สพท. เผยผลการศึกษา โฮมสเตย์ ทำธุรกิจท่องเที่ยวและเศรษฐกิจชุมชนเติบโต แต่เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การกว้างซื้อที่ดินของนายทุน เหตุขาดความรู้ด้านการบริหารจัดการที่ดี แถมยังกระจุกตัวเฉพาะ กลุ่มผู้มีอำนาจและมีเงิน ส่วนรากหญ้า ยังท้องแห้งเหมือนเดิม
นางธนิฏฐา มณีโชติ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) เปิดเผยว่า รายงานผลการศึกษาจากเครือข่ายบริหารงานวิจัยภาคเหนือตอนบน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการศึกษาและติดตามประเมินผลหมู่บ้านโฮมสเตย์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย พบผลกระทบ 4 ข้อหลัก โดยทำการศึกษาจาก 61 หมู่บ้าน ใน 31 จังหวัดครอบคลุม 5 ภาค ได้แก่
1.ด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อชุมชนมีชื่อเสียงด้านท่องเที่ยว เกิดการกส้างซื้อที่ดินของนายทุน พร้อมกับจำนวนนักท่องเที่ยยวที่เพิ่มขึ้น เกิดความเสื่อโทรของทรัพยากรธรรมชาติ ของเสียและสิ่งปฎิกูล ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากชุมชนไม่มีการบริหารจัดการที่ดี ก็จะเกิดเป็นมลภาวะ
2.ผลกระทบด้านวัฒนธรรม การดัดแปลงวิถีชุมชน ประเพณีวัฒนธรรม มาใช้เพื่อการแสดงให้นักท่องเที่ยวได้รับชมเป็นจุดขาย โดยปรับระยะเวลาการแสดงให้เหมาะสมกับเวลาของนักท่องเที่ยว ทำให้ พิธีการใหญ่ถูกปรับย่อให้เหลือสั้นลง ซึ่งข้อดีคือทำให้ได้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมสู่เยาวชนได้เรียนรู้และสืบต่อไป
3.ผลกระทบด้านสังคม ผู้ได้รับประโยชน์ และหรือ เข้าถึงทรัพยากร คือชนชั้นนำในชุมชน คือคนที่มีประสบการณ์ มีความรู้ความสามารถ และจะเป็นผู้กำหนดเกณฑ์เพื่อให้เกิดมาตรฐาน ที่ทำให้คนระดับกลางหรือล่างในชุมชนขาดโอกาส กลุ่มผู้นำจะไม่ค่อยทำงานสนับสนุนกันและกัน เช่น หากผู้ใหญ่บ้าน/กำนันทำโฮมสเตย์ อบต.จะไม่เข้ามาสนับสนุน จึง เกิดช่องว่างระหว่างกลุ่มต่างๆในด้านข้อมูลข่าวสารและที่ยืนบนพื้นที่สาธารณะ การมีพี่เลี้ยงที่มีกระบวนการทำงานเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม หรือชุมชนมีฐานงานอื่นที่เหนียวแน่น เป็นทุนที่สำคัญในการสร้างฐานที่เข้มแข็งเรื่องการบริหารจัดการ
4.ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ เช่น รายได้จากการท่องเที่ยวยังเป็นรายได้เสริม กลุ่มนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนไทย/ดูงาน รายได้กระจุกอยู่ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องที่มีจำนวนไม่มาก จึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนได้ทั้งหมด ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในชุมชนได้รับผลประโยชน์จากการมีโฮมสเตย์ และการเติบโตของร้านค้าหรือร้านขายของที่ระลึก จะสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจ ภาพรวมมากกว่าการท่องเที่ยว
จากการประมวลผล ทั้ง 4 ข้อดังกล่าวพบว่า ทรัพยากรธรรมชาติเป็นทรัพยากรท่องเที่ยว หากใช้ประโยชน์ก็ต้องมีการดูแลรักษาและสร้างกติกาเพื่อการใช้อย่างยั่งยืน การท่องเที่ยวสร้างโอกาสให้เกิดการอนุรักษ์/ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมชาติท้องถิ่น การจัดการทางวัฒนธรรมมีความจำเป็นและต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเพื่อเลือกนำเสนอในสิ่งที่เป็นสาระและสอดคล้องกับวิถีชุมชน
โดยผลทางสังคมยังพบเห็นลักษณะมือใครยาวสาวได้สาวเอา จึงควรมีข้อกำหนด หรือมาตรการด้านการบริหารจัดการโฮมสเตย์ที่คนในชุมชนมีความตระหนักและร่วมมือกันสร้างกฎ ระเบียบ ที่มีการกระจายรายได้อย่างยุติธรรม และการท่องเที่ยวยังเป็นรายได้เสริมและมีส่วนร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน สร้างรายได้ที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว
นางธนิฏฐา มณีโชติ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) เปิดเผยว่า รายงานผลการศึกษาจากเครือข่ายบริหารงานวิจัยภาคเหนือตอนบน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการศึกษาและติดตามประเมินผลหมู่บ้านโฮมสเตย์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย พบผลกระทบ 4 ข้อหลัก โดยทำการศึกษาจาก 61 หมู่บ้าน ใน 31 จังหวัดครอบคลุม 5 ภาค ได้แก่
1.ด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อชุมชนมีชื่อเสียงด้านท่องเที่ยว เกิดการกส้างซื้อที่ดินของนายทุน พร้อมกับจำนวนนักท่องเที่ยยวที่เพิ่มขึ้น เกิดความเสื่อโทรของทรัพยากรธรรมชาติ ของเสียและสิ่งปฎิกูล ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากชุมชนไม่มีการบริหารจัดการที่ดี ก็จะเกิดเป็นมลภาวะ
2.ผลกระทบด้านวัฒนธรรม การดัดแปลงวิถีชุมชน ประเพณีวัฒนธรรม มาใช้เพื่อการแสดงให้นักท่องเที่ยวได้รับชมเป็นจุดขาย โดยปรับระยะเวลาการแสดงให้เหมาะสมกับเวลาของนักท่องเที่ยว ทำให้ พิธีการใหญ่ถูกปรับย่อให้เหลือสั้นลง ซึ่งข้อดีคือทำให้ได้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมสู่เยาวชนได้เรียนรู้และสืบต่อไป
3.ผลกระทบด้านสังคม ผู้ได้รับประโยชน์ และหรือ เข้าถึงทรัพยากร คือชนชั้นนำในชุมชน คือคนที่มีประสบการณ์ มีความรู้ความสามารถ และจะเป็นผู้กำหนดเกณฑ์เพื่อให้เกิดมาตรฐาน ที่ทำให้คนระดับกลางหรือล่างในชุมชนขาดโอกาส กลุ่มผู้นำจะไม่ค่อยทำงานสนับสนุนกันและกัน เช่น หากผู้ใหญ่บ้าน/กำนันทำโฮมสเตย์ อบต.จะไม่เข้ามาสนับสนุน จึง เกิดช่องว่างระหว่างกลุ่มต่างๆในด้านข้อมูลข่าวสารและที่ยืนบนพื้นที่สาธารณะ การมีพี่เลี้ยงที่มีกระบวนการทำงานเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม หรือชุมชนมีฐานงานอื่นที่เหนียวแน่น เป็นทุนที่สำคัญในการสร้างฐานที่เข้มแข็งเรื่องการบริหารจัดการ
4.ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ เช่น รายได้จากการท่องเที่ยวยังเป็นรายได้เสริม กลุ่มนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนไทย/ดูงาน รายได้กระจุกอยู่ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องที่มีจำนวนไม่มาก จึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนได้ทั้งหมด ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในชุมชนได้รับผลประโยชน์จากการมีโฮมสเตย์ และการเติบโตของร้านค้าหรือร้านขายของที่ระลึก จะสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจ ภาพรวมมากกว่าการท่องเที่ยว
จากการประมวลผล ทั้ง 4 ข้อดังกล่าวพบว่า ทรัพยากรธรรมชาติเป็นทรัพยากรท่องเที่ยว หากใช้ประโยชน์ก็ต้องมีการดูแลรักษาและสร้างกติกาเพื่อการใช้อย่างยั่งยืน การท่องเที่ยวสร้างโอกาสให้เกิดการอนุรักษ์/ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมชาติท้องถิ่น การจัดการทางวัฒนธรรมมีความจำเป็นและต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเพื่อเลือกนำเสนอในสิ่งที่เป็นสาระและสอดคล้องกับวิถีชุมชน
โดยผลทางสังคมยังพบเห็นลักษณะมือใครยาวสาวได้สาวเอา จึงควรมีข้อกำหนด หรือมาตรการด้านการบริหารจัดการโฮมสเตย์ที่คนในชุมชนมีความตระหนักและร่วมมือกันสร้างกฎ ระเบียบ ที่มีการกระจายรายได้อย่างยุติธรรม และการท่องเที่ยวยังเป็นรายได้เสริมและมีส่วนร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน สร้างรายได้ที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว