PTTAR ยอมรับค่าการกลั่นรวมเฉลี่ยปีนี้หดเหลือ 6 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ต่ำกว่าปีที่แล้ว 40% หลังราคาน้ำมันร่วง คาดอีก 1 เดือน โรงกลั่นกลับมาเดินได้อย่างสมบูรณ์ หลังซ่อมหน่วยไฮโดรแครก เสร็จ แย้มจับมือ ปตท.มองดูลู่ทางการตั้งโรงอะโรเมติกส์ในเวียดนามด้วย
นายชายน้อย เผื่อนโกสุม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) (PTTAR) เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัท คาดว่า ค่าการกลั่นเฉลี่ยรวมปิโตรเคมี (Gross Integrated Margin) จะอยู่ที่ 6 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ต่ำกว่าปีที่แล้วที่ค่าการกลั่นเฉลี่ยอยู่ที่ 10 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เนื่องจากไตรมาส 4/2550 ราคาน้ำมันปรับตัวสูงมากทำให้ค่าการกลั่นปรับตัวขึ้น แต่ปีนี้ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปปรับตัวลดลงช่วงนี้ และมาร์จินอะโรเมติกส์ในครึ่งปีแรกไม่ดี แม้ว่าครึ่งปีหลังมาร์จินอะโรเมติกส์จะสูงขึ้นก็ตาม ซึ่งการปรับลดลงของค่าการกลั่นเฉลี่ยรวมดังกล่าวนี้ จะทำให้กำไรสุทธิของ PTTAR น่าจะต่ำกว่าปีที่แล้วที่มีกำไรสุทธิรวม 1.8 หมื่นล้านบาท
“ขณะนี้น้ำมันดิบและสำเร็จรูปปรับลงมาก ทำให้สเปรดมาร์จินเบนซินและน้ำมันดิบดีขึ้นจากไตรมาส 2 ที่ผ่านมา อยู่ที่ 2-3 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ขยับขึ้นเป็น 13-14 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ดังนั้น คาดว่า มาร์จินการกลั่นในปีนี้ยังดีอยู่ ส่วนราคาคอนเดนเสทได้ปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบ ทำให้สเปรดมาร์จินของพาราไซลีนและเบนซีนกลับมาดีขึ้นอยู่ที่ 300 -400 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน”
ทั้งนี้ หากราคาน้ำมันสำเร็จรูปปรับตัวลดลง บริษัทคงได้รับผลกระทบไม่มาก เนื่องจากมีการทำการป้องกันความเสี่ยง (เฮดจิ้ง) การขายสเปรดน้ำมันล่วงหน้าคิดเป็น 47% ของกำลังการผลิต ซึ่งจะช่วยไม่ให้มาร์จินการกลั่นลดลง
นายชายน้อย กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ บมจ.ปตท.ได้ชักชวนบริษัทเข้าไปหาโอกาสการลงทุนโรงอะโรเมติกส์ที่เวียดนาม โดยจะมองจังหวะการลงทุนที่เหมาะสมและความเป็นไปได้ ขณะเดียวกัน บริษัทก็ศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนต่อยอดดาวน์สตรีมผลิตเบนซีน หรือ เบนซีน เดลิเวทิฟ ซึ่งอยู่ระหว่างการหารือกับพันธมิตรฯ 2-3 ราย โดยมองโอกาสในการเข้าไปร่วมถือหุ้นในส่วนขยายกำลังการผลิตของคาโปรแลคตัม และโครงการผลิตสไตรีน โมโนเมอร์ เป็นต้น เพื่อให้มีตลาดรองรับเบนซีน ซึ่งบริษัทจะส่งออกเบนซีนประมาณ 1 แสนกว่าตัน/ปี (หลังโรงอะโรเมติกส์ 2 เสร็จ)
**** คาดอีก 1 เดือนกลับมากลั่นได้ตามปกติ
ส่วนความคืบหน้าการปิดซ่อมหน่วยไฮโดรแครกเกอร์ของโรงกลั่น ว่า ขณะนี้บริษัทได้ปรับเปลี่ยนตัวแคตเตอริสติกแล้ว คาดว่า จะสามารถเดินเครื่องหน่วยการกลั่นน้ำมันดิบ (Crude Unit) 1.45 แสนบาร์เรล/วันได้ภายในวันที่ 19-20 ก.ย.นี้ แต่เนื่องจากยังต้องปิดหน่วยไฮโดรแครก ทำให้น้ำมันดีเซลที่ผลิตได้ในช่วงแรกจะลดลงจากเดิม 50% ของกำลังการผลิต จะเหลือเพียง 20-25% ของกำลังการผลิต
อย่างไรก็ตาม บริษัทคาดว่า จะดำเนินซ่อมและดำเนินการผลิตในหน่วยไฮโดรแครกได้ภายใน 30 วัน และจะเปลี่ยนอุปกรณ์แคตเตอริสติกก่อนล่วงหน้า 3 เดือน เพื่อจะได้ไม่ต้องหยุดปิดซ่อมบำรุงในปีหน้า
นอกจากนี้ บริษัทจะเคลมประกันจากอุบัติเหตุการปิดซ่อมบำรุงและรายได้ที่หายไป คาดว่าจะชดเชยค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ได้
ส่วนความคืบหน้าโครงการอะโรเมติกส์ 2 คาดว่า จะผลิตเชิงพาณิชย์ได้สิ้น ก.ย.นี้ ทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 1.1 ล้านตันเป็น 2.2 ล้านตัน/ปี ทำให้ปีนี้บริษัทฯมีการผลิตอะโรเมติกส์เพิ่มขึ้นเป็น 1.4 ล้านตัน/ปี
นายชายน้อย กล่าวถึงกรณีที่โรงกลั่นน้ำมันใหม่ของอินเดียจะผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในปลายปีนี้ว่าโรงกลั่นน้ำมันดังกล่าวจะส่งผลกระทบให้มาร์จินการกลั่นลดลงบ้าง แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้น้ำมันของสหรัฐฯและยุโรป เพราะเดิมอินเดียมีแผนจะส่งออกเบนซินไปสหรัฐฯ และน้ำมันดีเซลไปยุโรป ขณะเดียวกัน อินเดียมีความต้องการใช้น้ำมันมากเฉลี่ยวันละ 3 ล้านบาร์เรล และจีนก็ใช้น้ำมันอยู่ที่ 7.5 ล้านบาร์เรล/วัน ขณะเดียวกัน ตะวันออกกลางก็มีการลงทุนค่อนข้างมากทำให้มีความต้องการใช้น้ำมัน ดังนั้น โรงกลั่นน้ำมันอินเดียที่จะเริ่มผลิตก็ไม่น่าเป็นปัญหาใหญ่
นายชายน้อย เผื่อนโกสุม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) (PTTAR) เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัท คาดว่า ค่าการกลั่นเฉลี่ยรวมปิโตรเคมี (Gross Integrated Margin) จะอยู่ที่ 6 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ต่ำกว่าปีที่แล้วที่ค่าการกลั่นเฉลี่ยอยู่ที่ 10 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เนื่องจากไตรมาส 4/2550 ราคาน้ำมันปรับตัวสูงมากทำให้ค่าการกลั่นปรับตัวขึ้น แต่ปีนี้ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปปรับตัวลดลงช่วงนี้ และมาร์จินอะโรเมติกส์ในครึ่งปีแรกไม่ดี แม้ว่าครึ่งปีหลังมาร์จินอะโรเมติกส์จะสูงขึ้นก็ตาม ซึ่งการปรับลดลงของค่าการกลั่นเฉลี่ยรวมดังกล่าวนี้ จะทำให้กำไรสุทธิของ PTTAR น่าจะต่ำกว่าปีที่แล้วที่มีกำไรสุทธิรวม 1.8 หมื่นล้านบาท
“ขณะนี้น้ำมันดิบและสำเร็จรูปปรับลงมาก ทำให้สเปรดมาร์จินเบนซินและน้ำมันดิบดีขึ้นจากไตรมาส 2 ที่ผ่านมา อยู่ที่ 2-3 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ขยับขึ้นเป็น 13-14 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ดังนั้น คาดว่า มาร์จินการกลั่นในปีนี้ยังดีอยู่ ส่วนราคาคอนเดนเสทได้ปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบ ทำให้สเปรดมาร์จินของพาราไซลีนและเบนซีนกลับมาดีขึ้นอยู่ที่ 300 -400 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน”
ทั้งนี้ หากราคาน้ำมันสำเร็จรูปปรับตัวลดลง บริษัทคงได้รับผลกระทบไม่มาก เนื่องจากมีการทำการป้องกันความเสี่ยง (เฮดจิ้ง) การขายสเปรดน้ำมันล่วงหน้าคิดเป็น 47% ของกำลังการผลิต ซึ่งจะช่วยไม่ให้มาร์จินการกลั่นลดลง
นายชายน้อย กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ บมจ.ปตท.ได้ชักชวนบริษัทเข้าไปหาโอกาสการลงทุนโรงอะโรเมติกส์ที่เวียดนาม โดยจะมองจังหวะการลงทุนที่เหมาะสมและความเป็นไปได้ ขณะเดียวกัน บริษัทก็ศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนต่อยอดดาวน์สตรีมผลิตเบนซีน หรือ เบนซีน เดลิเวทิฟ ซึ่งอยู่ระหว่างการหารือกับพันธมิตรฯ 2-3 ราย โดยมองโอกาสในการเข้าไปร่วมถือหุ้นในส่วนขยายกำลังการผลิตของคาโปรแลคตัม และโครงการผลิตสไตรีน โมโนเมอร์ เป็นต้น เพื่อให้มีตลาดรองรับเบนซีน ซึ่งบริษัทจะส่งออกเบนซีนประมาณ 1 แสนกว่าตัน/ปี (หลังโรงอะโรเมติกส์ 2 เสร็จ)
**** คาดอีก 1 เดือนกลับมากลั่นได้ตามปกติ
ส่วนความคืบหน้าการปิดซ่อมหน่วยไฮโดรแครกเกอร์ของโรงกลั่น ว่า ขณะนี้บริษัทได้ปรับเปลี่ยนตัวแคตเตอริสติกแล้ว คาดว่า จะสามารถเดินเครื่องหน่วยการกลั่นน้ำมันดิบ (Crude Unit) 1.45 แสนบาร์เรล/วันได้ภายในวันที่ 19-20 ก.ย.นี้ แต่เนื่องจากยังต้องปิดหน่วยไฮโดรแครก ทำให้น้ำมันดีเซลที่ผลิตได้ในช่วงแรกจะลดลงจากเดิม 50% ของกำลังการผลิต จะเหลือเพียง 20-25% ของกำลังการผลิต
อย่างไรก็ตาม บริษัทคาดว่า จะดำเนินซ่อมและดำเนินการผลิตในหน่วยไฮโดรแครกได้ภายใน 30 วัน และจะเปลี่ยนอุปกรณ์แคตเตอริสติกก่อนล่วงหน้า 3 เดือน เพื่อจะได้ไม่ต้องหยุดปิดซ่อมบำรุงในปีหน้า
นอกจากนี้ บริษัทจะเคลมประกันจากอุบัติเหตุการปิดซ่อมบำรุงและรายได้ที่หายไป คาดว่าจะชดเชยค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ได้
ส่วนความคืบหน้าโครงการอะโรเมติกส์ 2 คาดว่า จะผลิตเชิงพาณิชย์ได้สิ้น ก.ย.นี้ ทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 1.1 ล้านตันเป็น 2.2 ล้านตัน/ปี ทำให้ปีนี้บริษัทฯมีการผลิตอะโรเมติกส์เพิ่มขึ้นเป็น 1.4 ล้านตัน/ปี
นายชายน้อย กล่าวถึงกรณีที่โรงกลั่นน้ำมันใหม่ของอินเดียจะผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในปลายปีนี้ว่าโรงกลั่นน้ำมันดังกล่าวจะส่งผลกระทบให้มาร์จินการกลั่นลดลงบ้าง แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้น้ำมันของสหรัฐฯและยุโรป เพราะเดิมอินเดียมีแผนจะส่งออกเบนซินไปสหรัฐฯ และน้ำมันดีเซลไปยุโรป ขณะเดียวกัน อินเดียมีความต้องการใช้น้ำมันมากเฉลี่ยวันละ 3 ล้านบาร์เรล และจีนก็ใช้น้ำมันอยู่ที่ 7.5 ล้านบาร์เรล/วัน ขณะเดียวกัน ตะวันออกกลางก็มีการลงทุนค่อนข้างมากทำให้มีความต้องการใช้น้ำมัน ดังนั้น โรงกลั่นน้ำมันอินเดียที่จะเริ่มผลิตก็ไม่น่าเป็นปัญหาใหญ่