สภาพัฒน์เผยไตรมาสแรกเศรษบกิจขยายตัว 6% แต่ยังคงจีดีพีตลอดทั้งปี 51 ไว้ที่ 4.5-5.5% เพราะความไม่เชื่อมั่นฉุดเศรษฐกิจไทยตกเหว อ้างเหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในปลายปี 2548-2549
วานนี้ (26 พ.ค.) นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) แถลงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 1/2551 ว่า สศช.ยังคงประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจไทยในปี 51 ไว้ที่ 4.5%-5.5% เท่าเดิม แม้ว่าในไตรมาสแรกจะขยายตัวได้สูงถึง 6% และมีโอกาสที่ทั้งปีจะเติบโตได้สูงในระดับ 5- 6% ก็ตาม เนื่องจากดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคเอกชนล่าสุดปรับลดลงมากในเดือนเม.ย.จากสถานการณ์ความขัดแย้งภายในประเทศที่กำลังเกิดขึ้นและมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องในเดือนพ.ค.นี้ ขณะเดียวกันราคาน้ำมันก็ปรับตัวสูงขึ้นมากจนทำให้สศช.ต้องปรับประมาณอัตราเงินเฟ้อไปอยู่ที่ระดับ 5.3%-5.8% เพราะชื่อว่าราคาน้ำมันดิบดูไบจะพุ่งสูงขึ้นเป็น 110-120 เหรียญสหรัฐ
“เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเคยเกิดขึ้นมาก่อนในปี 48 และปี 49 จนทำให้การบริโภคและการลงทุนหดตัวลงมากซึ่ง สศช.กลัวว่าเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยในเรื่องของความเชื่อมั่น มากกว่าปัจจัยด้านราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อ เพราะเชื่อว่าโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยยังสามารถรองรับได้ โดยสศช.ยอมรับว่าไม่สามารถนำปัจจัยเรื่องของความเชื่อมั่นมาแปลงเป็นตัวเลขเพื่อนำมาประมาณการเศรษฐกิจได้”
นายอำพนระบุว่า ขณะที่เงินเฟ้อที่สูงขึ้นเป็นผลมาจากต้นทุนที่แท้จริง ดังนั้นการดูแลอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ต้องตัดสินใจให้รอบคอบหากตัดสินใจไม่ถูกต้องจะเพิ่มภาระต้นทุนและชะลอรายได้ของประชาชน ดังนั้นยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจขณะนี้คือการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน เพราะคงไม่สามารถไปแก้ไขปัญหาเพื่อลดต้นทุนหรือลดราคาน้ำมันได้
ขณะเดียวกันจีดีพีของไทยในปี 51 นี้ สภาพัฒน์ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 9.41 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 50 ที่มีจำนวน 8.48 ล้านล้านบาท โดยรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 142,705.6 บาทต่อคนต่อปี สูงกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ 128,563.6 บาท และเชื่อว่าการลงทุนโดยรวมจะขยายตัวได้ 8.5% ส่วนการส่งออกทั้งปีเชื่อว่าจะเติบโตได้ถึง 15% และทำให้ดุลการค้ายังเกินดุลที่ 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลที่ 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
“รมว.คลังต้องการให้จีดีพีของปีนี้ขยายตัว 6% และการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก็น่าเป็นไปได้ แม้กระทั่งโอกาสความน่าจะเป็น สศช.พบว่า 80% ที่จีดีพีจะขยายตัวมากกว่า 5 % แต่จากประสบการณ์ของผม 3-4 ปีที่ผ่านมาได้ปรึกษากับฝ่ายเทคนิคของ สศช.แล้วทำให้ไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 6% ได้ เพราะเมื่อความเชื่อมั่นลดลง ผมกลัวว่าจะไม่เกิดการลงทุนใหม่และกระทบต่อการบริโภค เช่นที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2548 ถึงต้นปี 2549 ที่ความเชื่อมั่นทำให้เศรษฐกิจชะลอลงแม้ในขณะนั้นตัวเลขหลัก ๆ จะเพิ่มขึ้นก็ตาม เรื่องนี้ ผมแก้ไม่ได้ เพราะไม่ใช่สมการเศรษฐกิจ”
ทั้งนี้ จีดีพีของไตรมาส 1/2551 ที่ขยายตัวได้ 6 % เป็นผลมาจากสาขาอุตสาหกรรมขยายตัว 9.7% สูงกว่า 5.7% ในปี 2550 ตามภาวะการส่งออกที่ยังขยายตัวดีและการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศ และผลผลิตการเกษตรปรับตัวดีขึ้น 3.5% จากไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้วที่ ขยายตัว3.1% แต่ยังต่ำกว่าในปี 2550 ทั้งปีที่ขยายตัว 3.9% ได้ช่วยกระตุ้นการบริโภคสูงขึ้นด้วย ขณะที่สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัว8.8% จากที่ขยายตัว 5 % ในปี 2550 เป็นผลจากการท่องเที่ยวปรับตัวสูงขึ้น โดยไตรมาสแรกมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 4.3 ล้านคน เพิ่มขึ้น 13.3%จากช่วงเดียวกันยของปีก่อน ขณะที่สาขาการเงินปรับตัวสูงขึ้นอย่างชัดเจน 9.1% ด้านมูลค่าการส่งออกยังขยายตัว 21.1% อีกทั้งราคาที่เพิ่มขึ้นช่วยสนับสนุนมูลค่าให้ขยายตัวดีขึ้น ส่วนด้านการนำเข้าตรวจสอบแล้วเป็นการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้น.
วานนี้ (26 พ.ค.) นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) แถลงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 1/2551 ว่า สศช.ยังคงประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจไทยในปี 51 ไว้ที่ 4.5%-5.5% เท่าเดิม แม้ว่าในไตรมาสแรกจะขยายตัวได้สูงถึง 6% และมีโอกาสที่ทั้งปีจะเติบโตได้สูงในระดับ 5- 6% ก็ตาม เนื่องจากดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคเอกชนล่าสุดปรับลดลงมากในเดือนเม.ย.จากสถานการณ์ความขัดแย้งภายในประเทศที่กำลังเกิดขึ้นและมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องในเดือนพ.ค.นี้ ขณะเดียวกันราคาน้ำมันก็ปรับตัวสูงขึ้นมากจนทำให้สศช.ต้องปรับประมาณอัตราเงินเฟ้อไปอยู่ที่ระดับ 5.3%-5.8% เพราะชื่อว่าราคาน้ำมันดิบดูไบจะพุ่งสูงขึ้นเป็น 110-120 เหรียญสหรัฐ
“เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเคยเกิดขึ้นมาก่อนในปี 48 และปี 49 จนทำให้การบริโภคและการลงทุนหดตัวลงมากซึ่ง สศช.กลัวว่าเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยในเรื่องของความเชื่อมั่น มากกว่าปัจจัยด้านราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อ เพราะเชื่อว่าโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยยังสามารถรองรับได้ โดยสศช.ยอมรับว่าไม่สามารถนำปัจจัยเรื่องของความเชื่อมั่นมาแปลงเป็นตัวเลขเพื่อนำมาประมาณการเศรษฐกิจได้”
นายอำพนระบุว่า ขณะที่เงินเฟ้อที่สูงขึ้นเป็นผลมาจากต้นทุนที่แท้จริง ดังนั้นการดูแลอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ต้องตัดสินใจให้รอบคอบหากตัดสินใจไม่ถูกต้องจะเพิ่มภาระต้นทุนและชะลอรายได้ของประชาชน ดังนั้นยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจขณะนี้คือการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน เพราะคงไม่สามารถไปแก้ไขปัญหาเพื่อลดต้นทุนหรือลดราคาน้ำมันได้
ขณะเดียวกันจีดีพีของไทยในปี 51 นี้ สภาพัฒน์ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 9.41 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 50 ที่มีจำนวน 8.48 ล้านล้านบาท โดยรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 142,705.6 บาทต่อคนต่อปี สูงกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ 128,563.6 บาท และเชื่อว่าการลงทุนโดยรวมจะขยายตัวได้ 8.5% ส่วนการส่งออกทั้งปีเชื่อว่าจะเติบโตได้ถึง 15% และทำให้ดุลการค้ายังเกินดุลที่ 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลที่ 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
“รมว.คลังต้องการให้จีดีพีของปีนี้ขยายตัว 6% และการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก็น่าเป็นไปได้ แม้กระทั่งโอกาสความน่าจะเป็น สศช.พบว่า 80% ที่จีดีพีจะขยายตัวมากกว่า 5 % แต่จากประสบการณ์ของผม 3-4 ปีที่ผ่านมาได้ปรึกษากับฝ่ายเทคนิคของ สศช.แล้วทำให้ไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 6% ได้ เพราะเมื่อความเชื่อมั่นลดลง ผมกลัวว่าจะไม่เกิดการลงทุนใหม่และกระทบต่อการบริโภค เช่นที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2548 ถึงต้นปี 2549 ที่ความเชื่อมั่นทำให้เศรษฐกิจชะลอลงแม้ในขณะนั้นตัวเลขหลัก ๆ จะเพิ่มขึ้นก็ตาม เรื่องนี้ ผมแก้ไม่ได้ เพราะไม่ใช่สมการเศรษฐกิจ”
ทั้งนี้ จีดีพีของไตรมาส 1/2551 ที่ขยายตัวได้ 6 % เป็นผลมาจากสาขาอุตสาหกรรมขยายตัว 9.7% สูงกว่า 5.7% ในปี 2550 ตามภาวะการส่งออกที่ยังขยายตัวดีและการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศ และผลผลิตการเกษตรปรับตัวดีขึ้น 3.5% จากไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้วที่ ขยายตัว3.1% แต่ยังต่ำกว่าในปี 2550 ทั้งปีที่ขยายตัว 3.9% ได้ช่วยกระตุ้นการบริโภคสูงขึ้นด้วย ขณะที่สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัว8.8% จากที่ขยายตัว 5 % ในปี 2550 เป็นผลจากการท่องเที่ยวปรับตัวสูงขึ้น โดยไตรมาสแรกมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 4.3 ล้านคน เพิ่มขึ้น 13.3%จากช่วงเดียวกันยของปีก่อน ขณะที่สาขาการเงินปรับตัวสูงขึ้นอย่างชัดเจน 9.1% ด้านมูลค่าการส่งออกยังขยายตัว 21.1% อีกทั้งราคาที่เพิ่มขึ้นช่วยสนับสนุนมูลค่าให้ขยายตัวดีขึ้น ส่วนด้านการนำเข้าตรวจสอบแล้วเป็นการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้น.