รมช.คลัง เบรก กนง.ปรับขึ้นดอกเบี้ย สอนแบงก์ชาติยอมรับความเห็นที่แตกต่างหวั่นคนมีความรู้หมดกำลังใจทำงานเพื่อชาติ โวทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลทำงานมากว่า 30-40 ปี เข้าใจการแก้ปัญหาเงินเฟ้อดี ด้านที่ปรึกษาเศรษฐกิจนายกฯ จี้ ธปท.แจง หากขึ้นดอกเบี้ยมีจุดประสงค์อะไร ทำไมต้องขึ้น และขึ้นเพื่ออะไร สภาพัฒน์ปรับจีดีพีตลอดทั้งปี เพิ่มขึ้น 5.7% ชี้ ครึ่งปีหลังจะชะลอตัวกว่าครึ่งปีระบุเป็นเพราะคาดจีดีพีไว้ต่ำตั้งแต่ต้นปี จากความกลัวเงินเฟ้อพุ่ง เพ้อ!! 6 มาตรการ 6 เดือน รบ.หมัก ออกมาช่วยและราคาน้ำมันลดลง ตัวเลขเงินเฟ้อไม่สูงตามคาด
นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ยืนยันแนวคิดเรื่องดอกเบี้ย โดยเห็นว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 27 ส.ค.นี้ ไม่ควรปรับขึ้นดอกเบี้ยและวอนสังคมรวมทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ยอมรับความเห็นที่แตกต่าง โดยต้องมององค์รวมเศรษฐกิจ ไม่เช่นนั้นจะไม่มีใครกล้าเข้ามาทำงานให้ประเทศชาติอีก
ซึ่งในการบริหารจัดการเศรษฐกิจนั้น ต้องใช้ทั้งความรู้และทฤษฎีที่ถูกต้องพอสมควรและจากการทำงานมา 30 ปี ขณะที่ นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีทำงานมา 40 ปี เห็นตรงกันว่าภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ ไม่ใช่ผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อ แต่เป็นเรื่องสินค้าแพง จากที่ผู้ประกอบการต้องปรับขึ้นราคา ขณะที่ปัจจุบันเงินในระบบก็ไม่ได้มีอยู่มาก หากขึ้นดอกเบี้ย จะยิ่งส่งผลกระทบหนักขึ้น โดยผู้ประกอบการจะมีภาระเพิ่มขึ้น ก็อาจลดต้นทุนด้วยการลดกำลังผลิตและปลดคนงาน ขณะที่ประชาชนจะมีต้นทุนเรื่องการผ่อนชำระสูงขึ้น ทั้งบ้าน รถยนต์ และอื่นๆ ยิ่งเป็นการซ้ำเติมทำให้มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันต้องจ่ายเรื่องอาหารขนส่ง และค่าครองชีพอื่นๆ เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว
“ผมมองว่า ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ย และเงินเฟ้อ อยู่ในระดับสูง สินค้ามีราคาแพง จึงไม่เอื้อให้ปรับขึ้นดอกเบี้ย เพราะจะกระทบต่อภาระค่าครองชีพของประชาชน โดยในเวลานี้ ดอกเบี้ยกับเงินเฟ้อของประเทศไทยนั้น อยู่ในระดับที่สูงแล้ว จึงควรเร่งการเจริญเติบโตมากกว่า เพราะระบบเศรษฐกิจของประเทศยังเล็ก นอกจากนี้ ธปท.ควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ เพราะนโยบายการเงินที่ผิดพลาดในอดีตได้สร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจประเทศไทย”
ทั้งนี้ ภาวะปัจจุบันไม่ใช่เรื่องการเลือกข้าง แต่ต้องดูเรื่องระบบเศรษฐกิจให้ลึกซึ้ง ไม่เช่นนั้นคนที่มีความรู้ ก็จะหมดกำลังใจไม่กล้าเข้าทำงาน ที่ผ่านมา ไม่ใช่ว่าสถาบันอิสระ จะทำงานถูกต้องเสนอไป เช่น กรณีวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ปี 2540 การออกมาตรการกันสำรอง 30% เมื่อเดือน ธ.ค.2549 ที่ทำให้เกิดความเสียหายถึง 800,000 ล้านบาท
***โกร่งจี้แบงก์ชาติแจงเหตุผลขึ้นดอกเบี้ย
ด้าน นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานที่ปรึกษาทรงคุณวุฒิ ด้านเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากการที่ กนง.มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกนั้น ในความเห็นส่วนตัวแล้วไม่เห็นด้วย แต่คงไม่สามารถให้ความเห็นอื่นได้นอกเหนือจากนี้ได้ เนื่องจากขณะนี้เขาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี อาจทำให้เข้าใจผิดว่ารัฐบาลไปกดดันทาง ธปท.ไม่ให้มีความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบายทางการเงิน
“การที่จะประกาศขึ้นดอกเบี้ยอยากให้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาชี้แจงรายละเอียดด้วยว่า การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกนั้นมีจุดประสงค์อะไร ทำไมต้องขึ้น และขึ้นเพื่ออะไร” นายวีรพงษ์ กล่าว
***สศช.ปรับเพิ่มจีดีพีทั้งปี 5.7%
นายอำพน กิติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) แถลงถึงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ว่า มีการขยายตัว 5.3% ชะลอตัวลงจาก 6.1% ในไตรมาสแรก จากอุปสงค์ภายในประเทศ เมื่อรวมครึ่งปีเศรษฐกิจขยายตัว 5.7% สูงกว่าที่คาดไว้จากการส่งออกที่เป็นแรงสนับสนุนสำคัญ แต่อุปสงค์ในประเทศยังอ่อนแอ โดยที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ณ ราคาแท้จริงหดตัว และการใช้จ่ายภาคเอกชนชะลอตัว ทำให้ประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจทั้งปีจากเดิม ที่คาดไว้ 4.5-5.5% เพิ่มขึ้นเป็น 5.2-5.7% โดยชะลอตัวลงในครึ่งหลังของปี
“การที่ สศช.ได้ประมาณจีดีพีแต่เดิมว่าทั้งปีอยูในระดับต่ำ และมาปรับให้สูงขึ้นเป็นเพราะช่วงต้นปีคาดไว้ว่าเงินเฟ้อตลอดทั้งปีจะอยู่ในระดับสูง แต่ผลจากที่รัฐบาลได้ออก6 มาตรการ 6เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทยทุกคน เชื่อว่าจะทำให้เงินเฟ้อในไตรมาส 3 จะเพิ่มขึ้นไม่ถึง 2 หลัก โดยคาดเงินเฟ้อทั้งปีที่ 6.5-7%” นายอำพน กล่าว
เลขาธิการสภาพัฒน์ เห็นว่า จาการที่ราคาน้ำมันในตลาดโกลเริ่มลดต่ำลงทำให้สบายใจขึ้น คาดว่า ทั้งปีราคาจะเฉลี่ย 110 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ประชาชนใช้น้ำมันลดลง 16.1% และใช้เอ็นจีวีเพิ่มขึ้น 220.2 % โดยเฉพาะส่งออกปีนี้เป็นแรงผลักดันจีดีพีอย่างมาก โดย 7 เดือนที่ผ่านมา การส่งออกขยายตัวถึง 27.4% เมื่อรวมปัจจัยทั้งหมดแล้ว จีดีพีจะสูงกว่าที่สภาพัฒน์คาดการณ์ไว้เดิมที่ระดับต่ำจะขยายตัว 4.5% แน่ และคิดว่า จะไม่ต่ำกว่า 5.2% อาจจะสูงกว่า 5.7%ก็ได้
***เร่งรัดเบิกจ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจปลายปี
ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาส 2 ถือว่า ยังมีเสถียรภาพ แต่แรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากและดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล โดยไตรมาส 2 เงินเฟ้อทั่วไป 7.2% และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 308 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากที่เกินดุล 3,068 ล้านเหรียญสหรัฐฯในไตรมาสแรก ซึ่งเป็นผลจากที่ราคาน้ำมันนำเข้าสูงขึ้นมาก และคนไทยมีรายจ่ายด้านการท่องเที่ยวต่างประเทศสูงขึ้น และเป็นช่วงส่งกลับกำไรและผลตอบแทนของการลงทุนจากต่างประเทศ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนลดลง 4.3% การใช้จ่ายภาครัฐ ลดลง 2.4% และการลงทุนภาครัฐลดลง 5.2%
ขณะที่ครึ่งหลังของปี รัฐบาลต้องเร่งดำเนินนโยบายใน 4 มาตรการเพื่อกำกับดูแลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ตามเป้าหมาย คือ การเร่งรัดการเบิกจ่ายของรัฐบาลให้เกิดขึ้นโดยเร็วหรือต้องเร่งรัดทุก 2 อาทิตย์ และให้เริ่มตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2552 (ต.ค.-ธ.ค.) เป็นต้นไป รวมถึงการเบิกจ่ายงบเอสเอ็มแอลให้ถึงมือชาวบ้านโดยเร็ว, เร่งรัดดูแลราคาสินค้าเกษตรอย่างใกล้ชิด เพราะผลผลิตกำลังจะออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก โดยให้กำหนดนโยบายเรื่องพลังงานทดแทนให้ชัดเจนจะได้วางแผนการใช้ผลผลิตให้ถูกต้อง และเตรียมรับมือปริมาณข้าวที่กำลังจะออกสู่ตลาด, เร่งติดตามผลของการใช้ 6 มาตรการ 6 เดือน ว่า มีผลมากน้อยเพียงใด ที่สำคัญที่ สศช.ถือเป็นหัวใจหลักที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง คือ การสร้างมาตรการเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับนักลงทุน
นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ยืนยันแนวคิดเรื่องดอกเบี้ย โดยเห็นว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 27 ส.ค.นี้ ไม่ควรปรับขึ้นดอกเบี้ยและวอนสังคมรวมทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ยอมรับความเห็นที่แตกต่าง โดยต้องมององค์รวมเศรษฐกิจ ไม่เช่นนั้นจะไม่มีใครกล้าเข้ามาทำงานให้ประเทศชาติอีก
ซึ่งในการบริหารจัดการเศรษฐกิจนั้น ต้องใช้ทั้งความรู้และทฤษฎีที่ถูกต้องพอสมควรและจากการทำงานมา 30 ปี ขณะที่ นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีทำงานมา 40 ปี เห็นตรงกันว่าภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ ไม่ใช่ผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อ แต่เป็นเรื่องสินค้าแพง จากที่ผู้ประกอบการต้องปรับขึ้นราคา ขณะที่ปัจจุบันเงินในระบบก็ไม่ได้มีอยู่มาก หากขึ้นดอกเบี้ย จะยิ่งส่งผลกระทบหนักขึ้น โดยผู้ประกอบการจะมีภาระเพิ่มขึ้น ก็อาจลดต้นทุนด้วยการลดกำลังผลิตและปลดคนงาน ขณะที่ประชาชนจะมีต้นทุนเรื่องการผ่อนชำระสูงขึ้น ทั้งบ้าน รถยนต์ และอื่นๆ ยิ่งเป็นการซ้ำเติมทำให้มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันต้องจ่ายเรื่องอาหารขนส่ง และค่าครองชีพอื่นๆ เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว
“ผมมองว่า ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ย และเงินเฟ้อ อยู่ในระดับสูง สินค้ามีราคาแพง จึงไม่เอื้อให้ปรับขึ้นดอกเบี้ย เพราะจะกระทบต่อภาระค่าครองชีพของประชาชน โดยในเวลานี้ ดอกเบี้ยกับเงินเฟ้อของประเทศไทยนั้น อยู่ในระดับที่สูงแล้ว จึงควรเร่งการเจริญเติบโตมากกว่า เพราะระบบเศรษฐกิจของประเทศยังเล็ก นอกจากนี้ ธปท.ควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ เพราะนโยบายการเงินที่ผิดพลาดในอดีตได้สร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจประเทศไทย”
ทั้งนี้ ภาวะปัจจุบันไม่ใช่เรื่องการเลือกข้าง แต่ต้องดูเรื่องระบบเศรษฐกิจให้ลึกซึ้ง ไม่เช่นนั้นคนที่มีความรู้ ก็จะหมดกำลังใจไม่กล้าเข้าทำงาน ที่ผ่านมา ไม่ใช่ว่าสถาบันอิสระ จะทำงานถูกต้องเสนอไป เช่น กรณีวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ปี 2540 การออกมาตรการกันสำรอง 30% เมื่อเดือน ธ.ค.2549 ที่ทำให้เกิดความเสียหายถึง 800,000 ล้านบาท
***โกร่งจี้แบงก์ชาติแจงเหตุผลขึ้นดอกเบี้ย
ด้าน นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานที่ปรึกษาทรงคุณวุฒิ ด้านเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากการที่ กนง.มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกนั้น ในความเห็นส่วนตัวแล้วไม่เห็นด้วย แต่คงไม่สามารถให้ความเห็นอื่นได้นอกเหนือจากนี้ได้ เนื่องจากขณะนี้เขาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี อาจทำให้เข้าใจผิดว่ารัฐบาลไปกดดันทาง ธปท.ไม่ให้มีความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบายทางการเงิน
“การที่จะประกาศขึ้นดอกเบี้ยอยากให้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาชี้แจงรายละเอียดด้วยว่า การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกนั้นมีจุดประสงค์อะไร ทำไมต้องขึ้น และขึ้นเพื่ออะไร” นายวีรพงษ์ กล่าว
***สศช.ปรับเพิ่มจีดีพีทั้งปี 5.7%
นายอำพน กิติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) แถลงถึงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ว่า มีการขยายตัว 5.3% ชะลอตัวลงจาก 6.1% ในไตรมาสแรก จากอุปสงค์ภายในประเทศ เมื่อรวมครึ่งปีเศรษฐกิจขยายตัว 5.7% สูงกว่าที่คาดไว้จากการส่งออกที่เป็นแรงสนับสนุนสำคัญ แต่อุปสงค์ในประเทศยังอ่อนแอ โดยที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ณ ราคาแท้จริงหดตัว และการใช้จ่ายภาคเอกชนชะลอตัว ทำให้ประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจทั้งปีจากเดิม ที่คาดไว้ 4.5-5.5% เพิ่มขึ้นเป็น 5.2-5.7% โดยชะลอตัวลงในครึ่งหลังของปี
“การที่ สศช.ได้ประมาณจีดีพีแต่เดิมว่าทั้งปีอยูในระดับต่ำ และมาปรับให้สูงขึ้นเป็นเพราะช่วงต้นปีคาดไว้ว่าเงินเฟ้อตลอดทั้งปีจะอยู่ในระดับสูง แต่ผลจากที่รัฐบาลได้ออก6 มาตรการ 6เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทยทุกคน เชื่อว่าจะทำให้เงินเฟ้อในไตรมาส 3 จะเพิ่มขึ้นไม่ถึง 2 หลัก โดยคาดเงินเฟ้อทั้งปีที่ 6.5-7%” นายอำพน กล่าว
เลขาธิการสภาพัฒน์ เห็นว่า จาการที่ราคาน้ำมันในตลาดโกลเริ่มลดต่ำลงทำให้สบายใจขึ้น คาดว่า ทั้งปีราคาจะเฉลี่ย 110 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ประชาชนใช้น้ำมันลดลง 16.1% และใช้เอ็นจีวีเพิ่มขึ้น 220.2 % โดยเฉพาะส่งออกปีนี้เป็นแรงผลักดันจีดีพีอย่างมาก โดย 7 เดือนที่ผ่านมา การส่งออกขยายตัวถึง 27.4% เมื่อรวมปัจจัยทั้งหมดแล้ว จีดีพีจะสูงกว่าที่สภาพัฒน์คาดการณ์ไว้เดิมที่ระดับต่ำจะขยายตัว 4.5% แน่ และคิดว่า จะไม่ต่ำกว่า 5.2% อาจจะสูงกว่า 5.7%ก็ได้
***เร่งรัดเบิกจ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจปลายปี
ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาส 2 ถือว่า ยังมีเสถียรภาพ แต่แรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากและดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล โดยไตรมาส 2 เงินเฟ้อทั่วไป 7.2% และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 308 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากที่เกินดุล 3,068 ล้านเหรียญสหรัฐฯในไตรมาสแรก ซึ่งเป็นผลจากที่ราคาน้ำมันนำเข้าสูงขึ้นมาก และคนไทยมีรายจ่ายด้านการท่องเที่ยวต่างประเทศสูงขึ้น และเป็นช่วงส่งกลับกำไรและผลตอบแทนของการลงทุนจากต่างประเทศ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนลดลง 4.3% การใช้จ่ายภาครัฐ ลดลง 2.4% และการลงทุนภาครัฐลดลง 5.2%
ขณะที่ครึ่งหลังของปี รัฐบาลต้องเร่งดำเนินนโยบายใน 4 มาตรการเพื่อกำกับดูแลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ตามเป้าหมาย คือ การเร่งรัดการเบิกจ่ายของรัฐบาลให้เกิดขึ้นโดยเร็วหรือต้องเร่งรัดทุก 2 อาทิตย์ และให้เริ่มตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2552 (ต.ค.-ธ.ค.) เป็นต้นไป รวมถึงการเบิกจ่ายงบเอสเอ็มแอลให้ถึงมือชาวบ้านโดยเร็ว, เร่งรัดดูแลราคาสินค้าเกษตรอย่างใกล้ชิด เพราะผลผลิตกำลังจะออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก โดยให้กำหนดนโยบายเรื่องพลังงานทดแทนให้ชัดเจนจะได้วางแผนการใช้ผลผลิตให้ถูกต้อง และเตรียมรับมือปริมาณข้าวที่กำลังจะออกสู่ตลาด, เร่งติดตามผลของการใช้ 6 มาตรการ 6 เดือน ว่า มีผลมากน้อยเพียงใด ที่สำคัญที่ สศช.ถือเป็นหัวใจหลักที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง คือ การสร้างมาตรการเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับนักลงทุน