เครือปตท. 4 แห่ง โชว์ผลงานงวดครึ่งปีแรก ฟันกำไรสุทธิรวม 5.4 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเกือบ 1.4 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 35% "ปตท.สผ." นำโด่งกำไรสุทธิรวม 2.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 57% ขณะที่ "ไออาร์พีซี" รายเดียวที่กำไรสุทธิ 6.7 พันล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 12%
ตลอดระยะเวลา 6 เดือนแรกของปี 2551 ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตของบริษัทจดทะเบียนต่างๆ เพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มพลังงานกลับได้รับอานิสงส์จากปัจจัยดังกล่าว โดยเฉพาะบริษัทในเครือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ที่ล้วนแล้วแต่ได้รับผลดีและมีผลประกอบการครึ่งปีแรกปรับตัวดีขึ้น
ผู้จัดการรายวัน ได้สำรวจผลประกอบการของกลุ่มบมจ. ปตท. ที่แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศรวม 4 ราย จากจำนวนทั้งหมด 7 ราย ประกอบด้วย บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC) บมจ.ปตท.เคมีคอล (PTTCH) บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) และบมจ.ไทยออยล์ (TOP) พบว่า บริษัทส่วนใหญ่มีผลการดำเนินงานดีขึ้น คือมีกำไรสุทธิรวม 54,070.55 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิ 40,095.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13,974.93 ล้าบาท หรือคิดเป็น 34.85%
หากพิจารณาความสามารถในการทำกำไรของบริษัทพบว่า PTTEP สามารถทำกำไรสุทธิได้สูงสุดถึง 21,901.66 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกำไรสุทธิ 13,929.20 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 57.24% ตามด้วย TOP และ PTTCH ที่มีกำไรสุทธิ 14,419.56 ล้านบาท และ 10,995.47 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่ IRPC เป็นเพียงบริษัทเดียวที่มีกำไรสุทธิลดลง คือ กำไรสุทธิ 6,753.86 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่กำไรสุทธิ 7,714.63 ล้านบาท หรือกำไรสุทธิลดลงกว่า 960.77 ล้านบาท คิดเป็น 12.45%
***PTTCH กำไรทะยานกว่า 86%
นายอดิเทพ พิศาลบุตร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTCH กล่าวว่า ไตรมาส 2/51 บริษัทมีกำไรสุทธิ 5,280.25 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 3.53 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 3,215.07 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 2.16 บาท ขณะที่งวด 6 เดือนแรกกำไรสุทธิ 10,995.47 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 7.35 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่กำไรสุทธิ 5,889.60 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 3.95 บาท หรือมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 5,105.87 ล้านบาท คิดเป็น 86.69%
โดยสาเหตุที่ทำให้ PTTCH มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปี 50 เป็นผลจากการปรับตัวสูงขึ้นของปริมาณการผลิตและราคาผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น มีสาเหตุหลักมาจากการปิดโรงโอเลฟินส์ I1 เพื่อซ่อมบำรุงเครื่องจักรเป็นเวลา 46 วัน ในไตรมาส 2/50 รวมทั้งบริษัท ไทยโอลีโอเคมี จำกัด (TOL) ได้เริ่มทำการผลิตเชิงพาณิชย์ของหน่วยผลิต Methyl Ester ในเดือนกุมภาพันธ์ 51
ขณะเดียวกันราคาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ในไตรมาส 2/51 ได้ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาแนฟทา ที่ปรับตัวสูงขึ้นจาก 672 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 1,027 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือเพิ่มขึ้น 53% รวมถึงราคาผลิตภัณฑ์ได้ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน โดย HDPE ปรับตัวเพิ่มขึ้น จาก 1,300 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 1,679 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือเพิ่มขึ้น 29% และ MEG จาก 976 เหรียญสหรัฐต่อตันเป็น 1,257 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือเพิ่มขึ้น 29% ส่งผลให้ส่วนต่างราคา HDPE-แนฟทา ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 653 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น4% ในขณะที่ส่วนต่างราคา MEG-แนฟทา ปรับตัวลดลงเป็น 230 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือลดลง 24%
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวัตถุดิบหลักของบริษัทเป็นก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีราคาผันผวนน้อยกว่าราคาแนฟทา (MOPS) ที่แปรผันตามราคาน้ำมันดิบ ดังนั้นส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบของบริษัทฯ (ก๊าซธรรมชาติ) จึงปรับตัวขึ้นสูงกว่าส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์และแนฟทา (MOPS) (ไตรมาส 2/51 บริษัทใช้วัตถุดิบเป็นก๊าซธรรมชาติ 85% ขณะที่ไตรมาส 2/50 ใช้วัตถุดิบเป็นก๊าซธรรมชาติ 70%)
***IRPC กำไร 6 เดือนแรกหด 960 ล.
สำหรับบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC กำไรสุทธิ 5,125.74 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.26 บาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิ 4,957.00 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 025 บาท ขณะที่งวด 6 เดือนกำไรสุทธิ 6,753.86 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.35 บาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 7,714.63 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.40 บาท หรือกำไรสุทธิลดลง 960.77 ล้านบาท คิดเป็น 12.45%
นางไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานแผนและพัฒนาธุรกิจ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC กล่าวว่า ไตรมาส 2/51 บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่ม 168.74 ล้านบาท หรือ 3.40% โดยมีรายได้จากการขายจำนวน 73,739.53 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนที่ 55,276.24 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18,463.29 ล้านบาท คิดเป็น 33% ขณะที่ต้นทุนขายเพิ่มขึ้น 16,751.76 ล้านบาท คิดเป็น 33% เป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นทำให้ราคาขายของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพิ่มขึ้นตาม ส่งผลให้มีกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น 1,711.53 ล้านบาท คิดเป็น 34% โดยบริษัทมีระดับการกลั่นน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 183,115 บาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนที่ 189,640 บาร์เรลต่อวัน
***ไทยออยล์ ครึ่งปีกำไรพุ่ง 15%
ด้านบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP กำไรสุทธิ 10,545.59 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 5.17 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 6,619.38 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 3.24 บาท ขณะที่งวด 6 เดือนกำไรสุทธิ 14,419.56 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 7.07 บาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 12,562.19 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 6.16 บาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 1,857.37 ล้านบาท คิดเป็น 14.79%
นายสมเกียรติ หัตถโกศล รองกรรมการอำนวยการ-ด้านธุรกิจ รักษาการกรรมการอำนวยการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP กล่าวว่า ไตรมาส 2/51 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้จากการขาย 126,953 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 54,883 ล้านบาท เนื่องจากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นภายหลังการขยายกำลังการผลิตของหน่วยกลั่นน้ำมันดิบหน่วยที่ 3 และโรงงานผลิตสารพาราไซลีนที่แล้วเสร็จในไตรมาส 4/50 และไตรมาส 2/51 ตามลำดับ รวมถึงผลจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้บริษัทมีกำไรจากสต๊อกน้ำมันคงเหลือเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้บริษัทมี EBITDA จำนวน 17,252 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7,644 ล้านบาท แต่จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าในไตรมาสนี้ 2.04 บาทต่อเหรียญสหรัฐ จาก 31.62 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นไตรมาส 1/51 มาปิดที่ 33.66 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นไตรมาส 2/51 ทำให้มีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 1,431 ล้านบาท จากปีก่อนกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 446 ล้านบาท
สำหรับผลประกอบการงวด 6 เดือนแรก ปี 51 บริษัทมีรายได้จากการขาย 223,266 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 86,768 ล้านบาท จากการขยายการผลิตของกลุ่มและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยมี EBITDA จำนวน 23,058 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,078 ล้านบาท
ตลอดระยะเวลา 6 เดือนแรกของปี 2551 ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตของบริษัทจดทะเบียนต่างๆ เพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มพลังงานกลับได้รับอานิสงส์จากปัจจัยดังกล่าว โดยเฉพาะบริษัทในเครือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ที่ล้วนแล้วแต่ได้รับผลดีและมีผลประกอบการครึ่งปีแรกปรับตัวดีขึ้น
ผู้จัดการรายวัน ได้สำรวจผลประกอบการของกลุ่มบมจ. ปตท. ที่แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศรวม 4 ราย จากจำนวนทั้งหมด 7 ราย ประกอบด้วย บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC) บมจ.ปตท.เคมีคอล (PTTCH) บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) และบมจ.ไทยออยล์ (TOP) พบว่า บริษัทส่วนใหญ่มีผลการดำเนินงานดีขึ้น คือมีกำไรสุทธิรวม 54,070.55 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิ 40,095.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13,974.93 ล้าบาท หรือคิดเป็น 34.85%
หากพิจารณาความสามารถในการทำกำไรของบริษัทพบว่า PTTEP สามารถทำกำไรสุทธิได้สูงสุดถึง 21,901.66 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกำไรสุทธิ 13,929.20 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 57.24% ตามด้วย TOP และ PTTCH ที่มีกำไรสุทธิ 14,419.56 ล้านบาท และ 10,995.47 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่ IRPC เป็นเพียงบริษัทเดียวที่มีกำไรสุทธิลดลง คือ กำไรสุทธิ 6,753.86 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่กำไรสุทธิ 7,714.63 ล้านบาท หรือกำไรสุทธิลดลงกว่า 960.77 ล้านบาท คิดเป็น 12.45%
***PTTCH กำไรทะยานกว่า 86%
นายอดิเทพ พิศาลบุตร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTCH กล่าวว่า ไตรมาส 2/51 บริษัทมีกำไรสุทธิ 5,280.25 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 3.53 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 3,215.07 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 2.16 บาท ขณะที่งวด 6 เดือนแรกกำไรสุทธิ 10,995.47 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 7.35 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่กำไรสุทธิ 5,889.60 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 3.95 บาท หรือมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 5,105.87 ล้านบาท คิดเป็น 86.69%
โดยสาเหตุที่ทำให้ PTTCH มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปี 50 เป็นผลจากการปรับตัวสูงขึ้นของปริมาณการผลิตและราคาผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น มีสาเหตุหลักมาจากการปิดโรงโอเลฟินส์ I1 เพื่อซ่อมบำรุงเครื่องจักรเป็นเวลา 46 วัน ในไตรมาส 2/50 รวมทั้งบริษัท ไทยโอลีโอเคมี จำกัด (TOL) ได้เริ่มทำการผลิตเชิงพาณิชย์ของหน่วยผลิต Methyl Ester ในเดือนกุมภาพันธ์ 51
ขณะเดียวกันราคาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ในไตรมาส 2/51 ได้ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาแนฟทา ที่ปรับตัวสูงขึ้นจาก 672 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 1,027 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือเพิ่มขึ้น 53% รวมถึงราคาผลิตภัณฑ์ได้ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน โดย HDPE ปรับตัวเพิ่มขึ้น จาก 1,300 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 1,679 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือเพิ่มขึ้น 29% และ MEG จาก 976 เหรียญสหรัฐต่อตันเป็น 1,257 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือเพิ่มขึ้น 29% ส่งผลให้ส่วนต่างราคา HDPE-แนฟทา ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 653 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น4% ในขณะที่ส่วนต่างราคา MEG-แนฟทา ปรับตัวลดลงเป็น 230 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือลดลง 24%
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวัตถุดิบหลักของบริษัทเป็นก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีราคาผันผวนน้อยกว่าราคาแนฟทา (MOPS) ที่แปรผันตามราคาน้ำมันดิบ ดังนั้นส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบของบริษัทฯ (ก๊าซธรรมชาติ) จึงปรับตัวขึ้นสูงกว่าส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์และแนฟทา (MOPS) (ไตรมาส 2/51 บริษัทใช้วัตถุดิบเป็นก๊าซธรรมชาติ 85% ขณะที่ไตรมาส 2/50 ใช้วัตถุดิบเป็นก๊าซธรรมชาติ 70%)
***IRPC กำไร 6 เดือนแรกหด 960 ล.
สำหรับบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC กำไรสุทธิ 5,125.74 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.26 บาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิ 4,957.00 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 025 บาท ขณะที่งวด 6 เดือนกำไรสุทธิ 6,753.86 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.35 บาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 7,714.63 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.40 บาท หรือกำไรสุทธิลดลง 960.77 ล้านบาท คิดเป็น 12.45%
นางไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานแผนและพัฒนาธุรกิจ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC กล่าวว่า ไตรมาส 2/51 บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่ม 168.74 ล้านบาท หรือ 3.40% โดยมีรายได้จากการขายจำนวน 73,739.53 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนที่ 55,276.24 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18,463.29 ล้านบาท คิดเป็น 33% ขณะที่ต้นทุนขายเพิ่มขึ้น 16,751.76 ล้านบาท คิดเป็น 33% เป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นทำให้ราคาขายของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพิ่มขึ้นตาม ส่งผลให้มีกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น 1,711.53 ล้านบาท คิดเป็น 34% โดยบริษัทมีระดับการกลั่นน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 183,115 บาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนที่ 189,640 บาร์เรลต่อวัน
***ไทยออยล์ ครึ่งปีกำไรพุ่ง 15%
ด้านบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP กำไรสุทธิ 10,545.59 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 5.17 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 6,619.38 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 3.24 บาท ขณะที่งวด 6 เดือนกำไรสุทธิ 14,419.56 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 7.07 บาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 12,562.19 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 6.16 บาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 1,857.37 ล้านบาท คิดเป็น 14.79%
นายสมเกียรติ หัตถโกศล รองกรรมการอำนวยการ-ด้านธุรกิจ รักษาการกรรมการอำนวยการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP กล่าวว่า ไตรมาส 2/51 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้จากการขาย 126,953 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 54,883 ล้านบาท เนื่องจากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นภายหลังการขยายกำลังการผลิตของหน่วยกลั่นน้ำมันดิบหน่วยที่ 3 และโรงงานผลิตสารพาราไซลีนที่แล้วเสร็จในไตรมาส 4/50 และไตรมาส 2/51 ตามลำดับ รวมถึงผลจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้บริษัทมีกำไรจากสต๊อกน้ำมันคงเหลือเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้บริษัทมี EBITDA จำนวน 17,252 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7,644 ล้านบาท แต่จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าในไตรมาสนี้ 2.04 บาทต่อเหรียญสหรัฐ จาก 31.62 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นไตรมาส 1/51 มาปิดที่ 33.66 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นไตรมาส 2/51 ทำให้มีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 1,431 ล้านบาท จากปีก่อนกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 446 ล้านบาท
สำหรับผลประกอบการงวด 6 เดือนแรก ปี 51 บริษัทมีรายได้จากการขาย 223,266 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 86,768 ล้านบาท จากการขยายการผลิตของกลุ่มและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยมี EBITDA จำนวน 23,058 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,078 ล้านบาท