คณะกรรมการสอบทางแพ่งทวงภาษี 546 ล้านบาท เรียกประชุมด่วนวันนี้ ตั้งเป้าทวงภาษี 546 ล้าน จากพี่ชายคุณหญิงอ้อภายใน 1 เดือน “ศานิต ร่างน้อย” ครวญการทวงคืนภาษีเกี่ยวข้องกับกฎหมายมาก จำเป็นต้องใช้เวลา แต่พร้อมจับมือกรมบัญชีกลางหาผู้รับผิดทางละเมิดพร้อมขอสำนวนคดีจากศาลประกอบการพิจารณา
แหล่งข่าวกรมสรรพากร เปิดเผยว่า วันนี้ (4 ส.ค.) คณะกรรมการสอบทางแพ่งเพื่อหาแนวทางนำเงินภาษีจากการซื้อขายหุ้นบริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด จำนวน 546 ล้านบาท จาก นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายคุณหญิงพจมาน ชินวัตร กลับคืน จะมีการประชุมด่วน คาดว่า สามารถเรียกคืนได้ โดยการใช้กระบวนการทางแพ่งเพื่อฟ้องร้องเงินภาษีส่วนนี้คืนภายใน 30 วัน ขณะนี้มีความหวังมากขึ้น เนื่องจากคำพิพากษาของศาลที่ออกมาจะช่วยทำให้กระบวนการต่างๆ ทำได้ง่ายขึ้น
ส่วนคณะกรรมการเอาผิดผู้รับผิดชอบกรณีทำให้กรมสรรพากรเสียหาย ไม่ได้รับเม็ดเงินภาษีนั้น อธิบดีกรมสรรพากรได้แต่งตั้ง นางเสาวนีย์ กมลบุตร ที่ปรึกษาด้านประสิทธิภาพ กรมสรรพากร เป็นประธาน ได้เริ่มกระบวนการทำงานมาประมาณ 2 เดือน
“หลังจาก ป.ป.ช.ระบุชัดเจน ว่า มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และมีความผิดอาญาฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ก.พ.ก็ได้มีมติให้ออกจากราชการไปแล้ว" แหล่งข่าวกล่าวและว่า เรื่องเดียวกันทั้งสองกรณี นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร สั่งการให้คณะทำงานเร่งมือให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ประชาชนทั้งประเทศเฝ้าจับตามองอย่างใกล้ชิดถือเป็นคดีประวัติศาสตร์ของประเทศ
ด้าน นายศานิต ยอมรับว่า การทวงคืนภาษีมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายจำนวนมากทั้งประมวลรัษฎากร และพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ความรับผิดทางละเมิด ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐทั้ง 5 คนที่ได้ถูกให้ออกจากราชการไปแล้ว ดังนั้น การตรวจสอบสำนวนมาตั้งแต่เริ่มต้นก็ต้องใช้เวลาพอสมควร
***มอบอำนาจสอบสวนทางแพ่ง
สำหรับอำนาจหน้าที่และขอบข่ายการทำงานของคณะกรรมการเอาผิดผู้รับผิดชอบ แหล่งข่าวกล่าวว่า อธิบดีได้ให้ข้อจำกัดแต่เพียงเรื่องของความเสียหายที่เกิดขึ้น ว่า จะดำเนินการทางแพ่งได้อย่างไรบ้าง กรณีที่ตรวจสอบพบว่ามีความผิดที่เกิดจากการประมาทเลินเล่อ หรือจงใจ ของเจ้าพนักงานก็จะดำเนินการส่งเรื่องให้กรมบัญชีกลางซึ่งเป็นผู้ดูแลกฎหมายด้านความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยไม่ได้มีขอบข่ายที่เกี่ยวกับเรื่องวินัยและอาญาเพราะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการไปก่อนหน้าแล้ว
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่สรรพากรที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ ประกอบด้วย นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อดีตกรมสรรพากร นางสาวกุลฤดี แสงสายัณฑ์ อดีตนิติกร 7 ว.นางสาวโมรีรัตน์ บุญญาศิริ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมาย นางสาวสุจินดา แสงชมภู นิติกร 9 ชช.และนายวิชัย จึงรักเกียรติ อดีตผู้อำนวยการสำนักคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ระบุว่า มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการและมีความผิดอาญา ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบสำนวนเบื้องต้นในด้านวินัยของทาง ก.พ.นั้น ยังเห็นว่าข้าราชการทั้งหมดนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปตามขั้นตอนการทำงาน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จะเรียกร้องความเสียหายจากบุคคลเหล่านั้นได้ยาก แต่ต้องดูสำนวนทางศาลประกอบด้วยว่า ชี้ให้เห็นถึงการจงใจกระทำความผิดก็จะสามารถเรียกความเสียหายทางแพ่งได้
แหล่งข่าวกรมสรรพากร เปิดเผยว่า วันนี้ (4 ส.ค.) คณะกรรมการสอบทางแพ่งเพื่อหาแนวทางนำเงินภาษีจากการซื้อขายหุ้นบริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด จำนวน 546 ล้านบาท จาก นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายคุณหญิงพจมาน ชินวัตร กลับคืน จะมีการประชุมด่วน คาดว่า สามารถเรียกคืนได้ โดยการใช้กระบวนการทางแพ่งเพื่อฟ้องร้องเงินภาษีส่วนนี้คืนภายใน 30 วัน ขณะนี้มีความหวังมากขึ้น เนื่องจากคำพิพากษาของศาลที่ออกมาจะช่วยทำให้กระบวนการต่างๆ ทำได้ง่ายขึ้น
ส่วนคณะกรรมการเอาผิดผู้รับผิดชอบกรณีทำให้กรมสรรพากรเสียหาย ไม่ได้รับเม็ดเงินภาษีนั้น อธิบดีกรมสรรพากรได้แต่งตั้ง นางเสาวนีย์ กมลบุตร ที่ปรึกษาด้านประสิทธิภาพ กรมสรรพากร เป็นประธาน ได้เริ่มกระบวนการทำงานมาประมาณ 2 เดือน
“หลังจาก ป.ป.ช.ระบุชัดเจน ว่า มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และมีความผิดอาญาฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ก.พ.ก็ได้มีมติให้ออกจากราชการไปแล้ว" แหล่งข่าวกล่าวและว่า เรื่องเดียวกันทั้งสองกรณี นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร สั่งการให้คณะทำงานเร่งมือให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ประชาชนทั้งประเทศเฝ้าจับตามองอย่างใกล้ชิดถือเป็นคดีประวัติศาสตร์ของประเทศ
ด้าน นายศานิต ยอมรับว่า การทวงคืนภาษีมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายจำนวนมากทั้งประมวลรัษฎากร และพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ความรับผิดทางละเมิด ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐทั้ง 5 คนที่ได้ถูกให้ออกจากราชการไปแล้ว ดังนั้น การตรวจสอบสำนวนมาตั้งแต่เริ่มต้นก็ต้องใช้เวลาพอสมควร
***มอบอำนาจสอบสวนทางแพ่ง
สำหรับอำนาจหน้าที่และขอบข่ายการทำงานของคณะกรรมการเอาผิดผู้รับผิดชอบ แหล่งข่าวกล่าวว่า อธิบดีได้ให้ข้อจำกัดแต่เพียงเรื่องของความเสียหายที่เกิดขึ้น ว่า จะดำเนินการทางแพ่งได้อย่างไรบ้าง กรณีที่ตรวจสอบพบว่ามีความผิดที่เกิดจากการประมาทเลินเล่อ หรือจงใจ ของเจ้าพนักงานก็จะดำเนินการส่งเรื่องให้กรมบัญชีกลางซึ่งเป็นผู้ดูแลกฎหมายด้านความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยไม่ได้มีขอบข่ายที่เกี่ยวกับเรื่องวินัยและอาญาเพราะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการไปก่อนหน้าแล้ว
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่สรรพากรที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ ประกอบด้วย นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อดีตกรมสรรพากร นางสาวกุลฤดี แสงสายัณฑ์ อดีตนิติกร 7 ว.นางสาวโมรีรัตน์ บุญญาศิริ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมาย นางสาวสุจินดา แสงชมภู นิติกร 9 ชช.และนายวิชัย จึงรักเกียรติ อดีตผู้อำนวยการสำนักคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ระบุว่า มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการและมีความผิดอาญา ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบสำนวนเบื้องต้นในด้านวินัยของทาง ก.พ.นั้น ยังเห็นว่าข้าราชการทั้งหมดนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปตามขั้นตอนการทำงาน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จะเรียกร้องความเสียหายจากบุคคลเหล่านั้นได้ยาก แต่ต้องดูสำนวนทางศาลประกอบด้วยว่า ชี้ให้เห็นถึงการจงใจกระทำความผิดก็จะสามารถเรียกความเสียหายทางแพ่งได้