อสมท ยิ้มสู้ แจงผลประกอบไตรมาส1 ยังโต 10% แม้รายได้จากวิทยุจะวืดเป้าอย่างหนัก ต่ำกว่าเป้าถึง 18% ฟากโทรทัศน์หล่นจากเป้าอีก 5% เหตุรายได้ในส่วนกิจกรรมต่างๆ เทมาลงในไตรมาส2 มั่นใจไตรมาส2 มาแรง งานจ่อคิวเข้ามาเพียบ
นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาพรวมผลประกอบการในไตรมาส 1 ของ อสมท ที่ผ่านมา พบว่า ยังมีการเติบโตอยู่ที่ 10% คิดเป็นมูลค่า 930 ล้านบาท จากเดิม 842 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน โดยมีกำไรสุทธิ เพิ่มขึ้น 1% มูลค่า 234 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.34 บาทต่อหุ้น บริษัทฯมีสินทรัพย์โดยรวมเพิ่มขึ้นเป็น 8,874 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้น เพิ่มขึ้นเป็น 7,217 ล้านบาท ในขณะที่หนี้สินลดลงเหลือ 1,659 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2550 ทั้งนี้มองว่าผลประกอบการที่ทำได้นี้ น่าจะแก้ข้อสงสัยจากผู้ที่สงสัยได้ ว่าอสมท มีรายได้เติบโตขึ้น เพราะในส่วนของนักวิเคราะห์เองก็พอใจกับรายได้ที่เกิดขึ้นนี้เช่นกัน และเข้าใจว่าบางส่วนที่ไม่เป็นไปตามเป้านั้นเกิดจากสาเหตุอะไร
เมื่อแยกรายได้ในส่วนของวิทยุออกมาแล้ว พบว่า มีรายได้จากโฆษณาเพิ่มขึ้น 5% แต่รายได้รวมกลับโตขึ้น 1% คิดเป็นมูลค่า 174 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสแรกของปีก่อน ถือได้ว่าเป็นรายได้ที่ต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ถึง 18% ทั้งนี้เกิดจาก ในช่วงไตรมาส 1 มีการเลื่อนจัดกิจกรรมต่างๆของคลื่นวิทยุ มาอยู่ในไตรมาส 2 แทน ไม่ว่าจะเป็น ซีด อวอร์ด หรือ กิจกรรมของคลื่นลูกทุ่งเอฟเอ็ม ทั้งนี้มองว่าแนวโน้มของไตรมาส 2 ที่วางแผนไว้ จะช่วยดันรายได้ครอบคลุมในส่วนของรายได้ที่หายไปจากไตรมาส 1 ได้
สำหรับรายได้จากโทรทัศน์ก็เช่นเดียวกัน 3 เดือนแรกที่ผ่านมา ยังมีการดำเนินงานที่ดีอยู่ จนสามารถมีรายได้เติบโตขึ้น 20% มูลค่า 542 ล้านบาท ถึงแม้ว่าจะต่ำกว่าเป้าไป 5% ก็ตาม แต่ก็ถือว่าประสบความสำเร็จ เมื่อเทียบกับภาพรวมของตลาดที่ยังติดลบอยู่ 7.6% ซึ่งสาเหตุที่ไม่เป็นไปตามเป้า เนื่องจาก ต้นปีเป็นช่วงโลว์ซีซันของโทรทัศน์ บวกกับมีเหตุการณ์ร่วมไว้อาลัยแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา อีกส่วนหนึ่งด้วย จึงทำให้รายได้ไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้
ทั้งนี้ทางด้านรายการข่าว จากที่มีการแข่งขันกันสูง ทางอสมท ได้มีการปรับผังรายการข่าวให้มีความเข้มข้นขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจะเน้นให้การนำเสนอข่าวแบบเจาะลึก สืบสวนสอบสวนและรายงานมากยิ่งขึ้น มีการปรับฉากรายการให้มีการใช้ทัชสกรีนเข้ามา พร้อมทั้งมีการเพิ่มเวลาข่าวเที่ยงอีก 15 นาทีในวันจันทร์-ศุกร์ สำหรับข่าวไนน์ เอ็นเตอร์เทนอีกด้วย ซึ่งรายได้ที่มาจากรายการข่าว เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จาก 400 ล้านบาทต่อปี เพิ่มเป็น 800-900 ล้านบาทในปีนี้
นายวสันต์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของค่าใช้จ่ายในไตรมาส1 สูงขึ้น 16% เนื่องจากบริษัทฯมีการบริหารจัดการ มีการปรับกลยุทธ์ต่างๆ และวางแผนทำการขายค่อนข้างสูง แต่ทั้งนี้จะพยายามควบคุมให้ไม่เกิน 17% ตามที่วางแผนค่าใช้จ่ายตลอดปี ซึ่งในไตรมาส2นี้ เชื่อว่าในไตรามาส 2 จะมีอัตราการเติบโตของรายได้ดีขึ้น และจะครอบคลุมรายได้ที่หายไปจากไตรมาสแรกด้วย เพราะจะมีกิจกรรมต่างๆมากมาย เช่น ฟุตบอลยูโร กิจกรรมกับสารคดีแม่น้ำโขง และกิจกรรมของส่วนวิทยุทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ซึ่งเมื่อมองภาพรวมทั้งปีแล้ว เชื่อว่า อสมทจะมีรายได้ตามที่คาดการณ์ไว้ที่ 15-20%
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้นายจักภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ได้ออกมาเปิดเผยว่า ผู้บริหาร อสมท มีการบริหารงานผิดพลาด จนทำให้ผลประกอบการของ อสมท ในไตรมาสแรกที่ผ่านมา ขาดทุนกว่า 27 ล้านบาท ถือเป็นการขาดทุนครั้งแรกในรอบ 10 ปี ซึ่งเป็นที่กังวลใจของผู้ถือหุ้นพอสมควร ในฐานะที่รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และตนดูแลงานของ อสมท ด้วย จะเข้ามาตรวจสอบดูแล อีกทั้งยังขอให้ผู้บริหาร อสมท พิจารณาตัวเองอีกด้วย
นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาพรวมผลประกอบการในไตรมาส 1 ของ อสมท ที่ผ่านมา พบว่า ยังมีการเติบโตอยู่ที่ 10% คิดเป็นมูลค่า 930 ล้านบาท จากเดิม 842 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน โดยมีกำไรสุทธิ เพิ่มขึ้น 1% มูลค่า 234 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.34 บาทต่อหุ้น บริษัทฯมีสินทรัพย์โดยรวมเพิ่มขึ้นเป็น 8,874 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้น เพิ่มขึ้นเป็น 7,217 ล้านบาท ในขณะที่หนี้สินลดลงเหลือ 1,659 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2550 ทั้งนี้มองว่าผลประกอบการที่ทำได้นี้ น่าจะแก้ข้อสงสัยจากผู้ที่สงสัยได้ ว่าอสมท มีรายได้เติบโตขึ้น เพราะในส่วนของนักวิเคราะห์เองก็พอใจกับรายได้ที่เกิดขึ้นนี้เช่นกัน และเข้าใจว่าบางส่วนที่ไม่เป็นไปตามเป้านั้นเกิดจากสาเหตุอะไร
เมื่อแยกรายได้ในส่วนของวิทยุออกมาแล้ว พบว่า มีรายได้จากโฆษณาเพิ่มขึ้น 5% แต่รายได้รวมกลับโตขึ้น 1% คิดเป็นมูลค่า 174 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสแรกของปีก่อน ถือได้ว่าเป็นรายได้ที่ต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ถึง 18% ทั้งนี้เกิดจาก ในช่วงไตรมาส 1 มีการเลื่อนจัดกิจกรรมต่างๆของคลื่นวิทยุ มาอยู่ในไตรมาส 2 แทน ไม่ว่าจะเป็น ซีด อวอร์ด หรือ กิจกรรมของคลื่นลูกทุ่งเอฟเอ็ม ทั้งนี้มองว่าแนวโน้มของไตรมาส 2 ที่วางแผนไว้ จะช่วยดันรายได้ครอบคลุมในส่วนของรายได้ที่หายไปจากไตรมาส 1 ได้
สำหรับรายได้จากโทรทัศน์ก็เช่นเดียวกัน 3 เดือนแรกที่ผ่านมา ยังมีการดำเนินงานที่ดีอยู่ จนสามารถมีรายได้เติบโตขึ้น 20% มูลค่า 542 ล้านบาท ถึงแม้ว่าจะต่ำกว่าเป้าไป 5% ก็ตาม แต่ก็ถือว่าประสบความสำเร็จ เมื่อเทียบกับภาพรวมของตลาดที่ยังติดลบอยู่ 7.6% ซึ่งสาเหตุที่ไม่เป็นไปตามเป้า เนื่องจาก ต้นปีเป็นช่วงโลว์ซีซันของโทรทัศน์ บวกกับมีเหตุการณ์ร่วมไว้อาลัยแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา อีกส่วนหนึ่งด้วย จึงทำให้รายได้ไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้
ทั้งนี้ทางด้านรายการข่าว จากที่มีการแข่งขันกันสูง ทางอสมท ได้มีการปรับผังรายการข่าวให้มีความเข้มข้นขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจะเน้นให้การนำเสนอข่าวแบบเจาะลึก สืบสวนสอบสวนและรายงานมากยิ่งขึ้น มีการปรับฉากรายการให้มีการใช้ทัชสกรีนเข้ามา พร้อมทั้งมีการเพิ่มเวลาข่าวเที่ยงอีก 15 นาทีในวันจันทร์-ศุกร์ สำหรับข่าวไนน์ เอ็นเตอร์เทนอีกด้วย ซึ่งรายได้ที่มาจากรายการข่าว เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จาก 400 ล้านบาทต่อปี เพิ่มเป็น 800-900 ล้านบาทในปีนี้
นายวสันต์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของค่าใช้จ่ายในไตรมาส1 สูงขึ้น 16% เนื่องจากบริษัทฯมีการบริหารจัดการ มีการปรับกลยุทธ์ต่างๆ และวางแผนทำการขายค่อนข้างสูง แต่ทั้งนี้จะพยายามควบคุมให้ไม่เกิน 17% ตามที่วางแผนค่าใช้จ่ายตลอดปี ซึ่งในไตรมาส2นี้ เชื่อว่าในไตรามาส 2 จะมีอัตราการเติบโตของรายได้ดีขึ้น และจะครอบคลุมรายได้ที่หายไปจากไตรมาสแรกด้วย เพราะจะมีกิจกรรมต่างๆมากมาย เช่น ฟุตบอลยูโร กิจกรรมกับสารคดีแม่น้ำโขง และกิจกรรมของส่วนวิทยุทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ซึ่งเมื่อมองภาพรวมทั้งปีแล้ว เชื่อว่า อสมทจะมีรายได้ตามที่คาดการณ์ไว้ที่ 15-20%
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้นายจักภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ได้ออกมาเปิดเผยว่า ผู้บริหาร อสมท มีการบริหารงานผิดพลาด จนทำให้ผลประกอบการของ อสมท ในไตรมาสแรกที่ผ่านมา ขาดทุนกว่า 27 ล้านบาท ถือเป็นการขาดทุนครั้งแรกในรอบ 10 ปี ซึ่งเป็นที่กังวลใจของผู้ถือหุ้นพอสมควร ในฐานะที่รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และตนดูแลงานของ อสมท ด้วย จะเข้ามาตรวจสอบดูแล อีกทั้งยังขอให้ผู้บริหาร อสมท พิจารณาตัวเองอีกด้วย