โทรีเซนไทยฯ กำไรสุทธิปี 51 รวมเกือบ 8.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3.8 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 77% ขณะที่กำไรสุทธิต่อหุ้นสูงถึง 13.63 บาท หลังอัตราค่าระวางเรือและค่าเช่าเพิ่มขึ้นส่งผลให้มีรายได้รวมกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท
ม.ล.จันทรจุฑา จันทรทัต กรรมการผู้จัดการ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA กล่าวถึง ผลการดำเนินงานประจำงวด 1 ปี สิ้นสุด 30 กันยายน 2551 ว่า บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 8,776.44 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 13.63 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 4,961.95 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 7.71 บาท หรือมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 3,814.49 ล้านบาท คิดเป็น 76.87%
ทั้งนี้ บริษัทมีรายได้จากการดำเนินงานรวม 35,146.15 ล้านบาท รายจ่ายจากการดำเนินงาน 23,359.38 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เท่ากับ 2,831.62 ล้านบาท จากอัตราค่าระวางเรือ อัตราค่าเช่าเรือและอัตราการใช้ประโยชน์จากเรือในธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง รวมทั้งรายได้จากธุรกิจวิศวกรรมโยธาใต้น้ำที่อยู่ในระดับสูง แม้จะถูกหักกลบด้วยส่วนแบ่งกำไรจากส่วนงานธุรกิจขุดเจาะที่ต่ำกว่าเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้
ด้านฐานะการเงิน บริษัทเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น 7,782.64 ล้านบาท โดยมีเงินสดรับจากกิจกรรมการดำเนินงานและกิจกรรมการจัดหาเงิน 11,340.02 ล้านบาท และ 2,612.65 ล้านบาท ตามลำดับ และใช้เงินจำนวน 6,281.04 ล้านบาทในกิจกรรมการลงทุน รวมถึงยานสำรวจใต้น้ำแบบใช้รีโมทคอนโทรล ซึ่งใช้ในน้ำลึก (deepwater remotely operated vehicle) ค่าซ่อมเรือที่เข้าอู่แห้ง (dry-docking) สะสม 2,976.34 ล้านบาท และ 1,082.34 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะเดียวกันบริษัทได้ชำระคืนหนี้เงินกู้ 1,470.20 ล้านบาท และกู้ยืมเงิน 324.69 ล้านบาท
สำหรับรายได้จากกลุ่มธุรกิจหลักทั้ง 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มแรก ธุรกิจเรืองบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง มีผลกำไรสุทธิ 8,389.26 ล้านบาท ไม่รวมผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 119.25% แต่หากไม่รวมการตั้งสำรองค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผลประโยชน์ของพนักงานแล้ว อัตรากำไรสุทธิในปี 2551 จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 116.59%
ทั้งนี้ ในปี 2551 บริษัทได้ทำสัญญารับขนส่งสินค้าล่วงหน้าแบบเช่าเหมาลำเป็นระยะเวลาไว้แล้ว 23.17% โดยมีอัตราค่าระวางเรือถัวเฉลี่ย 15,086 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวัน ในปี 2552 บริษัทได้ทำสัญญารับขนส่งสินค้าล่วงหน้าแบบเช่าเหมาลำเป็นระยะเวลาไว้แล้ว 8.07% ของระวางบรรทุกสินค้าทั้งหมด โดยมีอัตราค่าระวางเรือถัวเฉลี่ย 17,673 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวัน รวมทั้งได้ทำสัญญารับขนส่งสินค้าล่วงหน้า (Contracts of Affreightment) เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสัญญาที่มีอัตราค่าระวางเรือถัวเฉลี่ย 23,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวัน
ส่วนกลุ่มธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ มีส่วนแบ่งผลกำไรสุทธิให้กับบริษัท (หลังจากหักส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย) 253.14 ล้านบาท โดยไม่รวมขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน แต่หากไม่รวมการตั้งสำรองค่าใช้จ่ายของผลประโยชน์แปรผันของพนักงาน ส่วนแบ่งผลกำไรสุทธิ (หลังหักส่วนผู้ถือหุ้นส่วนน้อย) เพิ่มขึ้น 57.38% โดยบริษัทที่สามารถแบ่งกำไรให้บริษัทได้มากที่สุด คือ บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง เอฟแซดอี และบริษัท เฟิร์นเล่ย์ (ประเทศไทย) จำกัด ตามลำดับ
ขณะที่ธุรกิจงานบริการนอกชายฝั่ง บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด (มหาชน) (เมอร์เมด) มีรายได้จากธุรกิจหลัก 5,285.44 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากก่อน 30.83% และมีส่วนแบ่งกำไรให้แก่บริษัทเท่ากับ 484.31 ล้านบาท (ไม่รวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน) เพิ่มขึ้นจากปี 50 เท่ากับ
พร้อมกันนี้ บมจ. โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ ได้แจ้งเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 3/2552 ได้มีมติกำหนด ขอบเขต หน้าที่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยให้มีผล ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 เป็นต้นไป โดยคณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วย นายบียอร์น ออสตรอม ประธานกรรมการตรวจสอบ นายศิริ การเจริญดี กรรมการตรวจสอบ และนางปรารถนา มงคลกุล กรรมการตรวจสอบ ทั้งหมดมีวาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ 11 เดือน 12 วัน
ม.ล.จันทรจุฑา จันทรทัต กรรมการผู้จัดการ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA กล่าวถึง ผลการดำเนินงานประจำงวด 1 ปี สิ้นสุด 30 กันยายน 2551 ว่า บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 8,776.44 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 13.63 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 4,961.95 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 7.71 บาท หรือมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 3,814.49 ล้านบาท คิดเป็น 76.87%
ทั้งนี้ บริษัทมีรายได้จากการดำเนินงานรวม 35,146.15 ล้านบาท รายจ่ายจากการดำเนินงาน 23,359.38 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เท่ากับ 2,831.62 ล้านบาท จากอัตราค่าระวางเรือ อัตราค่าเช่าเรือและอัตราการใช้ประโยชน์จากเรือในธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง รวมทั้งรายได้จากธุรกิจวิศวกรรมโยธาใต้น้ำที่อยู่ในระดับสูง แม้จะถูกหักกลบด้วยส่วนแบ่งกำไรจากส่วนงานธุรกิจขุดเจาะที่ต่ำกว่าเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้
ด้านฐานะการเงิน บริษัทเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น 7,782.64 ล้านบาท โดยมีเงินสดรับจากกิจกรรมการดำเนินงานและกิจกรรมการจัดหาเงิน 11,340.02 ล้านบาท และ 2,612.65 ล้านบาท ตามลำดับ และใช้เงินจำนวน 6,281.04 ล้านบาทในกิจกรรมการลงทุน รวมถึงยานสำรวจใต้น้ำแบบใช้รีโมทคอนโทรล ซึ่งใช้ในน้ำลึก (deepwater remotely operated vehicle) ค่าซ่อมเรือที่เข้าอู่แห้ง (dry-docking) สะสม 2,976.34 ล้านบาท และ 1,082.34 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะเดียวกันบริษัทได้ชำระคืนหนี้เงินกู้ 1,470.20 ล้านบาท และกู้ยืมเงิน 324.69 ล้านบาท
สำหรับรายได้จากกลุ่มธุรกิจหลักทั้ง 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มแรก ธุรกิจเรืองบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง มีผลกำไรสุทธิ 8,389.26 ล้านบาท ไม่รวมผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 119.25% แต่หากไม่รวมการตั้งสำรองค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผลประโยชน์ของพนักงานแล้ว อัตรากำไรสุทธิในปี 2551 จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 116.59%
ทั้งนี้ ในปี 2551 บริษัทได้ทำสัญญารับขนส่งสินค้าล่วงหน้าแบบเช่าเหมาลำเป็นระยะเวลาไว้แล้ว 23.17% โดยมีอัตราค่าระวางเรือถัวเฉลี่ย 15,086 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวัน ในปี 2552 บริษัทได้ทำสัญญารับขนส่งสินค้าล่วงหน้าแบบเช่าเหมาลำเป็นระยะเวลาไว้แล้ว 8.07% ของระวางบรรทุกสินค้าทั้งหมด โดยมีอัตราค่าระวางเรือถัวเฉลี่ย 17,673 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวัน รวมทั้งได้ทำสัญญารับขนส่งสินค้าล่วงหน้า (Contracts of Affreightment) เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสัญญาที่มีอัตราค่าระวางเรือถัวเฉลี่ย 23,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวัน
ส่วนกลุ่มธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ มีส่วนแบ่งผลกำไรสุทธิให้กับบริษัท (หลังจากหักส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย) 253.14 ล้านบาท โดยไม่รวมขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน แต่หากไม่รวมการตั้งสำรองค่าใช้จ่ายของผลประโยชน์แปรผันของพนักงาน ส่วนแบ่งผลกำไรสุทธิ (หลังหักส่วนผู้ถือหุ้นส่วนน้อย) เพิ่มขึ้น 57.38% โดยบริษัทที่สามารถแบ่งกำไรให้บริษัทได้มากที่สุด คือ บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง เอฟแซดอี และบริษัท เฟิร์นเล่ย์ (ประเทศไทย) จำกัด ตามลำดับ
ขณะที่ธุรกิจงานบริการนอกชายฝั่ง บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด (มหาชน) (เมอร์เมด) มีรายได้จากธุรกิจหลัก 5,285.44 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากก่อน 30.83% และมีส่วนแบ่งกำไรให้แก่บริษัทเท่ากับ 484.31 ล้านบาท (ไม่รวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน) เพิ่มขึ้นจากปี 50 เท่ากับ
พร้อมกันนี้ บมจ. โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ ได้แจ้งเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 3/2552 ได้มีมติกำหนด ขอบเขต หน้าที่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยให้มีผล ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 เป็นต้นไป โดยคณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วย นายบียอร์น ออสตรอม ประธานกรรมการตรวจสอบ นายศิริ การเจริญดี กรรมการตรวจสอบ และนางปรารถนา มงคลกุล กรรมการตรวจสอบ ทั้งหมดมีวาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ 11 เดือน 12 วัน