สพท. รับลูกขยายผลมติครม. ให้อินเซนทีฟกิจการภาพยนตร์ เตรียมตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐเอกชน หวังใช้เป็นกลยุทธ์จีบกองถ่ายหนังต่างชาติให้ชักแถวเข้าประเทศไทย กองกิจการภาพยนตร์เผย เลื่อนของบจัดทำสื่อทางอากาศและใต้น้ำออก
นางสาววรรณสิริ โมรากุล ผู้อำนวยการกองกิจการภาพยนตร์ สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) กล่าวว่า ภายหลังจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการให้อินเซนทีฟแก่ธุรกิจถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ใน 3 เรื่องหลัก คือ 1.เรื่องการคืนภาษี 2.การให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีสำหรับประเทศคู่สัญญา และ 3 กำหนดเขตสำหรับสร้างหรือผลิตภาพยนตร์(ฟรีเทรดโซน) ล่าสุด กระทรวงการท่องเที่ยวจะตั้งคณะกรรมการทำงานร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อจัดทำรายละเอียดนำไปสู่การปฎิบัติจริง
คณะกรรมการฯประกอบด้วยตัวแทนจากหลายภาคส่วน ได้แก่ กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ, สมาคมผู้สนับสนุนภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย , ภาคเอกชนอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการกองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย และ ตัวแทนจากภาคธุรกิจโพสต์โปรดักส์ชั่น จะหารือร่วมกัน โดยภาคเอกชนต้องนำข้อมูล และมูลค่าที่แท้จริงมาแสดงให้ภาครัฐเห็นว่ามีมูลค่ามากน้อยเพียงใด เพื่อให้ภาครัฐโดยเฉพาะกรมสรรพากร นำไปคำนวนตัวเลขได้ว่าการให้อินเซนทีฟด้านภาษีแล้วประเทศไทยจะคุ้มค่ามากน้อยแค่ไหน
ทางกองฯจะนำเสนอข้อมูลจัดทำรายละเอียดของการให้อินเซนทีฟ ได้แก่ 1. ประเด็นคืนภาษี เบื้องต้นจะเสนอคืนภาษี VAT 7% ให้แก่กองถ่ายทำภาพยนตร์ที่ใช้จ่ายเงินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท 2.ประเด็นสิทธิประโยชน์ทางภาษี จะยกตัวอย่างกรณีประเทศอินเดีย กับ อังกฤษ ที่ เซ็นเอ็มโอยูร่วมกัน ให้กองถ่ายทำภาพยนตร์ของทั้งสองประเทศได้สิทธิพิเศษ เมื่อเดินทางเข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศคู่สัญญา และ 3 ประเด็นฟรีเทรดโซน เพื่อให้ บีโอไอให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ที่ต้องการเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจภาพยนตร์ในประเทศไทย ซึ่งตรงนี้ ผู้ที่อยู่ในธุรกิจโพสต์โปรดักชั่น จะได้รับอานิสงส์โดยตรง
ผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯชุดนี้ จะต้องนำเสนอต่อที่ประชุม ครม. เพื่อพิจารณาอีกครั้ง ก่อนออกประกาศใช้เป็นลำดับต่อไป ซึ่งหากกระทรวงการท่องเที่ยวสามารถผลักดันการให้อินเซนทีฟนี้ได้ จะช่วยเพิ่มรายได้เข้าประเทศได้มากกว่าเท่าตัว จากปัจจุบัน มีรายได้จากการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย เมื่อปี 2550 ที่ 1,072 ล้านบาท ปีนี้ 6 เดือนแรก มีรายได้ที่ 1,378 ล้านบาท และยังเป็นผลดีต่อการออกไปประมูลงานถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศให้เข้ามาใช้สถานที่ในประเทศไทยได้ด้วย
นางสาววรรณสิริ กล่าว อีกว่า ปลัดกรุงเทพมหานคร เห็นชอบร่วมกับ สพท. โอนย้ายการให้บริการออกใบอนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ มาไว้ที่ศูนย์วันสต็อปเซอร์วิส เพื่อลดขั้นตอนการติดต่อให้เร็วขึ้น เพราะต่อปีมีภาพยนตร์ต่างประเทศขอใบอนุญาตกับกทม.กว่า 300 เรื่อง
สำหรับงบประมาณปี 2552 คาดว่าทางกองฯจะได้รับจัดสรรราว 6 ล้านบาท แบ่งเป็นงบเพื่อใช้โรดโชว์ในต่างประเทศ 3.3 ล้านบาททีเหลือ เพื่อดำเนินการในกิจการอื่นๆ และการซื้อสื่อโฆษณา โดย กองฯได้ยกเรื่องการของบจัดทำสื่อโลเกชั่นทางอากาศ และ ใต้น้ำ ออกไปไว้ปีงบประมาณถัดไป เพราะสำนักงบประมาณ แจ้งมาว่า จะขอให้เพียง 7 ล้านบาท จากที่ขอไป 15 ล้านบาท ทางกองฯจึงเกรงว่าจะไม่พอดำเนินงาน
นางสาววรรณสิริ โมรากุล ผู้อำนวยการกองกิจการภาพยนตร์ สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) กล่าวว่า ภายหลังจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการให้อินเซนทีฟแก่ธุรกิจถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ใน 3 เรื่องหลัก คือ 1.เรื่องการคืนภาษี 2.การให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีสำหรับประเทศคู่สัญญา และ 3 กำหนดเขตสำหรับสร้างหรือผลิตภาพยนตร์(ฟรีเทรดโซน) ล่าสุด กระทรวงการท่องเที่ยวจะตั้งคณะกรรมการทำงานร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อจัดทำรายละเอียดนำไปสู่การปฎิบัติจริง
คณะกรรมการฯประกอบด้วยตัวแทนจากหลายภาคส่วน ได้แก่ กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ, สมาคมผู้สนับสนุนภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย , ภาคเอกชนอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการกองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย และ ตัวแทนจากภาคธุรกิจโพสต์โปรดักส์ชั่น จะหารือร่วมกัน โดยภาคเอกชนต้องนำข้อมูล และมูลค่าที่แท้จริงมาแสดงให้ภาครัฐเห็นว่ามีมูลค่ามากน้อยเพียงใด เพื่อให้ภาครัฐโดยเฉพาะกรมสรรพากร นำไปคำนวนตัวเลขได้ว่าการให้อินเซนทีฟด้านภาษีแล้วประเทศไทยจะคุ้มค่ามากน้อยแค่ไหน
ทางกองฯจะนำเสนอข้อมูลจัดทำรายละเอียดของการให้อินเซนทีฟ ได้แก่ 1. ประเด็นคืนภาษี เบื้องต้นจะเสนอคืนภาษี VAT 7% ให้แก่กองถ่ายทำภาพยนตร์ที่ใช้จ่ายเงินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท 2.ประเด็นสิทธิประโยชน์ทางภาษี จะยกตัวอย่างกรณีประเทศอินเดีย กับ อังกฤษ ที่ เซ็นเอ็มโอยูร่วมกัน ให้กองถ่ายทำภาพยนตร์ของทั้งสองประเทศได้สิทธิพิเศษ เมื่อเดินทางเข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศคู่สัญญา และ 3 ประเด็นฟรีเทรดโซน เพื่อให้ บีโอไอให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ที่ต้องการเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจภาพยนตร์ในประเทศไทย ซึ่งตรงนี้ ผู้ที่อยู่ในธุรกิจโพสต์โปรดักชั่น จะได้รับอานิสงส์โดยตรง
ผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯชุดนี้ จะต้องนำเสนอต่อที่ประชุม ครม. เพื่อพิจารณาอีกครั้ง ก่อนออกประกาศใช้เป็นลำดับต่อไป ซึ่งหากกระทรวงการท่องเที่ยวสามารถผลักดันการให้อินเซนทีฟนี้ได้ จะช่วยเพิ่มรายได้เข้าประเทศได้มากกว่าเท่าตัว จากปัจจุบัน มีรายได้จากการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย เมื่อปี 2550 ที่ 1,072 ล้านบาท ปีนี้ 6 เดือนแรก มีรายได้ที่ 1,378 ล้านบาท และยังเป็นผลดีต่อการออกไปประมูลงานถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศให้เข้ามาใช้สถานที่ในประเทศไทยได้ด้วย
นางสาววรรณสิริ กล่าว อีกว่า ปลัดกรุงเทพมหานคร เห็นชอบร่วมกับ สพท. โอนย้ายการให้บริการออกใบอนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ มาไว้ที่ศูนย์วันสต็อปเซอร์วิส เพื่อลดขั้นตอนการติดต่อให้เร็วขึ้น เพราะต่อปีมีภาพยนตร์ต่างประเทศขอใบอนุญาตกับกทม.กว่า 300 เรื่อง
สำหรับงบประมาณปี 2552 คาดว่าทางกองฯจะได้รับจัดสรรราว 6 ล้านบาท แบ่งเป็นงบเพื่อใช้โรดโชว์ในต่างประเทศ 3.3 ล้านบาททีเหลือ เพื่อดำเนินการในกิจการอื่นๆ และการซื้อสื่อโฆษณา โดย กองฯได้ยกเรื่องการของบจัดทำสื่อโลเกชั่นทางอากาศ และ ใต้น้ำ ออกไปไว้ปีงบประมาณถัดไป เพราะสำนักงบประมาณ แจ้งมาว่า จะขอให้เพียง 7 ล้านบาท จากที่ขอไป 15 ล้านบาท ทางกองฯจึงเกรงว่าจะไม่พอดำเนินงาน