“เอสเอ็มอีแบงก์” วุ่นไม่เลิกหลังบอร์ดส่งฟ้องเจ้าหน้าที่ต่อ ป.ป.ช.ฐานทำให้เกิดความเสียหายจากตราสารFRCD แต่ดอกเบี้ยไลบอร์ขึ้นสวนทางทำให้พลิกกลับมามีกำไร ผู้บริหารแบงก์กุมขมับหาทางออกกับเงินที่ได้รับเหตุบอร์ดประกาศให้สัญญาเป็นโมฆะและ SCBT อยู่ระหว่างฟ้องแพ่ง ขณะที่อดีตเอ็มดี “พงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์” และผู้บริหาร 4 รายเตรียมฟ้องกลับบอร์ด ระบุตอนแบงก์ได้ประโยชน์กลับนิ่งเฉยแต่พอเสียหายรีบหาแพะมาสังเวย
แหล่งข่าวจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยว่า ขณะนี้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในตลาดลอนดอน หรือไลบอร์ ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 4%กว่าๆ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่เอสเอ็มอีแบงก์มีภาระผูกพันกับธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์(ไทย) จำกัด(มหาชน) SCBT ที่เกิดขึ้นจากการทำสัญญาแลกเปลี่ยน (Swap) เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยของบัตรเงินฝากแบบดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Certificate of Deposit-FRCD) 300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.14 หมื่นล้านบาท ที่อัตราดอกเบี้ย 3.5-8.5% ส่งผลให้เอสเอ็มอีแบงก์กลับมามีกำไรจากบัตรเงินฝากเอฟอาร์ซีดีอีกครั้ง
หลังจากก่อนหน้านี้ไลบอร์ลดต่ำมาที่ระดับ 2%กว่า จนทำให้เอสเอ็มอีแบงก์ขาดทุนและต้องจ่ายเบี้ยปรับให้กับสแตนดาร์ดถึง 3 พันล้านบาท แต่จากกรณีที่คณะกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์สั่งให้สัญญาระหว่าง 2 ธนาคารเป็นโมฆะ เนื่องจากระบุว่าสัญญาดังกล่าวไม่ได้เป็นการทำขึ้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงแต่มีการเก็งกำไร ประกอบกับก่อนหน้านี้ SCBT ได้ยื่นฟ้องศาลแพ่งเพื่อให้พิพากษาให้เอสเอ็มอีแบงก์จ่ายเบี้ยปรับ ดังนั้นเอสเอ็มอีแบงก์จึงไม่มีแนวทางปฏิบัติว่าจะทำอย่างไรกับผลกำไรที่เกิดขึ้น
"มาถึงตอนนี้ขั้นตอนทุกอย่างสับสนไปหมด เพราะเมื่อไลบอร์ปรับตัวสูงขึ้นเกินกว่า 3.5% ก็ทำให้เอสเอ็มอีแบงก์กลับมาได้ประโยชน์ตามสัญญาที่ระบุไว้ แต่จะทำอะไรก็ไม่ได้เพราะบอร์ดสั่งให้สัญญาเป็นโมฆะไปแล้วและสแตนดาร์ดก็ฟ้องศาล เราจะต้องหยุดนิ่ง ไม่มีใครกล้าเคลื่อนไหว ทั้งที่หากเดินหน้าต่อก็จะสามารถหักลบกลบหนี้ลดเบี้ยปรับไปได้และอาจจะได้กำไรเกินกว่าที่จะต้องเสีย เช่นที่เคยเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปลายปี 49 จนตลอดปี 50 ที่เอสเอ็มอีแบงก์ได้ประโยชน์มาโดยตลอดทำให้เราจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ถูกกว่าแบงก์อื่นๆ" แหล่งข่าวระบุ
***อดีตเอ็มดีเตรียมฟ้องกลับ
นอกจากนี้นายพงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์ อดีตกรรมการผู้จัดการ เอสเอ็มอีแบงก์ซึ่งลาออกไปเมื่อ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา และเจ้าหน้าที่รวม 4 ราย ที่ถูกกล่าวโทษจากการที่คณะกรรมการ เอสเอ็มอีแบงก์สั่งฟ้องและสั่งให้จ่ายค่าเสียหายหากเอสเอ็มอีแบงก์ต้องจ่ายเบี้ยปรับให้ SCBT อยู่ระหว่างเตรียมการฟ้องกลับคณะกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์ ที่มีมติให้กล่าวโทษร้องทุกข์ความผิดทางอาญาไปที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
เนื่องจากเห็นว่าช่วงที่ออกเอฟอาร์ซีดีซึ่งดำเนินมาตั้งแต่ปลายปี 49 จนต้นปี 51 คณะกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์ได้เข้ามาบริหารงานแล้ว ซึ่งผลการทำประกันความเสี่ยงจากบัตรเงินฝากดังกล่าวส่งผลดีต่อเอสเอ็มอีแบงก์มาโดยตลอด แต่ช่วงระยะเดือนก.พ.51 ดอกเบี้ยไลบอร์ปรับลดต่ำมากทำให้เอสเอ็มอีแบงก์ต้องจ่ายเบี้ยปรับให้ SCBT
จากนั้นคณะกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์จึงเริ่มกระบวนการสอบสวนและระบุให้สัญญาเป็นโมฆะ และอ้างว่าบัตรเงินฝากเอฟอาร์ซีดีไม่เพียงแค่ประกันความเสี่ยงแต่ยังเป็นการเก็งกำไรทำให้เอสเอ็มอีแบงก์ได้รับความเสียหาย ทั้งที่ก่อนหน้าเอสเอ็มอีแบงก์ได้รับประโยชน์มาโดยตลอด ซึ่งหากใช้ข้ออ้างดังกล่าวแล้วก็ควรจะทำตั้งแต่เข้ามารับหน้าที่บริหารหรือตั้งแต่ธนาคารได้ประโยชน์
ทั้งนี้ตั้งแต่ดอกเบี้ยไลบอร์อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 3.5% ส่งผลให้ธนาคารต้องจ่ายค่าปรับ ให้สแตนดาร์ดฯ นับตั้งแต่ วันที่ 22 ม.ค.51 เฉลี่ยวันละ 2.5 ล้านบาท จนถึงปลายเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา รวมแล้วเป็นเงิน 420 ล้านบาท แต่นับจากปลายเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ธนาคารสามารถลดวงเงิน ที่เอสเอ็มอีแบงก์ต้องเสียค่าปรับได้แล้วกว่า 12 ล้านบาท และจนถึง สิ้นสุดสัญญาใน เดือน ส.ค. 53 ธนาคารจะไม่ต้องจ่ายค่าปรับอีกกว่า 2,500 ล้านบาท
***หนุนคลังออกซอฟท์โลน
รายงานข่าวจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอีแบงก์) แจ้งว่า จากกรณีสมาคมธนาคารไทยเสนอขอให้กระทรวงการคลังดำเนินการโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยถูกหรือซอฟต์โลนจำนวน 2 หมื่นล้านบาท แทนธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ที่ไม่สามารถดำเนินการได้อีกจาก พ.ร.บ.ธปท. ฉบับใหม่ โดยกระทรวงการคลังอาจพิจารณาให้สถาบันการเงินของรัฐเป็นผู้ปล่อยเงินกู้แทนนั้น เอสเอ็มอีแบงก์พร้อมดำเนินการแต่กระทรวงการคลังต้องจัดหาแหล่งเงินทุนให้ เอสเอ็มอีแบงก์ไม่มีสภาพคล่องส่วนเกินเพียงพอจะร่วมกับแบงก์รัฐอื่นเพื่อดำเนินการ
สำหรับซอฟต์โลนขณะนี้หากจะปล่อยกู้ควรจะจำกัดเงื่อนไข ซึ่งจากปัญหาวิกฤตการเงินที่ลุกลามมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ากระทบกับปัญหาเงินทุนหมุนเวียนของหลายธนาคาร ดังนั้นหากจะปล่อยกู้ก็ควรจะเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนเท่านั้น ด้วยขณะนี้ ธุรกิจเอสเอ็มอีหลายแห่งได้รับผลกระทบหนักจากการส่งออกที่ชะลอตัวในหลายประเทศคู่ค้าของไทย ซึ่งทำให้เอสเอ็มอีที่เป็นผู้ผลิตสินค้าต่อเนื่องหรือซัพพลายเชนต้องลดยอดผลิต ปรับตัวไม่ทัน ซึ่งส่วนนี้อยากเรียกร้องให้ภาครัฐหรือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยออกมาพูดตัวเลขจริง ไม่อยากให้ปิดบังหรือเปิดเผยเพียงข้อมูลด้านดีเช่นที่ผ่านมา จนทำให้เอสเอ็มอีชะล่าใจหรือไม่มีการเตรียมพร้อมรับมือ
***แนะแยกบัญชีเพื่อสังคม
อย่างไรก็ตาม หากจะให้เอสเอ็มอีแบงก์ดำเนินการปล่อยกู้ จะขอเสนอให้แยกบัญชีการปล่อยกู้ดังกล่าวหรือบัญชีพิเศษ(พีเอสเอ)ต่างหากจากเงินกู้ทั่วไปของธนาคาร เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อการตั้งสำรองของธนาคารหากภายหลังจะได้รับผลจากการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ ทั้งนี้ที่ผ่านมาเมื่อธปท.มีโครงการซอฟต์โลนก็มักจะปล่อยกู้กับธนาคารพาณิชย์มากกว่าเอสเอ็มอีแบงก์เนื่องจากไม่เชื่อใจ ซึ่งเรื่องนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการตรวจสอบเข้มงวด
ทั้งนี้จะเสนอกระทรวงการคลังพิจารณาอนุมัติจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์เอสเอ็มอีแบงก์(เอเอ็มซี)ขึ้นมา อาจเป็นบริษัทลูกหรือเกิดจากการร่วมทุนกับเอเอ็มซีเพื่อแก้ไขปัญหาเอ็นพีแอลของเอสเอ็มอี รวมถึงรองรับผลกระทบจากวิกฤตการเงินสหรัฐฯ เพราะถ้าหากขายสินทรัพย์ให้เอเอ็มซีอื่นจะต้องมีการเข้ามาสำรวจสินทรัพย์ทั้งหมดของธนาคาร ซึ่งอาจมีปัญหาการเปิดเผยข้อมูลของลูกค้าได้
แหล่งข่าวจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยว่า ขณะนี้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในตลาดลอนดอน หรือไลบอร์ ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 4%กว่าๆ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่เอสเอ็มอีแบงก์มีภาระผูกพันกับธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์(ไทย) จำกัด(มหาชน) SCBT ที่เกิดขึ้นจากการทำสัญญาแลกเปลี่ยน (Swap) เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยของบัตรเงินฝากแบบดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Certificate of Deposit-FRCD) 300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.14 หมื่นล้านบาท ที่อัตราดอกเบี้ย 3.5-8.5% ส่งผลให้เอสเอ็มอีแบงก์กลับมามีกำไรจากบัตรเงินฝากเอฟอาร์ซีดีอีกครั้ง
หลังจากก่อนหน้านี้ไลบอร์ลดต่ำมาที่ระดับ 2%กว่า จนทำให้เอสเอ็มอีแบงก์ขาดทุนและต้องจ่ายเบี้ยปรับให้กับสแตนดาร์ดถึง 3 พันล้านบาท แต่จากกรณีที่คณะกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์สั่งให้สัญญาระหว่าง 2 ธนาคารเป็นโมฆะ เนื่องจากระบุว่าสัญญาดังกล่าวไม่ได้เป็นการทำขึ้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงแต่มีการเก็งกำไร ประกอบกับก่อนหน้านี้ SCBT ได้ยื่นฟ้องศาลแพ่งเพื่อให้พิพากษาให้เอสเอ็มอีแบงก์จ่ายเบี้ยปรับ ดังนั้นเอสเอ็มอีแบงก์จึงไม่มีแนวทางปฏิบัติว่าจะทำอย่างไรกับผลกำไรที่เกิดขึ้น
"มาถึงตอนนี้ขั้นตอนทุกอย่างสับสนไปหมด เพราะเมื่อไลบอร์ปรับตัวสูงขึ้นเกินกว่า 3.5% ก็ทำให้เอสเอ็มอีแบงก์กลับมาได้ประโยชน์ตามสัญญาที่ระบุไว้ แต่จะทำอะไรก็ไม่ได้เพราะบอร์ดสั่งให้สัญญาเป็นโมฆะไปแล้วและสแตนดาร์ดก็ฟ้องศาล เราจะต้องหยุดนิ่ง ไม่มีใครกล้าเคลื่อนไหว ทั้งที่หากเดินหน้าต่อก็จะสามารถหักลบกลบหนี้ลดเบี้ยปรับไปได้และอาจจะได้กำไรเกินกว่าที่จะต้องเสีย เช่นที่เคยเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปลายปี 49 จนตลอดปี 50 ที่เอสเอ็มอีแบงก์ได้ประโยชน์มาโดยตลอดทำให้เราจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ถูกกว่าแบงก์อื่นๆ" แหล่งข่าวระบุ
***อดีตเอ็มดีเตรียมฟ้องกลับ
นอกจากนี้นายพงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์ อดีตกรรมการผู้จัดการ เอสเอ็มอีแบงก์ซึ่งลาออกไปเมื่อ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา และเจ้าหน้าที่รวม 4 ราย ที่ถูกกล่าวโทษจากการที่คณะกรรมการ เอสเอ็มอีแบงก์สั่งฟ้องและสั่งให้จ่ายค่าเสียหายหากเอสเอ็มอีแบงก์ต้องจ่ายเบี้ยปรับให้ SCBT อยู่ระหว่างเตรียมการฟ้องกลับคณะกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์ ที่มีมติให้กล่าวโทษร้องทุกข์ความผิดทางอาญาไปที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
เนื่องจากเห็นว่าช่วงที่ออกเอฟอาร์ซีดีซึ่งดำเนินมาตั้งแต่ปลายปี 49 จนต้นปี 51 คณะกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์ได้เข้ามาบริหารงานแล้ว ซึ่งผลการทำประกันความเสี่ยงจากบัตรเงินฝากดังกล่าวส่งผลดีต่อเอสเอ็มอีแบงก์มาโดยตลอด แต่ช่วงระยะเดือนก.พ.51 ดอกเบี้ยไลบอร์ปรับลดต่ำมากทำให้เอสเอ็มอีแบงก์ต้องจ่ายเบี้ยปรับให้ SCBT
จากนั้นคณะกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์จึงเริ่มกระบวนการสอบสวนและระบุให้สัญญาเป็นโมฆะ และอ้างว่าบัตรเงินฝากเอฟอาร์ซีดีไม่เพียงแค่ประกันความเสี่ยงแต่ยังเป็นการเก็งกำไรทำให้เอสเอ็มอีแบงก์ได้รับความเสียหาย ทั้งที่ก่อนหน้าเอสเอ็มอีแบงก์ได้รับประโยชน์มาโดยตลอด ซึ่งหากใช้ข้ออ้างดังกล่าวแล้วก็ควรจะทำตั้งแต่เข้ามารับหน้าที่บริหารหรือตั้งแต่ธนาคารได้ประโยชน์
ทั้งนี้ตั้งแต่ดอกเบี้ยไลบอร์อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 3.5% ส่งผลให้ธนาคารต้องจ่ายค่าปรับ ให้สแตนดาร์ดฯ นับตั้งแต่ วันที่ 22 ม.ค.51 เฉลี่ยวันละ 2.5 ล้านบาท จนถึงปลายเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา รวมแล้วเป็นเงิน 420 ล้านบาท แต่นับจากปลายเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ธนาคารสามารถลดวงเงิน ที่เอสเอ็มอีแบงก์ต้องเสียค่าปรับได้แล้วกว่า 12 ล้านบาท และจนถึง สิ้นสุดสัญญาใน เดือน ส.ค. 53 ธนาคารจะไม่ต้องจ่ายค่าปรับอีกกว่า 2,500 ล้านบาท
***หนุนคลังออกซอฟท์โลน
รายงานข่าวจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอีแบงก์) แจ้งว่า จากกรณีสมาคมธนาคารไทยเสนอขอให้กระทรวงการคลังดำเนินการโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยถูกหรือซอฟต์โลนจำนวน 2 หมื่นล้านบาท แทนธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ที่ไม่สามารถดำเนินการได้อีกจาก พ.ร.บ.ธปท. ฉบับใหม่ โดยกระทรวงการคลังอาจพิจารณาให้สถาบันการเงินของรัฐเป็นผู้ปล่อยเงินกู้แทนนั้น เอสเอ็มอีแบงก์พร้อมดำเนินการแต่กระทรวงการคลังต้องจัดหาแหล่งเงินทุนให้ เอสเอ็มอีแบงก์ไม่มีสภาพคล่องส่วนเกินเพียงพอจะร่วมกับแบงก์รัฐอื่นเพื่อดำเนินการ
สำหรับซอฟต์โลนขณะนี้หากจะปล่อยกู้ควรจะจำกัดเงื่อนไข ซึ่งจากปัญหาวิกฤตการเงินที่ลุกลามมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ากระทบกับปัญหาเงินทุนหมุนเวียนของหลายธนาคาร ดังนั้นหากจะปล่อยกู้ก็ควรจะเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนเท่านั้น ด้วยขณะนี้ ธุรกิจเอสเอ็มอีหลายแห่งได้รับผลกระทบหนักจากการส่งออกที่ชะลอตัวในหลายประเทศคู่ค้าของไทย ซึ่งทำให้เอสเอ็มอีที่เป็นผู้ผลิตสินค้าต่อเนื่องหรือซัพพลายเชนต้องลดยอดผลิต ปรับตัวไม่ทัน ซึ่งส่วนนี้อยากเรียกร้องให้ภาครัฐหรือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยออกมาพูดตัวเลขจริง ไม่อยากให้ปิดบังหรือเปิดเผยเพียงข้อมูลด้านดีเช่นที่ผ่านมา จนทำให้เอสเอ็มอีชะล่าใจหรือไม่มีการเตรียมพร้อมรับมือ
***แนะแยกบัญชีเพื่อสังคม
อย่างไรก็ตาม หากจะให้เอสเอ็มอีแบงก์ดำเนินการปล่อยกู้ จะขอเสนอให้แยกบัญชีการปล่อยกู้ดังกล่าวหรือบัญชีพิเศษ(พีเอสเอ)ต่างหากจากเงินกู้ทั่วไปของธนาคาร เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อการตั้งสำรองของธนาคารหากภายหลังจะได้รับผลจากการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ ทั้งนี้ที่ผ่านมาเมื่อธปท.มีโครงการซอฟต์โลนก็มักจะปล่อยกู้กับธนาคารพาณิชย์มากกว่าเอสเอ็มอีแบงก์เนื่องจากไม่เชื่อใจ ซึ่งเรื่องนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการตรวจสอบเข้มงวด
ทั้งนี้จะเสนอกระทรวงการคลังพิจารณาอนุมัติจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์เอสเอ็มอีแบงก์(เอเอ็มซี)ขึ้นมา อาจเป็นบริษัทลูกหรือเกิดจากการร่วมทุนกับเอเอ็มซีเพื่อแก้ไขปัญหาเอ็นพีแอลของเอสเอ็มอี รวมถึงรองรับผลกระทบจากวิกฤตการเงินสหรัฐฯ เพราะถ้าหากขายสินทรัพย์ให้เอเอ็มซีอื่นจะต้องมีการเข้ามาสำรวจสินทรัพย์ทั้งหมดของธนาคาร ซึ่งอาจมีปัญหาการเปิดเผยข้อมูลของลูกค้าได้