โกลว์ ลงนามซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ.บนเงื่อนไขที่ยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนค่าไฟฟ้า แม้ต้นทุนก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกัน คาดเซ็นสัญญาโครงการไอพีพีใหม่ เร็วๆ นี้ บริษัทยันไม่มีผลกระทบต่อการจ่ายเงินปันผล เพราะเงินทุนทั้งหมดมาจากกระแสเงินสดและกู้ยืมของบริษัท
นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยหลังการร่วมลงนามระหว่าง กฟผ.กับบริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด วานนี้ (10 ก.ย.) ว่า เป็นการลงนามซื้อขายไฟฟ้าจากโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) รอบใหม่เป็นโรงแรก ซึ่งจะผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินในนิคมมาบตาพุด จ.ระยอง กำลังการผลิต 660 เมกะวัตต์ มีอายุสัญญา 25 ปี โดยจะเริ่มจ่ายไฟเข้าระบบตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2554
ทั้งนี้ กลุ่มบริษัท โกลว์ ถือหุ้นในบริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด ร้อยละ 65 ซึ่งโครงการนี้จะเพิ่มความหลากหลายในการใช้เชื้อเพลิงของประเทศ และเป็นการเสนอขายไฟฟ้าในราคาที่ถูกให้แก่ กฟผ.อีกทั้งยังเป็นโครงการที่รักษาสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน เพราะได้รับอนุมัติรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้วตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2551 ที่ผ่านมา
นายสมบัติ กล่าวว่า สัญญาการรับซื้อไฟดังกล่าวยังไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนค่าไฟ แม้ว่าต้นทุนค่าก่อสร้างจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากวัสดุก่อสร้างแพงขึ้น ส่วนโครงการไอพีพีอื่น ขณะนี้ได้ผ่านการพิจารณาจากอนุกรรมการกำกับกิจการไฟฟ้า ในเรื่องอัตราค่าบริการแล้ว 2 ราย จาก 4 ราย รวมกำลังการผลิต 4,400 เมกะวัตต์ คาดว่า จะมีลงนามสัญญาซื้อขายไฟได้เร็วๆ นี้
นายอนุตร จาติกวณิช กรรมการบริหารกลุ่มบริษัท โกลว์พลังงาน กล่าวว่า ยอมรับว่า ค่าก่อสร้างได้ปรับสูงขึ้น แต่บริษัทยืนยันตามอัตราค่าไฟไว้ตั้งแต่เริ่มแรกตั้งแต่เข้าประมูลไอพีพี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบ โดยมีบริษัท ดูซาน เฮฟวี่ อินดัสตรี แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ประเทศเกาหลี เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง นับเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีเทคโนโลยีทันสมัย
โครงการดังกล่าวใช้งบลงทุนรวม 1,150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับเชื้อเพลิงจะใช้ถ่านหินจากอินโดนีเซีย ซึ่งจัดซื้อจาก 2 บริษัทหลัก คือ เคทีซี และ อาร์โดร่า ขณะที่แหล่งเงินทุนจะมาจากการกู้ยืมเงิน 800 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 70% ของมูลค่าการลงทุน โดยจะกู้เงินสกุลบาท ประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คาดว่า จะลงนามการกู้เงินได้ภายในสิ้นเดือนนี้ ซึ่งบริษัทยืนยันว่า เงินทุนทั้งหมดนี้จะมาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินการและการกู้ยืมเงินของบริษัท ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อการจ่ายเงินปันผลในเกณฑ์ปรกติที่นักลงทุนคาดหวังไว้
นอกจากนี้ บริษัทยังอยู่ระหว่างการเจรจากับ ซุเอท กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานจากยุโรป เพื่อที่จะเข้าไปซื้อหุ้นในโครงการโรงไฟฟ้าห้วยเฮาะ ส.ป.ป.ลาว เนื่องจาก ซุเอท กรุ๊ป ถือหุ้นอยู่ในโรงไฟฟ้าห้วยเฮาะ 80% ซึ่งบริษัทสนใจจะซื้อหุ้น 67.5% คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 1,700 ล้านบาท ขณะที่กลุ่มเหมราชสนใจซื้อหุ้นดังกล่าว 10% ซึ่งโครงการดังกล่าวจะมีการเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท โกลว์ ในวันที่ 12 ก.ย.นี้
โดยโครงการนี้ จะเพิ่มกำลังการผลิตให้กลุ่มบริษัท โกลว์ อีกกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 2554 เพราะบริษัทยังได้ทำสัญญาซื้อขายไอน้ำจำนวน 378 ตันต่อชั่วโมง กับกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขนาดใหญ่หลายราย เพิ่มเติมจากสัญญาการเป็นผู้ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ที่ได้รับจาก กฟผ.จำนวน 74 เมกะวัตต์ อีกด้วย
นายปีเตอร์ เทอร์โมท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกลว์พลังงาน จำกัด (มหาชน) หรือ GLOW กล่าวว่า โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่นี้จะช่วยให้ประเทศลดระดับการพึ่งพาการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานในอนาคตลง และเป็นการเสนอขายไฟฟ้าในราคาที่เหมาะสมให้กับ กฟผ.ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการขยายธุรกิจขนาดใหญ่ของบริษัท ระหว่างปี 2551-2554 นี้จะมีการใช้เงินทุนของบริษัทมูลค่ากว่า 900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับการขยายทั้ง 3 โครงการ ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาแห่งความสำเร็จของบริษัท
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป ผลประกอบการของบริษัทจะเพิ่มขึ้นอย่างมากจากกำลังการผลิตใหม่นี้ และภายในปี 2554 โกลว์จะมีขนาดใหญ่กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทั้งในด้านของขนาดและรายได้
นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยหลังการร่วมลงนามระหว่าง กฟผ.กับบริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด วานนี้ (10 ก.ย.) ว่า เป็นการลงนามซื้อขายไฟฟ้าจากโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) รอบใหม่เป็นโรงแรก ซึ่งจะผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินในนิคมมาบตาพุด จ.ระยอง กำลังการผลิต 660 เมกะวัตต์ มีอายุสัญญา 25 ปี โดยจะเริ่มจ่ายไฟเข้าระบบตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2554
ทั้งนี้ กลุ่มบริษัท โกลว์ ถือหุ้นในบริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด ร้อยละ 65 ซึ่งโครงการนี้จะเพิ่มความหลากหลายในการใช้เชื้อเพลิงของประเทศ และเป็นการเสนอขายไฟฟ้าในราคาที่ถูกให้แก่ กฟผ.อีกทั้งยังเป็นโครงการที่รักษาสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน เพราะได้รับอนุมัติรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้วตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2551 ที่ผ่านมา
นายสมบัติ กล่าวว่า สัญญาการรับซื้อไฟดังกล่าวยังไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนค่าไฟ แม้ว่าต้นทุนค่าก่อสร้างจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากวัสดุก่อสร้างแพงขึ้น ส่วนโครงการไอพีพีอื่น ขณะนี้ได้ผ่านการพิจารณาจากอนุกรรมการกำกับกิจการไฟฟ้า ในเรื่องอัตราค่าบริการแล้ว 2 ราย จาก 4 ราย รวมกำลังการผลิต 4,400 เมกะวัตต์ คาดว่า จะมีลงนามสัญญาซื้อขายไฟได้เร็วๆ นี้
นายอนุตร จาติกวณิช กรรมการบริหารกลุ่มบริษัท โกลว์พลังงาน กล่าวว่า ยอมรับว่า ค่าก่อสร้างได้ปรับสูงขึ้น แต่บริษัทยืนยันตามอัตราค่าไฟไว้ตั้งแต่เริ่มแรกตั้งแต่เข้าประมูลไอพีพี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบ โดยมีบริษัท ดูซาน เฮฟวี่ อินดัสตรี แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ประเทศเกาหลี เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง นับเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีเทคโนโลยีทันสมัย
โครงการดังกล่าวใช้งบลงทุนรวม 1,150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับเชื้อเพลิงจะใช้ถ่านหินจากอินโดนีเซีย ซึ่งจัดซื้อจาก 2 บริษัทหลัก คือ เคทีซี และ อาร์โดร่า ขณะที่แหล่งเงินทุนจะมาจากการกู้ยืมเงิน 800 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 70% ของมูลค่าการลงทุน โดยจะกู้เงินสกุลบาท ประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คาดว่า จะลงนามการกู้เงินได้ภายในสิ้นเดือนนี้ ซึ่งบริษัทยืนยันว่า เงินทุนทั้งหมดนี้จะมาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินการและการกู้ยืมเงินของบริษัท ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อการจ่ายเงินปันผลในเกณฑ์ปรกติที่นักลงทุนคาดหวังไว้
นอกจากนี้ บริษัทยังอยู่ระหว่างการเจรจากับ ซุเอท กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานจากยุโรป เพื่อที่จะเข้าไปซื้อหุ้นในโครงการโรงไฟฟ้าห้วยเฮาะ ส.ป.ป.ลาว เนื่องจาก ซุเอท กรุ๊ป ถือหุ้นอยู่ในโรงไฟฟ้าห้วยเฮาะ 80% ซึ่งบริษัทสนใจจะซื้อหุ้น 67.5% คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 1,700 ล้านบาท ขณะที่กลุ่มเหมราชสนใจซื้อหุ้นดังกล่าว 10% ซึ่งโครงการดังกล่าวจะมีการเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท โกลว์ ในวันที่ 12 ก.ย.นี้
โดยโครงการนี้ จะเพิ่มกำลังการผลิตให้กลุ่มบริษัท โกลว์ อีกกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 2554 เพราะบริษัทยังได้ทำสัญญาซื้อขายไอน้ำจำนวน 378 ตันต่อชั่วโมง กับกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขนาดใหญ่หลายราย เพิ่มเติมจากสัญญาการเป็นผู้ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ที่ได้รับจาก กฟผ.จำนวน 74 เมกะวัตต์ อีกด้วย
นายปีเตอร์ เทอร์โมท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกลว์พลังงาน จำกัด (มหาชน) หรือ GLOW กล่าวว่า โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่นี้จะช่วยให้ประเทศลดระดับการพึ่งพาการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานในอนาคตลง และเป็นการเสนอขายไฟฟ้าในราคาที่เหมาะสมให้กับ กฟผ.ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการขยายธุรกิจขนาดใหญ่ของบริษัท ระหว่างปี 2551-2554 นี้จะมีการใช้เงินทุนของบริษัทมูลค่ากว่า 900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับการขยายทั้ง 3 โครงการ ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาแห่งความสำเร็จของบริษัท
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป ผลประกอบการของบริษัทจะเพิ่มขึ้นอย่างมากจากกำลังการผลิตใหม่นี้ และภายในปี 2554 โกลว์จะมีขนาดใหญ่กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทั้งในด้านของขนาดและรายได้