“สนธิ ลิ้มทองกุล” ชูใบเสร็จทุจริตเชิงนโยบายการบินไทย สั่ง ผอ.ฝ่ายวางแผน แต่งตัวเลข เปิดเที่ยวบินตรงกรุงเทพฯ-นิวยอร์ก หาข้ออ้างซื้อเครื่องบินแอร์บัส 5 ลำ กินค่าคอมฯ นับหมื่นล้าน สุดท้ายต้องขาดทุนเดือนละ 1.4 พันล้าน จนต้องปิดเที่ยวบิน 1 ก.ค.นี้ จี้ อดีตประธานการบินไทยรับผิดชอบ เผยกรุงเทพฯ-นิวยอร์กมีผู้โดยสารไม่ถึง 100 คน ทั้งที่เครื่องบิน เอ 340-500มี ความจุถึง 320 ที่นั่ง
คืนวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผานมา นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ขึ้นเวทีปราศรัยที่เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ โดยได้กล่าวถึงการทุจริตเชิงนโยบายในการบินไทย ซึ่งต้องใช้เวลาถึง 3 ปีในการพิสูจน์ นั่นคือกรณีการซื้อเครื่องบนแอร์บัสเพื่อนำมาเปิดเที่ยวบินตรงกรุงเทพฯ-นิวยอร์ก ตนเคยพูดทางรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2548 ว่าการซื้อเครื่องบินครั้งนี้ เพื่อต้องการคอมมิชชั่นเท่านั้น เพราะเครื่องบินแอร์บัสรุ่นที่จะซื้อเป็นเครื่องบินตกรุ่น คอมมิชชั่นจึงมากกว่าปกติที่ได้ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์
วิธีการซื้อเครื่องบินนั้น มีการสร้างโครงการขึ้นมา โดยนายทนง พิทยะ ประธานการบินไทย ในขณะนั้นที่อ้างว่าเที่ยวบินกรุงเทพฯ-นิวยอร์ก จะได้กำไร แต่เมื่อตนตรวจสอบข้อมูลดูแล้ว พบว่าเส้นทางนี้ สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์เคยเปิดและขาดทุนจนยกเลิกเที่ยวบินไปแล้ว แต่ก็หาเหตุในการสร้างเส้นทางการบิน โดยให้ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนเขียนแผนขึ้นมาโดยให้บอกว่าจะมีกำไร แต่ ผอ.คนเก่าไม่เห็นด้วย จึงถูกย้าย และให้ รอง ผอ.ขึ้นมาเป็นแทน แล้วให้เขียนแผนว่าเส้นทางบินกรุงเทพฯ-นิวยอร์กจะมีกำไร
หลังจากนั้นมีการสัญญาซื้อเครื่องบินจำนวนนี้ ก่อนการเลือกตั้ง เมื่อซื้อเสร็จ นายทนงก็ไปอยู่กระทรวงการคลังแทน ต่อมาดีดีการบินไทยคนใหม่ ได้ยอมรับต่อคณะกรรมาธิการคมนาคมว่า เส้นทางบินนี้ขาดทุนไปแล้ว 5 พันล้าน และจะต้องขายเครื่องบินที่ซื้อ ขณะที่สิงคโปร์แอร์ไลน์ก็กำลังจะขายเครื่องบินที่ซื้อมาใช้ในเส้นทางนี้เช่นกัน
“เขาจงใจที่จะซื้อเครื่องบินที่ไม่เหมาะกับการบินระยะไกล แต่ได้คอมมิชชั่นสูง เส้นทางบินระดับนี้ต้องใช้เครื่องบินโบอิ้ง ที่เขาใช้กัน แต่เปอร์เซ็นต์มันต่ำแค่ 3 เปอร์เซ็นต์ เขาเลยไปซื้อแอร์บัส 340 ที่ขายไม่ออก เปอร์เซ็นต์มันได้มากกว่า 3 ได้เงินไปเป็นหมื่นล้าน” นายสนธิกล่าวและว่า วันนี้ถือว่าเราเช็กบิลได้แล้ว เพราะในวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 นี้ การบินไทยตัดสินใจเลิกเส้นทางบิน กรุงเทพฯ-นิวยอร์กอย่างเด็ดขาด เพราะขาดทุน 2 สัปดาห์ต่อ 700 ล้าน หรือเดือนละ 1,400 ล้านบาท ตั้งแต่เริ่มบินมาจนวันนี้ ขาดทุนเป็นหมื่นๆ ล้านแล้ว เรื่องนี้ใครจะรับผิดชอบ นอกจากคนเขียนแผนแล้ว ประเทศไทยต้องรัยผิดชอบ เพราะประเทศถือหุ้นใหญ่ในการบินไทย และพนักงานการบินไทยก็ต้องรับผิดชอบ ที่ทำให้ขาดทุน
***ประกาศขายเครื่องแอร์บัสทั้ง 5 ลำ
นายสนธิ กล่าวอีกว่า ขณะนี้มีการประกาศขายเครื่องแอร์บัสทั้ง 5 ลำแล้ว ทั้งนี้ เคยบอกนักบอกหนาว่าต้องซื้อ อ้างว่าซื้อแล้วจะทำให้การบินไทยมีกำไร นี่คือการคอรัปชั่นเชิงนโยบายที่จับได้แล้ว แต่ต้องใช้เวลา 2 ปีกว่า พวกเขาทำยังกับว่าประเทศไทยเป็นสมบัติของพวกเขา ที่เขาต้องซื้อเพราะต้องการเอาเงินเข้ากระเป๋า คนวิ่งเต้นขายเครื่องแอร์บัส เป็นเพื่อนกับนายบรรณพจน์ ดามาพงษ์
สำหรับนายทนงที่เป็นเพื่อนกับตนตั้งแต่สมัยเรียนอัสสัมชัญศรีราชานั้น ถือว่าตัดขาดกันแล้ว ตั้งแต่มาสู้กับระบอบทักษิณ และนายทนงต้องรับผิดชอบ ถ้าได้กำไรจริงอย่างที่พูด จะขายเครื่องทำไม ปิดเส้นทางบินนี้ทำไม ซึ่งล่าสุดจะมีการใช้เครื่องบิน 5 ลำนี้ ไปบินในเส้นทางกรุงเทพฯ-ลอสแองเจลิส แต่ต้องแวะที่ญี่ปุ่นก่อน เพราะถ้าบินตรงจะขาดทุน นี่แค่ตัวอย่างหนึ่งของการทุจริตคอร์รัปชัน ที่เราต้องมาช่วยกันสาปแช่งคนที่ทำความพินาศให้บ้านเมือง
นายสนธิกล่าวต่อว่า วันนี้ เราต้องมาเรียกร้องสิทธิด้วยตัวเอง เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เราไม่เคยถอย เพราะมุ่งมั่นที่จะเอาประเทศไทยคืนมา เราพึ่งทหาร ตำรวจไม่ได้ ต้องมาพึ่งกันเอง ตนได้จุดเทียนแห่งธรรมไว้แล้ว แม้จะเป็นการจุดที่ยากลำบากท่ามกลางพายุ แต่ในฐานะเป็นคนจุดต้องเอาหลังบังลมไว้ เพื่อไม่ให้เทียนดับ ระหว่างบังก็ถูกก้อนหิน สังกะสี ปลิวมาโดนก็ต้องทน นั่นคือ การถูกฟ้อง 58 คดี การขู่ฆ่า การกลั่นแกล้งทางธุรกิจ แต่ตนไม่ยอมตาย วันนี้เทียนได้จุดติดแล้วทั่วประเทศ ขอให้เทียนสว่างไสวหลายๆ เทียนมารวมกันเป็นเทียนพรรษา เมื่อหลายเทียนพรรษารวมกันส่องสว่าง ผีก็จะอยู่ไม่ได้
"พวกที่คอร์รัปชัน เพิ่มงบรถไฟใต้ดิน เช่ารถเมล์กินหัวคิว 6 พันล้าน ไม่เคยรู้ตัวหรอกว่าจะตกนรก สำหรับผมถ้าจะลำบาก ไม่มีข้าวกิน ไปจังหวัดไหนก็จะมีพ่อแม่พี่น้องให้ข้าวกิน ไม่มีที่พักก็มีบ้านให้นอน ไม่มีเงินเติมนำมัน ก็เติมน้ำมันให้ นี่คือสุดยอดของชีวิตแล้ว ทำไมต้องมีเงินพันล้าน หมื่นล้าน สู้มีน้ำใจอย่างพี่น้องดีกว่า หรือเมื่อตายไปแล้วลูกชายเดินถนนมีคนมาบอกว่าพ่อคุณใช้ได้ แค่นี้ก็พอแล้ว จะเอาอะไรนักหนา อย่างอื่นไม่มีความหมายหรอก ถ้าได้ทำงานให้ชาติบ้านเมือง ถึงตัวตายช่างมัน" นายสนธิกล่าว
เรืออากาศโทอภินันท์ สุมนะเศรณี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทย กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องยกเลิกเส้นทางบินกรุงเทพฯ – นิวยอร์ก และปรับลดเส้นทางบินตรง กรุงเทพฯ-ลอสแองเจลิส จาก 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ เหลือ 5 เที่ยวบิน ต่อสัปดาห์ เนื่องจากทั้งสองเส้นทางมีผลขาดทุนรวมกว่า 4,000 ล้านบาทและทำให้บริษัทมีความจำเป็นต้องขายเครื่องบินแอร์บัส เอ 340-500 จำนวน 4 ลำ ที่ใช้สำหรับเส้นทางกรุงเทพฯ-นิวยอร์ค ออกจากฝูงบินด้วยเนื่องจากเครื่องบินรุ่นดังกล่าวเป็นเครื่องบินพิสัยไกลพิเศษกินน้ำมันมาก รวมถึงการบินไทยจะต้องปรับแผนวิสาหกิจ 10 ปี และทบทวนแผนการจัดหาเครื่องบินในแผนใหม่
***มีผู้โดยสารไม่ถึง 100 คน***
ทั้งนี้ การบินไทยได้เปิดเส้นทางบินกรุงเทพฯ-นิวยอร์ก เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2548 นิวยอร์ก สัปดาห์ละ 6 เที่ยวบิน ยกเว้นวันจันทร์ ด้วยเครื่องใหม่ทั้งหมดแบบแอร์บัส 340-500
ผลจากการเปิดบินช่วงแรก การบินไทยต้องประสบกับการขาดทุนอย่างหนัก โดยมีผู้โดยสารแต่เที่ยวบินเฉลี่ยประมาณ 100 คนต่อเที่ยวบินเท่านั้นในขณะที่เครื่องบิน เอ 340-500 ซึ่งได้ดำเนินการจัดซื้อเข้ามาประจำฝูงบินของบริษัทเพื่อบินในเส้นทางดังกล่าว เป็นเครื่องบิน พิสัยไกลพิเศษขนาดกลางซึ่งมี ความจุถึง 320 ที่นั่ง โดยบริษัทอ้างว่า การเปิดบินในเส้นทางดังกล่าวยังทำการตลาดไม่ดีพอและเป็นที่ทราบกันดีว่า สิงคโปร์แอร์ไลน์ก็ทำการบินในลักษณะเดียวกันอยู่และก็ประสบกับภาวะขาดทุนและมีกระแสข่าวว่า สิงคโปร์แอร์ไลน์ อาจจะหยุดบินในเส้นทางดังกล่าวแต่ในขณะที่การบินไทยเพิ่งเปิดบินดังนั้นจะพยายามเร่งทำการตลาดด้านคาร์โก้ เพื่อบรรทุกไปกับเที่ยวบินผู้โดยสารเพื่อเพิ่มรายได้
ปัญหาที่การบินในเส้นทางดังกล่าวต้องขาดทุน นอกจากการทำตลาดยังไม่ดีพอแล้วก็คือ ความไม่เหมาะสมของประเภทเครื่องบินที่ใช้กับเส้นทางบินและการบิน เนื่องจากเป็นการบินต่อเนื่อง 16 ชั่วโมงครึ่งแบบไม่หยุดทำให้ต้องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงเต็มที่ให้เพียงพอต่อการบินจากต้นทางไปยังปลายทาง ขณะที่การบินที่มีการแวะจะบรรทุกน้ำมันเพียงส่วนหนึ่งและเติมเพิ่มในจุดที่แวะพัก การเติมน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวนมากทำให้เครื่องบินจากต้นทุนมีน้ำหนักมากและทำให้การบรรทุกผู้โดยสารและสินค้าทำได้ไม่เต็มที่ ในขณะที่หากในอนาคตหากสามารถทำตลาดผู้โดยสารและสินค้าได้ดีขึ้น ความต้องการเพิ่มขึ้นเป็น 100% ทั้งสินค้าและผู้โดยสารแต่ในทางปฎิบัติเครื่องบินรุ่นดังกล่าวก็จะไม่สามารถขนผู้โดยสารและสินค้าได้เต็มที่ไปพร้อมกันได้ ซึ่งถือเป็นการสูญเสียโอกาส.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทการบินไทยที่มี นายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานเมื่อวันที่ 6 มิ.ย.2551 ให้ยกเลิกเส้นทางบินกรุงเทพฯ - นิวยอร์ก ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2551 เป็นต้นไป นั้นอ้างว่าเป็นมาตรการปรับแผน การบินเพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
บอร์ดการบินไทย ยังมีมติอนุมัติให้บริษัทฯ ปรับ-ลด ความถี่เส้นทางบินตรง กรุงเทพฯ-ลอสแองเจลิส จาก 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ เหลือ 5 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2551 สำหรับในตารางบินฤดูหนาวนี้จะปรับเปลี่ยนเที่ยวบินดังกล่าว จากเที่ยวบินตรงเป็นแบบบินผ่านจุดบินอื่น โดยจะทำการบินเป็น เส้นทาง กรุงเทพฯ–โอซาก้า –ลอสแองเจลิส ด้วย เครื่องแบบโบอิ้ง 777-200 อีอาร์
คืนวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผานมา นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ขึ้นเวทีปราศรัยที่เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ โดยได้กล่าวถึงการทุจริตเชิงนโยบายในการบินไทย ซึ่งต้องใช้เวลาถึง 3 ปีในการพิสูจน์ นั่นคือกรณีการซื้อเครื่องบนแอร์บัสเพื่อนำมาเปิดเที่ยวบินตรงกรุงเทพฯ-นิวยอร์ก ตนเคยพูดทางรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2548 ว่าการซื้อเครื่องบินครั้งนี้ เพื่อต้องการคอมมิชชั่นเท่านั้น เพราะเครื่องบินแอร์บัสรุ่นที่จะซื้อเป็นเครื่องบินตกรุ่น คอมมิชชั่นจึงมากกว่าปกติที่ได้ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์
วิธีการซื้อเครื่องบินนั้น มีการสร้างโครงการขึ้นมา โดยนายทนง พิทยะ ประธานการบินไทย ในขณะนั้นที่อ้างว่าเที่ยวบินกรุงเทพฯ-นิวยอร์ก จะได้กำไร แต่เมื่อตนตรวจสอบข้อมูลดูแล้ว พบว่าเส้นทางนี้ สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์เคยเปิดและขาดทุนจนยกเลิกเที่ยวบินไปแล้ว แต่ก็หาเหตุในการสร้างเส้นทางการบิน โดยให้ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนเขียนแผนขึ้นมาโดยให้บอกว่าจะมีกำไร แต่ ผอ.คนเก่าไม่เห็นด้วย จึงถูกย้าย และให้ รอง ผอ.ขึ้นมาเป็นแทน แล้วให้เขียนแผนว่าเส้นทางบินกรุงเทพฯ-นิวยอร์กจะมีกำไร
หลังจากนั้นมีการสัญญาซื้อเครื่องบินจำนวนนี้ ก่อนการเลือกตั้ง เมื่อซื้อเสร็จ นายทนงก็ไปอยู่กระทรวงการคลังแทน ต่อมาดีดีการบินไทยคนใหม่ ได้ยอมรับต่อคณะกรรมาธิการคมนาคมว่า เส้นทางบินนี้ขาดทุนไปแล้ว 5 พันล้าน และจะต้องขายเครื่องบินที่ซื้อ ขณะที่สิงคโปร์แอร์ไลน์ก็กำลังจะขายเครื่องบินที่ซื้อมาใช้ในเส้นทางนี้เช่นกัน
“เขาจงใจที่จะซื้อเครื่องบินที่ไม่เหมาะกับการบินระยะไกล แต่ได้คอมมิชชั่นสูง เส้นทางบินระดับนี้ต้องใช้เครื่องบินโบอิ้ง ที่เขาใช้กัน แต่เปอร์เซ็นต์มันต่ำแค่ 3 เปอร์เซ็นต์ เขาเลยไปซื้อแอร์บัส 340 ที่ขายไม่ออก เปอร์เซ็นต์มันได้มากกว่า 3 ได้เงินไปเป็นหมื่นล้าน” นายสนธิกล่าวและว่า วันนี้ถือว่าเราเช็กบิลได้แล้ว เพราะในวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 นี้ การบินไทยตัดสินใจเลิกเส้นทางบิน กรุงเทพฯ-นิวยอร์กอย่างเด็ดขาด เพราะขาดทุน 2 สัปดาห์ต่อ 700 ล้าน หรือเดือนละ 1,400 ล้านบาท ตั้งแต่เริ่มบินมาจนวันนี้ ขาดทุนเป็นหมื่นๆ ล้านแล้ว เรื่องนี้ใครจะรับผิดชอบ นอกจากคนเขียนแผนแล้ว ประเทศไทยต้องรัยผิดชอบ เพราะประเทศถือหุ้นใหญ่ในการบินไทย และพนักงานการบินไทยก็ต้องรับผิดชอบ ที่ทำให้ขาดทุน
***ประกาศขายเครื่องแอร์บัสทั้ง 5 ลำ
นายสนธิ กล่าวอีกว่า ขณะนี้มีการประกาศขายเครื่องแอร์บัสทั้ง 5 ลำแล้ว ทั้งนี้ เคยบอกนักบอกหนาว่าต้องซื้อ อ้างว่าซื้อแล้วจะทำให้การบินไทยมีกำไร นี่คือการคอรัปชั่นเชิงนโยบายที่จับได้แล้ว แต่ต้องใช้เวลา 2 ปีกว่า พวกเขาทำยังกับว่าประเทศไทยเป็นสมบัติของพวกเขา ที่เขาต้องซื้อเพราะต้องการเอาเงินเข้ากระเป๋า คนวิ่งเต้นขายเครื่องแอร์บัส เป็นเพื่อนกับนายบรรณพจน์ ดามาพงษ์
สำหรับนายทนงที่เป็นเพื่อนกับตนตั้งแต่สมัยเรียนอัสสัมชัญศรีราชานั้น ถือว่าตัดขาดกันแล้ว ตั้งแต่มาสู้กับระบอบทักษิณ และนายทนงต้องรับผิดชอบ ถ้าได้กำไรจริงอย่างที่พูด จะขายเครื่องทำไม ปิดเส้นทางบินนี้ทำไม ซึ่งล่าสุดจะมีการใช้เครื่องบิน 5 ลำนี้ ไปบินในเส้นทางกรุงเทพฯ-ลอสแองเจลิส แต่ต้องแวะที่ญี่ปุ่นก่อน เพราะถ้าบินตรงจะขาดทุน นี่แค่ตัวอย่างหนึ่งของการทุจริตคอร์รัปชัน ที่เราต้องมาช่วยกันสาปแช่งคนที่ทำความพินาศให้บ้านเมือง
นายสนธิกล่าวต่อว่า วันนี้ เราต้องมาเรียกร้องสิทธิด้วยตัวเอง เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เราไม่เคยถอย เพราะมุ่งมั่นที่จะเอาประเทศไทยคืนมา เราพึ่งทหาร ตำรวจไม่ได้ ต้องมาพึ่งกันเอง ตนได้จุดเทียนแห่งธรรมไว้แล้ว แม้จะเป็นการจุดที่ยากลำบากท่ามกลางพายุ แต่ในฐานะเป็นคนจุดต้องเอาหลังบังลมไว้ เพื่อไม่ให้เทียนดับ ระหว่างบังก็ถูกก้อนหิน สังกะสี ปลิวมาโดนก็ต้องทน นั่นคือ การถูกฟ้อง 58 คดี การขู่ฆ่า การกลั่นแกล้งทางธุรกิจ แต่ตนไม่ยอมตาย วันนี้เทียนได้จุดติดแล้วทั่วประเทศ ขอให้เทียนสว่างไสวหลายๆ เทียนมารวมกันเป็นเทียนพรรษา เมื่อหลายเทียนพรรษารวมกันส่องสว่าง ผีก็จะอยู่ไม่ได้
"พวกที่คอร์รัปชัน เพิ่มงบรถไฟใต้ดิน เช่ารถเมล์กินหัวคิว 6 พันล้าน ไม่เคยรู้ตัวหรอกว่าจะตกนรก สำหรับผมถ้าจะลำบาก ไม่มีข้าวกิน ไปจังหวัดไหนก็จะมีพ่อแม่พี่น้องให้ข้าวกิน ไม่มีที่พักก็มีบ้านให้นอน ไม่มีเงินเติมนำมัน ก็เติมน้ำมันให้ นี่คือสุดยอดของชีวิตแล้ว ทำไมต้องมีเงินพันล้าน หมื่นล้าน สู้มีน้ำใจอย่างพี่น้องดีกว่า หรือเมื่อตายไปแล้วลูกชายเดินถนนมีคนมาบอกว่าพ่อคุณใช้ได้ แค่นี้ก็พอแล้ว จะเอาอะไรนักหนา อย่างอื่นไม่มีความหมายหรอก ถ้าได้ทำงานให้ชาติบ้านเมือง ถึงตัวตายช่างมัน" นายสนธิกล่าว
เรืออากาศโทอภินันท์ สุมนะเศรณี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทย กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องยกเลิกเส้นทางบินกรุงเทพฯ – นิวยอร์ก และปรับลดเส้นทางบินตรง กรุงเทพฯ-ลอสแองเจลิส จาก 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ เหลือ 5 เที่ยวบิน ต่อสัปดาห์ เนื่องจากทั้งสองเส้นทางมีผลขาดทุนรวมกว่า 4,000 ล้านบาทและทำให้บริษัทมีความจำเป็นต้องขายเครื่องบินแอร์บัส เอ 340-500 จำนวน 4 ลำ ที่ใช้สำหรับเส้นทางกรุงเทพฯ-นิวยอร์ค ออกจากฝูงบินด้วยเนื่องจากเครื่องบินรุ่นดังกล่าวเป็นเครื่องบินพิสัยไกลพิเศษกินน้ำมันมาก รวมถึงการบินไทยจะต้องปรับแผนวิสาหกิจ 10 ปี และทบทวนแผนการจัดหาเครื่องบินในแผนใหม่
***มีผู้โดยสารไม่ถึง 100 คน***
ทั้งนี้ การบินไทยได้เปิดเส้นทางบินกรุงเทพฯ-นิวยอร์ก เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2548 นิวยอร์ก สัปดาห์ละ 6 เที่ยวบิน ยกเว้นวันจันทร์ ด้วยเครื่องใหม่ทั้งหมดแบบแอร์บัส 340-500
ผลจากการเปิดบินช่วงแรก การบินไทยต้องประสบกับการขาดทุนอย่างหนัก โดยมีผู้โดยสารแต่เที่ยวบินเฉลี่ยประมาณ 100 คนต่อเที่ยวบินเท่านั้นในขณะที่เครื่องบิน เอ 340-500 ซึ่งได้ดำเนินการจัดซื้อเข้ามาประจำฝูงบินของบริษัทเพื่อบินในเส้นทางดังกล่าว เป็นเครื่องบิน พิสัยไกลพิเศษขนาดกลางซึ่งมี ความจุถึง 320 ที่นั่ง โดยบริษัทอ้างว่า การเปิดบินในเส้นทางดังกล่าวยังทำการตลาดไม่ดีพอและเป็นที่ทราบกันดีว่า สิงคโปร์แอร์ไลน์ก็ทำการบินในลักษณะเดียวกันอยู่และก็ประสบกับภาวะขาดทุนและมีกระแสข่าวว่า สิงคโปร์แอร์ไลน์ อาจจะหยุดบินในเส้นทางดังกล่าวแต่ในขณะที่การบินไทยเพิ่งเปิดบินดังนั้นจะพยายามเร่งทำการตลาดด้านคาร์โก้ เพื่อบรรทุกไปกับเที่ยวบินผู้โดยสารเพื่อเพิ่มรายได้
ปัญหาที่การบินในเส้นทางดังกล่าวต้องขาดทุน นอกจากการทำตลาดยังไม่ดีพอแล้วก็คือ ความไม่เหมาะสมของประเภทเครื่องบินที่ใช้กับเส้นทางบินและการบิน เนื่องจากเป็นการบินต่อเนื่อง 16 ชั่วโมงครึ่งแบบไม่หยุดทำให้ต้องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงเต็มที่ให้เพียงพอต่อการบินจากต้นทางไปยังปลายทาง ขณะที่การบินที่มีการแวะจะบรรทุกน้ำมันเพียงส่วนหนึ่งและเติมเพิ่มในจุดที่แวะพัก การเติมน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวนมากทำให้เครื่องบินจากต้นทุนมีน้ำหนักมากและทำให้การบรรทุกผู้โดยสารและสินค้าทำได้ไม่เต็มที่ ในขณะที่หากในอนาคตหากสามารถทำตลาดผู้โดยสารและสินค้าได้ดีขึ้น ความต้องการเพิ่มขึ้นเป็น 100% ทั้งสินค้าและผู้โดยสารแต่ในทางปฎิบัติเครื่องบินรุ่นดังกล่าวก็จะไม่สามารถขนผู้โดยสารและสินค้าได้เต็มที่ไปพร้อมกันได้ ซึ่งถือเป็นการสูญเสียโอกาส.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทการบินไทยที่มี นายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานเมื่อวันที่ 6 มิ.ย.2551 ให้ยกเลิกเส้นทางบินกรุงเทพฯ - นิวยอร์ก ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2551 เป็นต้นไป นั้นอ้างว่าเป็นมาตรการปรับแผน การบินเพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
บอร์ดการบินไทย ยังมีมติอนุมัติให้บริษัทฯ ปรับ-ลด ความถี่เส้นทางบินตรง กรุงเทพฯ-ลอสแองเจลิส จาก 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ เหลือ 5 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2551 สำหรับในตารางบินฤดูหนาวนี้จะปรับเปลี่ยนเที่ยวบินดังกล่าว จากเที่ยวบินตรงเป็นแบบบินผ่านจุดบินอื่น โดยจะทำการบินเป็น เส้นทาง กรุงเทพฯ–โอซาก้า –ลอสแองเจลิส ด้วย เครื่องแบบโบอิ้ง 777-200 อีอาร์