กระทรวงพลังงานชงแผนแก้ปัญหาเศรษฐกิจจากน้ำมันแพงระยะยาวด้วยการเร่งใช้ NGV ในรถยนต์ ผุด 3 โครงการวางท่อก๊าซใหม่ 3 เส้นมูลค่าเกือบ 3.5 หมื่นลบ.ภายใน 3 ปีหรือปี 2554 ขณะที่ระยะสั้นหักคอ4โรงกลั่นเครือปตท.และบางจากร่วมบริจาคกำไรการกลั่นดีเซลไม่เกิน 1 บาทต่อลิตรรีดสรุปสัปดาห์นี้ว่าจะบริหารอย่างไรแน่ พร้อมรุกคืบจีบโรงกลั่นเอสโซ่ เอสพีอาร์ซีร่วมบริจาค
พลโท.หญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า การดำเนินการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจประเทศระยะต่อไปจากนี้เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำมันแพงส่วนของกระทรวงพลังงานจะเร่งรัดการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์หรือ NGV โดยมีแนวทางดำเนินการที่สำคัญด้วยการศึกษาวางท่อก๊าซตามแนวระบบคมนาคมสายหลักทั่วประเทศใหม่ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่โดยจะมีการลงทุนเบื้องต้น 34,850 ล้านบาทภายใน 3 ปี
( 2552-2554 )
สำหรับท่อก๊าซฯที่ปตท.จะดำเนินการประกอบด้วย 3 เส้นได้แก่ 1. ภาคเหนือ เส้นอยุธยา-นครสวรรค์ ระยะทาง 172 กิโลเมตร(กม.) เงินลงทุน 8,600 ล้านบาท (ส่วนที่เหลือจะมีการใช้ CNG จากแหล่งสิริกิตติ์) 2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สระบุรี-นครราชสีมา ระยะทาง 152 กม. เงินลงทุน 7,600 ล้านบาท (ส่วนที่เหลือจะใช้ CNG จากแหล่งน้ำพอง/ภูฮ่อม) 3. ภาคใต้ ราชบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 373 กม. มูลค่า 18,650 ล้านบาท (ส่วนที่เหลือจะใช้ CNG จากโรงแยกก๊าซขนอม/สงขลา)
“คงจะขอในหลักการให้มีการสนับสนุนแผนดังกล่าวจากภาครัฐที่เกี่ยวข้องในกรณีที่ระบุความเป็นไปได้ของการวางท่อตามแนวทางต่างๆ โดยเฉพาะส่วนของแนวระบบคมนาคมสายหลักทั่วประเทศ”รมว.พลังงานกล่าว
นอกจากนี้จะมีการจัดหาและให้บริการ NGV รองรับรถยนต์จาก 7.1 หมื่นคันเป็น1.23 แสนคันภายในสิ้นปี 2551 โดยจะมีการสร้างสถานีเป็น 355 แห่ง เพิ่มการผลิต NGV เป็น 5,464 ตันต่อวันในปี 2551 ,ขอขยายเวลาการยกเว้นอากรขาเข้าถังบรรจุก๊าซฯและอุปกรณ์ควบคุมการใช้ NGV ออกไปอีก 4 ปีสิ้นสุด ณ 31 ธ.ค. 2555 ,ขยายเวลายกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ NGV แบบ Retrofit ซึ่งจะสิ้นสุด ณ วันที่ 15 พ.ย. 51 ออกไปอีก 3 ปี เป็นต้น
นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มธุรกิจสำรวจ บมจ.ปตท.กล่าวว่า ท่อก๊าซทั้ง 3 เส้นนั้นเคยเป็นแนวคิดที่จะดำเนินการแต่เดิมอัตราการใช้ยังไม่โตจึงยังไม่ได้บรรจุไว้ในแผนการลงทุนที่ชัดเจนแต่เมื่อการใช้ NGV เพิ่มขึ้นจึงต้องนำกลับมาพิจารณาการลงทุนเร่งด่วน
4โรงกลั่นบริจาคกำไรดีเซล1บ.
พลโทหญิงพูนภิรมย์ กล่าวหลังการสรุปหลักการลดค่าการกลั่นดีเซลของ 4 โรงกลั่นคือ ไออาร์พีซี พีทีทีเออาร์ ไทยออยล์และบางจากวานนี้(26พ.ค.) ว่า หลักการโรงกลั่นพร้อมให้ความร่วมมือที่จะร่วมนำเงินจากส่วนต่างกำไรของการกลั่นดีเซลไม่เกิน 1 บาทต่อลิตรซึ่งแต่ละโรงกลั่นจะกลับไปพิจารณาตัวเลขที่เหมาะสมของแต่ละรายมาเสนออีกครั้งภายในไม่เกินสัปดาห์นี้เพื่อที่จะนำมาลดผลกระทบจากวิกฤติน้ำมันแพงส่วนการช่วยเหลือจะพยายามเน้นการใช้เงินที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
รุกคืบจีบเอสโซ่-เอพีอาร์ซีร่วม
“เร็ว ๆ นี้ จะขอความร่วมมือจากโรง กลั่นฯ เอกชนทั้งเอสโซ่ และโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง (เอสพีอาร์ซี) เข้าร่วมโครงการด้วย ซึ่งในส่วนตัวแล้วอยากจะนำไปช่วยเหลือประชาชนทั้งหมด แต่ก็ไม่ทราบว่าจะทำได้หรือไม่ หรือจะช่วยเป็นรายสาขาก็คงจะต้องเร่งสรุปส่วนการที่โรงกลั่นเป็นบริษัทมหาชนก็เข้าใจดีแต่ภาวะน้ำมันแพงก็เป็นหน้าที่กระทรวงต้องดูแลผู้บริโภคด้วย”รมว.พลังงานกล่าว
นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า 4 โรงกลั่นฯ เครือ ปตท. มีกำลังกลั่นดีเซลรวม 32 ล้านลิตร/วัน เงินที่ช่วยเหลือไม่เกิน 1 บาท/ลิตร ก็จะนำมาเป็นกองกลางประมาณ 30 ล้านบาท/วัน หรือ 900 ล้านบาท/เดือน โดยอาจจะให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือกองทุนส่งเสริมและอนุรักษ์พลังงานบริหารก็เป็นไปได้ โดยจะเป็นการขอความร่วมมือชั่วคราวเท่านั้น อาจจะเป็น 3-6 เดือน
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บมจ.ปตท. กล่าวว่า ยอมรับว่าแต่ละโรงกลั่นนั้นกลั่นดีเซลไม่เท่ากันสว่นใหญ่ที่กลั่นมากคือ ไทยออยล์และ พีทีทีเออาร์ โดยรวมจะผลิต 32 ล้านลิตรต่อวัน ซึ่งหลักการโรงกลั่นเองก็เข้าใจว่าประชาชนกำลังเดือดร้อนก็พร้อมจะร่วมมือซึ่งจะรับไปพิจารณาอีกครั้ง
พลโท.หญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า การดำเนินการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจประเทศระยะต่อไปจากนี้เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำมันแพงส่วนของกระทรวงพลังงานจะเร่งรัดการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์หรือ NGV โดยมีแนวทางดำเนินการที่สำคัญด้วยการศึกษาวางท่อก๊าซตามแนวระบบคมนาคมสายหลักทั่วประเทศใหม่ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่โดยจะมีการลงทุนเบื้องต้น 34,850 ล้านบาทภายใน 3 ปี
( 2552-2554 )
สำหรับท่อก๊าซฯที่ปตท.จะดำเนินการประกอบด้วย 3 เส้นได้แก่ 1. ภาคเหนือ เส้นอยุธยา-นครสวรรค์ ระยะทาง 172 กิโลเมตร(กม.) เงินลงทุน 8,600 ล้านบาท (ส่วนที่เหลือจะมีการใช้ CNG จากแหล่งสิริกิตติ์) 2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สระบุรี-นครราชสีมา ระยะทาง 152 กม. เงินลงทุน 7,600 ล้านบาท (ส่วนที่เหลือจะใช้ CNG จากแหล่งน้ำพอง/ภูฮ่อม) 3. ภาคใต้ ราชบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 373 กม. มูลค่า 18,650 ล้านบาท (ส่วนที่เหลือจะใช้ CNG จากโรงแยกก๊าซขนอม/สงขลา)
“คงจะขอในหลักการให้มีการสนับสนุนแผนดังกล่าวจากภาครัฐที่เกี่ยวข้องในกรณีที่ระบุความเป็นไปได้ของการวางท่อตามแนวทางต่างๆ โดยเฉพาะส่วนของแนวระบบคมนาคมสายหลักทั่วประเทศ”รมว.พลังงานกล่าว
นอกจากนี้จะมีการจัดหาและให้บริการ NGV รองรับรถยนต์จาก 7.1 หมื่นคันเป็น1.23 แสนคันภายในสิ้นปี 2551 โดยจะมีการสร้างสถานีเป็น 355 แห่ง เพิ่มการผลิต NGV เป็น 5,464 ตันต่อวันในปี 2551 ,ขอขยายเวลาการยกเว้นอากรขาเข้าถังบรรจุก๊าซฯและอุปกรณ์ควบคุมการใช้ NGV ออกไปอีก 4 ปีสิ้นสุด ณ 31 ธ.ค. 2555 ,ขยายเวลายกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ NGV แบบ Retrofit ซึ่งจะสิ้นสุด ณ วันที่ 15 พ.ย. 51 ออกไปอีก 3 ปี เป็นต้น
นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มธุรกิจสำรวจ บมจ.ปตท.กล่าวว่า ท่อก๊าซทั้ง 3 เส้นนั้นเคยเป็นแนวคิดที่จะดำเนินการแต่เดิมอัตราการใช้ยังไม่โตจึงยังไม่ได้บรรจุไว้ในแผนการลงทุนที่ชัดเจนแต่เมื่อการใช้ NGV เพิ่มขึ้นจึงต้องนำกลับมาพิจารณาการลงทุนเร่งด่วน
4โรงกลั่นบริจาคกำไรดีเซล1บ.
พลโทหญิงพูนภิรมย์ กล่าวหลังการสรุปหลักการลดค่าการกลั่นดีเซลของ 4 โรงกลั่นคือ ไออาร์พีซี พีทีทีเออาร์ ไทยออยล์และบางจากวานนี้(26พ.ค.) ว่า หลักการโรงกลั่นพร้อมให้ความร่วมมือที่จะร่วมนำเงินจากส่วนต่างกำไรของการกลั่นดีเซลไม่เกิน 1 บาทต่อลิตรซึ่งแต่ละโรงกลั่นจะกลับไปพิจารณาตัวเลขที่เหมาะสมของแต่ละรายมาเสนออีกครั้งภายในไม่เกินสัปดาห์นี้เพื่อที่จะนำมาลดผลกระทบจากวิกฤติน้ำมันแพงส่วนการช่วยเหลือจะพยายามเน้นการใช้เงินที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
รุกคืบจีบเอสโซ่-เอพีอาร์ซีร่วม
“เร็ว ๆ นี้ จะขอความร่วมมือจากโรง กลั่นฯ เอกชนทั้งเอสโซ่ และโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง (เอสพีอาร์ซี) เข้าร่วมโครงการด้วย ซึ่งในส่วนตัวแล้วอยากจะนำไปช่วยเหลือประชาชนทั้งหมด แต่ก็ไม่ทราบว่าจะทำได้หรือไม่ หรือจะช่วยเป็นรายสาขาก็คงจะต้องเร่งสรุปส่วนการที่โรงกลั่นเป็นบริษัทมหาชนก็เข้าใจดีแต่ภาวะน้ำมันแพงก็เป็นหน้าที่กระทรวงต้องดูแลผู้บริโภคด้วย”รมว.พลังงานกล่าว
นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า 4 โรงกลั่นฯ เครือ ปตท. มีกำลังกลั่นดีเซลรวม 32 ล้านลิตร/วัน เงินที่ช่วยเหลือไม่เกิน 1 บาท/ลิตร ก็จะนำมาเป็นกองกลางประมาณ 30 ล้านบาท/วัน หรือ 900 ล้านบาท/เดือน โดยอาจจะให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือกองทุนส่งเสริมและอนุรักษ์พลังงานบริหารก็เป็นไปได้ โดยจะเป็นการขอความร่วมมือชั่วคราวเท่านั้น อาจจะเป็น 3-6 เดือน
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บมจ.ปตท. กล่าวว่า ยอมรับว่าแต่ละโรงกลั่นนั้นกลั่นดีเซลไม่เท่ากันสว่นใหญ่ที่กลั่นมากคือ ไทยออยล์และ พีทีทีเออาร์ โดยรวมจะผลิต 32 ล้านลิตรต่อวัน ซึ่งหลักการโรงกลั่นเองก็เข้าใจว่าประชาชนกำลังเดือดร้อนก็พร้อมจะร่วมมือซึ่งจะรับไปพิจารณาอีกครั้ง