3 ขุนพลทีวีไทย เผยผลการเดินสายพบปะรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย ผ่านเวทีสาธารณะสัญจร 9 ภูมิภาค มองเห็นแนวทางสู่ความเป็นทีวีสาธารณะเต็มรูปแบบ ล่าสุด มีแผนจัดทำศูนย์ข่าวภูมิภาคขึ้น นำร่องโดยศูนย์ข่าวเชียงใหม่ คาดใน 2 เดือนที่เหลือของวาระการทำงานจะเห็นผลชัดเจน ส่วนรายชื่อพนักงานเฟส 2 จะประกาศรายชื่อ 15 พ.ค.นี้ จำนวนถึง 800 คน มองสร้างความเชื่อมั่น ลดปัญญาการลาออกของพนักงานได้
วานนี้ 3 คณะกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งประเทศไทย หรือ สถานีโทรทัศน์สาธารณะ ไทยพีบีเอส “ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ” ซึ่งประกอบด้วย นายขวัญสรวง อติโพธิ ประธานคณะกรรมการนโยบาย นายณรงค์ ใจหาญ และ นายอภิชาต ทองอยู่ ได้ร่วมเผยผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และทุกฝ่ายในสังคม ผ่านเวทีสาธารณะสัญจร ใน 9 ภูมิภาค ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานฝ่ายสาธารณสัมพันธ์ ของทีวีไทย ได้ข้อสรุปที่หลากหลาย อันจะนำมาเพื่อสร้างสรรค์รายการต่างๆต่อไป รวมถึงทำให้เกิดแนวคิดอื่นๆ ที่ดีตามมา เช่น การจัดตั้งศูนย์ข่าวภูมิภาค สถานีวิทยุสาธารณะ
นายขวัญสรวง อติโพธิ ประธาน คณะกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งประเทศไทย หรือ สถานีโทรทัศน์สาธารณะ ไทยพีบีเอส “ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ” เปิดเผยว่า ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ที่เข้าไปทำเรื่องของ เวทีสาธารณะสัญจรใน 9 ภูมิภาค สรุปได้ว่า ประชาชนในแต่ละภูมิภาคมีความตื่นตัวสูงที่เกิดทีวีสาธารณะขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งมีทั้งข้อเสนอแนะและการเสนอตัวเข้าร่วมเป็นอาสาสมัคร และเป็นแฟนคลับของทีวีสาธารณะ จนทำให้มีตัวแทนจากเครือข่ายต่างๆ เข้าร่วมมากกว่า 200 คนในแต่ละภูมิภาค ที่สะท้อนปัญหาต่างๆ ออกมา เช่น ด้านการศึกษา ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ปัญหาการละเมิดสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ปัญหาสภาพอาชีพและการทำมาหากิน ศิลปวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นพลเมือง อนาคตคนรุ่นใหม่ และเรื่องของคนพิการด้อยโอกาสทางสังคม มีการนำมาพิจารณาในการสร้างสรรค์รายการต่างๆ ต่อไป ซึ่งจะทำให้ทีวีไทยก้าวสู่ความเป็นทีวีสาธารณะอย่างเต็มรูปแบบมากยิ่งขึ้น
ผลจากการออกเวทีสัญจรครั้งนี้ ทำให้ทางคณะกรรมการนโยบายมีแผนที่จะทำโครงการจัดตั้งศูนย์ข่าวภูมิภาคขึ้นด้วย เพื่อให้สร้างความสัมพันธ์กับท้องถิ่นให้มีมากยิ่งขึ้น กับการที่จะมีการจัดสรรเวลาออกอากาศในพื้นที่ได้ 2 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งจะต้องมีการจัดเตรียมบุคลากรต่อศูนย์อย่างน้อย 36 ตำแหน่ง จากทั้งหมดในปัจจุบันที่ไทยพีบีเอสมีศูนย์ข่าวภูมิภาคอยู่แล้ว 7 ศูนย์ คือ สระแก้ว อุบลราชธานี ขอนแก่น สุโขทัย เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี และหาดใหญ่ จะเพิ่มอีก 2 ที่ คือ พัทยา และภูเก็ต โดยศูนย์สระแก้วจะนำไปรวมกับพัทยา ซึ่งคาดว่า เชียงใหม่จะเข้าสู่กระบวนการดังกล่าวได้เป็นศูนย์แรก ซึ่งหากทำได้ ทีวีไทย จะเป็นสถานีสาธารณะเทียบเท่ากับ BBC และ NHK ในอนาคต นอกจากนี้ ทางองค์การยังมีแผนที่จะทำสถานีวิทยุสาธารณะขึ้นด้วย หากพระราชบัญญัติจัดสรรคลื่นความถี่จะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคมนี้ และประกาศใช้ในปีหน้า
นายขวัญสรวง กล่าวต่อว่า จากการที่มีการแข่งขันทางด้านรายการข่าว ทางไทยบีพีเอส ยังพบว่ารายการข่าวของทางสถานียังมีเรตติ้งอยู่ในอันดับที่ 3 ถึงแม้ว่าที่ผ่านมา จะมีการลาออกของพนักงาน โดยเฉพาะในส่วนของฝ่ายข่าวมากถึง 30% ซึ่งเชื่อว่า หลังจากในวันที่ 15 เม.ย.นี้ ที่จะมีการประกาศรายชื่อพนักงาน 800 คน จะสร้างความมั่นใจให้เกิดแก่องค์กรต่อไป
วานนี้ 3 คณะกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งประเทศไทย หรือ สถานีโทรทัศน์สาธารณะ ไทยพีบีเอส “ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ” ซึ่งประกอบด้วย นายขวัญสรวง อติโพธิ ประธานคณะกรรมการนโยบาย นายณรงค์ ใจหาญ และ นายอภิชาต ทองอยู่ ได้ร่วมเผยผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และทุกฝ่ายในสังคม ผ่านเวทีสาธารณะสัญจร ใน 9 ภูมิภาค ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานฝ่ายสาธารณสัมพันธ์ ของทีวีไทย ได้ข้อสรุปที่หลากหลาย อันจะนำมาเพื่อสร้างสรรค์รายการต่างๆต่อไป รวมถึงทำให้เกิดแนวคิดอื่นๆ ที่ดีตามมา เช่น การจัดตั้งศูนย์ข่าวภูมิภาค สถานีวิทยุสาธารณะ
นายขวัญสรวง อติโพธิ ประธาน คณะกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งประเทศไทย หรือ สถานีโทรทัศน์สาธารณะ ไทยพีบีเอส “ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ” เปิดเผยว่า ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ที่เข้าไปทำเรื่องของ เวทีสาธารณะสัญจรใน 9 ภูมิภาค สรุปได้ว่า ประชาชนในแต่ละภูมิภาคมีความตื่นตัวสูงที่เกิดทีวีสาธารณะขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งมีทั้งข้อเสนอแนะและการเสนอตัวเข้าร่วมเป็นอาสาสมัคร และเป็นแฟนคลับของทีวีสาธารณะ จนทำให้มีตัวแทนจากเครือข่ายต่างๆ เข้าร่วมมากกว่า 200 คนในแต่ละภูมิภาค ที่สะท้อนปัญหาต่างๆ ออกมา เช่น ด้านการศึกษา ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ปัญหาการละเมิดสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ปัญหาสภาพอาชีพและการทำมาหากิน ศิลปวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นพลเมือง อนาคตคนรุ่นใหม่ และเรื่องของคนพิการด้อยโอกาสทางสังคม มีการนำมาพิจารณาในการสร้างสรรค์รายการต่างๆ ต่อไป ซึ่งจะทำให้ทีวีไทยก้าวสู่ความเป็นทีวีสาธารณะอย่างเต็มรูปแบบมากยิ่งขึ้น
ผลจากการออกเวทีสัญจรครั้งนี้ ทำให้ทางคณะกรรมการนโยบายมีแผนที่จะทำโครงการจัดตั้งศูนย์ข่าวภูมิภาคขึ้นด้วย เพื่อให้สร้างความสัมพันธ์กับท้องถิ่นให้มีมากยิ่งขึ้น กับการที่จะมีการจัดสรรเวลาออกอากาศในพื้นที่ได้ 2 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งจะต้องมีการจัดเตรียมบุคลากรต่อศูนย์อย่างน้อย 36 ตำแหน่ง จากทั้งหมดในปัจจุบันที่ไทยพีบีเอสมีศูนย์ข่าวภูมิภาคอยู่แล้ว 7 ศูนย์ คือ สระแก้ว อุบลราชธานี ขอนแก่น สุโขทัย เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี และหาดใหญ่ จะเพิ่มอีก 2 ที่ คือ พัทยา และภูเก็ต โดยศูนย์สระแก้วจะนำไปรวมกับพัทยา ซึ่งคาดว่า เชียงใหม่จะเข้าสู่กระบวนการดังกล่าวได้เป็นศูนย์แรก ซึ่งหากทำได้ ทีวีไทย จะเป็นสถานีสาธารณะเทียบเท่ากับ BBC และ NHK ในอนาคต นอกจากนี้ ทางองค์การยังมีแผนที่จะทำสถานีวิทยุสาธารณะขึ้นด้วย หากพระราชบัญญัติจัดสรรคลื่นความถี่จะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคมนี้ และประกาศใช้ในปีหน้า
นายขวัญสรวง กล่าวต่อว่า จากการที่มีการแข่งขันทางด้านรายการข่าว ทางไทยบีพีเอส ยังพบว่ารายการข่าวของทางสถานียังมีเรตติ้งอยู่ในอันดับที่ 3 ถึงแม้ว่าที่ผ่านมา จะมีการลาออกของพนักงาน โดยเฉพาะในส่วนของฝ่ายข่าวมากถึง 30% ซึ่งเชื่อว่า หลังจากในวันที่ 15 เม.ย.นี้ ที่จะมีการประกาศรายชื่อพนักงาน 800 คน จะสร้างความมั่นใจให้เกิดแก่องค์กรต่อไป