ส.อ.ท.มอบมาตรการดูแลเศรษฐกิจ 8 ข้อ ทั้งอัตราดอกเบี้ย-การเงิน-ผลักดันโครงการเมะโปรเจกต์ ฯลฯ เสนอให้คลังดำเนินการต่อ เพื่อรับมือกับวิกฤตการเงินโลกหวังดูแลสภาพคล่องของประเทศไม่ให้มีปัญหา รมว.คลัง แบ่งรับแบ่งสู้ อ้างรัฐบาลต้องมาพิจารณาและหารือในที่ประชุมกันอีกครั้ง พร้อมปฎิเสธการลดภาษีนิติบุคคล
วันนี้ (3 ก.ย.) นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย ก่อนการประชุมเพื่อหาข้อเสนอแนวทางการบริหารเศรษฐกิจในภาวะปัจจุบันว่า ทางสภาอุตฯ ได้มอบมาตรการ 8 ข้อ ให้แก่กระทรวงการคลังดำเนินการต่อเพื่อช่วยลดปัญหาของเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และรองรับกับวิกฤตการเงินโลกในปัจจุบัน ดังนี้ 1.การเตรียมรับมือกับวิกฤตการเงินโลกด้วยการดูแลสภาพคล่องไม่ให้มีปัญหา กำหนดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นให้เหมาะสม หรือปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินเฟ้อลง 2.การเร่งรัดการลงทุนโครงการเมกะโปรเจ็กให้ต่อเนื่อง 3. การให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกระตุ้นการลงทุน ทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อให้บรรยากาศการลงทุนดีขึ้น
4.เร่งสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศให้กลับมา 5.จัดวงเงิน 30,000 ล้านบาท ทดแทนวงเงินเดิมของธปท. เพื่อให้โครงการที่เคยกู้เงินและเบิกใช้ยังไม่หมดมีกู้ต่อเนื่อง 6.เสนอตั้งกองทุน SME 50,000 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ 7.ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 20-25 และยกเว้นภาษีนำเข้าและอุปกรณ์ และหักค่าใช้จ่ายเป็น 2 เท่า สำหรับสินค้าที่รักษาสิ่งแวดล้อม และ 8.ต้องการให้ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล และกระทรวงด้านเศรษฐกิจจากหลายพรรคการเมืองประสานงานและร่วมมือกับเพื่อรองรับวิกฤตเศรษฐกิจของโลก
ด้าน นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า วันนี้ได้มีการประชุมหารือกับ นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อหาแนวทางบริหารเศรษฐกิจและรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดปัญหาต่อองค์กร หน่วยงานในอนาคต รวมถึงได้มีการพูดคุยเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยได้มีการพิจารณามาตรการ 8 ข้อที่สภาอุตฯ ได้นำมาเสนอ แต่ทางรัฐบาลต้องมาพิจารณาและหากันในที่ประชุมกันอีกครั้ง
สำหรับประเด็นการลดภาษี รัฐบาลคงไม่สามารถรับข้อเสนอของ ส.อ.ท.ที่ขอให้ใช้แนวทางการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชน เนื่องจากรัฐบาลยังจำเป็นต้องดำเนินนโยบายขาดดุลเพื่อพยุงเศรษฐกิจและลงทุนในระบบสาธารณูปโภคต่างๆ
“ส่วนข้อเสนออื่นๆ ก็จะรับไปศึกษา แต่ก็เห็นว่าข้อเสนอให้จัดตั้งกองทุนให้กู้ยืมในลักษณะต่างๆ นั้น โดยหลักการแล้วเอกชนควรจะดูแลกันเอง เนื่องจากรัฐบาลมีงบประมาณค่อนข้างจำกัด”
ทั้งนี้ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนครั้งนี้ จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งของทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบันได้หรือไม่ มองว่า อยู่ที่ประชาชนเป็นผู้ตัดสินว่า ประสิทธิภาพการทำงานของทีมเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพเพียงใด
ส่วนการที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าการส่งออกอยู่ที่ 19% นั้น เชื่อว่า กระทรวงพาณิชย์คงเห็นความเหมาะสมที่จะตั้งเป้าดังกล่าว และพิจารณาดีแล้ว
วันนี้ (3 ก.ย.) นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย ก่อนการประชุมเพื่อหาข้อเสนอแนวทางการบริหารเศรษฐกิจในภาวะปัจจุบันว่า ทางสภาอุตฯ ได้มอบมาตรการ 8 ข้อ ให้แก่กระทรวงการคลังดำเนินการต่อเพื่อช่วยลดปัญหาของเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และรองรับกับวิกฤตการเงินโลกในปัจจุบัน ดังนี้ 1.การเตรียมรับมือกับวิกฤตการเงินโลกด้วยการดูแลสภาพคล่องไม่ให้มีปัญหา กำหนดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นให้เหมาะสม หรือปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินเฟ้อลง 2.การเร่งรัดการลงทุนโครงการเมกะโปรเจ็กให้ต่อเนื่อง 3. การให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกระตุ้นการลงทุน ทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อให้บรรยากาศการลงทุนดีขึ้น
4.เร่งสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศให้กลับมา 5.จัดวงเงิน 30,000 ล้านบาท ทดแทนวงเงินเดิมของธปท. เพื่อให้โครงการที่เคยกู้เงินและเบิกใช้ยังไม่หมดมีกู้ต่อเนื่อง 6.เสนอตั้งกองทุน SME 50,000 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ 7.ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 20-25 และยกเว้นภาษีนำเข้าและอุปกรณ์ และหักค่าใช้จ่ายเป็น 2 เท่า สำหรับสินค้าที่รักษาสิ่งแวดล้อม และ 8.ต้องการให้ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล และกระทรวงด้านเศรษฐกิจจากหลายพรรคการเมืองประสานงานและร่วมมือกับเพื่อรองรับวิกฤตเศรษฐกิจของโลก
ด้าน นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า วันนี้ได้มีการประชุมหารือกับ นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อหาแนวทางบริหารเศรษฐกิจและรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดปัญหาต่อองค์กร หน่วยงานในอนาคต รวมถึงได้มีการพูดคุยเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยได้มีการพิจารณามาตรการ 8 ข้อที่สภาอุตฯ ได้นำมาเสนอ แต่ทางรัฐบาลต้องมาพิจารณาและหากันในที่ประชุมกันอีกครั้ง
สำหรับประเด็นการลดภาษี รัฐบาลคงไม่สามารถรับข้อเสนอของ ส.อ.ท.ที่ขอให้ใช้แนวทางการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชน เนื่องจากรัฐบาลยังจำเป็นต้องดำเนินนโยบายขาดดุลเพื่อพยุงเศรษฐกิจและลงทุนในระบบสาธารณูปโภคต่างๆ
“ส่วนข้อเสนออื่นๆ ก็จะรับไปศึกษา แต่ก็เห็นว่าข้อเสนอให้จัดตั้งกองทุนให้กู้ยืมในลักษณะต่างๆ นั้น โดยหลักการแล้วเอกชนควรจะดูแลกันเอง เนื่องจากรัฐบาลมีงบประมาณค่อนข้างจำกัด”
ทั้งนี้ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนครั้งนี้ จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งของทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบันได้หรือไม่ มองว่า อยู่ที่ประชาชนเป็นผู้ตัดสินว่า ประสิทธิภาพการทำงานของทีมเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพเพียงใด
ส่วนการที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าการส่งออกอยู่ที่ 19% นั้น เชื่อว่า กระทรวงพาณิชย์คงเห็นความเหมาะสมที่จะตั้งเป้าดังกล่าว และพิจารณาดีแล้ว