จับตารัฐบาลหิวเลือด ฉวยสถานการณ์วิกฤต ศก.กลบข่าวการสั่งใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุม “โอฬาร” โผล่หัวแจงมาตการรับมือผลกระทบ เน้นการประคองตัวเอง พร้อมประกาศเร่งอัดฉีดนโยบายการคลัง เบิกจ่ายงบประมาณ กระตุ้นการบริโภค มั่นใจจีดีพีปีหน้าไม่ทรุด
นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงปัญหาวิกฤตการเงินในสหรัฐฯและยุโรป โดยระบุว่า รัฐบาลคงต้องใช้แนวทางการประคับประคองให้ตลาดเงิน ตลาดทุน การส่งออก และการท่องเที่ยว เพื่อไม่ให้ทรุดตัวลงไปมาก ควบคู่กับการใช้นโยบายการคลัง การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ ด้วยการใช้นโยบายงบประมาณล้างท่อ สร้างสภาพคล่องให้กับสินเชื่อเอสเอ็มอี และเร่งลงทุนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ โดยใช้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในเป็นกลไกหลักในการผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
นายโอฬาร ยอมรับว่า ปัญหาวิกฤตการเงินในสหรัฐฯและยุโรป และปัญหาการเมืองที่มีการสลายการชุมนุมที่รุนแรงภายในประเทศ ทำให้เศรษฐกิจปี 2552 มีโอกาสชะลอตัวลงมากกว่านี้ ดังนั้นแนวทางการดำเนินนโยบายของประเทศ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีประคับประคอง ไม่ให้เศรษฐกิจทรุดตัว ให้คนป่วยสามารถเดินและวิ่งได้ตามปกติ แต่เศรษฐกิจจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติเมื่อใดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างประเทศ
นายโอฬาร ยืนยันว่า ตอนนี้คงต้องประคับประคองตลาดทุนให้อยู่ในฐานะที่มีเสถียรภาพ พร้อมกับสร้างผู้ลงทุนใหม่ให้เกิดเงินทุนหมุนเวียน ตนได้หารือร่วมกับ นางภัทรียา เบญจพลชัย ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานตลาดหลักทรัพย์ เพื่อประเมินสถานการณ์ตลาดหุ้นที่ลดลง ทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่า หากพิจารณาจากพื้นฐานของหุ้นที่ลดลง ถือได้ว่าราคาหุ้นของไทยเป็นของดีราคาถูก ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น และเข้ามาซื้อหุ้น ตลาดหลักทรัพย์ จะร่วมมือกับผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทจดทะเบียน 20-30 บริษัท เข้ามาซื้อหุ้นตัวเองในตลาด
ขณะนี้มีบริษัทจดทะเบียนเข้ามาร่วมโครงการนี้แล้วหลายบริษัท อาทิเช่น ซีพีเอฟ ปตท.พีแอลเอ็น ไออาร์พีซี คิวเฮ้าส์ แลนด์แอนด์เฮ้าส์ โฮมโปร ปตท.สผ.สาเหตุที่ต้องเชิญชวนบริษัทต่างๆ เหล่านี้เข้ามาซื้อหุ้นของตัวเอง เพราะพิจารณาแนวโน้มรายได้ในอนาคต กับราคาหุ้นที่ลดลงแล้ว ราคาหุ้นลดลงมาก
“เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะนี้ต่างจากวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ที่ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนขาดทุน แต่ขณะนี้บริษัทต่างๆ ไม่ได้ขาดทุน มีเพียงแนวโน้มรายได้ในอนาคตอาจจะลดลงบ้าง แต่ราคาหุ้นกลับต่ำกว่าพื้นฐานมาก มีสาเหตุมาจากการที่คนไม่สามารถวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง จึงขายหุ้นออกมา”
นายโอฬาร กล่าวว่า ตนเองได้เสนอให้ตลาดหลักทรัพย์ พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลการซื้อขายของนักลงทุน จากปัจจุบันเปิดเผยแยกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ นักลงทุนสถาบัน รายย่อยและต่างประเทศ โดยให้แยกประเภทของนักลงทุนสถาบันให้ชัดเจนใน 4 กลุ่มย่อยคือ 1.ประเภทกองทุนเปิด 2.กลุ่มของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ 3.แมทชิ่งฟันด์ และ 4.กองทุนซื้อหุ้นคืน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนของผู้ซื้อและผู้ขาย
“ตอนนี้เรามีสภาพคล่องมาก ธนาคารพาณิชย์อย่ากลัวจนหัวหด จนไม่กล้าปล่อยสินเชื่อ เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับระบบการเงิน ต้องเข้าใจเศรษฐกิจไม่ได้มีปัญหามากมาย แถมยังมีโอกาส ระบบสถาบันการเงินไม่มีปัญหา เชื่อว่า มื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติเงินทุนจากต่างประเทศจะไหลเข้ามา ดอกเบี้ยมีโอกาสลดลง ส่วนเงินลงทุนของต่างชาติที่ขายหุ้นออกไปก่อนหน้านี้บางส่วนยังอยู่ในประเทศ โดยการนำไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล จึงเป็นเพียงการปรับพอร์ตลงทุนชั่วคราว”
ส่วนอัตราเงินเฟ้อปีหน้าคาดว่าอยู่ที่ 2-2.5% เพราะราคาน้ำมันลดลง ทำให้การบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงต้องใช้นโยบายการคลัง เพื่อทำให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศ การสนับสนุนสินเชื่อให้กับสินค้าทางการเกษตร สินเชื่อเอสเอ็มอี และการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ เข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใน เพื่อประคับประคองไม่ให้เศรษฐกิจปีหน้าทรุดตัว จากปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้น
นายโอฬาร ยังวิเคราะห์ถึงปัญหาการส่งออกและการท่องเที่ยว ที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์เงินในสหรัฐฯละยุโรป ว่า ซึ่งไทยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ และยุโรปประมาณ 20% ของสินค้าส่งออกทั้งหมด ที่เหลืออีก 80% การส่งออกไป จีน อินเดีย ออสเตรเลีย และ ตะวันออกกลาง ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจทำให้การส่งออกสินค้าบางรายการได้รับผลกระทบบ้าง เช่น สินค้าไฮเทค อัญมณี เสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องหนัง เฟอร์นิเจอร์
หากรัฐบาลไม่ทำอะไรการส่งออกในปีหน้าคงขยายตัวต่ำกว่า 15% ดังนั้น เพื่อให้การส่งออกขยายตัวมากว่า 15% รัฐบาลจึงได้ต้องจัดทำโรดโชว์ เพื่อเปิดตลาดส่งออกสินค้าใหม่ ควบคู่กับการรักษาสัดส่วนการส่งออกตลาดเก่า
ด้านการท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบหนัก เพราะการตัดสินใจเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ เป็นเรื่องปัญหาภายในประเทศโดยตรง จึงให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม ทำโรดโชว์ด้านการท่องเที่ยว โดยเจาะตลาดใหม่ ควบคู่ไปกับการส่งออกเพื่อไม่ให้การท่องเที่ยวทรุดลงมาก
นายโอฬาร ยังวิเคราะห์ว่า การแก้ปัญหาวิกฤตการเงินของสหรัฐ ด้วยการอัดฉีดเม็ดเงินลงไป 7 แสนล้านดอลลาร์ เพราะสหรัฐไม่ต้องการรักษาธนาคารธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่เหลืออยู่ 6-7 แห่งในประเทศให้อยู่รอด การแก้ปัญหานี้เป็นแนวทางเดียวกับที่ไทยใช้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว คาดว่าจะใช้เวลา 5-7 ปี กว่าที่สถาบันการเงินสหรัฐจะพื้นตัว แต่ความเสี่ยงจากการแก้ปัญหายังมี คือไม่สามารถกำหนดราคาหนี้เสียของสถบันการเงินได้ ซึ่งจะทำให้ราคาทรัพย์สินถูกกดลดลงอีก ส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐต้องนำเงินส่วนหนึ่งจาก 7 แสนล้านดอลลาร์ มาเพิ่มทุนให้สถาบันการเงิน เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่อยู่ได้
แม้แก้ปัญหาแล้ว แต่มีปัญหาว่าธนาคารพาณิชย์ของสหรัฐฯ จะปล่อยสินเชื่อได้หรือไม่ เพราะเงิน 7 แสนล้านดอลลาร์ ไม่เพียงพอต่อการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ฝากเงิน โดยเฉพาะเงินที่ธนาคารกลางของประเทศในเอเชียที่นำไปฝากไว้เป็นเงินสกุลดอลลาร์ ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ก็จะถอนเงินฝากออกจากธนาคารในสหรัฐ สุดท้ายรัฐบาลสหรัฐต้องออกมารับประกันเงินฝาก หรือไม่ก็ออกตั๋วเงินคลังให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ซื้อ ซึ่งสถานการณ์เริ่มเป็นไปในแนวทางนั้น
เมื่อสหรัฐฯหยุดปัญหาวิกฤตการเงินไม่ได้ จะให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ เปลี่ยนเงินฝากเป็นตั๋วเงินคลังสหรัฐฯ ซึ่งจะกลายเป็นประเทศลูกหนี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และกดดันให้เงินดอลลาร์อ่อนตัวลง เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ ทั้งเงินหยวนของจีน และเงินเยน ของญี่ปุ่น ส่งผลให้ความเป็นศูนย์กลางทางการเงินของสหรัฐฯหมดไป เพราะคนที่ถือเงินดอลลาร์จะประสบกับภาวะขาดทุน เมื่อแลกเป็นเงินหยวน และเงินเยน
ก่อนหน้านี้ ธนาคารกลางแห่งหนึ่ง ได้วิเคราะห์ถึงปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นแล้วถอนเงินฝากออกจากธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐแล้ว ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย มีเงินฝากในธนาคารพาณิชย์สหรัฐ เพื่อบริหารความเสี่ยงค่าเงินเช่นกัน แต่จำนวนเท่าใดต้องให้ผู้ว่าการ ธปท.ชี้แจงรายละเอียด และเชื่อว่าหาก ธปท.ถอนเงินฝากสกุลดอลลาร์ออกมาก็คงไม่กระทบกับความสัมพันธ์ เพราะไทยเป็นประเทศเล็ก
นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงปัญหาวิกฤตการเงินในสหรัฐฯและยุโรป โดยระบุว่า รัฐบาลคงต้องใช้แนวทางการประคับประคองให้ตลาดเงิน ตลาดทุน การส่งออก และการท่องเที่ยว เพื่อไม่ให้ทรุดตัวลงไปมาก ควบคู่กับการใช้นโยบายการคลัง การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ ด้วยการใช้นโยบายงบประมาณล้างท่อ สร้างสภาพคล่องให้กับสินเชื่อเอสเอ็มอี และเร่งลงทุนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ โดยใช้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในเป็นกลไกหลักในการผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
นายโอฬาร ยอมรับว่า ปัญหาวิกฤตการเงินในสหรัฐฯและยุโรป และปัญหาการเมืองที่มีการสลายการชุมนุมที่รุนแรงภายในประเทศ ทำให้เศรษฐกิจปี 2552 มีโอกาสชะลอตัวลงมากกว่านี้ ดังนั้นแนวทางการดำเนินนโยบายของประเทศ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีประคับประคอง ไม่ให้เศรษฐกิจทรุดตัว ให้คนป่วยสามารถเดินและวิ่งได้ตามปกติ แต่เศรษฐกิจจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติเมื่อใดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างประเทศ
นายโอฬาร ยืนยันว่า ตอนนี้คงต้องประคับประคองตลาดทุนให้อยู่ในฐานะที่มีเสถียรภาพ พร้อมกับสร้างผู้ลงทุนใหม่ให้เกิดเงินทุนหมุนเวียน ตนได้หารือร่วมกับ นางภัทรียา เบญจพลชัย ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานตลาดหลักทรัพย์ เพื่อประเมินสถานการณ์ตลาดหุ้นที่ลดลง ทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่า หากพิจารณาจากพื้นฐานของหุ้นที่ลดลง ถือได้ว่าราคาหุ้นของไทยเป็นของดีราคาถูก ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น และเข้ามาซื้อหุ้น ตลาดหลักทรัพย์ จะร่วมมือกับผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทจดทะเบียน 20-30 บริษัท เข้ามาซื้อหุ้นตัวเองในตลาด
ขณะนี้มีบริษัทจดทะเบียนเข้ามาร่วมโครงการนี้แล้วหลายบริษัท อาทิเช่น ซีพีเอฟ ปตท.พีแอลเอ็น ไออาร์พีซี คิวเฮ้าส์ แลนด์แอนด์เฮ้าส์ โฮมโปร ปตท.สผ.สาเหตุที่ต้องเชิญชวนบริษัทต่างๆ เหล่านี้เข้ามาซื้อหุ้นของตัวเอง เพราะพิจารณาแนวโน้มรายได้ในอนาคต กับราคาหุ้นที่ลดลงแล้ว ราคาหุ้นลดลงมาก
“เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะนี้ต่างจากวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ที่ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนขาดทุน แต่ขณะนี้บริษัทต่างๆ ไม่ได้ขาดทุน มีเพียงแนวโน้มรายได้ในอนาคตอาจจะลดลงบ้าง แต่ราคาหุ้นกลับต่ำกว่าพื้นฐานมาก มีสาเหตุมาจากการที่คนไม่สามารถวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง จึงขายหุ้นออกมา”
นายโอฬาร กล่าวว่า ตนเองได้เสนอให้ตลาดหลักทรัพย์ พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลการซื้อขายของนักลงทุน จากปัจจุบันเปิดเผยแยกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ นักลงทุนสถาบัน รายย่อยและต่างประเทศ โดยให้แยกประเภทของนักลงทุนสถาบันให้ชัดเจนใน 4 กลุ่มย่อยคือ 1.ประเภทกองทุนเปิด 2.กลุ่มของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ 3.แมทชิ่งฟันด์ และ 4.กองทุนซื้อหุ้นคืน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนของผู้ซื้อและผู้ขาย
“ตอนนี้เรามีสภาพคล่องมาก ธนาคารพาณิชย์อย่ากลัวจนหัวหด จนไม่กล้าปล่อยสินเชื่อ เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับระบบการเงิน ต้องเข้าใจเศรษฐกิจไม่ได้มีปัญหามากมาย แถมยังมีโอกาส ระบบสถาบันการเงินไม่มีปัญหา เชื่อว่า มื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติเงินทุนจากต่างประเทศจะไหลเข้ามา ดอกเบี้ยมีโอกาสลดลง ส่วนเงินลงทุนของต่างชาติที่ขายหุ้นออกไปก่อนหน้านี้บางส่วนยังอยู่ในประเทศ โดยการนำไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล จึงเป็นเพียงการปรับพอร์ตลงทุนชั่วคราว”
ส่วนอัตราเงินเฟ้อปีหน้าคาดว่าอยู่ที่ 2-2.5% เพราะราคาน้ำมันลดลง ทำให้การบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงต้องใช้นโยบายการคลัง เพื่อทำให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศ การสนับสนุนสินเชื่อให้กับสินค้าทางการเกษตร สินเชื่อเอสเอ็มอี และการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ เข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใน เพื่อประคับประคองไม่ให้เศรษฐกิจปีหน้าทรุดตัว จากปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้น
นายโอฬาร ยังวิเคราะห์ถึงปัญหาการส่งออกและการท่องเที่ยว ที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์เงินในสหรัฐฯละยุโรป ว่า ซึ่งไทยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ และยุโรปประมาณ 20% ของสินค้าส่งออกทั้งหมด ที่เหลืออีก 80% การส่งออกไป จีน อินเดีย ออสเตรเลีย และ ตะวันออกกลาง ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจทำให้การส่งออกสินค้าบางรายการได้รับผลกระทบบ้าง เช่น สินค้าไฮเทค อัญมณี เสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องหนัง เฟอร์นิเจอร์
หากรัฐบาลไม่ทำอะไรการส่งออกในปีหน้าคงขยายตัวต่ำกว่า 15% ดังนั้น เพื่อให้การส่งออกขยายตัวมากว่า 15% รัฐบาลจึงได้ต้องจัดทำโรดโชว์ เพื่อเปิดตลาดส่งออกสินค้าใหม่ ควบคู่กับการรักษาสัดส่วนการส่งออกตลาดเก่า
ด้านการท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบหนัก เพราะการตัดสินใจเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ เป็นเรื่องปัญหาภายในประเทศโดยตรง จึงให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม ทำโรดโชว์ด้านการท่องเที่ยว โดยเจาะตลาดใหม่ ควบคู่ไปกับการส่งออกเพื่อไม่ให้การท่องเที่ยวทรุดลงมาก
นายโอฬาร ยังวิเคราะห์ว่า การแก้ปัญหาวิกฤตการเงินของสหรัฐ ด้วยการอัดฉีดเม็ดเงินลงไป 7 แสนล้านดอลลาร์ เพราะสหรัฐไม่ต้องการรักษาธนาคารธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่เหลืออยู่ 6-7 แห่งในประเทศให้อยู่รอด การแก้ปัญหานี้เป็นแนวทางเดียวกับที่ไทยใช้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว คาดว่าจะใช้เวลา 5-7 ปี กว่าที่สถาบันการเงินสหรัฐจะพื้นตัว แต่ความเสี่ยงจากการแก้ปัญหายังมี คือไม่สามารถกำหนดราคาหนี้เสียของสถบันการเงินได้ ซึ่งจะทำให้ราคาทรัพย์สินถูกกดลดลงอีก ส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐต้องนำเงินส่วนหนึ่งจาก 7 แสนล้านดอลลาร์ มาเพิ่มทุนให้สถาบันการเงิน เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่อยู่ได้
แม้แก้ปัญหาแล้ว แต่มีปัญหาว่าธนาคารพาณิชย์ของสหรัฐฯ จะปล่อยสินเชื่อได้หรือไม่ เพราะเงิน 7 แสนล้านดอลลาร์ ไม่เพียงพอต่อการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ฝากเงิน โดยเฉพาะเงินที่ธนาคารกลางของประเทศในเอเชียที่นำไปฝากไว้เป็นเงินสกุลดอลลาร์ ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ก็จะถอนเงินฝากออกจากธนาคารในสหรัฐ สุดท้ายรัฐบาลสหรัฐต้องออกมารับประกันเงินฝาก หรือไม่ก็ออกตั๋วเงินคลังให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ซื้อ ซึ่งสถานการณ์เริ่มเป็นไปในแนวทางนั้น
เมื่อสหรัฐฯหยุดปัญหาวิกฤตการเงินไม่ได้ จะให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ เปลี่ยนเงินฝากเป็นตั๋วเงินคลังสหรัฐฯ ซึ่งจะกลายเป็นประเทศลูกหนี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และกดดันให้เงินดอลลาร์อ่อนตัวลง เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ ทั้งเงินหยวนของจีน และเงินเยน ของญี่ปุ่น ส่งผลให้ความเป็นศูนย์กลางทางการเงินของสหรัฐฯหมดไป เพราะคนที่ถือเงินดอลลาร์จะประสบกับภาวะขาดทุน เมื่อแลกเป็นเงินหยวน และเงินเยน
ก่อนหน้านี้ ธนาคารกลางแห่งหนึ่ง ได้วิเคราะห์ถึงปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นแล้วถอนเงินฝากออกจากธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐแล้ว ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย มีเงินฝากในธนาคารพาณิชย์สหรัฐ เพื่อบริหารความเสี่ยงค่าเงินเช่นกัน แต่จำนวนเท่าใดต้องให้ผู้ว่าการ ธปท.ชี้แจงรายละเอียด และเชื่อว่าหาก ธปท.ถอนเงินฝากสกุลดอลลาร์ออกมาก็คงไม่กระทบกับความสัมพันธ์ เพราะไทยเป็นประเทศเล็ก