โออิชิ เจรจาซื้อแฟรนไชส์อาหารญี่ปุ่นเพิ่มอีก 2 แบรนด์ หวังเพิ่มพอร์ตโพลิโอ ตอกย้ำผู้นำอาหารญี่ปุ่น ส่วนแบรนด์ “ไมโดะ” ต้องเลื่อนเปิดตัวเป็นปลายปี เหตุยังหาทำเลเหมาะสมไม่ได้ เผยปรับตัวรับวัตถุดิบขึ้นราคา เจรจาซื้อสต๊อกยาว 3 ปี
นายไพศาล อ่าวสถาพร ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการธุรกิจร้านอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัทต้องเลื่อนแผนการเปิดตัวร้านอาหารญี่ปุ่นแบรนด์ “ไมโดะ โอกินิ โชกุโด” ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ที่โออิชิซื้อมาจากบริษัท เวนเจอร์ ลิ้งค์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปีที่แล้ว จากเดิมที่วางแผนจะเปิดบริการสาขาแรกกลางปีนี้เลื่อนไปเป็นช่วงปลายปีนี้แทน เนื่องจากยังไม่สามารถหาทำเลที่เหมาะสมในการเปิดสาขาแรกได้ซึ่งต้องใช้พื้นที่ขั้นต่ำ 120 ตารางเมตร และลงทุนเฉลี่ย 7 ล้านบาท เพราะเปิดสาขาแรกจึงต้องหาทำเลที่ดีที่สุด เพื่อเป็นการสร้างแบรนด์และภาพลักษณ์ที่ดีด้วย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กำลังดูทำเลใหม่ ทั้งที่ เซ็นทรัลเวิลด์ และสยามพารากอน ไว้แล้ว ขณะที่สาขาที่สองและสามนั้น ก็มีพื้นที่รองรับไว้แล้ว ทั้ง เซ็นทรัลบางนา สยามสแควร์ เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ เป็นต้น และยืนยันว่า ไม่มีการปรับเปลี่ยนร้านอาหารในเครือโออิชิเดิมมาเป็นร้านไมโดะแน่นอน
นอกจากนั้น ทางโออิชิยังอยู่ระหว่างการเจรจากับผู้ประกอบการซึ่งเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่นอีกอย่างน้อย 1-2 ราย เพื่อที่จะซื้อลิขสิทธิ์เข้ามาเปิดบริการในไทย เพื่อเป็นการขยายธุรกิจและตอกย้ำความเป็นผู้นำในตลาดอาหารญี่ปุ่นของโออิชิในประเทศไทย ซึ่งมั่นใจว่าแต่ละแบรนด์ที่ซื้อมานั้นจะไม่มีการซ้ำซ้อนกันในแง่ของตลาดกลุ่มเป้าหมาย โดยปัจจุบันโออิชิมีร้านอาหารในเครือรวม 13 แบรนด์
นายไพศาล กล่าวถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงนี้ด้วยว่า การทำตลาดในยุคนี้ค่อนข้างเหนื่อยมาก เนื่องจากว่ามีปัจจัยลบจำนวนมากทั้งราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวขึ้นด้วย หรือแม้แต่เรื่องความขัดแย้งทางการเมือง แต่ทั้งนี้ บริษัทก็มีการปรับแผนการดำเนินงานเพื่อรองรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของต้นทุนวัตถุดิบ
โดยบริษัทได้ปรับแผนดำเนินงานด้วยการหันมาสั่งซื้อวัตถุดิบมาเก็บสต๊อกไว้จากเดิมระยะสั้น 6 เดือน เพิ่มเป็น 1 ปี ส่วนบางอย่างก็มีการสั่งซื้อสต๊อกไว้จากเดิม 1 ปีเพิ่มเป็น 3 ปี เพื่อความมั่นใจในเรื่องราคาที่ไม่มีการปรับราคาขึ้น ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบมากเท่าใดนัก
จากการปรับตัวนี้เอง ทำให้ผลประกอบการในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาของโออิชิ ในกลุ่มอาหารนั้น ปรากฏว่า มียอดขายที่เพิ่มขึ้นกว่า 20% จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 9 ปีก็ว่าได้ ซึ่งเหตุผลนอกจากการควบคุมต้นทุนแล้วยังเป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายกับเทศกาลอาหารต่างๆ ซึ่งแต่ละครั้งที่จัดนั้นจะมีเมนูอาหารใหม่ๆ มากกว่า 30 เมนูไว้บริการ ซึ่งสามารถดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี ล่าสุดคือ แคมเปญ การนำดอกซากุระมาทำเป็นอาหาร ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดี
สำหรับผลประกอบการทางด้านธุรกิจกลุ่มอาหารของโออิชินั้น คาดว่า สิ้นปีนี้จะมีรายได้ประมาณ 2,500 ล้านบาท เติบโตประมาณ 17%
“ผมคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังนี้ สถานการณ์ต่างๆ น่าจะดีขึ้นกว่าต้นปี แต่เรื่องการเมืองนี้น่าห่วงที่สุด เพราะว่าเป็นปัญหาที่ไม่สามารถควบคุมได้เหมือนต้นทุนวัตถุดิบที่ยังพอจัดการได้” นายไพศาลกล่าว
นายไพศาล อ่าวสถาพร ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการธุรกิจร้านอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัทต้องเลื่อนแผนการเปิดตัวร้านอาหารญี่ปุ่นแบรนด์ “ไมโดะ โอกินิ โชกุโด” ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ที่โออิชิซื้อมาจากบริษัท เวนเจอร์ ลิ้งค์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปีที่แล้ว จากเดิมที่วางแผนจะเปิดบริการสาขาแรกกลางปีนี้เลื่อนไปเป็นช่วงปลายปีนี้แทน เนื่องจากยังไม่สามารถหาทำเลที่เหมาะสมในการเปิดสาขาแรกได้ซึ่งต้องใช้พื้นที่ขั้นต่ำ 120 ตารางเมตร และลงทุนเฉลี่ย 7 ล้านบาท เพราะเปิดสาขาแรกจึงต้องหาทำเลที่ดีที่สุด เพื่อเป็นการสร้างแบรนด์และภาพลักษณ์ที่ดีด้วย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กำลังดูทำเลใหม่ ทั้งที่ เซ็นทรัลเวิลด์ และสยามพารากอน ไว้แล้ว ขณะที่สาขาที่สองและสามนั้น ก็มีพื้นที่รองรับไว้แล้ว ทั้ง เซ็นทรัลบางนา สยามสแควร์ เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ เป็นต้น และยืนยันว่า ไม่มีการปรับเปลี่ยนร้านอาหารในเครือโออิชิเดิมมาเป็นร้านไมโดะแน่นอน
นอกจากนั้น ทางโออิชิยังอยู่ระหว่างการเจรจากับผู้ประกอบการซึ่งเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่นอีกอย่างน้อย 1-2 ราย เพื่อที่จะซื้อลิขสิทธิ์เข้ามาเปิดบริการในไทย เพื่อเป็นการขยายธุรกิจและตอกย้ำความเป็นผู้นำในตลาดอาหารญี่ปุ่นของโออิชิในประเทศไทย ซึ่งมั่นใจว่าแต่ละแบรนด์ที่ซื้อมานั้นจะไม่มีการซ้ำซ้อนกันในแง่ของตลาดกลุ่มเป้าหมาย โดยปัจจุบันโออิชิมีร้านอาหารในเครือรวม 13 แบรนด์
นายไพศาล กล่าวถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงนี้ด้วยว่า การทำตลาดในยุคนี้ค่อนข้างเหนื่อยมาก เนื่องจากว่ามีปัจจัยลบจำนวนมากทั้งราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวขึ้นด้วย หรือแม้แต่เรื่องความขัดแย้งทางการเมือง แต่ทั้งนี้ บริษัทก็มีการปรับแผนการดำเนินงานเพื่อรองรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของต้นทุนวัตถุดิบ
โดยบริษัทได้ปรับแผนดำเนินงานด้วยการหันมาสั่งซื้อวัตถุดิบมาเก็บสต๊อกไว้จากเดิมระยะสั้น 6 เดือน เพิ่มเป็น 1 ปี ส่วนบางอย่างก็มีการสั่งซื้อสต๊อกไว้จากเดิม 1 ปีเพิ่มเป็น 3 ปี เพื่อความมั่นใจในเรื่องราคาที่ไม่มีการปรับราคาขึ้น ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบมากเท่าใดนัก
จากการปรับตัวนี้เอง ทำให้ผลประกอบการในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาของโออิชิ ในกลุ่มอาหารนั้น ปรากฏว่า มียอดขายที่เพิ่มขึ้นกว่า 20% จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 9 ปีก็ว่าได้ ซึ่งเหตุผลนอกจากการควบคุมต้นทุนแล้วยังเป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายกับเทศกาลอาหารต่างๆ ซึ่งแต่ละครั้งที่จัดนั้นจะมีเมนูอาหารใหม่ๆ มากกว่า 30 เมนูไว้บริการ ซึ่งสามารถดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี ล่าสุดคือ แคมเปญ การนำดอกซากุระมาทำเป็นอาหาร ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดี
สำหรับผลประกอบการทางด้านธุรกิจกลุ่มอาหารของโออิชินั้น คาดว่า สิ้นปีนี้จะมีรายได้ประมาณ 2,500 ล้านบาท เติบโตประมาณ 17%
“ผมคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังนี้ สถานการณ์ต่างๆ น่าจะดีขึ้นกว่าต้นปี แต่เรื่องการเมืองนี้น่าห่วงที่สุด เพราะว่าเป็นปัญหาที่ไม่สามารถควบคุมได้เหมือนต้นทุนวัตถุดิบที่ยังพอจัดการได้” นายไพศาลกล่าว