ช่อง 5 เป็นปลื้ม เหตุผลการดำเนินงานรอบ 4 เดือนแรก มีรายได้และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 10% ผลจากการปรับปรุงค่าเช่าเวลา และปลอดหนี้สูญ ปี 2550 ขณะที่ยอดการบริการสังคมเพิ่มขึ้น รวมกว่า 160 ล้านบาท รองรับนโยบายทีวีบริการสาธารณะ ส่วนเรตติ้งและจำนวนผู้ชมยังคงเพิ่มอีก 10%
พลโท กิตติทัศน์ บำเหน็จพันธ์ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.5) เปิดเผยว่า ผลประกอบการ ช่อง 5 ช่วงควอเตอร์แรกปีนี้ (ม.ค.-เม.ย.51) ปรับตัวสูงขึ้น ร้อยละ 10 จากรายได้ 534 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลมาจากการจัดระเบียบวินัยทางการเงิน รายได้โทรทัศน์ดาวเทียม หรือ TGN เพิ่มขึ้น และการปรับปรุงการคำนวณค่าเช่าเวลา ซึ่งมีทั้งปรับเพิ่มขึ้นและลดลงตามลักษณะ และสาระของรายการเป็นผลให้มีรายได้จากค่าเช่าเวลาเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7 ประกอบกับตัวเลขหนี้สูญในปีที่ผ่านมาเป็น 0% และยังคงปลอดภาวะหนี้สูญในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม สถานียังคงมีหนี้สินค้างชำระอยู่บ้างจากช่วงปี 2539-2549 แต่ก็ลดจำนวนลงทุกปีจากผลการประนอมหนี้ โดยล่าสุด ฝ่ายการเงินได้ให้บริษัทภายนอกอีก 3 บริษัทเข้ามาช่วยติดตามหนี้สิน และสืบหาหลักทรัพย์หลังคดีสิ้นสุดการฟ้องร้องทางกฎหมาย คาดว่า จะทำให้ภาวะหนี้สูญโดยรวมจากยอดร้อยละ 2 ลดลงเหลือไม่เกินร้อยละ 1 ในปีนี้
ด้านความนิยมรายการต่างๆ (เรตติ้ง) และจำนวนผู้ชม มีการปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน อีก 10% รวมทั้งตัวเลขภาพรวมการโฆษณาของ ช่อง 5 ยังคงดีขึ้นเหมือนไตรมาสแรก คือ เป็นอันดับ 3 ครอง ส่วนแบ่งการตลาดเป็น 3,236 ล้านบาท คิดเป็นเกือบ 20% รายการที่ได้รับความนิยมสูงสุดของช่อง 5 อาทิ ละครหลังข่าว หม่ำโชว์ ระเบิดเถิดเทิง นาทีฉุกเฉิน กรรมลิขิต ตลาดสดสนามเป้า เดอะโชว์ และ ทีวีพูลทูไนท์/ทีวีพูลไลฟ์ เป็นต้น
นอกจากนี้ ส่วนควบคุมรายการ ยังได้ประเมินคุณภาพรายการในควอเตอร์แรกด้วย พบว่า ส่วนมากกว่าร้อยละ 90 สามารถผลิตรายการได้เนื้อหาสาระตามแผนงานที่เสนอ แต่ยังมีอีกประมาณร้อยละ 10 ที่ผลิตรายการไม่ตรงตามแผนงาน เช่น เสนอขอรูปแบบรายการสารคดี แต่กลับมาจัดรายการอื่นๆ หรือใส่โฆษณาแฝงจำนวนมากในรายการ ซึ่งช่อง 5 จะมีการประเมินในภาพรวมอีกครั้งเป็นข้อมูลสำหรับการพิจารณาปรับผังรายการกลางปี และปลายปีต่อไป
ส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหารงานควอเตอร์แรก ยังคงเป็นไปตามกรอบงบประมาณ คือ 500 ล้านบาท แม้ช่อง 5 จะมีค่าใช้จ่ายในงานบริการสาธารณะเพิ่มขึ้น โดยแบ่งเป็น 1.การบริการสนับสนุนรายการพิเศษ และสปอตโปรโมทข่าว เพื่อบริการสังคม รวม 150 ชม. คิดเป็นเงิน 160 ล้านบาท 2.การช่วยเหลือสังคม เช่น ภัยพิบัติต่างๆ อีกประมาณ 4 ล้านบาท
ทั้งนี้ นโยบายกองทัพบกยังคงเน้นให้ช่อง 5 เป็นทีวีทหารที่บริการสาธารณะเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ อยู่เคียงข้างประชาชนทุกสถานการณ์ โดยล่าสุด ช่อง 5 ยังคงตั้งศูนย์ช่วยเหลือภัยจากพายุไซโคลนนาร์กีสที่พม่าอย่างต่อเนื่อง และเตรียมระดมทุนจัดซื้อเรือไปมอบให้ทางพม่า เพื่อช่วยกระจายของยังชีพ และการช่วยเหลือไปยังประชาชนนับล้านที่ติดค้างตามจุดต่างๆ เป็นการเร่งด่วน
พลโท กิตติทัศน์ บำเหน็จพันธ์ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.5) เปิดเผยว่า ผลประกอบการ ช่อง 5 ช่วงควอเตอร์แรกปีนี้ (ม.ค.-เม.ย.51) ปรับตัวสูงขึ้น ร้อยละ 10 จากรายได้ 534 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลมาจากการจัดระเบียบวินัยทางการเงิน รายได้โทรทัศน์ดาวเทียม หรือ TGN เพิ่มขึ้น และการปรับปรุงการคำนวณค่าเช่าเวลา ซึ่งมีทั้งปรับเพิ่มขึ้นและลดลงตามลักษณะ และสาระของรายการเป็นผลให้มีรายได้จากค่าเช่าเวลาเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7 ประกอบกับตัวเลขหนี้สูญในปีที่ผ่านมาเป็น 0% และยังคงปลอดภาวะหนี้สูญในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม สถานียังคงมีหนี้สินค้างชำระอยู่บ้างจากช่วงปี 2539-2549 แต่ก็ลดจำนวนลงทุกปีจากผลการประนอมหนี้ โดยล่าสุด ฝ่ายการเงินได้ให้บริษัทภายนอกอีก 3 บริษัทเข้ามาช่วยติดตามหนี้สิน และสืบหาหลักทรัพย์หลังคดีสิ้นสุดการฟ้องร้องทางกฎหมาย คาดว่า จะทำให้ภาวะหนี้สูญโดยรวมจากยอดร้อยละ 2 ลดลงเหลือไม่เกินร้อยละ 1 ในปีนี้
ด้านความนิยมรายการต่างๆ (เรตติ้ง) และจำนวนผู้ชม มีการปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน อีก 10% รวมทั้งตัวเลขภาพรวมการโฆษณาของ ช่อง 5 ยังคงดีขึ้นเหมือนไตรมาสแรก คือ เป็นอันดับ 3 ครอง ส่วนแบ่งการตลาดเป็น 3,236 ล้านบาท คิดเป็นเกือบ 20% รายการที่ได้รับความนิยมสูงสุดของช่อง 5 อาทิ ละครหลังข่าว หม่ำโชว์ ระเบิดเถิดเทิง นาทีฉุกเฉิน กรรมลิขิต ตลาดสดสนามเป้า เดอะโชว์ และ ทีวีพูลทูไนท์/ทีวีพูลไลฟ์ เป็นต้น
นอกจากนี้ ส่วนควบคุมรายการ ยังได้ประเมินคุณภาพรายการในควอเตอร์แรกด้วย พบว่า ส่วนมากกว่าร้อยละ 90 สามารถผลิตรายการได้เนื้อหาสาระตามแผนงานที่เสนอ แต่ยังมีอีกประมาณร้อยละ 10 ที่ผลิตรายการไม่ตรงตามแผนงาน เช่น เสนอขอรูปแบบรายการสารคดี แต่กลับมาจัดรายการอื่นๆ หรือใส่โฆษณาแฝงจำนวนมากในรายการ ซึ่งช่อง 5 จะมีการประเมินในภาพรวมอีกครั้งเป็นข้อมูลสำหรับการพิจารณาปรับผังรายการกลางปี และปลายปีต่อไป
ส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหารงานควอเตอร์แรก ยังคงเป็นไปตามกรอบงบประมาณ คือ 500 ล้านบาท แม้ช่อง 5 จะมีค่าใช้จ่ายในงานบริการสาธารณะเพิ่มขึ้น โดยแบ่งเป็น 1.การบริการสนับสนุนรายการพิเศษ และสปอตโปรโมทข่าว เพื่อบริการสังคม รวม 150 ชม. คิดเป็นเงิน 160 ล้านบาท 2.การช่วยเหลือสังคม เช่น ภัยพิบัติต่างๆ อีกประมาณ 4 ล้านบาท
ทั้งนี้ นโยบายกองทัพบกยังคงเน้นให้ช่อง 5 เป็นทีวีทหารที่บริการสาธารณะเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ อยู่เคียงข้างประชาชนทุกสถานการณ์ โดยล่าสุด ช่อง 5 ยังคงตั้งศูนย์ช่วยเหลือภัยจากพายุไซโคลนนาร์กีสที่พม่าอย่างต่อเนื่อง และเตรียมระดมทุนจัดซื้อเรือไปมอบให้ทางพม่า เพื่อช่วยกระจายของยังชีพ และการช่วยเหลือไปยังประชาชนนับล้านที่ติดค้างตามจุดต่างๆ เป็นการเร่งด่วน