5 คณะกรรมการชั่วคราว ไทยพีบีเอส ประจันหน้าพนักงานทีไอทีวีครั้งแรก ที่ตึกชินวัตร 3 เข้าตรวจสอบทรัพย์สิน เผย มีลุ้นเลือกเป็นที่ตั้งTPBS ให้ความหวังฝ่ายวิศวกรและเทคนิคทีไอทีวี เข้าทำงาน 80% จากผู้สมัครในตำแหน่งดังกล่าว พร้อมจ้างเฮดฮันเตอร์เข้าคัดคน ช่วงบ่ายรับศึกอีกรอบรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน ขอโอกาสให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม
วานนี้ (21 ม.ค.) ทางคณะกรรมการชั่วคราว นโยบาย องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือ TPBS ประกอบด้วย นายขวัญสรวง อติโพธิ ประธานคณะกรรมการชั่วคราว นายอภิชาติ ทองอยู่ โฆษกคณะกรรมการชั่วคราว และ นายเทพชัย หย่อง คณะกรรมการชั่วคราว และรักษาการผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ไทยพีบีเอส ได้เดินทางไปยังตึกชินวัตร 3 ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี เพื่อเข้าตรวจสอบเกี่ยวกับทรัพย์สินของทีไอทีวี พร้อมพูดคุยกับฝ่ายวิศวกรรม ช่างเทคนิคของทีไอทีวีด้วย โดยมีนายอัชฌา สุวรรณปากแพรก อดีตผู้อำนวยการฝ่ายข่าว สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี เป็นตัวแทนต้อนรับ
นายอภิชาติ ทองอยู่ โฆษกคณะกรรมการชั่วคราว ทีพีบีเอส เปิดเผยว่า การเข้าไปตรวจสอบทรัพย์สินของทีไอทีวีครั้งนี้ เพื่อเช็กดูเกี่ยวกับเครื่องไม้เครื่องมือที่จะใช้เพื่อการออกอากาศ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ นี้ พร้อมทั้งเพื่อตรวจสอบสถานที่ด้วยว่าจะสามารถเป็นที่ตั้งสถานีไทยพีบีเอสได้หรือไม่ ปรากฏว่า หลังจากตรวจสอบสัญญาเช่าพื้นที่ของทางทีไอทีวี ที่ทำไว้กับตึกชินวัตร 3 แล้ว ยังมีสัญญาเช่าพื้นที่ต่ออีกจนถึงเดือนพฤศจิกายนปีนี้ ซึ่งสัญญาดังกล่าวถือเป็นพันธผูกพันที่ทีวีสาธารณะต้องรับมาด้วย ดังนั้น เบื้องต้นสถานที่ดังกล่าวทางทีพีบีเอสจะใช้เพื่อเป็นที่ตั้งของสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ไทยพีบีเอส ต่อไป
นอกจากนี้ ทางคณะกรรมการชั่วคราวทั้ง 3 ท่าน ยังได้ร่วมพูดคุยกับตัวแทนผู้บริหารของทีไอทีวีเกี่ยวกับฝ่ายวิศกรรมและช่างเทคนิคสำหรับการถ่ายทอดรายการออกอากาศด้วย ในการที่จะมีการคัดเลือกพนักงานกลุ่มดังกล่าวเข้าร่วมทำงานทันที เพื่อให้ทันต่อการแพร่ภาพในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ นี้
“ขณะนี้ทางคณะกรรมการชั่วคราว ทีพีบีเอส กำลังเร่งหาบริษัท เฮดอันเตอร์ เข้ามาดูแลเพื่อคัดเลือกพนักงานเข้าทำงานให้เร็วที่สุด หลังจากที่ปิดรับสมัครพนักงานครั้งแรกด้วยจำนวนผู้สมัครกว่า 3,000 คน ซึ่งบริษัทที่จ้างมานี้ จะมาช่วยคัดเลือกพนักงานที่สมัครในตำแหน่งฝ่ายวิศวกรรม หรือช่างเทคนิค ที่ทางคณะกรรมการนโยบายชั่วคราว ได้มีมติให้ต้องมีจำนวนพนักงานกลุ่มนี้มาจากทีไอทีวีถึง 80% จากจำนวนผู้สมัครตำแหน่งดังกล่าวทั้งหมด โดยการตรวจสอบทีไอทีวีครั้งนี้ ได้มีการแจ้งวัตถุประสงค์ดังกล่าวแก่ฝ่ายวิศวกรรมและช่างเทคนิคของทีไอทีวีไว้แล้ว”
สำหรับการทำงานในวันนี้ของคณะกรรมการชั่วคราว ทีพีบีเอส จะมีการเข้าพบพนักงานฝ่ายข่าวทีไอทีวีอีกครั้ง เพื่อเจรจาร่วมกัน
**รับศึกองค์กรเอกชน ขอมีส่วนร่วมทีวีสาธารณะ**
อย่างไรก็ตาม ช่วงบ่ายของวานนี้ (21 ม.ค.) คณะกรรมการ นโยบาย องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือ TPBS ทั้ง 3 ท่าน ยังได้เดินทางเข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นขององค์กรภาคเอกชนในการขอมีส่วนร่วมกับทีวีสาธารณะด้วย
โดย นายอภิชาติ ทองอยู่ โฆษกคณะกรรมการชั่วคราว ทีพีบีเอส กล่าวว่า การเข้าประชุมกับองค์กรเอกชนครั้งนี้ ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับนโยบายให้มีทีวีสาธารณะเกิดขึ้น ส่วนในรายละเอียดของแต่ละองค์กร ล้วนต่างต้องการขอมีส่วนร่วมกับทีวีสาธารณะด้วย ซึ่งเรียกร้องให้ทีวีสาธารณะมีความเป็นอิสระในการทำงาน ให้มีน้ำหนักสาระสำคัญต่อชุมชน มีความหลากหลายของรายการ เช่น ทีวีภาษาท้องถิ่น อย่างภาษายาวี หรือทีวีสำหรับคนพิการ ตาบอด หูหนวกที่สามารถรับชมได้ รวมถึงการจัดเวทีประชันความคิด (ดีเบต) ของนักการเมือง การส่งเสริมการแก้ปัญหาของผู้บริโภคให้มากขึ้น ร่วมทั้งให้แต่ละท้องถิ่นมีส่วนร่วมกับทีวีสาธารณะ
สำหรับตัวแทนภาคเอกชนที่ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อบทบาททีวีสาธารณะ ได้แก่ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค, นายจอน อึ๊งภากรณ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน และ นายเสถียร ทันพรม จากศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ภารกิจของคณะกรรมการนโยบายชั่วคราว ครั้งต่อไปจะมีการพบปะพูดคุยกับทางตัวแทนอื่นๆ อีก เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หรือชมรมแพทย์ชนบท ต่อไป
วานนี้ (21 ม.ค.) ทางคณะกรรมการชั่วคราว นโยบาย องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือ TPBS ประกอบด้วย นายขวัญสรวง อติโพธิ ประธานคณะกรรมการชั่วคราว นายอภิชาติ ทองอยู่ โฆษกคณะกรรมการชั่วคราว และ นายเทพชัย หย่อง คณะกรรมการชั่วคราว และรักษาการผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ไทยพีบีเอส ได้เดินทางไปยังตึกชินวัตร 3 ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี เพื่อเข้าตรวจสอบเกี่ยวกับทรัพย์สินของทีไอทีวี พร้อมพูดคุยกับฝ่ายวิศวกรรม ช่างเทคนิคของทีไอทีวีด้วย โดยมีนายอัชฌา สุวรรณปากแพรก อดีตผู้อำนวยการฝ่ายข่าว สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี เป็นตัวแทนต้อนรับ
นายอภิชาติ ทองอยู่ โฆษกคณะกรรมการชั่วคราว ทีพีบีเอส เปิดเผยว่า การเข้าไปตรวจสอบทรัพย์สินของทีไอทีวีครั้งนี้ เพื่อเช็กดูเกี่ยวกับเครื่องไม้เครื่องมือที่จะใช้เพื่อการออกอากาศ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ นี้ พร้อมทั้งเพื่อตรวจสอบสถานที่ด้วยว่าจะสามารถเป็นที่ตั้งสถานีไทยพีบีเอสได้หรือไม่ ปรากฏว่า หลังจากตรวจสอบสัญญาเช่าพื้นที่ของทางทีไอทีวี ที่ทำไว้กับตึกชินวัตร 3 แล้ว ยังมีสัญญาเช่าพื้นที่ต่ออีกจนถึงเดือนพฤศจิกายนปีนี้ ซึ่งสัญญาดังกล่าวถือเป็นพันธผูกพันที่ทีวีสาธารณะต้องรับมาด้วย ดังนั้น เบื้องต้นสถานที่ดังกล่าวทางทีพีบีเอสจะใช้เพื่อเป็นที่ตั้งของสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ไทยพีบีเอส ต่อไป
นอกจากนี้ ทางคณะกรรมการชั่วคราวทั้ง 3 ท่าน ยังได้ร่วมพูดคุยกับตัวแทนผู้บริหารของทีไอทีวีเกี่ยวกับฝ่ายวิศกรรมและช่างเทคนิคสำหรับการถ่ายทอดรายการออกอากาศด้วย ในการที่จะมีการคัดเลือกพนักงานกลุ่มดังกล่าวเข้าร่วมทำงานทันที เพื่อให้ทันต่อการแพร่ภาพในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ นี้
“ขณะนี้ทางคณะกรรมการชั่วคราว ทีพีบีเอส กำลังเร่งหาบริษัท เฮดอันเตอร์ เข้ามาดูแลเพื่อคัดเลือกพนักงานเข้าทำงานให้เร็วที่สุด หลังจากที่ปิดรับสมัครพนักงานครั้งแรกด้วยจำนวนผู้สมัครกว่า 3,000 คน ซึ่งบริษัทที่จ้างมานี้ จะมาช่วยคัดเลือกพนักงานที่สมัครในตำแหน่งฝ่ายวิศวกรรม หรือช่างเทคนิค ที่ทางคณะกรรมการนโยบายชั่วคราว ได้มีมติให้ต้องมีจำนวนพนักงานกลุ่มนี้มาจากทีไอทีวีถึง 80% จากจำนวนผู้สมัครตำแหน่งดังกล่าวทั้งหมด โดยการตรวจสอบทีไอทีวีครั้งนี้ ได้มีการแจ้งวัตถุประสงค์ดังกล่าวแก่ฝ่ายวิศวกรรมและช่างเทคนิคของทีไอทีวีไว้แล้ว”
สำหรับการทำงานในวันนี้ของคณะกรรมการชั่วคราว ทีพีบีเอส จะมีการเข้าพบพนักงานฝ่ายข่าวทีไอทีวีอีกครั้ง เพื่อเจรจาร่วมกัน
**รับศึกองค์กรเอกชน ขอมีส่วนร่วมทีวีสาธารณะ**
อย่างไรก็ตาม ช่วงบ่ายของวานนี้ (21 ม.ค.) คณะกรรมการ นโยบาย องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือ TPBS ทั้ง 3 ท่าน ยังได้เดินทางเข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นขององค์กรภาคเอกชนในการขอมีส่วนร่วมกับทีวีสาธารณะด้วย
โดย นายอภิชาติ ทองอยู่ โฆษกคณะกรรมการชั่วคราว ทีพีบีเอส กล่าวว่า การเข้าประชุมกับองค์กรเอกชนครั้งนี้ ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับนโยบายให้มีทีวีสาธารณะเกิดขึ้น ส่วนในรายละเอียดของแต่ละองค์กร ล้วนต่างต้องการขอมีส่วนร่วมกับทีวีสาธารณะด้วย ซึ่งเรียกร้องให้ทีวีสาธารณะมีความเป็นอิสระในการทำงาน ให้มีน้ำหนักสาระสำคัญต่อชุมชน มีความหลากหลายของรายการ เช่น ทีวีภาษาท้องถิ่น อย่างภาษายาวี หรือทีวีสำหรับคนพิการ ตาบอด หูหนวกที่สามารถรับชมได้ รวมถึงการจัดเวทีประชันความคิด (ดีเบต) ของนักการเมือง การส่งเสริมการแก้ปัญหาของผู้บริโภคให้มากขึ้น ร่วมทั้งให้แต่ละท้องถิ่นมีส่วนร่วมกับทีวีสาธารณะ
สำหรับตัวแทนภาคเอกชนที่ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อบทบาททีวีสาธารณะ ได้แก่ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค, นายจอน อึ๊งภากรณ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน และ นายเสถียร ทันพรม จากศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ภารกิจของคณะกรรมการนโยบายชั่วคราว ครั้งต่อไปจะมีการพบปะพูดคุยกับทางตัวแทนอื่นๆ อีก เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หรือชมรมแพทย์ชนบท ต่อไป