูมิ พร้อมขอความเป็นธรรมดูแลเอกชนญี่ปุนร่วมประมูลเมกะโปรเจกต์ ทอท.ชงบอร์ดวันนี้ (20 พ.ย.) เตรียมจ่ายค่างานค้างท่อ 342 ล้านบาท
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลัง เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและคณะทำงานขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า) เข้าพบ วานนี้ (19 พ.ย.) ว่า ทูตญี่ปุ่นและผู้แทนไจก้าเร่งรัดให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.จ่ายค่างานให้กับบริษัทที่ดำเนินการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งไจก้า เห็นว่า ล่าช้ามาก ในขณะที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดใช้ไปกว่า 2 ปีแล้ว นอกจากนี้ยังได้แสดงความกังวลถึงความโปร่งใสในการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้าง งานต่างๆ ของโครงการเมกะโปรเจกต์ของไทย ซึ่งใช้เงินกู้ของไจก้า โดยเฉพาะงานรถไฟฟ้าที่ต้องการให้ผู้ผลิตญี่ปุ่นสามารถแข่งขันได้ พร้อมกันนี้ทางกระทรวงคมนาคมได้ให้ไจก้าเร่งรัดการพิจารณาผลการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) สัญญาที่ 3 ซึ่งใช้เวลาเกือบ 60 วันแล้วยังไม่เรียบร้อย
ส่วนรถไฟสายสีแดง ช่วง บางซื่อ-รังสิต ไจก้า กังวลเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้บุกรุกพื้นที่ก่อสร้างหลังถูกโยกย้ายออกไปนั้นได้ยืนยันว่า การโยกย้ายผู้บุกรุกในพื้นที่ก่อสร้างโครงการออกไปนั้น มีการเคหะแห่งชาติและกรมประชาสงเคราะห์เข้ามาร่วมดูแลอย่างเต็มที่
นายสมชัย สวัสดีผล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานวิศวกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ) ทอท.กล่าวว่า ทอท.ค้างจ่ายค่างานให้กับผู้รับเหมาในส่วนของสัญญาจ้างงานเพิ่มเติม (S.A) ประมาณ 7 สัญญาวงเงินประมาณ 115 ล้านบาท และงานที่หักเงินค่าปรับไว้เผื่อไว้เป็นค่าปรับ (EOT) อีก 7 สัญญาวงเงิน 411 ล้านบาท ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการ ทอท.วันนี้ (20 พ.ย.) จะนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ ทอท.เพื่อขออนุมัติจ่ายค่างาน ในส่วนของงาน S.A.จำนวน 4 สัญญา วงเงิน 71.52 ล้านบาท และงาน EOT 3 สัญญา วงเงิน 270.492 ล้านนบาท ทั้งนี้ สาเหตุที่การจ่ายเงินล่าช้า เพราะการพิจารณาตรวจสอบเนื้องานและจำนวนเงินต้องผ่านหลายคณะกรรมการหลายชุด เช่น ผู้ควบคุมงาน กรรมการตรวจการจ้าง อนุกรรมการด้านกฎหมาย อนุกรรมการด้านเทคนิค ถึงจะเสนอบอร์ดได้
ด้าน นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ผู้รับเหมาจะเป็นผู้ดำเนินการรื้อย้ายผู้บุกรุกในพื้นที่ก่อสร้างรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และยืนยันกับทางผู้แทนไจก้า ว่า ร.ฟ.ท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดูแลเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตอย่างเต็มที่โดยขอให้ไจก้าตัดเงื่อนไขที่กำหนดว่าจะอนุมัติเงินกู้หลังจากการรื้อย้ายผู้บุกรุกเสร็จแล้ว เพราะจะทำให้โครงการล่าช้าออกไป
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลัง เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและคณะทำงานขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า) เข้าพบ วานนี้ (19 พ.ย.) ว่า ทูตญี่ปุ่นและผู้แทนไจก้าเร่งรัดให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.จ่ายค่างานให้กับบริษัทที่ดำเนินการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งไจก้า เห็นว่า ล่าช้ามาก ในขณะที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดใช้ไปกว่า 2 ปีแล้ว นอกจากนี้ยังได้แสดงความกังวลถึงความโปร่งใสในการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้าง งานต่างๆ ของโครงการเมกะโปรเจกต์ของไทย ซึ่งใช้เงินกู้ของไจก้า โดยเฉพาะงานรถไฟฟ้าที่ต้องการให้ผู้ผลิตญี่ปุ่นสามารถแข่งขันได้ พร้อมกันนี้ทางกระทรวงคมนาคมได้ให้ไจก้าเร่งรัดการพิจารณาผลการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) สัญญาที่ 3 ซึ่งใช้เวลาเกือบ 60 วันแล้วยังไม่เรียบร้อย
ส่วนรถไฟสายสีแดง ช่วง บางซื่อ-รังสิต ไจก้า กังวลเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้บุกรุกพื้นที่ก่อสร้างหลังถูกโยกย้ายออกไปนั้นได้ยืนยันว่า การโยกย้ายผู้บุกรุกในพื้นที่ก่อสร้างโครงการออกไปนั้น มีการเคหะแห่งชาติและกรมประชาสงเคราะห์เข้ามาร่วมดูแลอย่างเต็มที่
นายสมชัย สวัสดีผล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานวิศวกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ) ทอท.กล่าวว่า ทอท.ค้างจ่ายค่างานให้กับผู้รับเหมาในส่วนของสัญญาจ้างงานเพิ่มเติม (S.A) ประมาณ 7 สัญญาวงเงินประมาณ 115 ล้านบาท และงานที่หักเงินค่าปรับไว้เผื่อไว้เป็นค่าปรับ (EOT) อีก 7 สัญญาวงเงิน 411 ล้านบาท ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการ ทอท.วันนี้ (20 พ.ย.) จะนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ ทอท.เพื่อขออนุมัติจ่ายค่างาน ในส่วนของงาน S.A.จำนวน 4 สัญญา วงเงิน 71.52 ล้านบาท และงาน EOT 3 สัญญา วงเงิน 270.492 ล้านนบาท ทั้งนี้ สาเหตุที่การจ่ายเงินล่าช้า เพราะการพิจารณาตรวจสอบเนื้องานและจำนวนเงินต้องผ่านหลายคณะกรรมการหลายชุด เช่น ผู้ควบคุมงาน กรรมการตรวจการจ้าง อนุกรรมการด้านกฎหมาย อนุกรรมการด้านเทคนิค ถึงจะเสนอบอร์ดได้
ด้าน นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ผู้รับเหมาจะเป็นผู้ดำเนินการรื้อย้ายผู้บุกรุกในพื้นที่ก่อสร้างรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และยืนยันกับทางผู้แทนไจก้า ว่า ร.ฟ.ท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดูแลเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตอย่างเต็มที่โดยขอให้ไจก้าตัดเงื่อนไขที่กำหนดว่าจะอนุมัติเงินกู้หลังจากการรื้อย้ายผู้บุกรุกเสร็จแล้ว เพราะจะทำให้โครงการล่าช้าออกไป