ประดิษฐ์สั่งธพว.จัดทำแผนการใช้เงิน 2 พันล้านบาทชุบชีวิตเอสเอ็มอี คาดเข้าร่วมโครงการเอสเอ็มอีเพาเวอร์สินเชื่อทะลุ 1 หมื่นล้าน พร้อมสั่งการ ธอส.เป็นแกนนำปล่อยกู้สินเชื่อบ้านกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์หลังแบงก์พาณิชย์ส่งสัญญาณชะลอปล่อยกู้รายย่อย ด้านแบงก์ออมสินไม่น้อยหน้าออกแคมเปญกระหน่ำลดดอกเบี้ยเคหะ
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง เปิดเผยภายหลังให้นโยบายผู้บริหารและพนักงานธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ว่า ได้สั่งการให้คณะกรรมการธพว.ไปพิจารณาจัดทำแผนรายละเอียดต่าง ๆ มาว่าจะนำเงินเพิ่มทุนที่รัฐบาลจะใส่ให้ธพว.อีก 2 พันล้านบาทนั้น มาช่วยเหลือเอสเอ็มอีระดับฐานรากได้อย่างไร เพื่อให้รายย่อยเหล่านี้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างแท้จริงตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปว่าจะนำมาทำอะไรบ้าง
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ธพว.ได้เตรียมความพร้อมในการปล่อยสินเชื่อโครงการ เอสเอ็มอีเพาเวอร์ทั้งหมดแล้วทั่วประเทศ มั่นใจว่าจะมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้ความสนใจและคาดว่าเป้าหมาย 1 หมื่นล้านบาทนั้นจะหมดอย่างรวดเร็ว พร้อมกันนี้ธพว.จะเก็บข้อมูลทุกสัปดาห์ และหากมีความต้องการสินเชื่อเพิ่ม กระทรวงการคลังพร้อมที่จะพิจารณาเพิ่มวงเงิน หรือเพิ่มแนวทางช่วยเหลือเอสเอ็มอีให้อย่างต่อเนื่อง
“ธพว.เป็นธนาคารที่ยังทำอะไรได้อีกมาก แต่ขณะนี้ต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นทั้งในส่วนของธนาคารเอง และในสังคมที่มองเอสเอ็มอีอยู่ ซึ่งเหล่านี้ต้องใช้เวลา เพื่อให้สถาบันนี้เป็นแหล่งที่พึ่งพิงของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้อย่างแท้จริง”
ส่วนการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)กว่า 22,000 ล้านบาทหรือกว่า 50% ของสินเชื่อทั้งหมดนั้น ให้คณะกรรมการเสนอแนวทางแก้ปัญหามาให้พิจารณาแล้ว โดยมีเป้าหมายว่าภายใน 4 ปีจะให้ลดเหลือไม่เกิน 15%
***สั่งธอส.เดินหน้าปล่อยสินเชื่อบ้าน
นายประดิษฐ์ กล่าวว่า ได้สั่งการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เตรียมความพร้อมในการเป็นผู้นำตลาดปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย หลังจากที่คาดว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะชะลอตัวและธนาคารพาณิชย์เข้มงวดการปล่อยสินเชื่อหรือลดเป้าหมายสินเชื่อลง โดยให้ธอส.ปล่อยกู้แก่ลูกค้าเดิมที่เป็นลูกค้าดีเท่ากับวงเงินที่เคยกู้ไปแล้ว เช่นเคยกู้เงิน 5 ล้านบาท ผ่อนชำระไปแล้ว 2 ล้านบาท แต่จะกู้ได้อีก 5 ล้านบาท สำหรับนำเงินทุนไปใช้ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย หรือนำบางส่วนเป็นเงินทุนหมุนเวียนเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจเอสเอ็มอีของตัวเอง ก็ทำได้ เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายและให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน ส่วนลูกค้าใหม่นั้น มีโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษคงที่ 1-3 ปี ให้เช่นกัน
พร้อมกันนี้จะพิจารณาแผนการดำเนินธุรกิจปีหน้าของธอส.อีกครั้งก่อนอนุมัติ หลังจากที่ธอส.ได้เสนอแผนให้ในการประชุมครั้งนี้ โดยวางเป้าหมายปล่อยสินเชื่อเพียง 73,000 ล้านบาทเท่านั้น จากปีนี้ที่ตั้งเป้าหมายไว้ 95,000 ล้านบาท แต่คาดว่าจะทำได้เพียง 80,000 ล้านบาทเท่านั้น เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี โดยหากจะให้ธอส.ปล่อยกู้เพิ่มอีก ต้องดูว่ากระทรวงการคลังจะช่วยเหลือในด้านใดได้อีก โดยเฉพาะงบประมาณ เพื่อให้ธอส.ไม่ต้องกังวลกับการปล่อยสินเชื่อ
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธอส. กล่าวว่า ธอส.จะพิจารณาคิดดอกเบี้ยสำหรับโครงการดังกล่าวเป็นรายกรณีไป เพื่อไม่ให้มีผลกระทบหรือเป็นภาระต่อธนาคาร โดยปัจจุบันนี้มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) อยู่ 11.48% เนื่องจากได้เปลี่ยนระบบการชำระค่างวดใหม่ตั้งแต่ต้นปีที่ประชาชนยังไม่เข้าใจ แต่คาดว่าสิ้นปีนี้จะลดต่ำกว่า 11% ได้เล็กน้อย
“สัปดาห์หน้า ธอส.จะประกาศดอกเบี้ยเงินฝากใหม่ทั้งหมด เพื่อต่อสู้ชิงเงินฝากทุกประเภทเข้ามาให้มากขึ้น โดยเน้นเงินฝากระยะยาว และกลางเดือนนี้จะออกพันธบัตรอีก 3,000-4,000 ล้าบาทา เพื่อชดเชยพันธบัตรเดิมที่ครบกำหนด เนื่องจากขณะนี้ธนาคารต่างๆ เป็นห่วงเรื่องปัญหาสภาพคล่อง จึงพยายามระดมเงินฝากจากตลาด โดยเฉพาะธนาคารออมสินที่ต้องปล่อยกู้ให้รัฐบาล 43,000 ล้านบาท จึงให้ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน ถึง 4.25% ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้นั้นยังรอดูทิศทางตลาดก่อน”
***ออมสินดั๊มดอกเบี้ยบ้านสู้ศึก
นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบของประชาชนจากภาวะค่าครองชีพสูง ธนาคารออมสินจึงได้ปรับปรุงและปรับลดอัตราดอกเบี้ย สินเชื่อเคหะ ให้อยู่ในอัตราที่สามารถเป็นทางเลือกและเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเคหะของธนาคารออมสินที่ลูกค้าสามารถเลือกได้มีจำนวน 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปี ปีแรก 2.50% ต่อปี หรือคิดเป็น 0.20% ต่อเดือน ปีที่ 2 5.00% ต่อปี หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำประเภทมีระยะเวลา หรือ MLR – 0.5 (ปัจจุบันอยู่ที่ 7.25% ต่อปี) หรือเท่ากับ 6.75% ต่อปี ทุกวงเงิน ตลอดอายุสัญญา
รูปแบบที่ 2 อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปี ปีแรก 3.50% ต่อปี ปีที่ 2 4.50% ต่อปี จากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ย MLR -0.5 ต่อปี ทุกวงเงิน ตลอดอายุสัญญา และ รูปแบบที่ 3 อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี 5.00% ต่อปี ในอัตราเดียวกันทั้ง 3 ปี หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ย MLR -0.5 ต่อปี ทุกวงเงิน และตลอดอายุสัญญา เช่นกัน
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง เปิดเผยภายหลังให้นโยบายผู้บริหารและพนักงานธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ว่า ได้สั่งการให้คณะกรรมการธพว.ไปพิจารณาจัดทำแผนรายละเอียดต่าง ๆ มาว่าจะนำเงินเพิ่มทุนที่รัฐบาลจะใส่ให้ธพว.อีก 2 พันล้านบาทนั้น มาช่วยเหลือเอสเอ็มอีระดับฐานรากได้อย่างไร เพื่อให้รายย่อยเหล่านี้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างแท้จริงตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปว่าจะนำมาทำอะไรบ้าง
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ธพว.ได้เตรียมความพร้อมในการปล่อยสินเชื่อโครงการ เอสเอ็มอีเพาเวอร์ทั้งหมดแล้วทั่วประเทศ มั่นใจว่าจะมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้ความสนใจและคาดว่าเป้าหมาย 1 หมื่นล้านบาทนั้นจะหมดอย่างรวดเร็ว พร้อมกันนี้ธพว.จะเก็บข้อมูลทุกสัปดาห์ และหากมีความต้องการสินเชื่อเพิ่ม กระทรวงการคลังพร้อมที่จะพิจารณาเพิ่มวงเงิน หรือเพิ่มแนวทางช่วยเหลือเอสเอ็มอีให้อย่างต่อเนื่อง
“ธพว.เป็นธนาคารที่ยังทำอะไรได้อีกมาก แต่ขณะนี้ต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นทั้งในส่วนของธนาคารเอง และในสังคมที่มองเอสเอ็มอีอยู่ ซึ่งเหล่านี้ต้องใช้เวลา เพื่อให้สถาบันนี้เป็นแหล่งที่พึ่งพิงของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้อย่างแท้จริง”
ส่วนการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)กว่า 22,000 ล้านบาทหรือกว่า 50% ของสินเชื่อทั้งหมดนั้น ให้คณะกรรมการเสนอแนวทางแก้ปัญหามาให้พิจารณาแล้ว โดยมีเป้าหมายว่าภายใน 4 ปีจะให้ลดเหลือไม่เกิน 15%
***สั่งธอส.เดินหน้าปล่อยสินเชื่อบ้าน
นายประดิษฐ์ กล่าวว่า ได้สั่งการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เตรียมความพร้อมในการเป็นผู้นำตลาดปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย หลังจากที่คาดว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะชะลอตัวและธนาคารพาณิชย์เข้มงวดการปล่อยสินเชื่อหรือลดเป้าหมายสินเชื่อลง โดยให้ธอส.ปล่อยกู้แก่ลูกค้าเดิมที่เป็นลูกค้าดีเท่ากับวงเงินที่เคยกู้ไปแล้ว เช่นเคยกู้เงิน 5 ล้านบาท ผ่อนชำระไปแล้ว 2 ล้านบาท แต่จะกู้ได้อีก 5 ล้านบาท สำหรับนำเงินทุนไปใช้ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย หรือนำบางส่วนเป็นเงินทุนหมุนเวียนเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจเอสเอ็มอีของตัวเอง ก็ทำได้ เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายและให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน ส่วนลูกค้าใหม่นั้น มีโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษคงที่ 1-3 ปี ให้เช่นกัน
พร้อมกันนี้จะพิจารณาแผนการดำเนินธุรกิจปีหน้าของธอส.อีกครั้งก่อนอนุมัติ หลังจากที่ธอส.ได้เสนอแผนให้ในการประชุมครั้งนี้ โดยวางเป้าหมายปล่อยสินเชื่อเพียง 73,000 ล้านบาทเท่านั้น จากปีนี้ที่ตั้งเป้าหมายไว้ 95,000 ล้านบาท แต่คาดว่าจะทำได้เพียง 80,000 ล้านบาทเท่านั้น เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี โดยหากจะให้ธอส.ปล่อยกู้เพิ่มอีก ต้องดูว่ากระทรวงการคลังจะช่วยเหลือในด้านใดได้อีก โดยเฉพาะงบประมาณ เพื่อให้ธอส.ไม่ต้องกังวลกับการปล่อยสินเชื่อ
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธอส. กล่าวว่า ธอส.จะพิจารณาคิดดอกเบี้ยสำหรับโครงการดังกล่าวเป็นรายกรณีไป เพื่อไม่ให้มีผลกระทบหรือเป็นภาระต่อธนาคาร โดยปัจจุบันนี้มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) อยู่ 11.48% เนื่องจากได้เปลี่ยนระบบการชำระค่างวดใหม่ตั้งแต่ต้นปีที่ประชาชนยังไม่เข้าใจ แต่คาดว่าสิ้นปีนี้จะลดต่ำกว่า 11% ได้เล็กน้อย
“สัปดาห์หน้า ธอส.จะประกาศดอกเบี้ยเงินฝากใหม่ทั้งหมด เพื่อต่อสู้ชิงเงินฝากทุกประเภทเข้ามาให้มากขึ้น โดยเน้นเงินฝากระยะยาว และกลางเดือนนี้จะออกพันธบัตรอีก 3,000-4,000 ล้าบาทา เพื่อชดเชยพันธบัตรเดิมที่ครบกำหนด เนื่องจากขณะนี้ธนาคารต่างๆ เป็นห่วงเรื่องปัญหาสภาพคล่อง จึงพยายามระดมเงินฝากจากตลาด โดยเฉพาะธนาคารออมสินที่ต้องปล่อยกู้ให้รัฐบาล 43,000 ล้านบาท จึงให้ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน ถึง 4.25% ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้นั้นยังรอดูทิศทางตลาดก่อน”
***ออมสินดั๊มดอกเบี้ยบ้านสู้ศึก
นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบของประชาชนจากภาวะค่าครองชีพสูง ธนาคารออมสินจึงได้ปรับปรุงและปรับลดอัตราดอกเบี้ย สินเชื่อเคหะ ให้อยู่ในอัตราที่สามารถเป็นทางเลือกและเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเคหะของธนาคารออมสินที่ลูกค้าสามารถเลือกได้มีจำนวน 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปี ปีแรก 2.50% ต่อปี หรือคิดเป็น 0.20% ต่อเดือน ปีที่ 2 5.00% ต่อปี หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำประเภทมีระยะเวลา หรือ MLR – 0.5 (ปัจจุบันอยู่ที่ 7.25% ต่อปี) หรือเท่ากับ 6.75% ต่อปี ทุกวงเงิน ตลอดอายุสัญญา
รูปแบบที่ 2 อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปี ปีแรก 3.50% ต่อปี ปีที่ 2 4.50% ต่อปี จากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ย MLR -0.5 ต่อปี ทุกวงเงิน ตลอดอายุสัญญา และ รูปแบบที่ 3 อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี 5.00% ต่อปี ในอัตราเดียวกันทั้ง 3 ปี หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ย MLR -0.5 ต่อปี ทุกวงเงิน และตลอดอายุสัญญา เช่นกัน