ผู้จัดการรายวัน – สหวิริยาสตีลอินดัสตรี รับอานิสงส์ราคาเหล็กตลาดโลกพุ่ง ฟันกำไรสุทธิงวด 6 เดือนกว่า 1.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.3 พันล้านบาท คิดเป็น 364% ด้านผู้บริหารฟุ้งรายได้จากการขายเฉียดหมื่นล้าน หลังเน้นขายสินค้า คุณภาพดีทำให้มีกำไรเพิ่ม พร้อมยึดกลยุทธ์ควบคุมต้นทุนการผลิต
นายวิน วิริยประไพกิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ SSI กล่าวถึงผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 2 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2551 ว่า บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิรวม 777.53 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.06 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 361.24 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.03 บาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 416.29 ล้านบาท คิดเป็น 115.24%
ขณะที่ผลการดำเนินงานรวมงวด 6 เดือน กำไรสุทธิ 1,700.65 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.13 บาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่กำไรสุทธิ 366.16 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.03 บาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 1,334.49 ล้านบาท คิดเป็น 364.46%
นายวิน กล่าวว่า ไตรมาส 2/51 ที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานของบริษัทขยายตัวดีขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนทั้งด้านรายได้จากการขายและกำไรสุทธิ คือ มีรายได้จากการขาย 9,840.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.6% ขณะที่งวด 6 เดือนแรกบริษัทมีรายได้จากการขาย 18,918.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 29.2% และมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E)
'นอกจาก SSI จะมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นแล้ว บริษัทยังคงมีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง และมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดี โดยพิจารณาได้จากอัตราหนี้สินต่อหุ้น (D/E Ratio) อยู่ที่ระดับ 0.43 เท่า ซึ่งถือเป็นระดับที่ต่ำมาก'
ทั้งนี้ บริษัทมีรายได้จากการขายเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนจำนวน 9,686.5 ล้านบาท สูงกว่ายอดขายในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ 6,883.4 ล้านบาท นอกจากนี้บริษัทมีรายได้จากการขายเศษเหล็ก 154.0 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรขั้นต้นจากการขายและบริการ 1,193.5 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนที่กำไรขั้นต้นจากการขายและบริหาร 748.0 ล้านบาท
ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (ไม่รวมดอกเบี้ยจ่าย) ของบริษัทและบริษัทย่อยมีจำนวน 233.3 ล้านบาท (รวมขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 8.5 ล้านบาท) เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ 227.5 ล้านบาท
'จากความพยายามของบริษัทที่ตั้งเป้าเป็นผู้นำตลาดเหล็กแผ่นรีดร้อนชั้นคุณภาพพิเศษของอาเซียน บริษัทจึงมุ่งเน้นการขายสินค้าชั้นคุณภาพพิเศษ (High Grade) ที่มีราคาขายเฉลี่ยสูงกว่าสินค้าชั้นคุณภาพทั่วไป (Commercial Grade) ทำให้ส่วนต่างระหว่างราคาขายกับวัตถุดิบสูงขึ้น (Spread) บวกกับนโยบายควบคุมต้นทุนการผลิตที่ดี ส่งผลให้บริษัทมีอัตรากำไรขั้นต้นดีขึ้น'
นายวินกล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีนี้บริษัทมีแผนที่จะปรับลดสัดส่วนการส่งออกลง จากสิ้นไตรมาส 2/51 บริษัทมีสัดส่วนการส่งออกประมาณ 5% และสัดส่วนการจำหน่ายภายในประเทศ 95% เนื่องจากต้นทุนในการขนส่งสูงขึ้น และเพื่อสำรองให้มีปริมาณการจำหน่ายในประเทศเพียงพอ พร้อมกันนี้ได้วางแผนผลิตสินค้าเหล็กแผ่นชั้นคุณภาพ พิเศษเพิ่มถึง 70% ภายใน 3-5 ปี เพื่อรองรับกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมขนส่ง และอุตสาหกรรมพลังงาน เช่น ถังก๊าซ ท่อก๊าซ และหม้อแปลง
สำหรับทิศทางภาวะอุตสาหกรรมเหล็ก โลกนั้น คาดว่าจะยังคงทรงตัวในระดับสูงตามตลาดสินแร่เหล็กที่เกิดภาวะตึงตัวจากความต้องการใช้ของประเทศจีนที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่การเปิดเหมืองใหม่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการพอสมควร ส่วนประเทศไทยคาดว่าความต้องการใช้ในปีนี้เพิ่มขึ้นประมาณ 3% จากโครงการต่างๆ ของภาครัฐ รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความต้องการใช้เหล็กแผ่นที่มีคุณภาพสูงเป็นวัตถุดิบในการผลิต
'ผมประเมินว่าราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนและเหล็กแท่งแบน(Slab) จะยังทรงตัวในระดับสูงไปอีก 2 ปีข้างหน้า ขณะที่ตลาดสินค้า เหล็กแผ่นชั้นคุณภาพพิเศษเองยังมีแนวโน้ม การเติบโตสูงในระยะยาว แต่ทั้งนี้ เสถียรภาพทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง'นายกล่าว
นายวิน วิริยประไพกิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ SSI กล่าวถึงผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 2 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2551 ว่า บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิรวม 777.53 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.06 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 361.24 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.03 บาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 416.29 ล้านบาท คิดเป็น 115.24%
ขณะที่ผลการดำเนินงานรวมงวด 6 เดือน กำไรสุทธิ 1,700.65 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.13 บาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่กำไรสุทธิ 366.16 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.03 บาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 1,334.49 ล้านบาท คิดเป็น 364.46%
นายวิน กล่าวว่า ไตรมาส 2/51 ที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานของบริษัทขยายตัวดีขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนทั้งด้านรายได้จากการขายและกำไรสุทธิ คือ มีรายได้จากการขาย 9,840.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.6% ขณะที่งวด 6 เดือนแรกบริษัทมีรายได้จากการขาย 18,918.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 29.2% และมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E)
'นอกจาก SSI จะมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นแล้ว บริษัทยังคงมีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง และมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดี โดยพิจารณาได้จากอัตราหนี้สินต่อหุ้น (D/E Ratio) อยู่ที่ระดับ 0.43 เท่า ซึ่งถือเป็นระดับที่ต่ำมาก'
ทั้งนี้ บริษัทมีรายได้จากการขายเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนจำนวน 9,686.5 ล้านบาท สูงกว่ายอดขายในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ 6,883.4 ล้านบาท นอกจากนี้บริษัทมีรายได้จากการขายเศษเหล็ก 154.0 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรขั้นต้นจากการขายและบริการ 1,193.5 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนที่กำไรขั้นต้นจากการขายและบริหาร 748.0 ล้านบาท
ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (ไม่รวมดอกเบี้ยจ่าย) ของบริษัทและบริษัทย่อยมีจำนวน 233.3 ล้านบาท (รวมขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 8.5 ล้านบาท) เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ 227.5 ล้านบาท
'จากความพยายามของบริษัทที่ตั้งเป้าเป็นผู้นำตลาดเหล็กแผ่นรีดร้อนชั้นคุณภาพพิเศษของอาเซียน บริษัทจึงมุ่งเน้นการขายสินค้าชั้นคุณภาพพิเศษ (High Grade) ที่มีราคาขายเฉลี่ยสูงกว่าสินค้าชั้นคุณภาพทั่วไป (Commercial Grade) ทำให้ส่วนต่างระหว่างราคาขายกับวัตถุดิบสูงขึ้น (Spread) บวกกับนโยบายควบคุมต้นทุนการผลิตที่ดี ส่งผลให้บริษัทมีอัตรากำไรขั้นต้นดีขึ้น'
นายวินกล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีนี้บริษัทมีแผนที่จะปรับลดสัดส่วนการส่งออกลง จากสิ้นไตรมาส 2/51 บริษัทมีสัดส่วนการส่งออกประมาณ 5% และสัดส่วนการจำหน่ายภายในประเทศ 95% เนื่องจากต้นทุนในการขนส่งสูงขึ้น และเพื่อสำรองให้มีปริมาณการจำหน่ายในประเทศเพียงพอ พร้อมกันนี้ได้วางแผนผลิตสินค้าเหล็กแผ่นชั้นคุณภาพ พิเศษเพิ่มถึง 70% ภายใน 3-5 ปี เพื่อรองรับกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมขนส่ง และอุตสาหกรรมพลังงาน เช่น ถังก๊าซ ท่อก๊าซ และหม้อแปลง
สำหรับทิศทางภาวะอุตสาหกรรมเหล็ก โลกนั้น คาดว่าจะยังคงทรงตัวในระดับสูงตามตลาดสินแร่เหล็กที่เกิดภาวะตึงตัวจากความต้องการใช้ของประเทศจีนที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่การเปิดเหมืองใหม่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการพอสมควร ส่วนประเทศไทยคาดว่าความต้องการใช้ในปีนี้เพิ่มขึ้นประมาณ 3% จากโครงการต่างๆ ของภาครัฐ รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความต้องการใช้เหล็กแผ่นที่มีคุณภาพสูงเป็นวัตถุดิบในการผลิต
'ผมประเมินว่าราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนและเหล็กแท่งแบน(Slab) จะยังทรงตัวในระดับสูงไปอีก 2 ปีข้างหน้า ขณะที่ตลาดสินค้า เหล็กแผ่นชั้นคุณภาพพิเศษเองยังมีแนวโน้ม การเติบโตสูงในระยะยาว แต่ทั้งนี้ เสถียรภาพทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง'นายกล่าว