ธุรกิจโรงเรียนสอนดำน้ำแข็งใจสู้ หลังต้นทุนพุ่ง 10-15% จากราคาน้ำมัน หันลดต้นทุนค่าบริหารจัดการแทนการขึ้นราคา วอนรัฐคุมกำเนิดการจดทะเบียนโรงเรียนฝึกสอนปรับสมดุลดีมานด์ซัปพลาย พร้อมปลุก “วีระศักดิ์” ตื่นจากฝัน กับแนวคิดตั้งสมาคมดำน้ำแห่งประเทศไทย หวังโกยรายได้จากการออกใบอนุญาต ระบุ ตลาดนี้ผู้ซื้อเป็นคนเลือก แนะหากทำจริงต้องใช้เวลา เหตุต้องสร้างแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับของต่างชาติ
นายพลัง ยิ้มพานิชย์ กรรมการอาวุโส ชมรมผู้สอนดำน้ำไทย หรือ TUIC (Thai Underwater Instructors Club) เปิดเผยว่า จากแนวคิดการจัดตั้งสมาคมดำน้ำแห่งประเทศไทย ของ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ได้เตรียมยื่นเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ที่จะเร็วๆ นี้ เริ่มประชุมเป็นนัดแรกนั้น โดยมีจุดประสงค์หลัก เพื่อเป็นหน่วยงานออกใบอนุญาตดำน้ำ และจัดระเบียบให้แก่ธุรกิจดำน้ำ ช่วยสร้างรายได้เข้าประเทศ ในฐานะภาคเอกชน มองว่า เป็นแนวคิดที่ดี แต่มีความเป็นไปได้น้อย
ทั้งนี้ เพราะใบอนุญาต หรือประกาศนียบัตร ที่โรงเรียนออกให้แก่ผู้ผ่านหลักสูตรดำน้ำนั้น จะต้องมาจากองค์กรที่มีความเป็นสากล เป็นที่ยอมรับได้ในต่างประเทศ โดยผู้เรียนจะเป็นผู้เลือกเองว่าต้องการเรียนในหลักสูตรของใคร เพื่อจะได้ประกาศนียบัตรของหน่วยงานนั้น ดังนั้น การสร้างหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานสากลยังไม่เพียงพอ แต่รัฐบาลต้องสร้างให้เกิดการยอมรับจากผู้เรียน ซึ่งในที่นี้คือผู้ซื้อ เพราะนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มาเรียนดำน้ำส่วนใหญ่เกือบ 99% เป็นชาวต่างชาติ ตลาดคนไทยมีไม่เกิน 3-5% เท่านั้น
ปัจจุบันใบรับรองที่ออกจากสถาบันฝึกสอนดำน้ำในประเทศไทย จะซึ่งลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตรมาจากสถาบันในประเทศอเมริกา และยุโรปเป็นหลัก เช่น NAVI , CMAS และ PADI ทำให้รายได้จากการออกใบอนุญาตไม่ได้ตกอยู่ในประเทศไทยทั้งหมด ขณะที่ไทยเป็นตลาดดำน้ำที่ใหญ่ โดยมีรายงานจาก PADI ในปี 2549 ระบุว่า มีนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเรียนดำน้ำจากประเทศไทย โดยผ่านหลักสูตรของ PADI เป็นจำนวนถึง 8 หมื่นคน ส่วนตัวเลขจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ก็ระบุว่า นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเรียนหลักสูตรดำน้ำ ถือเป็นนักท่องเที่ยวระดับบน เพราะ มีการใช้จ่ายต่อคนสูงเฉลี่ย 3,000-10,000 บาท ซึ่งเฉพาะหลักสูตรดำน้ำพื้นฐาน จะ เสียค่าเรียนประมาณ 7,500 บาท ต่อคน
อย่างไรกก็ตาม โรงเรียนสอนดำน้ำเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากภาวะราคาน้ำมันแพง เนื่องจากต้องใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงในการออกเรือเพื่อไปดำน้ำในกลางทะเล จึงส่งผลให้ต้นทุนดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้น 10-15% ขณะนี้ธุรกิจยังคงมีการแข่งขันรุนแรงมาโดยตลอด ผู้ประกอบการจึงไม่สามารถปรับขึ้นราคาได้ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จึงหันมาปรับลดค่าใช้จ่ายในส่วนอื่น ประคองธุรกิจให้อยู่รอด และมีกำไรจากการดำเนินงานเพียง 10% หรือน้อยกว่า
ทั้งนี้ จากสถานการณ์การแข่งขันในธุรกิจโรงเรียนสอนดำนำ ที่มีความรุนแรงต่อเนื่องมานาน 3-4 ปี ส่งผลให้ธุรกิจนี้มีกำไรลดลงอย่างต่อเนื่อง จากอดีตเคยกำไร 25-30% ลดมาเหลือ 10-15% ในปีก่อน และปีนี้กำไรธุรกิจก็น่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 10% เป็นผลให้ผู้ที่อยู่ในธุรกิจนี้ ปิดกิจการก็มาก แต่ก็เปิดใหม่จำนวนมาก เช่นกัน เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ที่มีมูลค่าสูงต่อปี ทำรายได้เข้าประเทศนับพันล้านบาท หากรัฐบาลมีการควบคุมคุณภาพมาตรฐาน และปริมาณ ให้สมดุลกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการ ก็จะช่วยให้ผู้ประกอบการคนไทยอยู่รอดได้ เนื่องจากธุรกิจนี้มีทั้งเจ้าของเป็นคนไทย และ ชาวต่างชาติ
นายพลัง กล่าวอีกว่า สำหรับสถานการณ์นักท่องเที่ยวดำน้ำปีนี้ ยังไม่สามารถตอบได้ว่าจะเป็นเช่นใด เพราะขณะนี้อยู่ในช่วงฤดูฝน เป็นโลว์ซีซันของการดำน้ำ ต้องรอให้ถึงเดือนตุลาคม จะพอคาดเดาสถานการณ์ได้ แต่เบื้องต้น คาดว่า ตลาดน่าจะซบเซาลงบ้างในส่วนของตลาดคนไทย เพราะ ดำน้ำเป็นกิจกรรมสันทนาการ ส่วนตลาดต่างประเทศ ขึ้นกับว่า จำนวนนักท่องเที่ยวปลายปีนี้ จะมากหรือน้อย ซึ่งตลาดระยะไกล ที่ต้องเสียค่าเซอร์ชาร์จน้ำมันในการเดินทางจำนวนมากอาจหดตัวลงได้ เช่น อเมริกา และยุโรป
นายพลัง ยิ้มพานิชย์ กรรมการอาวุโส ชมรมผู้สอนดำน้ำไทย หรือ TUIC (Thai Underwater Instructors Club) เปิดเผยว่า จากแนวคิดการจัดตั้งสมาคมดำน้ำแห่งประเทศไทย ของ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ได้เตรียมยื่นเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ที่จะเร็วๆ นี้ เริ่มประชุมเป็นนัดแรกนั้น โดยมีจุดประสงค์หลัก เพื่อเป็นหน่วยงานออกใบอนุญาตดำน้ำ และจัดระเบียบให้แก่ธุรกิจดำน้ำ ช่วยสร้างรายได้เข้าประเทศ ในฐานะภาคเอกชน มองว่า เป็นแนวคิดที่ดี แต่มีความเป็นไปได้น้อย
ทั้งนี้ เพราะใบอนุญาต หรือประกาศนียบัตร ที่โรงเรียนออกให้แก่ผู้ผ่านหลักสูตรดำน้ำนั้น จะต้องมาจากองค์กรที่มีความเป็นสากล เป็นที่ยอมรับได้ในต่างประเทศ โดยผู้เรียนจะเป็นผู้เลือกเองว่าต้องการเรียนในหลักสูตรของใคร เพื่อจะได้ประกาศนียบัตรของหน่วยงานนั้น ดังนั้น การสร้างหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานสากลยังไม่เพียงพอ แต่รัฐบาลต้องสร้างให้เกิดการยอมรับจากผู้เรียน ซึ่งในที่นี้คือผู้ซื้อ เพราะนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มาเรียนดำน้ำส่วนใหญ่เกือบ 99% เป็นชาวต่างชาติ ตลาดคนไทยมีไม่เกิน 3-5% เท่านั้น
ปัจจุบันใบรับรองที่ออกจากสถาบันฝึกสอนดำน้ำในประเทศไทย จะซึ่งลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตรมาจากสถาบันในประเทศอเมริกา และยุโรปเป็นหลัก เช่น NAVI , CMAS และ PADI ทำให้รายได้จากการออกใบอนุญาตไม่ได้ตกอยู่ในประเทศไทยทั้งหมด ขณะที่ไทยเป็นตลาดดำน้ำที่ใหญ่ โดยมีรายงานจาก PADI ในปี 2549 ระบุว่า มีนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเรียนดำน้ำจากประเทศไทย โดยผ่านหลักสูตรของ PADI เป็นจำนวนถึง 8 หมื่นคน ส่วนตัวเลขจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ก็ระบุว่า นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเรียนหลักสูตรดำน้ำ ถือเป็นนักท่องเที่ยวระดับบน เพราะ มีการใช้จ่ายต่อคนสูงเฉลี่ย 3,000-10,000 บาท ซึ่งเฉพาะหลักสูตรดำน้ำพื้นฐาน จะ เสียค่าเรียนประมาณ 7,500 บาท ต่อคน
อย่างไรกก็ตาม โรงเรียนสอนดำน้ำเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากภาวะราคาน้ำมันแพง เนื่องจากต้องใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงในการออกเรือเพื่อไปดำน้ำในกลางทะเล จึงส่งผลให้ต้นทุนดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้น 10-15% ขณะนี้ธุรกิจยังคงมีการแข่งขันรุนแรงมาโดยตลอด ผู้ประกอบการจึงไม่สามารถปรับขึ้นราคาได้ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จึงหันมาปรับลดค่าใช้จ่ายในส่วนอื่น ประคองธุรกิจให้อยู่รอด และมีกำไรจากการดำเนินงานเพียง 10% หรือน้อยกว่า
ทั้งนี้ จากสถานการณ์การแข่งขันในธุรกิจโรงเรียนสอนดำนำ ที่มีความรุนแรงต่อเนื่องมานาน 3-4 ปี ส่งผลให้ธุรกิจนี้มีกำไรลดลงอย่างต่อเนื่อง จากอดีตเคยกำไร 25-30% ลดมาเหลือ 10-15% ในปีก่อน และปีนี้กำไรธุรกิจก็น่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 10% เป็นผลให้ผู้ที่อยู่ในธุรกิจนี้ ปิดกิจการก็มาก แต่ก็เปิดใหม่จำนวนมาก เช่นกัน เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ที่มีมูลค่าสูงต่อปี ทำรายได้เข้าประเทศนับพันล้านบาท หากรัฐบาลมีการควบคุมคุณภาพมาตรฐาน และปริมาณ ให้สมดุลกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการ ก็จะช่วยให้ผู้ประกอบการคนไทยอยู่รอดได้ เนื่องจากธุรกิจนี้มีทั้งเจ้าของเป็นคนไทย และ ชาวต่างชาติ
นายพลัง กล่าวอีกว่า สำหรับสถานการณ์นักท่องเที่ยวดำน้ำปีนี้ ยังไม่สามารถตอบได้ว่าจะเป็นเช่นใด เพราะขณะนี้อยู่ในช่วงฤดูฝน เป็นโลว์ซีซันของการดำน้ำ ต้องรอให้ถึงเดือนตุลาคม จะพอคาดเดาสถานการณ์ได้ แต่เบื้องต้น คาดว่า ตลาดน่าจะซบเซาลงบ้างในส่วนของตลาดคนไทย เพราะ ดำน้ำเป็นกิจกรรมสันทนาการ ส่วนตลาดต่างประเทศ ขึ้นกับว่า จำนวนนักท่องเที่ยวปลายปีนี้ จะมากหรือน้อย ซึ่งตลาดระยะไกล ที่ต้องเสียค่าเซอร์ชาร์จน้ำมันในการเดินทางจำนวนมากอาจหดตัวลงได้ เช่น อเมริกา และยุโรป