รมว.คลังยันจำเป็นต้องขึ้นเงินเดือนข้าราชการให้ทันเงินเฟ้อปีนี้ที่ 6% เข้า ครม. 18 พ.ย. หวังเอกชนปรับตาม พร้อมเร่งกระตุ้นรากหญ้ากว่า 40 ล้านคนให้มีเงินใช้จ่ายในภาวะเศรษฐกิจมีปัญหา จี้แบงก์ชาติกดดอกเบี้ยอาร์พีให้ต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก ชะลอออกพันธบัตรดูดซับสภาพคล่อง หลังพบเงินกองที่หน้าตักกว่า 4.5 แสนล้านบาท เหตุแบงก์พาณิชย์เมินปล่อยกู้เข้าระบบ
นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 18 พ.ย. นี้ ให้นำวงเงินงบประมาณกลางปีที่ขาดดุลเพิ่มเติมอีก 1 แสนล้านบาทมาใช้ในโครงการปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการเป็นการทั่วไป ในอัตรา 6% ในปี 2552 โดยคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณ 2.4 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ แนวคิดในการเพิ่มเงินเดือนดังกล่าวจะเข้ามาช่วยเหลือเรื่องค่าครองชีพให้แก่ประชาชนที่ต้องเผชิญกับเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นในปี 2551 และจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน และหวังว่าภาคเอกชนจะมีการปรับขึ้นเงินเดือนพนักงานตาม
“เจตนาของการปรับขึ้นเงินเดือนครั้งนี้ต้องการช่วยข้าราชการที่มีรายได้ไม่สูงมากให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่ง 6% ที่ปรับนั้นเท่ากับเงินเฟ้อปีนี้ การที่ข้าราชการได้เงินเยอะขึ้นก็สามารถซื้อของได้เท่าเดิม” นายสุชาติกล่าวและว่าการอนุมัติให้ปรับขึ้นนั้นคงต้องรอให้มีการนำเสนองบกลางปีเข้าสภาก่อนซึ่งหน้าจะเป็นภายในกลางปี 2552
ส่วนงบกลางปีที่เหลือก็จะนำไปใช้ในการเพิ่มทุนให้ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) 2 พันล้านบาท เพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องหลังจากทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) เสนอให้รัฐสนับสนุนสินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอีกว่า 5 หมื่นล้านบาท ส่วนหนึ่งจะจัดสรรให้โครงการเอสเอ็มแอลเพิ่มเติมรวมถึงการใช้เพื่อการจ้างงาน เช่น ขุดลอกคูคลองและทำถนน เหมือนเงินผันที่ต้องทำให้เกิดขึ้นภายใน 6 เดือนหลังรัฐบาลอนุมัติเพราะจะทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
***อัดฉีดงบสู่ประชาชน 40 ล้านราย
นายสุชาติ กล่าวว่า ในภาวะเศรษฐกิจมีปัญหาจำเป็นต้องแก้ที่รากหญ้า หรือคิดเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศกว่า 40 ล้านคนให้มีกำลังซื้อ และมีความสามารถในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและแนวทางที่ดีที่สุดคืออัดฉีดเงินเข้าไปที่เอสเอ็มแอลหรือหมู่บ้าน เพราะจะทำให้เกิดการจ้างงานได้เร็ว โดยวันที่ 10 พ.ย.นี้จะมีการโอนเงินอีกกว่า 9.5 พันล้านบาท ขณะที่คนกลุ่มนี้จะมีภาระหนี้น้อยแค่ 1 เท่า เทียบกับคนในเมืองมีหนี้ถึง 3-4 เท่าหรือ10 เท่า ดังนั้นโอกาสในการเบี้ยวหนี้จึงมีเปอร์เซ็นต์น้อยมาก แค่ 2-3% เท่านั้น
“อยากเรียกร้องให้ภาคเอกชนทั้งสภาอุตฯ สภาพหอหรือธนาคารพาณิชย์หันมาปล่อยกู้หรือให้เงินช่วยเหลือชุมชนมากขึ้นด้วย เพราะการแก้ปัญหาไม่ใช่หน้าที่ของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีฝ่ายเดียวทุกส่วนต้องร่วมมือกัน” นายสุชาติกล่าว
***บีบธปท.ลดอาร์พี
นายสุชาติกล่าวว่า ได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แล้วโดยขอให้ดูแลสภาพคล่องในระบบให้เหมาะสมเพราะสภาพคล่องที่มีอยู่ขณะนี้ไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับระบบเศรษฐกิจที่แท้จริง เนื่องจากธปท.ได้ดูดซับสภาพคล่องไว้กว่า 4.5 แสนล้านบาท จาก 9 แสนล้านบาท และส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่สถาบันการเงินหันมาปล่อยกู้หรือลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตร(อาร์พี)ซึ่งได้ผลตอบแทนถึง 3.75% ซึ่งสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก
“ช่วงนี้ธนาคารพาณิชย์ไม่กล้าปล่อยสินเชื่อเพราะกลัวว่าจะมีความเสี่ยงสูงจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว จึงนำเงินฝากที่จ่ายดอกเบี้ยเพียง 2-3% มาปล่อยกู้หรือซื้อพันธบัตรในอาร์พีได้ดอกเบี้ยสูงกว่าและไม่มีความจึงอยากให้แบงก์ชาติดูแลอัตราดอกเบี้ยในอาร์พีให้เหมาะสม ซึ่งตามหลักแล้วช่วงเศรษฐกิจตกต่ำดอกเบี้ยเงินฝากควรจะสูงกว่าในตลาดอาร์พี เพื่อเป็นการส่งสัญญาณให้สถาบันการเงินหันไปปล่อยสินเชื่อมากขึ้นด้วย”นายสุชาติกล่าวและว่าการที่จะดูแลให้ดอกเบี้ยในตลาดอาร์พีลดลงนั้นธปท.ก็ควรลดการออกพันธบัตรเข้าไปดูดซับสภาพคล่องด้วยจากที่มีการออกพันธบัตรอยู่ประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท
***เตือนแบงก์อย่าเร่งทวงหนี้
ทั้งนี้ การที่สถาบันการเงินไม่ปล่อยสินเชื่อทำให้เศรษฐกิจยิ่งมีปัญหาเพราะภาคเอกชนจะหยุดประกอบกิจกรรมทางธุรกิจหรือลดขนดากิจกรรมลง ซึ่งหากลดไปเรื่อยๆก็ยิ่งทำให้เศรษฐกิจหดตัว
นอกจากนั้นสถาบันการเงินเองก็ไม่ควรทำให้เกิดความตื่นตระหนก เช่น การส่งหนังสือทวงหนี้หรือตัดวงเงินสินเชื่อเบิกเกินบัญชี(โอดี) เพราะจะทำให้เกิดผลทางจิตวิทยาตามมา และยิ่งทำให้เอกชนหรือประชาชนเกิดปัญหา ซึ่งการขยายเวลาค้ำประกันเงินฝากเต็มจำนวนออกไป 3 ปีก็เป็นการช่วยไม่ให้แบงก์เร่งทวงหนี้ได้อีกทางหนึ่ง
นายสุชาติกล่าวอีกว่า เมื่อเอกชนหยุดทำกิจกรรมภาครัฐจึงต้องเข้ามาดเนินการกู้เงินในระบบเพื่อการลงทุนและการจ้างงาน เช่น การลงทุนโครงการรถไฟฟ้ากว่า 3 แสนล้านบาท ทั้งสายสีม่วง แดง เขียวและน้ำเงินนั้น หากเป็นไปได้อยากให้รวมการประมูลในคราวเดียวเพื่อเปิดทางให้เอกชนเข้ามาลงทุนและนำเทคโนโลยีเข้ามาด้วย ทั้งการผลิตตัวรถและทำอู่ซ่อมในประเทศไทยด้วย เพื่อให้เกิดการลงทุนตามมา
นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 18 พ.ย. นี้ ให้นำวงเงินงบประมาณกลางปีที่ขาดดุลเพิ่มเติมอีก 1 แสนล้านบาทมาใช้ในโครงการปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการเป็นการทั่วไป ในอัตรา 6% ในปี 2552 โดยคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณ 2.4 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ แนวคิดในการเพิ่มเงินเดือนดังกล่าวจะเข้ามาช่วยเหลือเรื่องค่าครองชีพให้แก่ประชาชนที่ต้องเผชิญกับเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นในปี 2551 และจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน และหวังว่าภาคเอกชนจะมีการปรับขึ้นเงินเดือนพนักงานตาม
“เจตนาของการปรับขึ้นเงินเดือนครั้งนี้ต้องการช่วยข้าราชการที่มีรายได้ไม่สูงมากให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่ง 6% ที่ปรับนั้นเท่ากับเงินเฟ้อปีนี้ การที่ข้าราชการได้เงินเยอะขึ้นก็สามารถซื้อของได้เท่าเดิม” นายสุชาติกล่าวและว่าการอนุมัติให้ปรับขึ้นนั้นคงต้องรอให้มีการนำเสนองบกลางปีเข้าสภาก่อนซึ่งหน้าจะเป็นภายในกลางปี 2552
ส่วนงบกลางปีที่เหลือก็จะนำไปใช้ในการเพิ่มทุนให้ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) 2 พันล้านบาท เพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องหลังจากทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) เสนอให้รัฐสนับสนุนสินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอีกว่า 5 หมื่นล้านบาท ส่วนหนึ่งจะจัดสรรให้โครงการเอสเอ็มแอลเพิ่มเติมรวมถึงการใช้เพื่อการจ้างงาน เช่น ขุดลอกคูคลองและทำถนน เหมือนเงินผันที่ต้องทำให้เกิดขึ้นภายใน 6 เดือนหลังรัฐบาลอนุมัติเพราะจะทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
***อัดฉีดงบสู่ประชาชน 40 ล้านราย
นายสุชาติ กล่าวว่า ในภาวะเศรษฐกิจมีปัญหาจำเป็นต้องแก้ที่รากหญ้า หรือคิดเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศกว่า 40 ล้านคนให้มีกำลังซื้อ และมีความสามารถในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและแนวทางที่ดีที่สุดคืออัดฉีดเงินเข้าไปที่เอสเอ็มแอลหรือหมู่บ้าน เพราะจะทำให้เกิดการจ้างงานได้เร็ว โดยวันที่ 10 พ.ย.นี้จะมีการโอนเงินอีกกว่า 9.5 พันล้านบาท ขณะที่คนกลุ่มนี้จะมีภาระหนี้น้อยแค่ 1 เท่า เทียบกับคนในเมืองมีหนี้ถึง 3-4 เท่าหรือ10 เท่า ดังนั้นโอกาสในการเบี้ยวหนี้จึงมีเปอร์เซ็นต์น้อยมาก แค่ 2-3% เท่านั้น
“อยากเรียกร้องให้ภาคเอกชนทั้งสภาอุตฯ สภาพหอหรือธนาคารพาณิชย์หันมาปล่อยกู้หรือให้เงินช่วยเหลือชุมชนมากขึ้นด้วย เพราะการแก้ปัญหาไม่ใช่หน้าที่ของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีฝ่ายเดียวทุกส่วนต้องร่วมมือกัน” นายสุชาติกล่าว
***บีบธปท.ลดอาร์พี
นายสุชาติกล่าวว่า ได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แล้วโดยขอให้ดูแลสภาพคล่องในระบบให้เหมาะสมเพราะสภาพคล่องที่มีอยู่ขณะนี้ไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับระบบเศรษฐกิจที่แท้จริง เนื่องจากธปท.ได้ดูดซับสภาพคล่องไว้กว่า 4.5 แสนล้านบาท จาก 9 แสนล้านบาท และส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่สถาบันการเงินหันมาปล่อยกู้หรือลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตร(อาร์พี)ซึ่งได้ผลตอบแทนถึง 3.75% ซึ่งสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก
“ช่วงนี้ธนาคารพาณิชย์ไม่กล้าปล่อยสินเชื่อเพราะกลัวว่าจะมีความเสี่ยงสูงจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว จึงนำเงินฝากที่จ่ายดอกเบี้ยเพียง 2-3% มาปล่อยกู้หรือซื้อพันธบัตรในอาร์พีได้ดอกเบี้ยสูงกว่าและไม่มีความจึงอยากให้แบงก์ชาติดูแลอัตราดอกเบี้ยในอาร์พีให้เหมาะสม ซึ่งตามหลักแล้วช่วงเศรษฐกิจตกต่ำดอกเบี้ยเงินฝากควรจะสูงกว่าในตลาดอาร์พี เพื่อเป็นการส่งสัญญาณให้สถาบันการเงินหันไปปล่อยสินเชื่อมากขึ้นด้วย”นายสุชาติกล่าวและว่าการที่จะดูแลให้ดอกเบี้ยในตลาดอาร์พีลดลงนั้นธปท.ก็ควรลดการออกพันธบัตรเข้าไปดูดซับสภาพคล่องด้วยจากที่มีการออกพันธบัตรอยู่ประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท
***เตือนแบงก์อย่าเร่งทวงหนี้
ทั้งนี้ การที่สถาบันการเงินไม่ปล่อยสินเชื่อทำให้เศรษฐกิจยิ่งมีปัญหาเพราะภาคเอกชนจะหยุดประกอบกิจกรรมทางธุรกิจหรือลดขนดากิจกรรมลง ซึ่งหากลดไปเรื่อยๆก็ยิ่งทำให้เศรษฐกิจหดตัว
นอกจากนั้นสถาบันการเงินเองก็ไม่ควรทำให้เกิดความตื่นตระหนก เช่น การส่งหนังสือทวงหนี้หรือตัดวงเงินสินเชื่อเบิกเกินบัญชี(โอดี) เพราะจะทำให้เกิดผลทางจิตวิทยาตามมา และยิ่งทำให้เอกชนหรือประชาชนเกิดปัญหา ซึ่งการขยายเวลาค้ำประกันเงินฝากเต็มจำนวนออกไป 3 ปีก็เป็นการช่วยไม่ให้แบงก์เร่งทวงหนี้ได้อีกทางหนึ่ง
นายสุชาติกล่าวอีกว่า เมื่อเอกชนหยุดทำกิจกรรมภาครัฐจึงต้องเข้ามาดเนินการกู้เงินในระบบเพื่อการลงทุนและการจ้างงาน เช่น การลงทุนโครงการรถไฟฟ้ากว่า 3 แสนล้านบาท ทั้งสายสีม่วง แดง เขียวและน้ำเงินนั้น หากเป็นไปได้อยากให้รวมการประมูลในคราวเดียวเพื่อเปิดทางให้เอกชนเข้ามาลงทุนและนำเทคโนโลยีเข้ามาด้วย ทั้งการผลิตตัวรถและทำอู่ซ่อมในประเทศไทยด้วย เพื่อให้เกิดการลงทุนตามมา